เทคโนโลยี ที่คุณอาจลืมไปแล้ว..

 

20 Greatest Gadgets Never Die (?)
 
กาลเวลาทำให้หลายอย่างผ่านมา แล้วก็ผ่านไป ไม่พ้นแม้กระทั้งเทคโนโลยีใหม่ทั้งหลายที่ว่าแน่
 
เมื่อเจอที่เจ๋งกว่าก็ต้องกลายเป็นเก่าไปซะอย่างนั้น บางอย่างเก่าแล้วก็ยังพอมีให้เห็น บางอย่างก็
 
เก่าแล้วเก่าเลยเชยไม่ได้หวนกลับ ทว่าบางอย่างจะให้เก่ายังไงก็ดูท่าจะอยู่คู่ผู้คนไปอีกนาน งั้น
 
เพื่อต่อวิวัฒนารการของเทคโนโลยีที่ไม่เคยหยุดนิ่ง เรามาดูกันหน่อยเถอะว่า ตั้งแต่โลกตื่นเต้นกับ
 
เทคโนโลยีมากขึ้น มนุษย์คิดค้นอะไรที่เคยอินเทรนด์มาแล้วบ้าง
 
เก่าไป ใหม่มายังจำได้ไหมว่า อะไรเคยสร้างกระแสใหม่ๆ และก็ตกรุ่นไปโดยสดุดี
วิทยุทรานซิสเตอร์ จุดเกิดเหตุ : ยุค 50s
 
ถือกำเนิดโดยบริษัทโซนี แต่จะว่าไปได้มีการค้นพบระบบทรานซิสเตอร์มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1928 เป็น
 
อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่สามารถขยายสัญญาณเสียงและสัญญาณความถี่วิทยุ วิทยุทรานซิสเตอร์จึง
 
ทำหน้าที่เป็นเครื่องรับสัญญาณความถี่กระจายเสียง ทั้งมีขนาดเล็ก เบา และไม่เปลืองแบตเตอรี
 
เหมือนวิทยุแบบ ใช้หลอด ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่นิยมก่อนเครื่องเล่นเทปจะเกิด ปัจจุบันยังพอมีให้
 
เห็น โดยพัฒนาให้มีลูกเล่นมากขึ้น เช่น การเสียบหูฟัง


 
โทรศัพท์กระติกน้ำ จุดเกิดเหตุ: ยุค 80s
 
 
นี่คือวิวัฒนาการที่ค่อนข้างถือว่าโฉบเฉี่ยวแซงหน้าคู่แข่งขณะนั้น โทรศัพท์มือถือรุ่นแรกออกมาใน
 
นามว่า DynaTAC 8000X รูปร่างค่อนข้างใหญ่ หนัก มีไฟสำหรับการโทร.ได้ 1 ชั่วโมง สามารถ
 
จดจำรายชื่อได้ 30 ชื่อ และก็สนนราคาใหญ่พอๆ กับตัวเครื่องที่ 3,995 ดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้จะ
 
ราคาสูง แต่ก็ค่อนข้างเป็นที่นิยมในหมู่คนทุนหนา อย่างนักธุรกิจที่นิยมความคล่องตัวในการโทร.
 
แม้ไม่ค่อยคล่องตัวในการเก็บก็ตาม


 
 เพจเจอร์ จุดเกิดเหตุ: ยุค 90s

 
เกิดขึ้นเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการส่งข่าวสารถึงกันได้อย่างรวด เร็วขึ้น เพราะตอนนั้นถึง
 
แม้โทรศัพท์จะมีการพัฒนามากขึ้น แต่ราคาก็ยังแพงหูฉี่ เพจเจอร์มีหลากรูปแบบ มีทั้งที่รับ
 
ข้อความอย่างเดียว และรุ่นท็อปขึ้นมาหน่อยก็คือเป็นแบบที่มีปุ่มพิมพ์แล้วส่งได้เลยด้วยตัวไว
 
ร์เลส เพียงแค่โทร.ไปที่ศูนย์บริการ บอกหมายเลขเครื่องผู้รับและบอกข้อความ พนักงานก็จะ
 
พิมพ์และส่งไปให้...ถ้าไม่เขินคำพูดตัวเองกับพนักงานซะก่อนนะ


 
เทปคลาสเซ็ต จุดเกิดเหตุ: ยุค 60s
 
ประดิษฐ์ขึ้นมาครั้งแรกโดยบริษัทฟิลลิปส์ ประเทศเนเธอร์เเลนด์ และท็อปฮิตติดชาร์ตอย่างถล่ม
 
ทลายในช่วงปี ค.ศ. 1980 คาดกันว่าเทปคลาสเซ็ตเริ่มฮิตมาก เพราะใช้บันทึกรายการวิทยุต่างๆ
 
ได้ แต่ด้วยปัญหาที่ตัวเทปไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน อาจมีการหย่อนยานของเสียง แถมแตกหัก
 
ง่าย ทำให้ตลาดซีดีตีตื้นขึ้นมา และครองความเป็นเจ้าตลาดเพลงในที่สุด


วอร์กแมน จุดเกิดเหตุ : ยุค 70s
 
หรือที่เรียกกันว่า ซาวด์อะเบาต์ ต้องยกให้ทางโซนีที่สร้างแบรนด์อมตะนี้ขึ้นมา เปิดตัวด้วยรุ่น
 
TPS – L2 พัฒนามาจากเครื่องเล่นเทปแต่ตัดฟังก์ชั่นบางอย่าง เช่น การบันทึกเสียงกับลำโพง แต่
 
เพิ่มวงจรสเตอริโอที่เล่นกับเฮดโฟนเข้ามา จึงทำให้มีขนาดเล็กลง ต่อมาก็ได้พัฒนาให้สามารถอัด
 
เสียง และในที่สุดก็เลื่อนขั้นเป็นเครื่องเล่นแผ่นซีดี หรือซีดี วอร์กแมน ก่อนที่ยุค MP3 จะกลืนไป
 
เกือบหมดในเวลาต่อมา แต่ถึงยังไงตำนานวอร์กแมนก็เป็นแม่แบบของการฟังเพลงแบบพกพามา
 
จนถึงปัจจุบัน

ฟิล์ม จุดเกิดเหตุ : ยุค 80s
 
ฟิล์มม้วนแรกเกิดขึ้นจากฝีมือของ ตอร์จ อีตส์แมน ผู้ก่อตั้งบริษัทโกดัก โดยอีก 5 ปีต่อมาเขาก็
 
ประดิษฐ์กล้องถ่ายรูปที่ใช้คู่กับฟิล์มได้สำเร็จ เขาผู้นี้จึงถือว่าเป็นผู้เปลี่ยนการถ่ายภาพให้นิยมกัน
 
มากขึ้น ไม่ใช่เป็นแค่งานอดิเรกราคาแพงสมัยก่อนหน้า ฟิล์มยุคแรกก็คือฟิล์มขาวดำ และเริ่ม
 
กำเนิดฟิล์มสีหลังจากนั้นร้อยกว่าปี ก่อนจะพัฒนามาเรื่อยๆ มีให้เลือกหลายแบบตามลักษณะการ
 
ใช้ แต่ความนิยมก็ตกลงไป เมื่อทุกอย่างล้วนเป็นดิจิตอลมากขึ้น

 กล้องอ่อนจุดเกิดเหตุ: ยุค 60s
 
เพื่อขจัดปัญหามือไม่โปรแต่อยากถ่ายภาพ (บ้าง) กล้อง Kodak Instamatic 100 จึงคลอดออก
 
มามา เป็นกล้องขนาดพกพาและใส่ฟิล์มหลังกล้องได้เลย และถ้าจะถ่ายก็เพียงเล็ง กด หมุนเลื่อน
 
ไปยังภาพต่อไป พิเศษด้วยตัวแฟลชป็อบอัพ นี่จึงเป็นที่มาของคำว่ากล้องปัญญาอ่อน คือไม่ต้อง
 
ทำอะไรแค่ถ่ายอย่างเดียวเป็นพอ ยุคหลังอาจจะมีฟังก์ชั่นตั้งวันเวลา กรอฟิล์มเองอัตโนมัติเข้ามา
 
เพิ่มเติม แต่ก็แทบจะไม่เห็นแล้วในปัจจุบัน
 
 วิดีโอเกมแบบเสียบตลับ จุดเกิดเหตุ : ยุค 60s
 
เครื่องเล่นเกมชนิดนี้เริ่มต้นด้วยการเป็นแค่วิดีโอเกมที่เสียบกับจอ โทรทัศน์ ต่อมาจึงมีการพัฒนา
 
มาใช้ตลับเกม ตลับเกม (ของแท้) มีความคงทน ไม่พังง่าย แต่ก็มีความจุน้อย ในขณะที่ตลับเกมมี
 
ความจุสูงสุดที่ 64 เมกะไบต์ แต่ CD - ROM มีความจุถึง 650 เมกะไบต์ นอกจากนี้ตลับเกมนั้น
 
ผลิตได้ยากกว่าและแพงกว่าซีดี ทำให้เครื่องเกมที่ใช้ CD-ROMอย่างเพลย์สเตชันหรือเซกาแซต
 
เทิร์น ถูกพัฒนาไปมากกว่า
 
Game Boy จุดเกิดเหตุ : ยุค 80s
 
เกมบอย ตัวแรกว่า Nintendo Game Boy ลักษณะของเกมบอยคือส่วนผสมของเกมกดและเกม
 
ต่อโทรทัศน์แบบใช้ตลับ ทั้งปุ่มและการบังคับจะใช้แบบเดียวกัน ตลับเกมก็เปลี่ยนมาเป็นแผ่นเกม
 
ย่อส่วน จอก็ย่อขนาดลงมา รุ่นแรกนี้ใช้โปรเซสเซอร์แบบ Zilog Z80 และจอภาพ LCD ขาวดำ
 
หรือเขียว และหลังจากนั้นไม่นานก็เริ่มมีการผลิตเกมบอยหน้าจอสี ที่แสดงสีได้ถึง 65,000 สีบน
 
หน้าจอเดียว ซึ่งก็ไม่ทำให้แฟนๆ ผิดหวัง




พิมพ์ดีด จุดเกิดเหตุ : ค.ศ. 1694
 
ในประเทศไทยเป็นที่นิยมมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เรื่อยมา นิยมที่จะใช้ทำเอกสารต่างๆ เพราะดู
 
เรียบร้อยและอ่านง่าย ต่อมาก็พัฒนาการตัวเองเป็นแบบเครื่องไฟฟ้าบ้าง พิมพ์ง่ายขึ้นด้วยมีปุ่ม
 
Shift, Shift Lock, Alt มีตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก มีปุ่ม CORRECT ใช้ลบตัวพิมพ์ผิดโดย
 
จะใช้หลักการ เทปติดหมึกออกมาจากกระดาษ แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีข้อด้อยกว่าคอมพิวเตอร์ที่
 
สามารถแก้ไข และใส่ลูกเล่นได้เยอะกว่า


Floppy Disk จุดเกิดเหตุ : ยุค 70s
 
หรือที่นิยมเรียกกันว่าแผ่นดิสก์ คอมพิวเตอร์สามารถอ่านและเขียนข้อมูลบนดิสก์ได้ทางฟล็อปปี้
 
ไดรฟ์ รุ่นแรกๆ ดิสก์จะค่อนข้างใหญ่ บอบบาง และต้องใช้เฉพาะครื่องเท่านั้น แต่รุ่นหลังได้พัฒนา
 
ให้แข็งแรงขึ้น เก็บง่ายและใช้ได้กับทุกเครื่อง ซึ่งก็คือแผ่นดิสก์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี่แหละ แต่
 
ถึงราคาต่อแผ่นถูก ช่องฟล็อปปีเอของใครหลายคนตอนนี้ก็ถูกทิ้งร้าง เพราะเจ้า USB ดันมาแรง
 
แซงหน้าด้วยความจุ และความทนทาน
 

เขียนโดย ปิยะวัฒน์ น่วมวิโรจน์ ที่ 13:59

ที่มาจาก : http://wissanuoho.blogspot.com

#เทคโนโลยี #เก่า #ๆ
Hoyjoke
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
7 พ.ค. 54 เวลา 17:03 9,546 35 330
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...