ไข้กระต่าย...โรคชื่อน่ารัก มักจะร้าย

 

โลกเราทุกวันนี้มีโรคใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย โรคไข้กระต่ายก็เช่นเดียวกัน หลายคนคง

เฉยๆ เพราะว่าดูโรคนี้จะไกลตัว ก็ชั้นไม่ได้เลี้ยงกระต่ายนี่นา! ใครว่าล่ะคะสาวๆ โรคนี้น่ะ

ไม่ได้ติดได้จากกระต่ายอย่างเดียวสักหน่อย น้องหมา น้องแมว หรือแม้แต่หนูแฮมเสตอร์

ที่บ้านคุณก็เป็นพาหะของโรคนี้ได้นะคะ

โรคทูลารีเมีย หรือโรคไข้กระต่าย (Rabbit Fever) เป็นโรคติดต่อจากสัตว์ถึงคน ที่มี

อันตรายสูงโรคหนึ่งเนื่องจากสามารถติดต่อทางละอองฝอยได้ แถมโรคนี้ยังเป็นภัยระดับโลก

เพราะเป็นหนึ่งในโรคที่สามารถใช้เป็นอาวุธชีวภาพได้! ประเทศสหรัฐอเมริกา โรคนี้จัดอยู่ในกลุ่ม

A ที่ต้องเฝ้าระวัง และตั้งแต่ต้นปีพ.ศ. 2545 จนถึงขณะนี้ พบว่ามีรายงานผู้ป่วยมากกว่า 200 ราย

โรคไข้กระต่าย ติดได้จากสัตว์เลี้ยงใกล้ตัว

สัตว์ที่เป็นพาหนะนำโรคส่วนใหญ่คือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก โดยเฉพาะกระต่ายบ้าน

กระต่ายป่า กระรอก และสัตว์อื่นๆ โรคนี้ติดต่อมายังคนโดยถูกแมลงพาหะที่กัดเลือดสัตว์ที่ติดเชื้อ

นี้กัด หรือติดโดยสัมผัสกับเลือด สารคัดหลั่งของสัตว์ที่ป่วยด้วยโรคนี้ เข้าทางบาดแผล เยื่อเมือก

หรือรอยถลอก ขีดข่วน หรือถูกสัตว์ป่วยกัดโดยตรง การหายใจ หรือกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อโรค

ปนได้เชื้อก็สามารถทำให้ติดเชื้อได้

อาการแบบนี้... ใช่เลย

เนื่องจากโรคไข้กระต่ายนี้สามารถติดได้จากน้องหมาน้องแมวที่เราเลี้ยง และอาจจะติดจากสัตว์

อื่นๆ ที่เราไปคลุกคลีใกล้ชิด เพราะฉะนั้นจึงขอแบ่งอาการของผู้ที่ติดเชื้อไข้กระต่ายนี้ไว้ 2

ประเภท ทั้งในคน และในสัตว์เลี้ยงเพื่อให้สาวๆ สามารถสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นกับทั้งเราและสัตว์เลี้ยง

ใกล้ตัวได้ค่ะ

อาการในคน

แม้ว่าโรคนี้ยังไม่มีรายงานการติดต่อระหว่างคนสู่คน และมีระยะฟักตัวของโรค 1-14 วัน แต่ทั่วๆ

ไป เชื้อนี้จะใช้เวลาในการฟักตัวในคนประมาณ 3-5 วัน โดยอาการที่เกิดขึ้นมี 2 รูปแบบขึ้นอยู่

ช่องทางที่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย คือทางผิวหนัง และทางการหายใจ หากเชื้อเข้าทางผิวหนังจะเกิด

บาดแผล ต่อมน้ำเหลืองบวมโตตรงที่รับเชื้อ

หากเชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจผู้ติดเชื้อจะเป็นไข้แบบไทฟอยด์ คือมีไข้ หนาวสั่น โลหิตเป็น

พิษ ปวดศีรษะ ท้องเสีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ไอแห้งๆ และอ่อนเพลีย หากผู้ป่วยมีอาการ

ปอดบวมร่วมด้วยจะเจ็บหน้าอก มีเสมหะเป็นเลือด อึดอัด หายใจไม่สะดวก จนอาจหยุดหายใจ

ลักษณะปอดบวมจากการตรวจทางรังสีทรวงอก อัตราตายของโรคแบบไข้ประมาณร้อยละ 35

อาการในสัตว์เลี้ยง

ในแมวจะมีไข้ เบื่ออาหาร เป็นฝีที่ต่อมน้ำเหลือง มีแผลหลุมในปาก ตับอักเสบ ม้ามโต ลำไส้

อักเสบ ปอดอักเสบ รายที่เป็นรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ ในสุนัขจะมีความทนทานต่อโรคมากกว่าแมว

พบเกิดโรคค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่มักพบในลูกสุนัข อาการที่พบเบื่ออาหาร มีไข้น้ำมูกข้น ต่อมน้ำ

เหลืองโต ต่อมทอมซิลอักเสบ

ในกระต่ายและสัตว์ฟันแทะอื่นๆ เช่นหนูแฮมสเตอร์ กระรอก กระแต ฯลฯ ที่ติดเชื้อจากเห็บหรือ

แมลงดูดเลือด บริเวณที่ถูกกัดจะเป็นแผลหลุมติดเชื้อลุกลาม และมีเนื้อตาย

รักษาได้ แต่ป้องกันดีกว่า

ถึงแม้ว่าโรคนี้จะสามารถรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะ แต่การป้องกันด้วยการรักษาความสะอาดให้

กับสัตว์เลี้ยง รวมไปถึงไม่คลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงมากเกินไป ไม่กอด หอม หรือเอามานอนด้วยกัน

เมื่อมีอาการป่วย และการซื้อสัตว์เลี้ยงจากแหล่งที่ไว้ใจได้ ปลอดโรค น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่จะ

ทำให้สาวๆ ไม่เสี่ยงกับโรคไข้กระต่ายนี้ค่ะ

โรคที่ติดเชื้อจากสัตว์นั้น จะไม่น่ากลัวเลยค่ะถ้าเรารู้วิธีการป้องกัน และไม่เอาตัวไปอยู่ในสถานที่ๆ

เสี่ยงต่อการติดโรค รวมถึงรักษาความสะอาดของสัตว์เลี้ยงและที่เลี้ยงสัตว์หรือทั้งบ้านของเรา

และบ้านของเจ้าตัวเล็ก เท่านี้โรคไข้กระต่ายและโรคที่ติตจากสัตว์อื่นๆ ก็จะไม่มากล้ำกรายแล้วล่ะ

ค่ะ

by Daaw Chonlada

ขอขอบคุณข้อมูลจาก chicministry.com

ภาพประกอบจาก www.photos.com

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...