คุณเชื่อทฤษฎีที่ว่า ผู้ผลิตแอนตี้ไวรัส(Anti Virus) เบื้องหลังเป็นผู้ทำไวรัสเสียเองไหม

 

คุณเชื่อทฤษฎีที่ว่า ผู้ผลิตแอนตี้ไวรัส(Anti Virus) เบื้องหลังเป็นผู้ทำไวรัสเสียเองไหม


1. ใครได้ประโยชน์...ไม่ใช่แอนตี้ไวรัสแน่นอน...เพราะ เพราะค่ายแอนตี้ไวรัสเอง...มีการซื้อขายโค้ดไวรัส...หรือแลกเปลี่ยนกัน...เป็นบางตัวเ่่ท่านั้น...นั้นหมายความว่า...NOD เขียน... และจะให้ McAFee ฆ่า เขาจะได้อะไร...หรือจะให้เขาขายไวรัสที่เขาเขียนกับทุกๆ ค่ายอย่างนั้นหรือ...รายได้มันจะมากกว่าการที่มีคนนับล้าน...อยากดังเขียนไวรัสขึ้นมา...บางตัวโครตเทพ...แต่บางตัวก็เบบี๋ และลิสต์รายชื่อไวรัส NoName ใหม่ๆ เพื่อแข่งขันการทางตลาด...ผมว่าอย่างหลังคุ้มค่ากว่า


2. แต่ใช่ว่าจะไม่มี...แต่บริษัทหรือโปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่เขียนไวรัสขึ้นมาเพื่อให้เฉพาะบริษัทตัวเองฆ่าเท่านั้น...สมัย DOS มีอยู่ แต่ผมจำชื่อไม่ได้...คือถ้าคุณไม่ยอมจ่ายตังค์ มันจะไม่ยกเลิกการเข้ารหัส Harddisk แต่ ในที่สุด...ใช้วิธีนี้...เงินก็ไม่ได้แถมถูกจับ...เพราะ ไม่มี "ไวรัสคอมพิวเตอร์" ตัวไหนในโลกที่ โปรแกรมหรือ มนุษย์ ฆ่าไม่ตาย...เพราะ มันคือซอฟต์แวร์ ไม่ใช่ฮาร์ดแวร์


3. ในโลกแห่งคอมพิวเตอร์ เท่าที่ผ่านมาเป็นยุคๆ ไวรัสคอมพิวเตอร์ใน PCหรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเท่าันั้นที่ มีไวรัสเยอะและเขียนกันขึ้นมาทุกวัน โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ แต่ก็ออกมาเป็นช่วงๆ ดังนี้


3.1 ระบบปฏิบัติการ DOS ไวรัสยุคแรกติด MBR หรือ มาสเตอร์บูตเรคคอร์ดก็มีข่าวกันพักหนึ่ง...และก็หาวิธีฆ่า แม้แต่ "ลาวดวงเดือน" ไวรัสตัวแรกของไทย ก็อยู่ยุคนี้ จนมีการพบไวรัสติดแฟ้ม .EXE  และ .COM เป็นสาเหตุให้บริษัท ซิมแมนเทค ของ ปีเตอร์นอร์ตัน ที่บอกว่าไวรัสคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องตลก...แต่กลับเขียนโปรแกรมฆ่าไวรัส Nortun Antivirus มากแข่งกับ McAfee เหมือนกัน


3.2 ระบบปฏิบัติการ 95 ไวรัสมาโครติดเอกสารในไมโครซอฟต์ออฟฟิตที่เรียก Word6 จนมาถึง Word97 เป็นยุคของไวรัสมาโครซึ่งในยุคแรกก็มีข่าวกันมาพักหนึ่ง...และก็มีโปรแกรมฆ่าไวรัสใหม่ๆเกิดขึ้นมาเช่นกัน


3.3 ระบบปฏิบัติการ 2000 และ Windows Me เอง ก็โดนไวรัสอีกยุคเล่นงานคือ Scrap File หรือ ไวรัสที่คล้ายไวรัส Shortcut ในปัจจุบัน...ลูกเล่นเดียวกันเป๊ะ...คือจำลองสคร๊าปไฟล์ขึ้นมาเป็นโฟลเดอร์ และลอกให้คลิ๊กหรือหลอกให้คิดว่าเป็นโปรแกรมปกติ แต่จริงแล้ว เส้นทางของโปรแกรมจะลิงค์ไปยังไวรัส...ร่วมถึงเขียนคำสั่ง Format /q ใส่ใน สคร๊าปไฟล์เลยก็ได้...จึงเป็นช่องโหว่ ในยุคต่อมา เป็นเหตุผลให้ ไมโครซอฟต์วินโดวส์เองออกแพลต์เสริมเพื่ออุตรอยรั่วนี้ทิ้งเสีย...และยังอุตไม่ทันดี...ก็เจอไวรัส  HyperText เช่น RedLof ซึ่งจะอาศัยคำสั่งใน Desktop.ini เรียกตัวเองขึ้นมาอัตโนมัติเมื่อคลิ๊กโฟลเดอร์ทีมีไฟล์ฺนี้อยู่ และเป็นสาเหตุให้แอนตี้ไวรัส...เฟื่องฟู จากช่องโหว่ของระบบปฏบัติการ Windows Me


3.4 ระบบปฏิบัติการ Windows XP เช่นกันเจอ ช่องโหว่ของ Autorun.infและ Shortcut ไวรัส เล่นงาน ก็จึงเป็น อีกยุคที่ต้องรีบเปลี่ยนเป็น Windows 7 และทำให้พบไวรัสใน Windows XP มากกว่า Windows 7ในตอนนี้...แต่เมื่อยุคของ Windows 7 มาถึง ค่ายแอนตี้้ไวรัสเองก็ต้องปรับตัวไปอีกยุคเพื่อป้องกันช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการต่อไปแต่...ไม่ใช่ว่า...ค่ายแอนตี้ไวรัสจะหันมาเจาะวินโดวส์7 เอง เพราะการป้องกันไม่ให้ Windows 7 ปลอดภัยนั้น...คุ้มค่ากว่า...การต้องมานั่งสแกนไวรัสหรือ ต้องซ่อมแซ่มระบบเพราะดูจะเป็นต้นทุนที่สูงกว่ามากๆ ไม่ว่าจะเป็นค่ายแอนตี้ไวรัสใดๆ ก็ตาม


4. สรุป...ถึงเขียนไวรัสไวรัสบน Windows7 เพื่อกำเนิดยุคใหม่ๆ ต่อไปก็ไม่สำคัญกว่าการป้องกันระบบ...และพัฒนา การสแกนไวรัสให้เร็วในโลกที่ดูเหมือนว่าข้อมูลจะต้องนั่งสแกนเป็นวันๆ (ใครๆ เลยบอกแต่ว่าลงวินโดวส์ใหม่เหอะ...เร็วกว่ามานั่งแก้) และพัฒนาไฟล์วอรร์ให้ทรงประสิทธิภาพมากยิ่งๆ ขึ้น รวมถึงการเฮอร์ริสติก คือ คาดเดา...ว่าไวรัสน่าจะทำงานอย่้างไรหรือ น่าสงสัยว่าไอ้ไฟล์ตัวนี้มัน ลีพริเคต มากเกินกำหนดน่าจะเป็นไวรัส...หรืออะไรก็ตามที่จะทำให้ไวรัสที่เขียนขึ้นมาใหม่...ถูกดักทางไว้หมด...ไม่ใช่...สร้างทางใหม่ๆ ให้ไวรัสมาเผ่าบ้านตัวเอง...เพราะมันไม่คุ้ม

#Anti #Virus
Dr.A
ช่างเทคนิค
12 ก.ค. 56 เวลา 15:41 3,430 1 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...