ลุงมนต์ชัย ผู้สืบค้นความจริง พลิกประวัติศาสตร์สุโขทัย

 




 เพราะความที่อยากรู้อยากเห็น และสนใจประวัติศาสตร์ ทำให้เด็กชายคนหนึ่งเริ่มสืบค้น
 
หาความรู้จากหินเก่า ๆ นำไปสู่การค้นพบหลักศิลาจารึก และสืบทราบความจริงที่ไม่น่า
 
เชื่อหลายประการ

           คุณลุงมนต์ชัย เทวัญวโรปกรณ์ ชายวัยหกสิบแปดปีชาวสุโขทัย ได้กลายเป็นนัก
 
ประวัติศาสตร์เต็มตัว หลังจากที่เขาเริ่มศึกษาหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 และตัดสินใจเดิน
 
ทางตามหาแท่งหินที่บันทึกประวัติศาสตร์อีกจำนวนมาก ที่เสาะหากันมานานนับร้อยปีแต่
 
ยังไม่มีใครค้นเจอ

           ความสนใจใคร่รู้นำพาให้คุณลุงเริ่มค้นหาข้อมูลและเข้าไปสอบถามคนในพื้นที่
 
ตามข้อมูลที่สืบเสาะมาได้ จนทราบว่า ถ้ำเจ้าราม อาจจะมีสิ่งที่แกค้นหาอยู่ภายใน และใน
 
ที่สุด แกก็ได้เจอหลักศิลาจารึกอีกแผ่น ณ ถ้ำเจ้ารามนั่นเอง แม้จะเป็นหลักศิลาที่แตกหัก
 
ไปบางส่วน แต่ก็ทำให้ล่วงรู้เรื่องราวในมิติอื่น ๆ เพิ่มขึ้น

           ความพยายามของคุณลุงที่ตั้งใจจะหาศิลาจารึกส่วนที่เหลือจากแท่งหินที่พบยัง
 
คงดำเนินต่อไป แต่ทว่าไม่นานนัก การออกตามหาศิลาจารึกส่วนที่เหลือก็ต้องยุติลง
 
เพราะเป็นเรื่องยากที่จะค้นหาสิ่งที่มีอยู่เมื่อเจ็ดร้อยปีก่อน และไม่ทราบด้วยว่า ชิ้นส่วนที่
 
กำลังค้นหาอยู่นี้แตกหัก หรือหลงเหลืออยู่มากน้อยเพียงใด แต่เพียงชิ้นเดียวที่คุณลุงค้น
 
พบ ก็ทำให้คุณลุงโด่งดังขึ้นมาในชั่วข้ามคืน ในฐานะผู้ค้นพบหลักศิลาจารึกกรุงสุโขทัย



           คุณลุงมนต์ชัย ย้อนเล่าให้ฟังว่า เขาสนใจประวัติศาสตร์ชาติไทยมาตั้งแต่เด็ก
 
แล้ว ซึ่งอาจเป็นเพราะได้รับอานิสงส์จากคุณพ่อซึ่งเป็นนักสะสมหนังสือภาพถ่าย และ
 
ประวัติศาสตร์เมืองเก่า ที่ตระเวนไปตามเมืองโบราณต่าง ๆ เขาจึงซึมซับสิ่งเหล่านี้ไว้
 
ด้วย จากนั้น คุณลุงก็เริ่มศึกษาวิธีการอ่านหลักศิลาจารึก โดยมีนักประวัติศาสตร์รุ่นเก่า ๆ
 
ให้คำแนะนำ กระทั่งเขาสามารถอ่านได้ชำนาญ และสามารถตีความได้ ต่อมาเขาก็ไล่อ่าน
 
ศิลาจารึกที่ค้นพบมาแล้วทั้งหมดครบถ้วน นั่นจึงเป็นที่มาให้คุณลุงเริ่มค้นหาศิลาจารึกที่
 
ยังหาไม่พบต่อไป

           "เราต้องหาอ่านหลักศิลาจารึกให้ได้มากที่สุดแล้วเอามาโยงกัน เอาเนื้อความที่
 
กว้าง ๆ ทำให้มันแคบ คิดว่าถ้าเราได้อ่านศิลาจารึกมามากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพื่อที่จะเอามา
 
พิจารณากับหลักต่าง ๆ ว่าข้อมูลอันไหนขัดแย้งกันบ้าง หรือบางทีมีข้อมูลใหม่ ๆ มาให้เรา
 
ได้รู้ พอเราศึกษามากเข้า เอาแล้วเว้ย! ข้อมูลไม่เหมือนกับที่เรียนมาในตำรา แม้กระทั่งชื่อ
 
ของกษัตริย์ก็ไม่ตรง พอเรารู้อีกว่า แท้จริงแล้วราชวงศ์พระร่วงมาจากไหนกันแน่ ก็ยิ่งสนุก
 
ในการสืบค้น และก็ทำมาเรื่อย ๆ" คุณลุงบอก



           ด้วยความที่สามารถอ่านศิลาจารึกได้เอง และการศึกษาที่เพิ่มพูนขึ้น ได้ทำให้คุณ
 
ลุงพบว่า หลายสิ่งไม่ตรงกับประวัติศาสตร์ที่เราเรียนกันในห้องเรียน แสดงถึงว่ามีความผิด
 
เพี้ยนทางประวัติศาสตร์เกิดขึ้น แต่การพบความผิดเพี้ยนนั้น มิใช่การนึกอ้างเอาเองว่าผิด
 
แต่จะต้องอ้างอิงได้ว่า มาจากศิลาจารึกหลักใด ด้านไหน ที่กล่าวถึงเรื่องราวเหล่า
 
นี้ เพราะหลักศิลาจารึกคือการบันทึกตรง เป็นหลักฐานที่ซื่อสัตย์ต่อความจริง

           อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคุณลุงมนต์ชัยจะเป็นผู้ชำนาญด้านประวัติศาสตร์ แต่เขาก็ยัง
 
เรียกตัวเองว่า"นักประวัติศาสตร์ปลายแถว" เพราะคุณลุงจบเพียงชั้น ม.6 และเพียงแค่
 
เป็นผู้สนใจใคร่รู้ความเป็นมาเป็นไปของประวัติศาสตร์ไทย จนดั้นด้นศึกษาหาความรู้ด้วย
 
ตัวเองได้สำเร็จ แต่เหนือสิ่งอื่นใด ก็ยังมีอาจารย์ประสาร บุญประคอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการ
 
อ่านจารึกโบราณ คอยให้คำแนะนำ ก่อนที่ท่านจะเสียได้ไม่กี่ปี

           "ท่านย้ำว่า ขอฝากประวัติศาสตร์สุโขทัยไว้ที่คุณด้วย ไอ้ผมเองนั้น ตอบไปว่า โธ่!
 
อาจารย์ครับทำไมไม่เอาลูกศิษย์ของอาจารย์มาทำเล่าครับ มีตั้งเยอะเก่ง ๆ ทั้งนั้น ไอ้ผม
 
เอง จนก็จน งานนี้มันเป็นงานใช้เงิน" คุณลุงมนต์ชัย เล่าถึงสิ่งที่อาจารย์ประสารฝากฝัง
 
ไว้ก่อนเสีย

           "ไม่...มันไม่เอาเหมือนคุณ ผมดูคุณตั้งแต่วันแรกเห็นคุณดูจารึกไม่ถอยเลย ดูได้
 
ทั้งวัน แล้วรุ่งขึ้นก็มาอีก มาได้เป็นเดือน ๆ ปกติอย่างเก่งเขาดูกันไม่ถึงชั่วโมงก็เบื่อแล้ว ก็
 
เห็นมีแต่คุณคนเดียวในชีวิตนี่แหละ ที่ทำแบบนี้" นี่คือคำตอบของ
 
นักประวัติศาสตร์รุ่นปู่ก่อนจากไป



           หลังจากนั้น คุณลุงในวัยสามสิบกว่า ๆ ก็เริ่มลงมือค้นหา สืบเสาะ ศึกษา เพื่อพลิก
 
ประวัติศาสตร์สุโขทัยตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมา ตั้งแต่วัยหนุ่มจนกระทั่ง 15 ปีผ่านไป
 
หนังสือ"พลิกประวัติศาสตร์สุโขทัย" หนังสือเล่มหนาที่ท้าทายวงการประวัติศาสตร์ของ
 
คุณลุงก็ได้รับการตีพิมพ์เป็นรูปเล่ม

           "อาจารย์เน้นย้ำกับผมว่า ประวัติศาสตร์สุโขทัยมันออกนอกลู่นอกทางไปแล้ว คน
 
เขียนเขียนกันแบบไม่รู้จริง หรือบางทีก็ตีความผิด ฉะนั้น ตัวเราเองเป็นคนสุโขทัยหลับตา
 
แล้วรู้เลยว่าวัดนั้นอยู่ทิศไหน จะตามหาหลักศิลาจารึกได้จากไหน เราต้องทำให้ได้"

           ต้องบอกว่า งานจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้เป็นเสมือนการตัดสินใจครั้งสำคัญ
 
ในชีวิตของคุณลุง เพราะทำให้คุณลุงต้องลาออกจากงานราชการ เพื่อจะได้เงิน
 
บำเหน็จมาเป็นทุนพิมพ์หนังสือ จนเมื่อพิมพ์ออกมาเป็นรูปเล่มเสร็จสิ้น เงินทอง
 
ของคุณลุงก็แทบไม่เหลือ แต่คุณลุงก็ยังมีความสุข เพราะมีคนส่งจดหมายมาให้กำลังใจ
 
คุณลุงมากมาย แต่อีกด้านหนึ่งคุณลุงถึงกับยิ้มไม่ออก เมื่อมีคนมาลอกเลียนผลงานของแกไป

           "เราก็เสียใจที่ทำหนังสือออกไปแล้ว คนส่วนใหญ่ไม่เห็นค่า ที่เจ็บปวดไม่ใช่
 
เพราะว่าเราทิ้งทุกอย่างเพื่อมาทำเรื่องนี้ จนทำให้ครอบครัวไม่มีความสบาย แต่เป็นเพราะ
 
มีคนอ้างว่าเราไม่น่าเชื่อถือ แล้วกลับทำเหมือนหัวขโมย เอางานของเราไปค้นคว้ามา
 
เขียนใหม่ แล้วยกอ้างเป็นของตัวเอง..." คุณลุง ตัดพ้อ 

           นอกจากนั้นแล้ว ยังมีเรื่องที่น่าเศร้าเกิดขึ้น เมื่อ "นัท" ลูกชายคนโตของคุณลุงได้
 
เข้ามาช่วยเหลือพ่อจัดทำหนังสือ ค้นคว้า ตรวจแก้ จนกระทั่งหนังสือสำเร็จเป็นรูปเล่ม
 
อย่างสมบูรณ์ และ "นัท" เตรียมจะเดินทางไปทำงานต่อที่สวิตเซอร์แลนด์ แต่ทว่า
 
สุดท้ายเขากลับป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว และจากครอบครัวไปอย่างรวดเร็ว
 
ทำเอาคุณลุงและภรรยาเศร้าใจไม่น้อย



           แต่อย่างไรก็ตาม หนังสือ "พลิกประวัติศาสตร์สุโขทัย" กลับกลายเป็นหนังสือที่
 
ขายดิบขายดี และทำให้คุณลุงดีใจมากถึงกับบอกว่า ดีใจที่ชาตินี้จะได้นอนตายตาหลับ
 
เสียที เพราะคนจะเข้าใจเรื่องราวความเป็นมาของกรุงสุโขทัยมากขึ้น คุณลุง ย้ำว่า
 
 การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญ เพราะผลของมันจะส่งไปถึงเยาวชนที่จะ
 
เติบโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาในวันข้างหน้า ถ้าหากรับรู้ในสิ่งผิด ๆ คนรุ่นหลังก็ต้องเรียนรู้
 
สิ่งผิด ๆ ต่อไปอีกเรื่อย ๆ

           งานยากในการพลิกความจริงของประวัติศาสตร์ไม่ใช่การอ่านจารึก แต่เป็นการ
 
ตีความหมาย เพราะหากวรรคตอนผิด ความหมายก็จะผิดเพี้ยนไปทันที เนื่องจากคำศัพท์
 
บางคำก็มีความหมายที่ต่างออกไปในภาษาอื่น ๆ ด้วย และคำบางคำต้องเอาความรู้มา
 
เชื่อมโยงกันด้วย



           "มีจารึกอยู่หลักหนึ่ง จารึกนี้บันทึกถึงเหตุการณ์ตอนพญาลิไทออกผนวช เขียน
 
เป็นตัวสือไทว่า มหาสวามี สังฆราช สุ กลุ.มาสั่งสอนพระมหาธรรมราชา ไม่มีใครตีความ
 
ออกเลยว่า คำว่า สุ กลุ. คือใคร พอเราเห็นก็ตีว่า มหาสวามีสังฆราช สุ กลุ. เอาตัว ก มา
 
ติดตัว ส ได้เป็นชื่อว่า สุก และเหลือตัว ลุ มันก็คือคำว่า ลุง นั่นเอง ก็กลายเป็น ลุงสุก อัน
 
นี้ผมตีความเป็นคนแรกเลย ทำให้ได้ความว่า มหาสวามีสังฆราชองค์นี้ เดิมชื่อ สุก แล้วไป
 
ตรงกับหลักศิลาจารึกหลักหนึ่งที่บันทึกถึง ลุงสุก ความว่าเป็นคนสุโขทัย พอแกบวชเป็น
 
พระ จากชื่อสุก ก็เปลี่ยนเป็น สังฆราช สุ กลุ" ลุงมนต์ชัยนำเอาความเชื่อมโยงของแต่ละ
 
หลักมาตีความให้ฟัง

           นอกจากนี้ ยังเคยมีคนตีความคำว่า "สะร่วง" แปลว่า สระหลวง หมายถึงสระน้ำ
 
ทั้งที่ความจริงคำว่า "สะร่วง" แปลว่า สวรรค์ หรือชั้นฟ้า ส่วนคำว่า สระน้ำ ในสมัยสุโขทัย
 
เรียกว่า "ตระพัง" ซึ่งข้อผิดพลาดที่เกิดจากการตีความผิด ทำให้ประวัติศาสตร์สุโขทัยผิด
 
เพี้ยนไปหลายตอน

           แต่นับว่าเป็นนิมิตหมายอันดีที่ปัจจุบันนี้ ประวัติศาสตร์สุโขทัยในหลายช่วงตอน
 
ได้ถูกนำขึ้นมาพินิจตีความกันใหม่ และก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับที่คุณลุงมนต์ชัยเคย
 
เสนอเอาไว้ อย่างไรก็ตาม จวบจนวันนี้ ชายชราผู้หลงใหลในจารึก ก็ยังคงเดินหน้าออก
 
ตามหาจารึกหลักใหม่ต่อไป แม้ว่าวันนี้สังขารจะร่วงโรยลงไปมากแล้ว แต่ไม่มีวันใดที่แกจะ
 
หมดไฟ และยุติการเดินตามเส้นทางที่แกปรารถนาไปอย่างแน่นอน


9 ข้อที่คุณลุงอยากให้คุณรู้ เกี่ยวกับสุโขทัย
 
           1.พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ไม่ใช่ผู้สร้างกรุงสุโขทัย แต่เป็นพระเจ้าจันทรราชา
 
กษัตริย์ในสมัยสุโขทัย 1 เป็นผู้สร้างรวมถึงศรีสัชนาลัยด้วย มีบันทึกไว้ในจารึกหลักที่ 2
 
หรือที่เรียกว่า จารึกวัดศรีชุม
 
           2.ชื่อเดิมของสุโขทัยตามที่พระเจ้าจันทรราชาทรงตั้งชื่อเมือง เขียนว่า "สุโขไท"
 
จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.5 การเขียนแบบเดิมจึงเลิกไป
 
กลายเป็น "สุโขทัย" ที่แปลว่า รุ่งอรุณแห่งความสุข


           3.สองพระนามสุดท้ายที่พบในจารึกของราชวงศ์พระเจ้าจันทรราชาก่อนสิ้นยุค
 
สมัยสุโขทัย 1 หรือ พระร่วง 1 คือ หนึ่ง พระญามหาธรรมราชผู้เป็นบิดา และสองคือ พระ
 
ญาศรีนาวนำถม (ถุม) ผู้เป็นลูก ทำให้รู้ว่า พระญาศรีนาวนำถมเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายใน
 
ยุคสมัยสุโขทัย 1 พบในหลักศิลาจารึกที่ 2
 
           4.หลังจากพ่อขุนศรีนาวนำถมเสียเมืองสุโขทัยให้กับขอมสมาดโขลญลำพง ภาย
 
หลังจากนั้น 5 ปี พ่อขุนบางกลางหาว บุตรของพระญาศรีนาวนำถม ซึ่งขณะนั้นครอง
 
ศรีสัชนาลัย และพระสหาย คือ พ่อขุนบานเมือง รวมกันยกทัพไปกู้สุโขทัยคืนได้ในปี พ.ศ.1798


           5.หลังจากกู้เอกราชคืนจากขอมสมาดโขลญลำพงได้ พ่อขุนบางกลางหาวจึงยก
 
ให้พ่อขุนบานเมืองเป็นเจ้าของนครสุโขทัย พร้อมทั้งเฉลิมพระนามใหม่ว่า ศรีอินทราทิตย์
 
จากนั้นมาราชวงศ์สุโขทัย 2 หรือ พระร่วง 2 จึงเริ่มขึ้น อ้างอิงจากศิลาจารึกหลักที่ 2 ตอนกู้สุโขทัย
 
 
           6.จากการศึกษาหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 และ 2 อย่างละเอียด เพื่อหาความเชื่อม
 
โยง พบว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีตัวตนอยู่จริง มิได้ถูกรัชกาลที่ 4 แต่งศิลาจารึกขึ้น
 
มาอย่างที่มีคนตั้งข้อสงสัยแต่อย่างใด


           7.ในหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมีนามอีกหลายนาม ทำให้ผู้อ่านศิลาสับสน
 
คือ พระรามคำแหง พ่อขุนพระรามคำแหง พระญารามราช พระญาร่วง
 
           8.เมื่อเริ่มแรกยุครัตนโกสินทร์ศก นามเดิมของรัชกาลที่ 1-3 ใช้พระนามเดียวกัน
 
ว่า สมเด็จพระบรมราชธิราชรามาธบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร ธรณิน
 
ทราธิราชรัตนากาศภาศกรวงษองค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรนาถนายก ดิลกรัตนราชชาติ
 
อาชาวไศรย สมุทัยคโรมนต์ สกลจักรวาฬธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร หริหรินทราชา
 
ดาธิบดี ศรีสุวิบุลยคุณอัขณิฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราช เดโชไชยพรหม
 
เทพาดิเทพนฤบดินทร ภูมินทรปรมาธิเบศรไลกเชฐวิสุทธรัตนมงกุฏ ประเทศ
 
ตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว


           9.เมื่อมาถึงรัชกาลที่ 4 ทรงครองราชย์ จึงทรงรับสั่งให้เปลี่ยนชื่อนามของแต่ละ
 
พระองค์ขึ้นมาใหม่ เพื่อง่ายแก่การจดจำ


 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก 
นิตยสาร ค ฅน ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 (68) มิถุนายน พ.ศ.2554
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก นิตยสาร ค ฅน
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม 
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...