"ดูหลำ" วิชาลับจากภาคใต้

 

 

 

 

 

เป็นที่รู้กันดีว่าโลกนี้มีวิชาลับมากมายซ่อนอยู่ทั่วโลก เช่นเดียวกับที่ภาคใต้ของประเทศไทยเรา ที่เรียกวิชาที่ฟังเสียงปลาได้ว่า "ดูหลำ" หากใครนึกไม่ออก ให้ลองย้อนไปนึกถึงหนังเรื่อง "ปืนใหญ่ จอมสลัด" ที่อนันดาแสดงน่ะครับ ที่เค้าสามารถฟังเสียงปลา ควบคุมปลาได้ แต่ดูหลำของจริงจะเป็นแบบในหนังรึเปล่า ผมจะมาเล่าให้ฟังครับ 

 

ทางฟาก ทะเลทางตะวันออก นับลงไปตั้งแต่นครศรีธรรมราชไปจนถึงยะลา มีวิชาลึกลับที่ไว้ใช้ฟังเสียงปลามาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยคนฟังเสียงปลานี้ ภาษายาวี เรียก "ยูสะแล" บางท้องถิ่นเรียก "ยูสะหลำ" หรือ "ดูลำ" การทำงานของดูหลำนั้น จะดำลงไปในน้ำแล้วใช้หูฟังเสียงปลา ต่างจาก "กาน้ำ" ของ เรืออวนดำ ที่จะใส่แว่นดำน้ำลงไปดูฝูงปลาตามจุดที่วางซั้ง แต่สำหรับดูหลำแล้ว หูเอาไว้ฟังปลา ส่วนตานั้นเอาไว้มองอันตรายอย่างเดียว 

 
เรืออวนดำ 

 
ซั้งปลา หรือ ปะการังเทียมแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน 


การฝึกวิชาดูหลำนั้น ต้องขยันหมั่นเพียรไม่ต่างจากเรียนหนังสือ และที่สำคัญคือ "ต้องไม่กลัวและไม่ขี้เกียจเด็ดขาด" เพราะ ดูหลำนั้นจะต้องออกหาปลาในช่วงเวลาก่อนเช้าเพราะปลาจะเยอะมากบริเวณผิวน้ำ เสียงร้องดังชัดเจน ขนาดอยู่บนเรือยังได้ยิน แต่ว่าเสียงปลาที่ได้ยินบนเรือนั้น ค่อนข้างจะจับทิศไม่ได้ ต้องลงไปฟังใต้น้ำ ซึ่งมีคความเย็นมาก ถึงจะรู้ว่าปลาอยู่ตำแหน่งไหน(แค่คิดก็หนาวแทนละ) ถ้าดูหลำลงไปใต้น้ำแล้ว รู้สึกว่าเสียงอยู่บริเวณหน้าผาก ดูหลำก็ต้องนำเรือหันไปยังตำแหน่งของฝูงปลาไปเรื่อยๆ อาจจะลงดำน้ำเพื่อฟังเสียงปลาเป็นระยะๆ เพื่อกะตำแหน่งของฝูงปลา และเมื่อดูหลำฟังเสียงปลาใต้น้ำแล้ว รู้สึกว่าเสียงปลาอยู่แถวๆหน้าอก นั่นหมายถึง เค้าได้มาอยู่ ณ บริเวณที่ฝูงปลาอยู่กันแล้ว (ส่วนดูหลำในหนังที่ควบคุมปลาได้นั้น ไม่มีจริง แต่งขึ้นเพื่อความสนุกของหนังเฉยๆ) 

 

สำหรับดูหลำที่มีประสบการณ์ในการฟังปลามานานจะเรียกว่า "ดูหลำอาวุโส" สามารถ ฟังเสียงปลาโดยแค่เอาไม้พายจุ่มลงไปในน้ำแล้วฟังเสียงเอาที่ด้ามพาย นอกจากนี้ ดูหลำยังต้องสามารถจำแนกเสียงปลาที่ได้ยินให้ได้ด้วย แถมแต่ละเวลาหรือฤดู ปลาชนิดเดียวกันยังร้องเสียงไม่เหมือนกันอีก อีกทั้งใต้ทะเลไม่ใช่มีแค่เสียงปลาอย่างเดียว ยังมีเสียงตัวเพรียง เสียงกระพรือครีบของปลากระเบน เสียงครีบปลาฉลามที่ลู่กับน้ำ เป็นต้น 

 

สมัยก่อน พรานทะเลจะมีแผนที่การเดินทางของปลาอย่างชัดเจนและแม่นยำในรอบปี ผ่านการฟังเสียง จดจำและบันทึก ส่งต่อกันมาชั่วลูกชั่วหลาน แต่ปัจจุบันนี้ แผนที่ปลาเริ่มเลือนหายไป เพราะการประมงที่หวังแต่ผลผลิตแบบไม่ลืมหูลืมตา โดยไม่สนใจฟังเสียงของธรรมชาติเลย 

13 พ.ค. 56 เวลา 18:24 16,064 4 150
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...