โรคผิวหนังจากอาชีพอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม

 

โรคผิวหนังจากอาชีพอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม

 สิ่งแวดล้อม

 สาเหตุอันก่อให้เกิดโรคผิวหนังจากอาชีพ อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม

เกิดจากสาเหตุ 3 ประการ
         

  งานที่ปฏิบัติ

  สิ่งแวดล้อมของงานและสถานที่ทำงาน

  คน (ผู้ปฏิบัติงาน)

  สิ่งแวดล้อมของงานและสถานที่ทำงาน ที่จะทำให้เกิดโรค อาจแบ่งได้เป็น 3 อย่างคือ

 1.สิ่งแวดล้อม ทางกายภาพ เช่น ความร้อน ความเย็น กัมมันตภาพรังสีและพลังงานที่เกิดจาก

แม่เหล็กไฟฟ้า ฯลฯ โรคที่เกิด จากความเย็น มักจะพบกับคนงานในอุตสาหกรรมห้องเย็นทำ

น้ำแข็ง ทำเบียร์ ความเย็นจะทำให้อุณหภูมิของผิวหนังต่ำ และการไหลเวียนของโลหิตมาสู่ส่วน

ปลายร่างกายน้อยลงเช่น ปลายมือ ปลายเท้า เกิดชา เป็นแผล เท้าเปื่อยได้ โรคผิวหนังที่เกิด

จากความร้อนมัก จะพบในพวกหลอมโลหะ ทำแก้ว เครื่องปั้นดินเผา พวกนี้ผิวหนังอาจจะแดง

ด้าน เหี่ยว และมีอาการผื่นคันง่าย พวกนั่งปิ้งกล้วย ปิ้งข้าวโพด ขนมครก ความร้อนอ่อนๆ

ระบายมาถูกหน้าแข้งตลอดเวลา ภายหลังหน้าแข้งจะแดงเป็นผื่นคันทุกครั้งที่ถูกความร้อน มือก็

ด้านเพราะถูกความร้อนตลอดเวลา กัมมันตภาพรังสี ทำให้ เกิดมะเร็งบนผิวหนังพบมากในคน

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับพลังงาน เช่น พลังงานปรมาณูและเครื่องเอ๊กซเรย์ พลังงานที่เกิดจากไพฟ้า

คือ อินฟราเรดอุลตร้าไวโอเลตพวกนี้ทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ หนังคล้ำเป็นผื่นแดงไหม้ อาชีพที่

เป็นโรคเหล่านี้ได้แก่พวกกลาสีเรือ คนงานสร้างถนน ช่างเชื่อมโลหะ คนงานเป่าแก้ว คนงาน

หลอมโลหะ เป็นต้น


 2.สิ่ง แวดล้อมทางเคมี สารเคมีที่ทำให้เกิดเป็นพิษแก่ร่างกายและผิวหนัง มีอยู่หลายแบบและ

หลายชนิด เช่น โลหะ แก๊สหรือของเหลว เช่นน้ำมันก็ได้ สารหนู ซึ่งพบในอุตสาหกรรมทำยาฆ่า

แมลง ยาฆ่าวัชพืช อุตสาหกรรมทำแก้ว และโรงงานทำสี ผิวหนังที่สัมผัสสารหนู ทำให้เกิดการ

แพ้ เป็นผื่นแดง และพุพอง เม็ดน้ำใส นานๆ ไปอาจเกิดเป็นมะเร็งของผิวหนัง ในโรงงานทำงาน

ทำสีต่างๆ ในโรงงานเครื่องปั้นดินเผา และโรงงานเครื่องเคลือบ เครื่องชุบต่างๆ จะใช้โครเมี่ยม

เป็นส่วนประกอบ จะทำให้เกิดผิวหนังอักเสบบริเวณที่สัมผัสกับโครเมี่ยม ฝุ่นไอและกรดของโคร

เมี่ยมจะทำให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุช่องจมูกจนถึง หลอดลมและปอด เกิดการทำลาย

เนื้อเยื่อ เกิดเป็นโรคปอดได้


3. สิ่งแวดล้อมทางชีวะ ได้แก่เชื้อโรค พวกไวรัส แบคทีเรีย ริคเคทเชีย และพยาธิ ตัวอย่างเช่น

คนงานในโรงงานฟอกหนังโรงงานเคี่ยวกาว โรงงานป่นกระดูก มีโอกาสติดโรคแอนแทร็กซ์

(Anfrax) ได้ง่ายกว่าคนธรรมดา คนงานที่ทำงานในที่อับชื้นหรือต้องใส่รองเท้าอับตลอดเวลา มี

โอกาสเป็นเชื้อราได้ง่าย

 คนผู้ปฏิบัติงานอาจจะ เป็นผู้ก่อให้เกิดปัญหา เป็นโรคอันเกี่ยวเนื่องกับอาชัพและการทำงานได้

แต่เป็นไปโดยอ้อม ไม่ใช่โดยตรง เช่น คนที่จัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นโรคแพ้ได้ง่าย พวกนี้หากไป

ประกอบอาชีพ ที่มีสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ก็จะเกิดอาการแพ้ได้ง่ายเร็วกว่าคน อื่น มี

คนไข้ 2 คน ซึ่งเป็นโรคแพ้ได้ง่าย คนหนึ่งไปทำงานในโรงงานทำพลาสติค อีกคนหนึ่งไปทำงาน

ทำความสะอาดกระสอบที่ใช้บรรจุเคมีภัณฑ์ ทั้งสองคนมาปรึกษาแพทย์พร้อมกัน เพราะแพ้สาร

เคมีที่เป็นส่วนประกอบในการทำพลาสติค และฝุ่นสารเคมีที่ติดอยู่กับกระสอบเกิดอาการผื่นคัน

ตามตัว แขน ขา กรณีนี้ไม่ถือเป็นความบกพร่องของฝ่ายโรงงานเพราะคนป่วยมีภาวะยอมรับ

สภาพการ แพ้ หรือเป็นโรคแพ้ได้ง่ายมาก่อน

       ข้อสำคัญของโรคอันเนื่องด้วย อาชีพ โรงงานและสิ่งแวดล้อม อีกประการหนึ่งคือ

เศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากความเจริญทางวัตถุมากกว่าเกษตรกรรม ลูกจ้างทางอุตสาหกรรม

มีโอกาสได้ค่าแรงมากกว่า แน่นอนกว่าและเนิ่นนานกว่าลูกจ้างจากการไถนา ปลูกข้าว หรือทำไร่

ทำให้เกิดการหลั่งไหลเข้าสู่แถบอุตสาหกรรมความเป็นอยู่แออัด ทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายทาง

ผิวหนังก็เช่น หิด กลาก เกลื้อน บางครั้งมีการนำเด็กมาทำงานเพื่อให้รายได้มากขึ้นโดยไม่รู้ว่า

เด็ก มีโอกาสแพ้พิษสารต่างๆได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่มาก เช่น ลูกชายคนงานในโรงงานหลอมตะกั่ว

เกิดอาการแพ้พิษตะกั่ว มือแดง เท้าแดง คลื่นไส้ อาเจียน ทีหลังเป็นอัมพาตไป เพราะติดตามไป

ช่วยพ่อทำงานในโรงงาน ลูกชายเจ้าของร้านซ่อมแบตเตอรี่ อายุ 5-6 ขวบ ก็เกิดอาการแพ้พิษ

ตะกั่ว จากการคลุกคลีอยู่ใกล้ชิดกับที่ซ่อมแบตเตอรี่เช่นเดียวกัน




ขอบคุณเนื้อหา หมอชาวบ้าน

1 ก.ค. 54 เวลา 03:08 5,919 1
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...