"พันศักดิ์" อ่านกับดักเศรษฐกิจโลก ปั้นไพร่เสื้อแดง เป็นนายทุนน้อย ขึ้นขบวนรถไฟไทย-จีน ทะลุ

"พันศักดิ์" อ่านกับดักเศรษฐกิจโลก ปั้นไพร่เสื้อแดง เป็นนายทุนน้อย ขึ้นขบวนรถไฟไทย-จีน ทะลุถึงทวาย

Share7



 




 

P { MARGIN: 0px }


ในห้องทำงานของเขาเต็มไปด้วยแผ่นเสียงเพลงแจ๊ซ บลูส์เป็นส่วนใหญ่เครื่องเสียง ลำโพงของเขากินพื้นที่ห้องเกือบ 80% ผนังห้องบุวัสดุพิเศษ ให้เสียงจากลำโพงทุ้มนุ่ม ไม่สะท้อนกำแพงคอนกรีต

บนโต๊ะทำงานของเขามีหนังสือเกี่ยวกับจักรยาน กล้องถ่ายรูป และเอกสารข่าวเศรษฐกิจทั่วโลก

ใกล้ห้องทำงานเป็นห้องเก็บจักรยานที่เขาสั่งตัดพิเศษ ส่งตรงจากต่างประเทศ ราคาเกือบครึ่งล้าน

เมื่อ "ประชาชาติธุรกิจ" เปิดประเด็นสนทนากับ "พันศักดิ์ วิญญรัตน์" ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ-การเมือง เขาอธิบายเชื่อมโยงตั้งต้นตั้งแต่เรื่องไพร่ไปจนถึงกับดักรายได้ และนิยายโรแมนติกของเหมา เจ๋อ ตุง

 # ปัญหากับดักรายได้สูงทั่วโลก

เวลานี้ประเทศที่มีรายได้สูงกำลังเข้าสู่ภาวะ High Income Trap หรือกับดักรายได้สูง ซึ่งมีปัญหาในศตวรรษที่ 21 คือ แนววิธีคิดเรื่องประเทศที่มีรายได้สูง ประเทศอุตสาหกรรมยุคใหม่ มีการลงทุนในเรื่องเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์สูงมาก จึงเกิดปรากฏการณ์รายได้สูงที่กระจุกตัวอยู่กับพนักงาน และผู้ถือหุ้นไม่กี่คน ไม่มีการจ้างงานในสหรัฐอเมริกา แต่กลับไปจ้างแรงงานที่ประเทศจีนเป็นแสนคนแทน ทำให้สหรัฐมีปัญหาคนตกงานต่อเนื่อง และรายได้ของคนชั้นกลางซึ่งเป็นรายได้ที่แท้จริงตกลง

เมื่อเก็บภาษีได้น้อยลง แต่สวัสดิการเท่าเดิม มันก็อยู่ไม่ได้ วิธีที่จะได้ภาษีคือต้องให้คนส่วนใหญ่จ่ายภาษี ผมจึงเรียกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับสหรัฐ และยุโรป ว่า High Income Trap เป็นกับดัก

ของการอ้างว่ารายได้สูง แต่จริง ๆ แล้วประชาชนส่วนใหญ่รายได้ตก

 # ปัญหาในลักษณะนี้จะทำให้ประเทศไทยนำไปสู่จุดนั้นหรือไม่ 

ต้องกลับมามองรายได้ของกลุ่มประเทศระดับต่ำ ระดับกลาง ระดับสูง มันปรับตัวเองตลอดเวลา เราจึงได้เคลื่อนจากรายได้ระดับต่ำไปเป็นรายได้ระดับกลาง รายได้ของคนจนในประเทศไทยซึ่งมีรายได้ขั้นต่ำในปัจจุบัน สูงกว่ารายได้ระดับต่ำเมื่อ 20 ปีที่แล้ว 220 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าคนจนในประเทศได้ปรับระดับขึ้นมา

เราพิสูจน์แล้วว่าศักยภาพของคนไทยที่จะเสียภาษีเพิ่มจากการที่รัฐบาลเปิดให้ศักยภาพนั้นทำงาน เช่น โอท็อป กองทุนหมู่บ้าน สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดรายได้ ดังนั้นจึงต้องเติมต่อในด้าน technical skill (ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค) เข้าไป เพื่อทำให้คุณภาพการผลิตดีขึ้น หรือลดค่าใช้จ่ายการผลิต ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ หรือ domestic growth วิธีการก็คือ รัฐบาลต้องลงทุนในการปรับคุณภาพการผลิตของชาวบ้าน 

  #  แต่ระบบคิดของรัฐบาลไม่ตอบสนองแนวทางนี้

ต้องไปบอกเขาให้ตอบสนอง ต้องบอกว่าของแบบนี้มันต้องทำแล้ว ต้องทำให้ชัดเจนว่าจะไปช่วยชาวบ้านอย่างไร เป็นสิ่งที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กับกระทรวงสาธารณสุข ต้องทำให้ตัวเองมีชีวิตชีวาขึ้น เช่น ทำตราพิเศษสำหรับหมู่บ้านที่ผลิตสินค้าที่ใช้ภาชนะไม่เป็นพิษ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขต้องประสานกัน ระหว่าง SME แบงก์ ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย 

 # ต้องนำโมเดลนี้ไปให้แบงก์รัฐปฏิบัติก่อนหรือไม่ เพื่อให้เกิดรูปธรรม

ต้องแบงก์รัฐก่อน แล้วรับรองว่าแบงก์พาณิชย์พอมาเห็นว่า work นะ วิ่งตามทันที จำได้ไหมเมื่อ 10 กว่าปีก่อน ผมพูดถึง SMEs มีใครสนใจบ้าง เดี๋ยวนี้แบงก์พาณิชย์แข่งกันทำ SME Loan ซึ่งแนวคิดของประเทศสิงคโปร์ เมื่อแบงก์รัฐทำไปข้างหน้าแล้ว แบงก์พาณิชย์วิ่งตาม แบงก์รัฐก็ถอนตัว

 # หน่วยงานของรัฐจะลุกขึ้นมาวิ่งก็ต่อเมื่อรัฐบาลมีคำสั่ง 

คือรัฐบาลจะต้องมี vision ที่ practical (ใช้ได้จริง) มีวิสัยทัศน์ ที่ตีนติดดิน ไม่ใช่วิสัยทัศน์ที่ลอย ๆ ไม่ใช่ความสามารถที่ฝันว่าจะมี แล้วกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข ก็จะมีงานทำ เพราะกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้มีหน้าที่แค่ไปจับคนที่มาขายของเป็นพิษให้กับประชาชน แต่มีหน้าที่ส่งเสริมให้สังคมไทยมีกระบวนการผลิตที่มีพิษน้อยลง เพราะคุณไม่ใช่ตำรวจ แต่เป็นผู้ช่วยให้ประชาชนทำมาหากินได้ สำหรับผมคิดว่ากระทรวงสาธารณสุขมีความสำคัญมากกว่ากระทรวงพาณิชย์ เพราะเป็นส่วนที่เสริมให้ประชาชนสามารถผลิตได้อย่างมีคุณภาพ เป็น adviser (ที่ปรึกษา) ของการหารายได้ของประชาชนที่ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค 

 # ทุกธุรกิจเตรียมพร้อมรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แต่ภาครัฐยังเคลื่อนตัวค่อนข้างช้า

คำว่าพร้อมหรือไม่พร้อมต้องถามตัวเองว่า พร้อมในเชิง 1.ภาคเอกชน อยากไปหรือเปล่า 2.มีศักยภาพอะไรที่จะไป แม้ไม่มี AEC (ASEAN Economic Community) ไปถามบริษัทซีพีสิ ลงทุนในประเทศอาเซียนมากี่ปีแล้ว เพราะเขามีศักยภาพของเขา และมีความสามารถบริหารจัดการ ธนาคารกรุงเทพก็ไปลงทุนในอาเซียนก่อนบริษัทซีพี ไปเปิดสาขาที่ประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่ปี 1950 ไปเปิดสาขาจาการ์ตา (อินโดนีเซีย) 40 กว่าปีแล้ว อยู่ไซง่อน ตั้งแต่ 1960 จะเห็นได้ว่ากลุ่มธนาคารของไทยไปอยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียน ก่อนจะเป็นอาเซียนอีก

ความเด่นของเราคือมีชื่อเสียงเรื่องระบบธนาคารที่นิ่งกว่าคนอื่นในอาเซียน ยกเว้นสิงคโปร์ และเรามี service mind โดยเฉพาะ private banking มากกว่าทุกประเทศ เวลาเป็น hub เราต้องเป็น hub ของกระบวนการ sophisticate service industry คือ banking insurance, shipping insurance มันต้องรองรับด้วยระบบนิติธรรมที่นิ่ง

  # กลุ่มทุนต่างประเทศแห่เข้าไปลงทุนในประเทศพม่า มีทวายโปรเจ็กต์เกิดขึ้น

ใช่...มันชัดเจนมากเรื่องทวาย แต่เชื่อไหม ทวายไม่ใช่เป้าสุดท้ายของเรา หรือของญี่ปุ่น ทวายเป็น transits point (ทางส่งผ่าน) ไปสู่อินเดีย อัครมหาเศรษฐีใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งของโลก และไปสู่ gulf state (กลุ่มประเทศที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอารเบียน) และไปสู่ยุโรป โดยไม่ต้องอ้อมผ่านช่องแคบมะละกา ประหยัดค่าต้นทุน ค่าประกัน

ที่สำคัญของสินทรัพย์ญี่ปุ่น ซึ่งลงทุนในไทยมาเป็น 50-60 ปี โดยใช้ทวายเป็น transits ผ่านไปขายยังอินเดีย

การที่นายกฯยิ่งลักษณ์ไปคุยกับอินเดีย อินเดียจึงอยากสร้างถนนจากทางเหนือของอินเดียเข้าพม่า จากนี้ขึ้นอยู่กับพม่าจะพึงพอใจที่เขาจะยินดีให้มีถนนจากอินเดียเข้าพม่าหรือไม่ เราต้องเฝ้ามองด้วยความสนใจ

ทวายโปรเจ็กต์เป็นการต่ออายุให้กับโครงสร้างการลงทุนทางอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในประเทศไทย นั่นคือการจ้างงานต่อเนื่องของอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ที่จ้างงานคนไทยอย่างน้อยเกือบล้านคน และยังจ้างงานข้างเคียงอีกเกือบ 2 ล้านคน

เพราะฉะนั้น คำว่า hub เป็นสิ่งที่พระเจ้าให้มาส่วนหนึ่ง ส่วนองค์ประกอบอื่นคือ 1.ความนิ่ง และความมีประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐาน 2.ความนิ่งของระบบการเมือง 3.ระบบนิติธรรมต้องนิ่ง และเป็นระบบซึ่งโลกเข้าใจและยอมรับได้ ต้องไม่มีสองมาตรฐาน ไม่ว่าสองมาตรฐานทางการเมือง หรือสองมาตรฐานทางธุรกิจ

ในประเทศไทย ผมถึงเรียกร้องว่าไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญ หรือระเบียบอะไรก็ตาม ควรจะต้องเปลี่ยนให้รองรับ

ความนิ่ง และความโปร่งใสของระบบนิติธรรมที่จะรองรับความเป็น hub ซึ่งการเป็น hub จะต้องมีการจ้างคนเป็นล้านคน และต้องเสียภาษี เป้าผมอยู่แค่นี้ (หัวเราะ) จะให้อำนาจประชาชนเสียภาษีอย่างไร คำนี้สำคัญที่สุด 

 #  ลงทุนทวายโปรเจ็กต์เชื่อมกับพม่า รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ตอบโจทย์อะไร

ตอบโจทย์ domestic growth ตอบโจทย์จีน เพราะจีนกำลังเป็น economic magnate (เศรษฐกิจสำคัญ) ของโลก เอาแค่ 3 จังหวัดทางใต้ของจีน จีนอยากสร้างรถไฟเพราะจะได้ขนของจากไทยไป เราก็ต้องใช้ประโยชน์ตรงนี้โดยขนของไทยไปขายจีน ลองคิดดู หากเรามีรถไฟความเร็วสูงวิ่ง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถไฟจีนมันมีความหมายมาก ทำให้กรุงเทพฯชะลอการขยายตัว ทำให้ประหยัดเงินไปหมื่น ๆ ล้านต่อปี 

 # การชุมนุมของคนเสื้อแดงคิดว่าเป็นปรากฏการณ์และเป็นโอกาสที่ดี ที่จะผลักดันให้ไพร่ขึ้นมาเป็นชนชั้นหนึ่งที่อยู่ในระบบภาษีได้

ใช่...โอกาสที่ดี ถ้าผมเป็นรัฐบาล ผมรีบรับพวกเสื้อแดง เพราะคนเสื้อแดงเรียกว่านายทุนน้อยเยอะแยะไปหมด เขาไม่ได้ขอเป็นคอมมิวนิสต์ แต่ขอเข้าระบบของประเทศ ไม่ได้ขอให้รัฐบาลไปยึดที่ดินของเศรษฐีมาแจก เหมือนนิยายโรแมนติกของจีน ท่านเหมา เจ๋อ ตุง ยึดที่ดินจากเจ้าที่ดินมาแจก แต่ท่านเติ้ง เสี่ยว ผิง ท่านไม่ใช่คนโรแมนติก แต่ท่านให้โอกาสคนตาตี่ ผิวเหลือง อย่างน้อย 200 ล้านคน ได้ประโยชน์จากการเสี่ยงของตัวเอง เพื่อมีโอกาสได้เสียภาษี

 # การขยายตัวทางเศรษฐกิจกับประชาธิปไตยต้องเดินไปคู่กัน

แน่นอน...สำคัญมาก หากใช้ระบบประชาธิปไตยของผม แน่ล่ะจะต้องมีตัวแทนประชาชน แต่ระบบประชาธิปไตยนั้นมันครอบคลุมเกินคำว่า รัฐบาล รัฐสภา ระบบประชาธิปไตยหมายความว่าคุณมี freedom ที่จะเสี่ยง มีอิสระทางการพูด เพื่อให้คนลองของแล้ว ล้มเหลวเอง เช่น คุณบอกว่าห้ามออกแบบเสื้อสีแดง เพราะสีแดงมันจัญไร แต่เผอิญปีนั้นทั้งโลกเขาบ้าเสื้อสีแดงกัน เราต้อง export (ส่งออก) เสื้อสีแดง แต่เขาดันห้ามผลิต คุณไม่มี freedom of thought (อิสระทางความคิด) ทำให้ lost democracy (ไม่มีประชาธิปไตย)

 # ข้อเสนอด้านประชาธิปไตยและเศรษฐกิจ เคยถูกประเมินว่าก้าวหน้าเกินไป และกระทบต่อกลุ่มอำนาจเก่า ทำให้คนที่นำข้อเสนอไปใช้อยู่ไม่ได้ในอำนาจรัฐ  

ในสถานการณ์รอบตัวเรา ในขณะที่อำนาจเศรษฐกิจของจีนยิ่งใหญ่ขนาดนี้ พม่ากำลังเปิดตัว และเพิ่งเซ็นสัญญากับประเทศสิงคโปร์ ให้เป็นพี่เลี้ยง เป็น ที่ปรึกษา เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและระบบภาษี เอ๊ะ...เกาะเล็ก ๆ นั้นโผล่มาจากไหน อยู่ดี ๆ ไปสนิทกับพม่ามากกว่าไทย ของอย่างนี้ ถามว่าคนที่มีอำนาจของสังคมไทยมีสินทรัพย์หรือเปล่า คุณจะดูแลสินทรัพย์ของคุณในอนาคตอย่างไร

 





 

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...