12 จุดที่ควรระวังอันตรายสำหรับเด็กเล็ก

บ้านคือวิมานของเรา แต่บางครั้ง บางสถานการณ์บ้านกลายเป็นสถานที่อันตรายสำหรับเด็กๆ ได้

เช่นกัน เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือประมาทเลินเล่อ ในแต่ละปีเด็กไทยบาดเจ็บและเสียชีวิต

จากอุบัติเหตุภายในบ้านด้วยสาเหตุสำคัญ อันดับแรก คือ โครงสร้างบ้านและเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน

เช่น บันได ระเบียง พื้น ประตู หน้าต่าง โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น

นอกจากการจัดวางข้าวของเครื่องใช้และสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เป็นสาเหตุสำคัญของการ

ตายและบาดเจ็บของเด็ก โดยเกือบครึ่งหนึ่งของการตายด้วยอุบัติเหตุในเด็กนั้น มาจากสาเหตุ

การจมน้ำตาย ซึ่งเกิดขึ้นจากแหล่งน้ำในบ้าน เช่น กะละมัง ถังน้ำ อ่างน้ำ และแหล่งน้ำใกล้บ้าน

เช่น ร่องน้ำ คูน้ำ บ่อน้ำ เป็นต้น

 

12 จุดที่ควรระวังอันตรายสำหรับเด็กเล็ก มีดังต่อไปนี้ค่ะ

 

1. เก้าอี้ โซฟา


เด็กแรกเกิดเคลื่อนที่ได้จากการถีบขาดันสิ่งขวางกั้นต่างๆ ส่วนเด็กวัย 4-6 เดือนเริ่มพลิกคว่ำพลิก

หงายได้ เป็นเหตุให้เกิดการพลัดตกจากเตียง เก้าอี้ หรือโซฟา หากจำเป็นต้องวางเด็กบนที่สูง

เพื่อหยิบผ้าอ้อม หรือเตรียมนม ต้องวางมือข้างหนึ่งบนตัวเด็กไว้เสมอ

 

2. เตียงเด็ก หรือเปล


ซึ่เปลที่มีความห่างไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดอันตรายจากดิ้นของเด็กจนศีรษะเข้าไปติดค้างได้

บางครั้งอาจติดค้างระหว่างริมเบาะที่นอนกับผนังเปล หรือเบาะที่นอนด้านที่ชิดกำแพงได้ มุมเสา

ทั้ง 4 ด้านของเปลที่ยกสูงขึ้นมา อาจเกี่ยวรั้งเสื้อผ้าของด็ก และเกิดการแขวนรัดคอ จึงควรเลือก

ประเภทของเปลและจัดวางเบาะที่นอนให้เหมาะสมสำหรับเด็ก

 

3.ความร้อน


เด็กทารกอายุ 3-5 เดือน จะเริ่มคว้าสิ่งของและกำมือได้ เด็กอาจปัดหรือคว้าของร้อนเหล่านั้น เด็ก

ในวัยเดิน หรือวิ่งได้อาจเอื้อมคว้าสายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำความร้อนและถูกความ ร้อน

ลวกได้ สิ่งที่พึงระวัง คืออย่าอุ้มเด็กขณะที่ถือของร้อน อย่าอุ้มเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป นั่งบนตัก

ขณะมีของร้อนอยู่บนโต๊ะ เก็บสายไฟของกาน้ำร้อน อย่าให้ห้อยอยู่ต่ำในระดับที่เด็กสามารถดึง

กระชากให้ล้ม

4. หน้าต่าง


เด็กวัยเกาะยืนขึ้นไป อาจปีนป่ายเฟอร์นิเจอร์ที่วางชิดหน้าต่าง และอาจพลัดตกลงไปได้ ควรปิด

หน้าต่างหรือมุ้งลวดให้สนิท ไม่วางเฟอร์นิเจอร์ในตำแหน่งที่ชิดกับหน้าต่าง

 

5.บันได


เด็กวัย 6-12 เดือน จะเริ่มเคลื่อนที่ได้ดีและเร็วขึ้นจากการกลิ้ง คืบคลาน เกาะเดิน และเดินได้เอง

เมื่อเด็กเดินหรือวิ่งได้แล้วก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการตกบันได หกล้ม ชนกระแทก จึงควรตรวจสอบ

ราวบันไดและระเบียงไม้ให้มีช่องห่างพอที่เด็กจะลอดได้

 

6.สัตว์เลี้ยงในบ้าน


เด็กวัย 6 เดือนขึ้นไป มักสนใจสัตว์เลี้ยงต่างๆ ในบ้าน อาจถูกเลีย กัด ข่วน จากการจับ ดึง หรือ

แหย่สัตว์ได้ ไม่ควรปล่อยให้เด็กทารกอยู่ตามลำพังกับสัตว์เลี้ยง สอนเด็กไม่ให้รังแกสัตว์ เช่น ดึง

หู ดึงหาง แย่งจานอาหาร ของเล่นสัตว์ และควรฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าให้กับสัตว์เลี้ยง

 

7.ประตูห้อง


จัดว่าเป็นจุดอันตรายสำหรับเด็กวัยหัดคลาน หัดเดิน อาจถูกประตูหนีบมือได้ จึงควรจัดเตรียม

อุปกรณ์ป้องกันประตูหนีบมือ

 

8.ห้องน้ำและภาชนะใส่น้ำ


เด็กที่จมน้ำส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า 10 ปี มักเกิดจากการเผลอชั่วขณะ หรือความประมาทของผู้

เลี้ยงดู ห้ามให้เด็กนั่งเล่นน้ำตามลำพังในอ่างน้ำ ระดับน้ำสูงเพียง 5 ซม. ก็อาจจมน้ำได้ จึงควร

กำจัดแหล่งน้ำที่ไม่จำเป็นในบ้านและละแวกบ้าน หรือกั้นรั้ว กั้นประตู ไม่ให้เด็กอยู่ใกล้แหล่งน้ำ

ได้ เช่น การเทน้ำในถังทิ้งไป การปิดฝาถังน้ำ การปิดประตูห้องน้ำ ปิดประตูหน้าบ้านหลังบ้านเพื่อ

ไม่ให้เด็กคลานออกไปได้

 

9.ตู้ ชั้นวางของ โต๊ะวางทีวี


เด็กวัย 1 – 2 ปี มีความสามารถในการปีนป่าย ยืนบนเก้าอี้เพื่อหยิบของบนที่สูงได้ และหนึ่งในนั้น

อาจเป็นสารพิษ โต๊ะวางสิ่งของเหล่านี้จึงควรวางบนพื้นราบ มั่นคง ไม่ล้มง่าย หรือควรยึดโต๊ะด้วย

สายยึดกับกำแพง เฟอร์นิเจอร์ต้องไม่มีมุมคม หากมีควรใส่อุปกรณ์กันกระแทกที่มุมของทุกมุม

 

10.ประตู รั้วบ้าน  ต้องมั่นคงไม่หลุดจากรางมาล้มทับเด็ก

 

11.ห้องครัว


ควรมีประตูกั้นเพื่อมิให้เด็กเข้าไปในบริเวณนั้นได้ อย่าวางของร้อนบนพื้นและของมีคมในที่เด็ก

เอื้อมมือถึง

 

12.ปลั๊กไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้า


ควรปิดที่ีเสียบปลั๊กไฟที่ไม่ได้ใช้ด้วยพลาสติคสำหรับปิด หรือติดตั้งกล่องครอบปลั๊กไฟ ต่อสาย

ดินกับอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น ตู้กดน้ำดื่ม เครื่องซักผ้า และต่อเครื่องมือตัดไฟฟ้าอัตโนมัติ

 

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็กได้ที่

ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
447 อาคาร 5 ชั้น 5 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 02644 9080-81
เวบไซต์: www.csip.org หรือ www.safedekthai.com

หากเด็กกินสารพิษให้ติดต่อ

ศูนย์พิษวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี สายด่วน 1367 เพื่อรับคำแนะนำการปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี หรือนำส่งโรงพยาบาลทันที

ศูนย์พิษวิทยา ชั้น 1 อาคารวิจัยและสวัสดิการ
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ถนนพระราม 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์: 0-2354-7272, 0-2201-1083
โทรสาร: 0-2-201-1084-6 กด1
เวบไซต์: http://www.ra2.mahidol.ac.th/poisoncenter

ที่มาข้อมูล: เอกสารชุดเด็กไทยปลอดภัย โดยเครือข่ายวิจัยสุขภาพ

24 พ.ค. 54 เวลา 00:29 1,778 1 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...