10 ทฤษฎีจับผิด "อะพอลโล" ลงจอดดวงจันทร์

แม้ว่านาซาจะประสบความสำเร็จในการส่งมนุษย์ไปเยือนดวงจันทร์เมื่อกว่า 40 ปีก่อน แต่มีหลาย

คนไม่เชื่อว่าโครงการ “อะพอลโล” ของสหรัฐฯ จะปฏิบัติภารกิจดังกล่าวได้จริง และยังมีทฤษฎี

มากมายที่เสนอขึ้นมาจับผิดองค์การอวกาศ ซึ่งทางสเปซด็อทคอมได้หยิบ 10 ทฤษฎีจับผิด

และข้อมูลแย้งมานำเสนอ 

       ทฤษฎีจับผิด 1 : องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ส่งยานอวกาศไป

เยือนดวงจันทร์ช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 ถึงต้นทศวรรษ 1970 แต่มนุษย์อวกาศของ

สหรัฐฯ ไม่เคยเหยียบดวงจันทร์


ข้อมูลแย้ง : นาซาส่งมนุษย์อวกาศในโครงการอะพอลโล (Apollo) ไปลงดวงจันทร์จริง แต่ข้อ

เท็จจริงดังกล่าวไม่อาจหยุดยั้งทฤษฎีสมรู้ร่วมคิด ว่ามนุษย์ไม่เคยเหยียบบนดวงจันทร์ และยังมี

ทฤษฎีที่เสนอว่าภาพการเหยียบดวงจันทร์นั้นเป็นการจัดฉากหลอกลวงระดับโลก


       ทฤษฎีจับผิด 2 : นาซาหลอกลวงเพราะธงชาติสหรัฐฯ ปลิวไสวบนดวงจันทร์ 


       ข้อมูลแย้ง : หากมองดูใกล้ๆ เราจะเห็นว่าที่ขอบธงนั้นถูกตรึงไว้ ซึ่งเป็นผลจากเส้นลวดที่

เสริมเข้าไปในผืนผ้าเพื่อให้ธงขึงตึง ส่วนลักษณะที่คล้ายกับผืนธงปลิวไสวนั้นเป็นผลจากการที่

มนุษย์อวกาศพยายามตั้งธง ด้วยเหตุผลเหล่านี้ทำให้ธงชาติสหรัฐฯ ดูปลิวไสว

       ทฤษฎีจับผิด 3 : นักบินอวกาศน่าจะเสียชีวิตเพราะอนุภาคมีประจุจากแถบการแผ่รังสีแวน

อัลเลน (Van Allen Belt) 

       ข้อมูลแย้ง : แถบการแผ่รังสีแวนอัลเลนนั้นเกิดจากสนามแม่เหล็กโลก ซึ่งช่วยปกป้อง

โลกเราจากรังสีอันตรายที่ดวงอาทิตย์ส่งมา แถบการแผ่รังสีทำหน้าที่สะสมและดักอนุภาครังสี

เหล่านั้นไว้ในชั้นรอบๆ โลก และหากเราไม่นั่งยานอวกาศเข้าไปอยู่ในแถบการแผ่รังสีนี้นาน

หลายชั่วโมงหรือหลายวัน ระดับรังสีที่เราได้รับเมื่อผ่านแถบดังกล่าวยังอยู่ในระดับปลอดภัย

และตลอดภารกิจลูกเรือของยานอะพอลโลผ่านแถบการแผ่รังสีดังกล่าวไม่ถึงชั่วโมง

ทฤษฎีจับผิด 4 : ภาพเงานักบินอวกาศบนดวงจันทร์ที่มีหลายมุมแสดงว่ามีแหล่งกำเนิด

แสงหลายแห่ง คล้ายกับแสงไฟจากสตูดิโอถ่ายทำภาพยนตร์

ข้อมูลแย้ง : นักบินอวกาศถ่ายภาพของพวกเขาบนทำเลที่เต็มไปด้วยเนินและภูมิประเทศ

ที่ค่อนข้างสว่างจ้า ซึ่งขณะนั้นดวงอาทิตย์ค่อนข้างอยู่ใกล้ขอบฟ้า และเส้นโค้งของพื้นดินทำให้

เกิดเงามากมายที่มีความยาวแตกต่างกัน

 ทฤษฎีจับผิด 5 : ภายใต้แสงอาทิตย์อุณหภูมิบนดวงจันทร์ควรจะสูงเกิน 130 องศา      

เซลเซียส และฟิล์มที่ใช้ถ่ายทำควรจะหลอมละลาย


ข้อมูลแย้ง : ไม่มีใครวางแผ่นฟิล์มเปล่าๆ บนพื้นผิวดวงจันทร์ที่ร้อนจัด ทั้งหมดถูกเก็บไว้ใน

กล่องที่มีการปกป้องอย่างดี นอกจากนี้ ช่วงเวลาที่ยานอะพอลโลลงจอดนั้นเป็นช่วงเวลารุ่งเช้า

หรือยามเย็นบนดวงจันทร์ ซึ่งทำให้มนุษย์อวกาศรับมือกับอุณหภูมิบนดวงจันทร์ได้ง่าย
 

ทฤษฎีจับผิด 6 : ถ้าจะฝากรอยเท้าบนดวงจันทร์ดินบนนั้นต้องชุ่มชื้น 

ข้อมูลแย้ง : ไม่จริงเสมอไป หากเราเทผงที่มีความละเอียดมากๆ ลงบนพื้น อย่างเช่นผงแป้ง

ทัลคัม เราจะทำให้เกิดร่องรอยบนผงเหล่านั้นได้อย่างง่ายดายและยังคงรักษารูปร่างของร่อง

รอยนั้นได้ ซึ่งอนุภาคผงรักษาตำแหน่งเดิมด้วยการเสียดสีระหว่างกัน


ทฤษฎีจับผิด 7 : ในอวกาศนั้นเต็มไปด้วยอุกกาบาตขนาดเล็กที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง

ซึ่งสามารถพุ่งทะลุยานอวกาศและฆ่ามนุษย์อวกาศได้ 


ข้อมูลแย้ง : อวกาศยังมีเรื่องให้ประหลาดใจอยู่เสมอ ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าจะมีเศษซากเล็กๆ จำนวน

มากล่องลอยอยู่ในระบบสุริยะด้วยความเร็วราวๆ 200,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่อวกาศอัน

กว้างไกลทำให้ความหนาแน่นของเศษซากอุกกาบาตเหล่านั้นค่อนข้างต่ำ และโอกาสที่จะมี

อุกกาบาตขนาดเล็กพุ่งเข้ามาในพื้นที่ประมาณ 1 ตารางเมตรนั้นมีค่าเกือบเป็นศูนย์ นอกจากนี้ชุด

อวกาศที่มีชั้นของเส้นใยเคฟลาร์ (Kevlar) ก็ช่วยปกป้องนักบินอวกาศจากการปะทะของเศษชิ้น

ส่วนเล็กๆ ในอวกาศ


       ทฤษฎีจับผิด 8 : ทำไมไม่เกิดหลุมลึกเมื่อโมดูลลูนาร์เอ็กซ์เคอร์ชัน

(Lunar Excursion Module) หรือเล็ม (LEM) ลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ซึ่งเต็มไปด้วยฝุ่น 

       ข้อมูลแย้ง : ใต้ชั้นฝุ่นบนดวงจันทร์นั้นเป็นชั้นที่มีความหนาแน่นมาก ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า

ในภาพยนตร์สารคดีนั้นมนุษย์อวกาศเตะฝุ่นขึ้นมา

       ทฤษฎีจับผิด 9 : เป็นไปไม่ได้เลยที่ยานซึ่งมนุษย์อวกาศขับบนดวงจันทร์นั้นจะใส่เข้าไปใน

โมดูลลงจอดเล็กๆ ได้ 

ข้อมูลแย้ง : ยานขับสำรวจบนดวงจันทร์ถูกสร้างขึ้นมาอย่างอัจฉริยะ ด้วยวัสดุที่มีน้ำหนักเบา

มากๆ และถูกออกแบบให้สามารถพับเก็บชิ้นส่วนให้มีขนาดกระชับพอดีได้ จัดเป็น

“ยานทรานสฟอร์เมอร์” (Transformer) ของจริง

ทฤษฎีจับผิด 10 : อวกาศเกลื่อนไปด้วยจุดเล็กๆ ของดวงดาว แล้วดาวเหล่านั้นหายไป

จากภาพถ่ายปฏิบัติการลงจอดบนดวงจันทร์ได้อย่างไร

ข้อมูลแย้ง : หากเราออกไปถ่ายภาพตอนกลางคืน เราก็จะไม่เห็นวัตถุจางๆ ที่อยู่แสนไกล นั่น

ไม่ใช่เพราะอากาศกั้นแสงไม่ให้มาถึง แต่เป็นเพราะความสว่างของวัตถุที่อยู่ใกล้ๆ บดบังวัตถุ

เหล่านั้นจนไม่ปรากฏในภาพถ่าย และในความเป็นจริงหากเรายืนอยู่ด้านสว่างของดวงจันทร์ เรา

ก็จำเป็นต้องหาวิธีบังภูมิประเทศบนดวงจันทร์ เพื่อให้สายตาเราสามารถมองเห็นดาวดวงอื่นๆ ได้


       ทั้งนี้ ยานอวกาศในโครงการอะพอลโลได้ลงจอดบนดวงจันทร์ครั้งแรกเมื่อ 20 ก.ค.

1969โดยยานอะพอลโล 11 (Apollo 11) ซึ่งมีมนุษย์อวกาศเดินทางไปทั้งหมด 3 คน และ

นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) คือมนุษย์คนแรกที่เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ จากนั้น

เอ็ดวิน “บัซ” อัลดริน (Edwin "Buzz" Aldrin) นักบินผู้ขับโมดูลลูนาร์ จึงตามลงไป ทั้งคู่

ใช้เวลาอยู่บนดวงจันทร์ 21 ชั่วโมง 36 นาที ซึ่งรวมเวลาในการพักผ่อนด้วย 7 ชั่วโมง

ส่วน ไมเคิล คอลลินส์ (Michael Collins) ทำหน้าที่ขับยานอวกาศและรอรับมนุษย์อวกาศ 2

คนที่ลงไปสำรวจดวงจันทร์กลับโลก

       มีการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ของปฏิบัติการลงจอดบนดวงจันทร์ดังกล่าวไปทั่ว

โลก และประมาณว่ามีคนทั่วโลกราว 530 ล้านคนได้ชมภาพที่อาร์มสตรองเหยียบลงบน

พื้นผิวดวงจันทร์ และได้ยินเขาพูดประโยคอันเป็นอมตะว่า “ก้าวเล็กๆ ของมนุษย์คนหนึ่ง

แต่เป็นก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ” (...one small step for a man, one giant

leap for mankind) ระหว่างการถ่ายทอดโทรทัศน์ปฏิบัติการดังกล่าว

       อย่างไรก็ดี ทางนาซาจะปล่อยภาพบริเวณที่ยานอวกาศลงจอดบนดวงจันทร์ภาพ

ใหม่ในวันอังคารที่ 6 ก.ย.54 เวลา 22.45 น. ตามเวลาประเทศไทย ระหว่างการแถลงข่าว

ต่อสื่อมวลชน ซึ่งภาพดังกล่าวเป็นภาพที่บันทึกโดยยานสำรวจดวงจันทร์ลูนาร์เรคองเน

ซองส์ออร์บิเตอร์ (Lunar Reconnaissance Orbiter) หรือยานแอลอาร์โอ (LRO) ที่ถูกส่ง

ขึ้นไปโคจรรอบดวงจันทร์ตั้งแต่เดือน มิ.ย.2009 และยานอวกาศลำนี้ได้บันทึกภาพ

บริเวณดังกล่าวครั้งแรกเมื่อเดือน ก.ค.2009

รอยเท้าลูกเรืออะพอลโล 11 บนดวงจันทร์ (NASA)

โมดูลลูนาร์ของอะพอลโล 11 ขณะลงจอดบนดวงจันทร์ (NASA)

โลกกำลังโพล่พ้นขอบดวงจันทร์ ซึ่งบันทึกโดยลูกเรืออะพอลโล 11 (NASA)

ลูกเรืออะพอลโล 11 (ซ้ายไปขวา) อาร์มสตรอง , คอลลินส์ และอัลดริน (NASA)

หน่วยกู้ชีพเข้าช่วยเหลือลูกเรืออะพอลโล 11 หลังกลับสู่โลก (NASA)

 

หินดวงจันทร์ที่ลูกเรืออะพอลโล 11 นำกลับโลก (NASA)

 

 

 

6 ก.ย. 54 เวลา 17:42 8,805 24 170
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...