ทฤษฎีหกช่วงคน (Six Degrees of Separation)

 

 ทฤษฎีหกช่วงคน หรือ Six Degrees of Separation นี้มีที่มาดั้งเดิมจาก นักเขียนชาวฮังการี่ นามFrigyes Karinthy ซึ่งได้จินตนาการล้ำลึกไปว่า หากสุ่มคนบนโลกใบนี้อย่างมั่วๆ ขึ้นมา สองคน จะพบว่าคนทั้งสองสามารถจะรู้จักกันได้ผ่านการเช็คแฮนด์ไม่เกินห้าช่วงคน (ค.ศ.1929)

          ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น สุ่มเลือก ยายไฮ  กับ ฮิลลารี่
          ช่วงคนที่หนึ่ง : ยายไฮ เคยออกรายการของ คุณสรยุทธ
          ช่วงคนที่สอง : คุณสรยุทธ เคย สัมภาษณ์ อดีตนายกทักษิณ
          ช่วงคนที่สาม : อดีตนายกทักษิณ รู้จักกับ บุช
          ช่วงคนที่สี่ :     บุช รู้จักกันดีกับ ฮิลลารี่
          เท่ากับว่า ยายไฮ และ ฮิลลารี่ สามารถจะรู้จักกันได้ห่างกันเพียง สี่ช่วงการเช็คแฮนด์เท่านั้นเอง 

          38 ปีต่อมา ในปีค.ศ.1967 นักสังคมจิตวิทยาคนหนึ่งได้นำแนวคิดนี้มาศึกษาอย่างจริงจัง ทำให้แนวคิดนี้ไม่ได้เป็นเพียงจิตนาการเพ้อเจ้อลอยลมของนักเขียนอีกต่อไป   
          สแตนลีย์ มิลแกรม (Stanley Milgram) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ทำการทดลอง โดยการสุ่มคนจากรัฐแคนซัสและเนบราสก้า ราว 300 คน เพื่อให้คนกลุ่มนี้ส่งเอกสารไปถึง ‘เป้าหมาย’ ที่เป็นคนเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ โดยชาวเมืองแคนซัสและเนสบราสก้าผู้ได้รับโจทย์ดังกล่าวจะใช้วิธีส่งต่อ เอกสารไปยังผู้ที่ตนคาดว่าจะรู้จักกับเป้าหมายต่อกันไปเป็นทอดๆ โดยมีขั้นตอนดังนี้

ผู้ที่ได้รับเอกสาร (จดหมาย) จะต้องเขียนชื่อของตัวเองลงไปที่มุมด้านล่างของจดหมาย (เพื่อจะได้ทราบว่าจดหมายผ่านมือใครบ้าง)  ผู้ที่ได้รั บเอกสาร (จดหมาย) จะต้องนำโปสการ์ดที่บรรจุอยู่ในซอง ส่งกลับถึง มิลแกรม เพื่อที่เขาจะได้ทราบว่าตอนนี้เอกสารฉบับนั้นอยู่ในเส้นทาง และกระบวนการขั้นไหนแล้ว หากผู้ที่ได้รับเอกสาร (จดหมาย) รู้จักกับ ‘เป้าหมาย’ ที่กำหนดไว้ ให้ทำการส่งเอกสารนั้นถึงมือ ‘เป้าหมาย’ทันที หากผู้ที่ได้รับเอกสาร (จดหมาย) ไม่รู้จักกับเป้าหมายเป็นการส่วนตัว ให้ส่งต่อเอกสารนั้นถึงคนที่ตนรู้จักที่คาดว่าจะรู้จักกับ ‘เป้าหมาย’ มากที่สุด

          หลังจากทำการทดลองหลายครั้ง โดยเปลี่ยนเมืองต้นทางและปลายทางไปหลายๆ ที่ มิลแกรม ได้สรุปผลและรายงานว่า จำนวนคนกลางในการส่งเอกสารต่อเป็นทอด ๆ จนภารกิจเสร็จสิ้นนั้นมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.5  หรือ ประมาณ 6 ซึ่งทำให้เกิดเป็นทฤษฎีหกช่วงคน หรือ  Six Degrees of Separation  นั่นเอง

          แม้ทฤษฎี Six Degrees of Separation   จะยังไม่ได้รับการยอมรับในระดับสากลแต่ก็มีผู้สนใจและเชื่อถือแนวคิดนี้เป็น จำนวนมาก  ไม่นานนักแนวคิดนี้ก็ถูกนำมาสร้างเป็นละครบรอดเวย์ (ค.ศ.1991) และภาพยนตร์ในชื่อเดียวกัน ส่งผลให้ทฤษฎี Six Degrees of Separation   เป็นที่รู้จักและแพร่หลายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้ว Six Degrees of Separation    นี้ยังถูกนำไปดัดแปลงเป็นเกมที่เรียกว่า Six Degrees of Kevin Bacon ด้วยแนวคิดที่ว่า ทุกคนต่างเชื่อว่า เควิน เบคอน เป็นศูนย์กลางของฮอลลีวู้ด ดังนั้น ถ้าจะโยงใครซักสองคนในวงการให้เกี่ยวข้องกัน ก็มักจะต้องมีเควิน เบคอนเป็นตัวกลางเสมอ (ถ้าไม่เชื่อก็ลองดูสิครับ)

          ที่น่าแปลกคือ ได้มีผู้ทดลองนำข้อมูลของดาราราว หนึ่งแสนคน ที่เกี่ยวข้อกับเควิน เบคอน มาหาช่วงระยะเช็คแฮนด์กัน พบว่าระยะห่างจากดาราทั้งหนึ่งแสนคนกับอีตาหมูสามชั้น เควิน เบคอน มีค่าเฉลี่ยออกมาเพียง2.918 เท่านั้น

         หลายปีต่อมาทฤษฎี Six Degrees of Separation  นี้ก็ถูกนำมาทดลองเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งโดยใช้อีเมลเป็นตัวกลางในการทดสอบโดยดันแคน วัตต์ส (Duncan Watts) นักวิจัยของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และในปี 1998 ยังมีการศึกษา Degrees of Separation  ระหว่าง website สอง website อีกด้วย ซึ่งก็นับได้ว่าเป็นการขยายผลที่น่าติดตาม และก็คาดว่าคงจะมีการขยายผลในแง่อื่นตามมาในอีกเร็ววัน

          สำหรับผมแล้ว ที่น่าสนใจก็คือ ทฤษฎีนี้สร้างความหวังให้กับมนุษย์อย่างเราๆ ท่านๆ ว่า เราสามารถที่จะรู้จักกับใครบนโลกใบนี้ก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น แพนเค้ก , จูเลีย โรเบิร์ต , โซระ อาโออิ , ทอมครูซ,  บุช หรือแม้กระทั่ง กษัตริย์แห่งภูฏาล โดยผ่านการแนะนำต่อๆ กันไป เพียงแค่ช่วงระยะหกเช็คแฮนด์เท่านั้นเอง 

          ที่สำคัญ ยิ่งเราทำความรู้จักกับคนมากขึ้นแม้เพียงหนึ่

20 ก.ย. 55 เวลา 10:00 1,654
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...