เล่าขานตำนานไทย (นาฏศิลป์ไทยในอาณาจักรสุโขทัย)

 

 

 

 

 

ที่มาภาพ : http://www.thaigoodview.com/node/16931

อาณาจักร์สุโขทัย (พ.ศ.1792-2006)

       อาณาจักรสุโขทัย หรือ รัฐสุโขทัย (อังกฤษ: Kingdomof Sukhothai) เป็นอาณาจักร หรือรัฐในอดีตรัฐหนึ่งตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม เป็นชุมชนโบราณมาตั้งแต่ยุคเหล็กตอนปลายจนกระทั่งสถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้สุโขทัยเป็นรัฐอิสระ และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อยๆตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายในจนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุด

     

ที่มาภาพ : http://www.sukhothaiphoto.com/forum/viewthread.php?tid=1348

 

      ตั้งแต่มีการค้นพบว่ามีการจดบันทึก เรื่องราว เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต ในยุคเริ่มแรกของการจดบันทึกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรที่ปรากฏคือ ในสมัยสุโขทัย เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์องค์ที่  3 แห่งราชอาณาจักรสุโขทัย ได้ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น และทรงจารึกวิถีชีวิตชาวสุโขทัยลงไว้ในศิลาจารึก

            “เมื่อจักเข้าเวียงเรียงกัน แต่อรัญญิกพู้น ท้าวหัวลานดํบงดํกลอย ด้วยเสียง พาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื้อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมัก เลื่อน เลื่อน (วิวัฒนาการนาฏยศิลป์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2324-2477)

              จากหลักฐานทางศิลาจารึก แม้จะไม่มีคำใดที่แสดงถึงนาฏศิลป์ไทย แต่ก็ สัมผัสได้ถึง ความรื่นเริ่ง สนุกสนาน อยู่อย่างมีความสุข เป็นอย่างมาก

ที่มาภาพ: http://www.thaigoodview.com/node/150462

        ตามศิลาจารึกหลักที่ 8 ศิลาจารึกเขาสมณกูฎ พระมหาธรรมราชาที่ 1 ได้จำลองรายพระพุทธบาทจากเขาสมนกูฎในประเทศลังกาเมื่อ ม.ศ.1281 (พ.ศ.1902)  ปรากฏจารึกด้านที่ 2 เรื่องการทำสักกระบูชาในเวลาที่ได้แก่รอยพระพุทธบาทขึ้นเขาสุมนกูฎ มีการกล่าวถึงนาฏศิลป์ดังนี้

            “..หมากขันพูลูบู-

            ชาพิลม  ระบำเต้น

            เล่นทุกฉัน

            ...ด้วยเสียงอัน

            สาธุการบูชาอี-

            กดุริยาพาทย์พิ-

            ณฆ้องกลองเสียง

            ดังสิพอดังดิน

            จักหล่มอันไซร้”

(สืบค้นจาก มหรสพสมโภชในพระราชพิธีฯ)

            นาฏศิลป์นั้นเป็นไปได้ว่าอาจมีมาก่อนหน้าที่มีการจดบันทึกในสมัยของ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช  แห่งอาณาจักรสุโขทัย ที่สะท้อนให้เห็นถึงภาพของความสงบสุขของชาติบ้านเมือง  ราษฎรอยู่ดีกินดี  บ้านเมืองที่ว่างจากภัยสงคราม ราษฎรก็ออกมาร้องรำทำเพลงกันอย่างมีความสุข นาฏศิลป์นอกจากสร้างความบันเทิงแล้ว นาฏศิลป์ยังได้ถูกนำไปอยู่ในหมวดหมู่ของการบวงสรวงบูชาอีกด้วยตามศิลาจารึกเขาสมณกูฎ ดังในงานสักกระพระพุทธบาทขึ้นเขาสุมนกูฎ เป็นต้น

เนื้อหาโดย: นักรบ แดนเทพ ปล. หากขาดตกบกพร่องประการใดต้องขออภัยและขอคำชี้แนะ ณ ที่นี้ด้วย
13 ก.ย. 56 เวลา 18:45 3,578 100
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...