ผู้ก่อการร้าย..ตัวจริง

บทความเนื้อหายาวหน่อย เเต่อยากให้ลองอ่านกันดู

ถ้า อัล กออิดะห์ ไม่ได้ออกมายอมรับว่า ขบวนการของตนเองเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์วินาศกรรมกลางเมืองนิวยอร์ก 9/11 ด้วยเม็ดเงิน ผลประโยชน์ ความมั่งคั่งที่จะเกิดขึ้นจากสงครามต่อจากวันนั้น
ก็อาจมีใครคิดไปได้ว่า เหตุการณ์สะเทือนเลื่อนลั่นโลก 9/11 ผู้อยู่เบื้องหลังนั้นบางทีอาจจะเป็นนักการเมืองหรือหน่วยงานระดับนโยบายของสหรัฐอเมริกาเองก็เป็นได้. เพราะผู้ที่ได้ประโยชน์จากเหตุการณ์วันนั้น ไม่ใช่บิน ลาเดน
หรืออัล กออิดะห์ หรือกลุ่มมุสลิมจารีตปลดปล่อยกลุ่มไหน จากฟ้าจรดทราย จากมุมโลกจรดมุมโลก ผลประโยชน์ทุกเม็ดตกอยู่กับบริษัทที่หากินกับสงคราม

ประเด็นที่น่าสนใจ
- นักวิจัยจาก United for a Fair Economy พบว่า เงินเดือนของซีอีโอบริษัทระบบรักษาความปลอดภัยและค้าอาวุธชั้นนำ 37 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 79 ในช่วงปี 2544-2545 เมื่อเทียบกับซีอีโอบริษัทอื่นๆ ที่ได้เงินเดือนเพิ่มเพียงร้อยละ 6
ในช่วงเวลาเดียวกัน ยังไม่ต้องนับซีอีโอของบริษัท Lockheed Martin บริษัทอาวุธที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งได้เงินเดือนเพิ่มขึ้น 4 เท่า

- จนถึงขณะนี้ มีทหารรับจ้างของกระทรวงกลาโหมสหรัฐเสียชีวิตในอิรักไปแล้วจำนวนไม่น้อย แต่ด้วยค่าจ้างอย่างงามอย่างน้อยวันละประมาณ 1,500 เหรียญสหรัฐต่อวัน หรือประมาณ 60,000 บาทต่อวัน
3 เท่าของผู้ที่ทำงานประจำ พ่วงด้วยวันหยุดประจำปีอีก 100 วัน จึงยังเป็นที่ดึงดูดใจอยู่มาก

- ก่อนการถ่ายโอนอำนาจให้อิรักเพียง 10 กว่าวัน คณะผู้บริหารพลเรือนของสหรัฐในอิรัก ให้สัมปทานกับบริษัท Aegis Defence Services of London มูลค่า 293 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสร้างศูนย์ความร่วมมือ
เพื่อการรักษาความมั่นคงในอิรัก เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงเอกชนผู้รับสัมปทานด้านความปลอดภัยแต่ละรายในอิรัก ว่ากันง่ายๆ ก็คือศูนย์รวมทหารรับจ้างในอิรักนั่นเอง

- สหรัฐไม่ได้ต้องการใช้วิธีบุกเสร็จโค่นซัดดัมได้ก็จบกันไป แต่ต้องการมีผลประโยชน์ถาวรในอิรัก แต่การครอบครองด้วยกำลังทหารย่อมต้องเผชิญหน้ากับการต่อต้านของชาวอิรักและการประณามจากประชาคมโลก
และเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไปสำหรับรัฐบาลอเมริกัน ดังนั้นการวางรากฐานที่ฉลาดกว่า ลึกล้ำกว่า แยบยลกว่า...น่าจะเป็นคำตอบสุดท้าย

เนื้อเรื่อง
1. ก่อนการถ่ายโอนอำนาจในอิรักจะเริ่มขึ้นเพียง 1 เดือนครึ่ง คณะผู้บริหารพลเรือนของสหรัฐฯ ในอิรัก (CPA) (*) ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของคนอิรักต่อกองทัพสหรัฐฯ และพันธมิตร ผลของการสำรวจถูกเก็บเงียบ
กระทั่งหลุดรอดมาอยู่ในมือของสำนักข่าวเอพี ในอีก 1 เดือนให้หลัง. ผลการสำรวจความคิดเห็นแสดงให้เห็นว่า ชาวอิรักร้อยละ 55 เชื่อว่าตัวเองน่าจะปลอดภัยมากกว่านี้ ถ้าไม่มีกองทัพสหรัฐฯ และพันธมิตร,
ร้อยละ 41 ต้องการให้กองทัพสหรัฐฯ และพันธมิตรออกไปจากอิรักทันที, และอีกร้อยละ 45 ต้องการให้ออกเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

(*) The Coalition Provisional Authority (CPA) was established as a transitional government following the invasion of Iraq by the United States,
United Kingdom and the other members of the multinational coalition which was formed to oust the government of Saddam Hussein in 2003.
Citing UN Security Council Resolution 1483 (2003), and the laws of war, the CPA vested itself with ex*cutive, legislative, and judicial authority over the Iraqi government from the period of the
CPA's inception on April 21, 2003, until its dissolution on June 28, 2004.

ชาวอิรักร้อยละ 92 เห็นว่ากองทัพพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐฯ เป็นกองทัพของผู้บุกรุก ไม่ใช่ผู้ปลดปล่อย และความเชื่อมั่นที่มีต่อกองทัพพันธมิตรลดลงเหลือแค่ร้อยละ 11 จากร้อยละ 47 เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว.
ผู้ตอบแบบสอบถามชาวอิรัก ร้อยละ 71 บอกว่า พวกเขารู้สึกตกตะลึงกับข่าวการทารุณนักโทษในเรือนจำอาบู การิบ และร้อยละ 54 เชื่อว่าคนอเมริกันทั้งหมดมีพฤติกรรมไม่ต่างจากพวกผู้คุมในเรือนจำอาบู การิบอันอื้อฉาว

เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการทำโพลล์ครั้งนี้ กล่าวว่า “พวกเขารู้สึกเสียใจที่ความตั้งใจดีของพวกเขาในการพัฒนาชีวิตคนอิรัก ถูกตีความในทางที่ผิด”. ‘ความตั้งใจดีในการพัฒนาชีวิตคนอิรัก’ เป็นคำถามที่ดังก้องว่า
มีข้อเท็จจริงมากน้อยแค่ไหน

2. “อิรักเป็นขุมทองแคลิฟอร์เนียยุคใหม่ บรรยากาศการลงทุนกำลังพัฒนาขึ้นทุกวัน เพื่อสร้างโอกาสที่ดีให้แก่ธุรกิจเอกชนอเมริกันเข้าไปจับจองตลาดที่เคยถูกปิดในอิรัก”.
ทอม โฟเลย์ อดีตผู้อำนวยการด้านธุรกิจเอกชนของ CPA ระบุในใบแถลงข่าว. นาโอมิ ไคลน์ เจ้าของหนังสือ No Logo เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 3-4 ธันวาคม 2546 ผู้ประกอบการชาวอเมริกันกว่า 400 คน ได้ร่วมประชุม
ReBuilding Iraq 2 ที่โรงแรมเชอราตัน แต่ไม่ใช่ในกรุงแบกแดด แต่เป็นที่อาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย ผู้ประกอบการเหล่านี้มารวมตัวกันเพื่อหาโอกาสทำกำไรในอิรักจากโครงการต่างๆ ที่มีมูลค่ารวมถึง 18,600 ล้านเหรียญสหรัฐ
ซึ่งถือว่าเป็นเงินก้อนมหาศาลนับตั้งแต่สหรัฐอเมริกาเปิดประมูลงานช่วยเยอรมันและญี่ปุ่นฟื้นฟูประเทศ (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2)

ผู้ประกอบการคนสำคัญรายหนึ่งกล่าวกับนาโอมิว่า “ช่วงเวลาที่จะลงทุนได้ดีที่สุดคือช่วงเวลาที่มีเลือดนองพื้น”. เมื่อนาโอมิถามไปว่า “คุณจะไปอิรักไหม” เขาตอบสวนกลับทันที “ผมน่ะหรือ?
ไม่ ผมไม่ทำแบบนั้นกับครอบครัวผมหรอก”. การประชุมครั้งนี้ หัวเรี่ยวหัวแรงหลักคือ อดีตนายพลเกษียณอายุ โรเบิร์ต ดีส์ ซึ่งปัจจุบัน รั้งตำแหน่งหัวหน้าหน่วยยุทธศาสตร์การทหารของ Microsoft
เขาบอกที่ประชุมว่า เขาทุ่มทั้งหัวใจและวิญญาณไปกับงานนี้ เพราะเขาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักที่วางแผนบุกอิรัก ตอนนี้ “Microsoft กำลังช่วยพัฒนา e-government ให้กับรัฐบาลอิรัก”

3. ทำไมนักลงทุนจำนวนมากถึงเชื่อว่า การลงทุนในอิรักเป็นขุมทองของแคลิฟอร์เนียแห่งใหม่ ทั้งที่ข่าวความรุนแรงออกมาไม่เว้นแต่ละวัน. คำตอบน่าจะอยู่ที่…การประกันความเสี่ยง. การลงทุนในอิรักก่อนหน้าการถ่ายโอนอำนาจ
จะมี USAID (หน่วยงานของสหรัฐเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ) รับประกันความเสี่ยงให้ทุกกรณี แต่เมื่อ CPA ยุบไป หลายคนอาจหวาดหวั่นถึงการลงทุนในอิรัก แต่เรื่องนี้คลายความกังวลใจไปได้เลย
เพราะองค์กรความร่วมมือการลงทุนของเอกชนในต่างประเทศ (OPIC) (*) ได้เสนอให้เงินกู้กับเอกชนของสหรัฐที่ไปลงทุนในอิรัก และมีนโยบายมุ่งมั่นที่จะทำอิรักให้เป็นเขตการค้าเสรี (Free Trade Zone)

(*)The Overseas Private Investment Corporation (OPIC) is an agency of the United States Government established in 1971 that helps U.S. businesses invest overseas and promotes economic
development in new and emerging markets. OPIC's mission is to "foster economic development in new and emerging markets, support U.S. foreign policy and create U.S. jobs by helping U.S. businesses
to invest overseas." The agency provides political risk insurance against the risks of inconvertibility, political violence, or expropriation. OPIC also provides financing through direct loans and loan guaranties.

พอล เบรเมอร์ หัวหน้าคณะผู้บริหารพลเรือนของสหรัฐในอิรัก (CPA) ที่หมดภารกิจไปแล้วหลังการถ่ายโอนอำนาจ เคยเป็นซีอีโอของกลุ่ม Marsh & McLennan Companies (*) บริษัทรับประกันความเสี่ยงทางการเมือง
การถูกยึดทรัพย์ และการก่อการร้าย ซึ่งก็ขายประกันได้คล่องมากช่วงสงครามอิรัก แต่ถึงไม่มีบริษัทเอกชนใดกล้ารับประกันภัยกิจกรรมต่างๆ ในอิรัก ก็ไม่มีอะไรน่าวิตกกังวล

(*)Marsh & McLennan Companies, Inc. (MMC) is a US-based global professional services and insurance brokerage firm. In 2007, it had over 57,000 employees and annual revenues of $12.069 billion.
Marsh & McLennan Companies was ranked the 207th largest corporation in the United States by the 2007 Fortune 500 list, and the 5th largest U.S. company in the Diversified Financials industry.

19 กันยายน 2546 พอล เบรเมอร์ ได้ออกคำสั่งที่ 39 ว่าด้วยการลงทุน นักวิเคราะห์ที่ติดตามประเด็นการลงทุนในข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศมาโดยตลอด ถึงกับอุทานด้วยความตกตะลึง! เพราะคำสั่งที่ 39 นี้
ได้ลอกพิมพ์เขียวข้อตกลงพหุภาคีว่าด้วยการลงทุน (MAI) ที่ถูกปัดตกในการประชุม OECD (กลุ่มประเทศร่ำรวย) (*) มาแบบประเด็นต่อประเด็น คงไม่ใช่เรื่องบังเอิญอีกเช่นกันที่คำสั่งที่ 39 มีเนื้อความตรงกับ
ร่างข้อตกลงว่าด้วยการลงทุน ซึ่งเป็นประเด็นใหม่ (New Issues) ที่ยังหาความตกลงไม่ได้ใน WTO และก็เหมือนกับข้อตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) เขตการค้าเสรีอเมริกา (FTAA)
และก็ยังเหมือนกันเอฟทีเอ สหรัฐ-ชิลี, เอฟทีเอ สหรัฐ-สิงคโปร์ และขณะนี้เนื้อหาดังกล่าวก็กำลังเป็นต้นแบบของเอฟทีเอ ไทย-สหรัฐ ที่เริ่มเจรจาไปแล้ว

(*)The Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) is an international organisation of thirty countries that accept the principles of representative democracy
and free market economy. It originated in 1948 as the Organisation for European Economic Co-operation (OEEC), led by Robert Marjolin of France, to help administer the Marshall Plan,
for the reconstruction of Europe after World War II. Later, its membership was extended to non-European states, and in 1961, it was reformed into the Organisation for Economic Co-operation
and Development by the Convention on the Organisation for Economic Co-operation and Development.

สาระสำคัญของคำสั่งที่ 39 ประกอบไปด้วย
- ให้แปรรูปรัฐวิสาหกิจของอิรัก 200 แห่ง
- ให้เอกชนต่างชาติสามารถเป็นผู้ถือหุ้นสถาบันการเงิน กิจการเหมืองแร่ น้ำมัน และโรงงานต่างๆ ในอิรักได้ 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม
- ห้ามมีมาตรการควบคุมเงินไหลเข้าออกโดยเด็ดขาด ต้องอนุญาตให้เอกชนต่างชาตินำผลกำไรที่ได้ออกจากอิรัก 100 เปอร์เซ็นต์
- เอกชนต่างชาติต้องได้รับการปฏิบัติไม่น้อยกว่านักลงทุนชาวอิรัก
- ห้ามใช้ ‘ข้อกำหนดผลการปฏิบัติงาน’ เช่น กฎระเบียบที่มาจากบริบทท้องถิ่นมาบังคับนักลงทุนต่างชาติให้ทำตามเพื่อผลประโยชน์ของเศรษฐกิจท้องถิ่น
- นักลงทุนต่างชาติมีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากคลังของประเทศ หากพบว่ารัฐบาลอิรักมีพฤติกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม หรือเสมือนหนึ่งว่ายึดทรัพย์กิจการของเอกชนไปเป็นของรัฐหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ
โดยการระงับข้อพิพาทนั้นจะใช้ระบบอนุญาโตตุลาการ
ฯลฯ
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่นิตยสาร The Economist เรียกว่า ‘ฝันของนายทุน’ (Capitalist Dream)

4. อันที่จริงการแสวงหากำไรไม่ได้เพิ่งเริ่มในสงครามอิรักเมื่อเดือนมีนาคม 2546 เสียทีเดียว แต่วางรากฐานมายาวนาน และได้โหมสุดแรงเกิดตั้งแต่หลังเหตุการณ์ 9/11 หกลองไปสำรวจกันดูแบบคร่าวๆ จะพบว่า…
หลังเหตุการณ์ 9/11 เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ใช้ในการสอดแนมแพร่ระบาด เครื่องตรวจวัดชีวภาพ (Biometric) ที่ใช้บันทึกโครงหน้า เสียง ส่วนประกอบของร่างกายติดตั้งอยู่ตามสนามบิน สนามกีฬา และสวนสาธารณะ
เพื่อตรวจจับผู้คนที่ผ่านเข้าออก โปรแกรมอิเลกทรอนิกส์ที่ใช้ในการติดตามที่มาของผู้เข้าชมเวบไซต์ ผู้ใช้บริการการโอนเงิน หรือแม้แต่วิดิโอรักษาความปลอดภัยก็ใช้กันอย่างแพร่หลาย

สำหรับเทคโนโลยีหลักที่ขับเคลื่อนตลาด ได้แก่ เครื่องมือตรวจจับวัตถุระเบิด สมาร์ทการ์ดที่ใช้เก็บข้อมูลทุกประเภทของผู้ถือบัตรประจำตัว. เทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยแรกๆ ที่นำโด่งมาคือ
ซอฟท์แวร์ที่สามารถจดจำหน้าคนได้ ราคาโปรแกรม Visionis และ Visage เพิ่มขึ้นเท่าตัวในเวลาอันรวดเร็ว เพราะสนามบินทุกแห่ง สถานที่ท่องเที่ยวหลักต้องติดตั้งโปรแกรมนี้ ผู้ได้รับกำไรเต็มๆ คือ บริษัท Pelco Inc.
ขาใหญ่ที่สุดในวงการระบบกล้องวิดิโอรักษาความปลอดภัย

และตามกฎหมายป้องกันการก่อการร้าย หรือกฎหมายรักชาติ (USA PATRIORT Act) (*) ซึ่งประกาศใช้หลังเหตุการณ์ 9/11 เพียงเดือนเศษ บังคับให้สถาบันการเงินต่างๆ ทั้ง ธนาคาร ผู้ให้บริการบัตรเครดิต
และบริษัทประกันภัยต่างๆ ต้องจับตาพฤติกรรมลูกค้าอย่างใกล้ชิด. บริษัทใหญ่ๆ อย่าง Cisco, Sybase Sun Microsystem และ Oracle เป็นเพียงไม่กี่บริษัทที่มีโปรแกรมต่างๆ พร้อมสำหรับกฎหมายฉบับนี้
โดยเฉพาะโปรแกรมป้องกันการฟอกเงิน (AML)

(*)The USA PATRIOT Act, commonly known as the 'Patriot' act, is an Act of Congress that United States President George W. Bush signed into law on October 26, 2001. The acronym stands for
"Uniting and Strengthening America by Providing Appropriate Tools Required to Intercept and Obstruct Terrorism Act of 2001" (Public Law Pub.L. 107-56).

The act expands the authority of US law enforcement agencies for the stated purpose of fighting terrorism in the United States and abroad. Among its provisions,
the Act increases the ability of law enforcement agencies to search telephone, e-mail communications, medical, financial and other records;
eases restrictions on foreign intelligence gathering within the United States; expands the Secretary of the Treasury’s authority to regulate financial transactions,
particularly those involving foreign individuals and entities; and enhances the discretion of law enforcement and immigration authorities in detaining and deporting immigrants
suspected of terrorism-related acts. The act also expands the definition of terrorism to include domestic terrorism, thus enlarging the number of activities to
which the USA Patriot Act’s expanded law enforcement powers can be applied.

เบฟนิ แมคไกว์ นักวิเคราะห์การเงินกล่าวว่า “แม้ PATRIORT Act จะสร้างภาระให้ผู้ประกอบการสถาบันการเงิน แต่มันเป็นประโยชน์กับบริษัทเจ้าของโปรแกรมที่เกี่ยวกับการป้องกันการฟอกเงินและธุรกิจต่อเนื่องอย่างมาก”.
ในรายงานฉบับเดียวกันระบุว่า ผลประกอบการของบริษัทเหล่านี้พุ่งพรวด 2-3 เท่าในเวลาเพียงไม่กี่เดือน แต่เมื่อย้อนกลับไปดูจะพบว่า หลายบริษัทพยายามผลักดันเทคโนโลยีของตนเองก่อนเหตุการณ์ 9/11 มานานแล้ว

Oracle บริจาคซอฟท์แวร์สมาร์ทการ์ด ที่มีโปรแกรมการตรวจวัดทางชีวภาพ ให้กับรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งนักวิเคราะห์บางรายตั้งข้อสังเกตว่า “การบริจาคโปรแกรมเป็นไปเพื่อการหวังผลกำไรในภายภาคหน้า
เพราะการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนนั้น ใช้เงินมหาศาล รัฐบาลหลายประเทศกำลังถูกเสนอให้เปลี่ยนวิธีการเดิมๆ มาใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งข้าราชการส่วนใหญ่ประเมินรายจ่ายต่ำเกินไป”

อีกเทคโนโลยีที่น่าสนใจคือ การฝังชิพ ปี 2545 หน่วยงานด้านอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) อนุญาตให้ขายไมโครชิพที่ใช้ติดกับร่างกายคนเพื่อการติดตามตัวตลอด 24 ชั่วโมงได้
หลังจากที่เพียรพยายามผลักดันมานานหลายปี เมื่อสบโอกาสจึงประสบความสำเร็จ. อีกไม่นาน อาจจะมีข่าวว่าเพื่อป้องกันเด็กถูกลักพาตัว พ่อแม่ควรพาลูกมาฝังชิพเพื่อป้องกันลูกพลัดหลง ซึ่งขณะนี้เทคโนโลยีรองรับไว้แล้ว

เดวิด มาร์ติน นักวิจัยจาก United for a Fair Economy วิจัยพบว่า จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้เงินเดือนของซีอีโอ.ของบริษัทระบบรักษาความปลอดภัยและค้าอาวุธชั้นนำ 37 แห่ง
(เท่าที่ยอมเปิดเผยข้อมูล) เพิ่มขึ้นร้อยละ 79 ในช่วงปี 2544-2545 เมื่อเทียบกับซีอีโอบริษัทอื่นๆ ที่ได้เงินเดือนเพิ่มเพียงร้อยละ 6 ในช่วงเวลาเดียวกัน และที่สุดยอดคงต้องยกให้ซีอีโอ.ของบริษัท Lockheed Martin
(*) บริษัทอาวุธที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้เงินเดือนเพิ่มขึ้น 4 เท่า!

(*)Lockheed Martin (NYSE: LMT) is a leading multinational aerospace manufacturer and advanced technology company formed in 1995 by the merger of Lockheed Corporation with Martin Marietta.
It is headquartered in Bethesda, an unincorporated area in Montgomery County, Maryland and a suburb of Washington, D.C. Lockheed Martin employs 140,000 people worldwide.
Robert J. Stevens is the current Chairman, President, and Chief Ex*cutive Officer.

Lockheed Martin is the world's largest defense contractor (by revenue). As of 2005, 95% of Lockheed Martin's revenues came from the United States Department of Defense,
other U.S. federal government agencies, and foreign military customers. A team led by prime contractor Lockheed Martin won the 2006 Collier Trophy for the development of the F-22 Raptor fighter jet.

5. คงไม่ใช่อยู่ๆ สงครามจะเกิดขึ้นเองได้...แน่นอนว่ามันต้องมีปัจจัย แต่บางปัจจัยก็เกิดขึ้นโดยความจงใจ. หนังสือพิมพ์ The Observer ฉบับวันที่ 11 พฤษภาคม 2546 รายงานว่า เจมส์ วูลเซย์ อดีตผู้อำนวยการซีไอเอ
และที่ปรึกษาสายเหยี่ยวที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ปัจจุบันควบตำแหน่งผู้อำนวยการของบริษัท Paladin Capital (*) ที่ทำกำไรมากที่สุดอันดับต้นๆ จากสงครามต่อต้านการก่อการร้าย
ทั้งที่เพิ่งตั้งบริษัทหลังเหตุการณ์ 9/11 เพียง 2 เดือนเท่านั้น
(*) Paladin Capital Group
• Paladin is an established, multi-stage private equity firm that invests in growing companies through acquisitions and expansion capital.
• Headquartered in Washington D.C., with offices in New York City, NY and Atlanta, GA, Paladin has more than $750 million dollars under management across several distinct funds.
• Paladin established its first fund in 2001, launched the $235M Homeland Security Fund in 2004, and its follow-on fund, Paladin III in 2007.
• The firm's leadership is comprised of professionals with a proven track record of financial expertise, national security experience and specialized technical competence.
• Collectively, Paladin's professionals have completed over 100 direct and co-investments in a wide range of industries.
• Paladin is focused on being an active investor and bringing value-added advice, access and relationships to its portfolio companies.

เป้าหมายสูงสุดของบริษัท Paladin Capital ตามที่โฆษณาไว้คือ บริษัทจะไปลงทุนในบริษัทต่างๆ ที่มีความสามารถและเทคโนโลยีในการป้องกันการโจมตี การป้องกันตัวเอง การจัดการภายหลังเหตุการณ์โจมตีจากกลุ่มก่อการร้าย
และภัยต่างๆ ในประเทศ Paladin สามารถระดมเงินจากนักลงทุนได้ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ไว้รองรับงบประมาณของรัฐบาลด้านความมั่นคงในปี 2547 ที่สูงถึง 60,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

เจมส์ วูลเซย์ เป็นสายเหยี่ยวสำคัญคนหนึ่งที่ยืนยันอย่างแข็งขันมาโดยตลอดว่า ซัดดัม
ฮุสเซน อดีตผู้นำอิรัก มีความเกี่ยวกันกับกลุ่มอัล กออิดะห์ (ประเด็นนี้ถูกคณะกรรมการพิจารณากรณี 9/11 ของวุฒิสภาสหรัฐชี้ไปแล้วว่าไม่มีมูลความจริง) และเป็นคนที่พยายามเสนอทฤษฎีว่า
จดหมายแอนแทรกซ์ที่กระจายในสหรัฐอเมริกานั้น เป็นฝีมือของกลุ่มที่ซัดดัมสนับสนุน

อ่านต่อตามลิงค์ด้านล่างครับ

21 เม.ย. 55 เวลา 06:08 7,376 7 150
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...