S-21 อนุสรณ์สถาน ที่ไม่มีใครอยากจำ ในประเทศกัมพูชา

 

 

 

 

 

 

 

S-21 อนุสรณ์สถาน

ที่ไม่มีใครอยากจำ ในประเทศกัมพูชา 

 

 
      ตำนานสังหารที่โลกไม่เคยลืม บทบันทึกความเลวร้ายที่ปรากฎในประวัติศาสตร์ ที่มนุษย์กระทำต่อมนุษย์ด้วยกันอย่างป่าเถื่อนทารุณ โศกนาฏกรรม "กัมพูชา" ช่วงเขมรแดงเรืองอำนาจหลังจากยึดกรุงพนมเปญได้ในปี 2518 ทั่วทั้งแผ่นดินแดงฉานด้วยเลือดประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ตกเป็นเหยื่อความของความโหดร้ายนี้
 
      ย้อนอดีต (หลายศตวรรษให้หลังมหาอาณาจักรอันเกรียงไกร) ประวัติศาสตร์กัมพูชายุคใหม่เริ่มต้นเมื่อได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ตามข้อตกลงเจนีวาระหว่างเวียดนามกับฝรั่งเศสเมื่อพ.ศ.2497 สมเด็จเจ้านโรดมสีหนุปกครองประเทศมาอย่างต่อเนื่อง กระทั่งผลกระทบของสงครามเย็นทำให้กัมพูชาในช่วงปี 2508 สภาพเศรษฐกิจและสังคมตกต่ำเสื่อมโทรมถึงขีดสุด 
เกิดความวุ่นวายทางการเมืองและการเดินขบวนประท้วงรัฐของนักศึกษาประชาชน
 
      เดือนเมษายน 2510 ชาวบ้านและชาวนาในอำเภอซัมลูด จังหวัดพระตะบอง ก่อการจลาจล รัฐบาลส่งทหารเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง ทำให้ประชาชนซึ่งถูกรวมเรียกเป็นฝ่ายซ้ายหลบหนีเข้าร่วมกับฝ่ายคอมมิวนิสต์กัมพูชาที่ตั้งฐานที่มั่นอยู่ในพื้นที่ป่าเขา
 
     ต่อมาเดือนมีนาคม 2513 นายพลลอน นอล ทำการรัฐประหาร ก่อนกองกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์กัมพูชา หรือเขมรแดง (Khmer Rouge) มีเวียดกงเป็นพันธมิตร เข้ายึดอำนาจปกครองกัมพูชาได้เบ็ดเสร็จเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2518 จากนั้นมากัมพูชาอยู่ภายใต้อำนาจของนายพล พต ผู้นำกลุ่มเขมรแดง ผู้โค่นล้มรัฐบาลลอน นอล ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา กัมพูชาในกำมือพล พต ระหว่างปี 2518-2522 ตกอยู่ในความรุนแรงสุดขั้วเพื่อปรับปรุงระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมพึ่งตนเอง ไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากภายนอกประเทศ และไม่ยอมเป็นพันธมิตรกับชาติใดๆ โดดเดี่ยวประเทศออกจากอิทธิพลของต่างชาติ ปิดโรงเรียน โรงพยาบาล โรงงาน ยกเลิกระบบธนาคาร ระบบเงินตรา ยึดทรัพย์สินจากเอกชนทั้งหมด
 
     พล พต คลั่งลัทธิซ้ายสุดๆ เขาเชื่อว่าระบบสังคมนิยมจะนำกัมพูชาสู่ความเจริญรุ่งเรืองเหมือนในอดีตได้ โดยประเทศควรจะอยู่อย่างสันโดษ ไม่ต้องเพิ่งวิทยาการเทคโนโลยีใดๆ ขอให้มีข้าวกินก็อยู่ได้ เขาจึงกวาดล้างผู้ที่เป็นปฏิปักษ์ทางความคิด นักศึกษาปัญญาชน แพทย์ วิศวกร นักปราชญ์ ศิลปิน 
 
     เล่ากันว่าคนใส่แว่นสายตาที่ดูเหมือนมีความรู้ เป็นภัยต่อความมั่นคง ปกครองยาก จะถูกฆ่าอย่างไร้เหตุผล เขาต้องการให้กัมพูชามีแต่ชนชั้นกรรมาชีพนี่ไม่ใช่บทหนังหรือละคร แต่เป็นความจริงที่มนุษย์กระทำต่อมนุษย์ด้วยกันอย่างป่าเถื่อนทารุณ ชาวนาผู้ทำงานวันละ 12 ชม.ในทุ่งสังหารอันโด่งดังเมื่อเขมรแดงยึดกรุงพนมเปญ ประชาชนพลเมืองถูกหลอกออกจากเมืองไปยังชนบทกันดาร 
 
     พล พตต้องการเปลี่ยนให้ชาวกัมพูชากลับไปเป็นชนดั้งเดิม ใช้แรงงานเพื่อการเกษตร ทุกคนต้องเป็นชาวนาชาวไร่ อาศัยอยู่ในค่ายแรงงาน ทำงานวันละ 12 ชั่วโมงโดยไม่หยุดพัก และไม่มีอาหารเพียงพอ 4 ปีที่พล พตอยู่ในอำนาจผู้คนล้มตายนับล้านชีวิต ทั้งอดอยาก ทั้งถูกทารุณกรรม ถูกฆ่ายิ่งมหาศาล "ทุ่งสังหาร" อุบัติขึ้นเวลานั้น
 
 
     ภาพทุ่งสังหารที่เป็นตำนานแห่งการฆ่าล้างเผ่าพันธ์มนุษย์ บ้างก็ถูกกลบฝังทั้งเป็น ณ ทุ่งแห่งนี้นับจำนวนมหาศาล กระดูก - กระโหลกศีรษะทับถมเป็นกองภูเขาเลากา นโยบายหนึ่งที่ทำให้ผู้บริสุทธิ์ถูกฆ่าป็นผักปลาคือเขมรแดงต้องการให้กัมพูชาเป็นประเทศที่มีคนแค่เชื้อสายเดียว คือเชื้อสายกัมพูชา ชนกลุ่มน้อยอย่างชาวเวียดนาม และชาวจีน จึงถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ รวมถึงคนเขมรด้วยกันเอง ประเมินว่ามีผู้เสียชีวิตประมาณ 1.5-2 ล้านคน เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เลวร้ายที่สุดของศตวรรษที่ 20
 
     เดือนมกราคม พ.ศ.2522 เขมรฝ่ายที่เวียดนามหนุนหลังบุกเข้ายึดกรุงพนมเปญ  เขมรแดงแตกพ่ายมาหลบอยู่ตามตะเข็บชายแดนกัมพูชา-ไทย ขณะที่ระเบิดนับสิบล้านลูกฝังอยู่ทั่วประเทศ เจ้านโรดม สีหนุต่อมา พ.ศ.2525 พล พตร่วมกับเจ้าสีหนุจัดตั้งรัฐบาลผสมกัมพูชาธิปไตย นายเขียว สัมพัน ขึ้นเป็นผู้นำในปี 2528 แต่เชื่อกันว่าพล พตกุมอำนาจที่แท้จริงถึง พ.ศ.2534 กลุ่มต่างๆ ในเขมรลงนามสันติภาพให้มีการเลือกตั้งที่กำกับโดยสหประชาชาติ แต่แล้วเขมรแดงกลับปฏิเสธผลการเลือกตั้งที่จะได้รัฐบาลผสมในปี 2535 แม้ว่าจะเสียกำลังพลไปจำนวนมากแล้วก็ตาม การต่อสู้แย่งชิงอำนาจเกิดขึ้นภายในกลุ่มเอง 
 
 
 
      ปี 2536 สหประชาชาติสนับสนุนให้มีการจัดเลือกตั้งใหญ่เพื่อนำประเทศกลับสู่สภาพปกติ ตอนนั้นเองที่เขมรแดงหมดอำนาจลงอย่างรวดเร็ว รัฐบาลที่ได้ครองอำนาจในระยะนั้นเป็นรัฐบาลผสม และหลังจากการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศในปี 2541 ทำให้การเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น นำไปสู่การยอมจำนนของกองกำลังเขมรแดง พล พตถูกขับก่อนเสียชีวิตวันที่ 15 เมษายน 2541 สมาชิกของเขมรแดงแตกกระจาย บางส่วนยอมจำนนและถูกจับ บางส่วนโดยเฉพาะระดับแกนนำหนีหัวซุกหัวซุน
 
     "เขมรแดง" หรือ Khmer Rouge เป็นคำประฌามที่เจ้านโรดมสีหนุ ผู้เป็นประมุขรัฐ ใช้เรียกขบวนการคอมมิวนิสต์ของประเทศช่วง พ.ศ.2503 เพื่อให้แตกต่างจากฝ่ายขวา เขมรสีน้ำเงิน คือเขมรที่นิยมกษัตริย์ทุกวันนี้หลักฐานความสัตว์ชนิดหนึ่งใหญ่กว่าจิ้งจกมโหดของเขมรแดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์กลางกรุงพนมเปญ คือ "พิพิธภัณฑ์ตวล ชเลง" หรือ Genocide Museum 
แต่เดิมเป็นโรงเรียนมัธยมซึ่งตั้งชื่อตามบรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์กัมพูชา มีตึกเรียน 4 ชั้น 4 อาคาร พ.ศ.2519 เขมรแดงเปลี่ยนโรงเรียนแห่งนี้เป็น S-21 ย่อจาก Security Office 21 
สถานจองจำและทรมานผู้คนที่เห็นว่าเป็นศัตรูก่อนเอาตัวไปฆ่า 
 
 
      .......ทุ่งสังหาร(the killing fields)....ถูกจารึกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ประชาชนกว่าหนึ่งล้านเจ็ดแสนคนต้องสังเวยชีวิต ณ.ที่แห่งนี้ พร้อมๆกับบันทึกชื่อของพอลพต ฮิตเลอร์แห่งกัมพูชา”............บั้นปลายของพอลพตถูกจับกุมและสิ้นใจตายเยี่ยงคนสิ้นไร้ไม้ตอกในกระท่อมเล็กๆที่เป็นที่คุมขังในบางความเห็นของผู้ที่ไปเยือนพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ที่เขมรโดยคุณ เพิ่งไปยือนมา เล่าว่า :  "ถ้าคุณมีโอกาสได้ไปเยือนคุกแห่งนี้ ขอบอกว่าคุณจะซึมซับได้ถึงความตายว่ามันน่ากลัวขนาดไหนทุกอณู ของพื้นที่มีแต่คนตายมีภาพคนก่อนตาย และตายไปแล้วมากมาย ดูกันไม่หวาดไม่ไหวมันน่ากลัวและหดหู่เหลือประมาณว่าทำไมมนุษย์ถึงทำกับมนุษย์กันเองได้ขนาดนี้เรือนจำตวลสเลง1975-1979 เขมรแดง ดัดแปลงจากโรงเรียนมัธยมในกรุงพนมเปญมาทำเป็นคุกมีผู้ถูกจองจำในคุกแห่งนี้จำนวน17,000 คน -20,000 คน หรืออาจมากกว่านั้นและมีผู้ที่รอดชีวิตออกมา..เท่าที่ตรวจสอบได้ เพียง 12 คน... 
 
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...