"หอกรีนิช" เปิดสุดยอด ภาพถ่ายดาราศาสตร์ 2009

 "หอกรีนิช" เปิดสุดยอด ภาพถ่ายดาราศาสตร์2009

"หอดูดาวแห่งกรีนิช" ประเทศอังกฤษ หนึ่งในหอดูดาวหลักของโลก จัดงานแสดงภาพถ่ายดาราศาสตร์แห่งปีค.ศ.2009 (พ.ศ.2552) ร่วมเฉลิมฉลองปีดาราศาสตร์สากล 2552 เปิดโอกาสให้คนจากทั่วโลกส่งภาพถ่ายดาราศาสตร์หลายหัวข้อ เช่น โลกและอวกาศ, ระบบสุริยะของเรา, ดีพสเปซ ฯลฯ ส่งเข้าประกวดผ่านเว็บไซต์ www. flickr.com/groups/astrophoto/ พร้อมจัดนิทรรศการให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงต้นเดือนมกราคมปีหน้า

ผลงานที่โดดเด่นได้รับการกล่าวขวัญถึงในสื่อมวลชนอังกฤษแต่ละชิ้นล้วนงดงามตระการตาเกินคำบรรยาย

ดีที่สุด คือ พิสูจน์ความมหัศจรรย์แห่งห้วงจักรวาลด้วยสายตาตัวเอง!


1."เนบิวลาหัวม้า"
ในกลุ่มดาวนายพราน
ช่างภาพ : มาร์ติน พิวห์, อังกฤษ
ภาพขณะกลุ่มแก๊ส ฝุ่น และวัตถุต่างๆ ในอวกาศอัดแน่นรวมตัวกัน ก่อนก่อรูปเป็น ดาวและดาวเคราะห์


 2.จันทร์สีเงิน
ช่างภาพ : ไมเคิล โอคอนเนลล์, ไอร์ แลนด์
ดวงจันทร์ขาวนวลตัดกับท้องฟ้าสีเงิน มองเห็นพื้นผิวบนดวงจันทร์ชัดเจน โดยเฉพาะหลุมลาวาขนาดใหญ่ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าครั้งหนึ่งในอดีต นานมาแล้วเคยมี "น้ำ" สะสมอยู่

3.ผ่าฟ้า
ช่างภาพ : miuvincent (เว็บไซต์ flickr)
ประกายแสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบแผงเซลล์สุริยะของ "ดาวเทียมเทลโก" แบบพอดิบพอดี ทำให้เกิดแสงสว่างวาบตัดกลางท้องฟ้า

4.ดาวหาง"โฮล์มส์"
ช่างภาพ : นิก โฮเวส, อังกฤษ
โฮเวสบันทึกภาพช่วงเวลาดาวหาง "โฮล์มส์" โคจรผ่านดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี ซึ่งเป็นปรากฏการณ์เกิดขึ้นทุกๆ 7 ปี

ใจกลางดาวหางประกอบด้วยน้ำแข็ง หิน และก๊าซที่เย็นจัดจนกลายเป็นของแข็ง

5.พระอาทิตย์สีเลือด
ช่างภาพ : boogerfingers (เว็บไซต์ flickr)
อีกมุมมองของพระอาทิตย์ ถ่ายด้วยเทคนิคพิเศษ เพื่อจับภาพโคโรนา หรือชั้นบรรยากาศรอบนอกดวงอาทิตย์

6.ดาราจักร"เซนทอรัส-เอ"
ช่างภาพ : ไมเคิล ซิดานิโอ, ออสเตรเลีย
เห็นเปล่งประกายอยู่ตรงกลางไกลลิบๆ คือ กาแล็กซี หรือดาราจักร "เซนทอรัส-เอ" ห่างจากเราหลายล้านปีแสง
ฉากระยิบระยับด้านหน้า ได้แก่ ดวงดาวจำนวนนับไม่ถ้วน

7.แอปเปิ้ลจักรวาล
ช่างภาพ : เอริก ลาร์เซน, ไม่แจ้งประเทศ
สีชมพูหวานจ๋อยของ "แอปเปิ้ล คอร์ เนบิวลา" หรือ เนบิวลาหมายเลข เอ็ม 27 มองดูคล้ายผลแอปเปิ้ลลอยคว้างอยู่ในจักรวาล

8.แสงเขียวเรืองรอง เปรียบคันศรแห่งหมู่ดาว
ช่างภาพ : คาร์ล จอห์นสัน, แคนาดา
"ออโรร่า" หรือแสงเหนือ-แสงใต้ มักเกิดขึ้นที่ชั้นบรรยากาศ เป็นปรากฏการณ์อันเกิดจากการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างชั้นบรรยากาศโลก สนามแม่เหล็กโลก และอนุภาคจากดวงอาทิตย์

9.เส้นทางดวงดาวในหุบเขาสีน้ำเงิน
ช่างภาพ : เท็ด โดบอสซ์, ออสเตรเลีย
ภาพถ่ายท้องฟ้ายามรัตติกาลผ่านเทคนิคเปิดแช่หน้ากล้อง 30 นาที เมื่อหันมองไปทางซีกโลกใต้ สีส้มตอนล่างๆ ของภาพเป็นแสงจากไฟถนน

10.บิ๊กอันโดรเมดา
ช่างภาพ : xamad (เว็บไซต์ flickr)
กาแล็กซี หรือดาราจักรอันโดรเมดาใหญ่ เอ็ม 31 เป็นดาราจักรแบบกังหัน มีรูปร่างแบน ตรงกลางเป็นทรงกลมเป็นกระเปาะ มีแขนเหยียดออกไปหลายอันและตีเกลียวดูเป็นรูปเหมือนกังหัน ขนาดใหญ่กว่าดาราจักร "ทางช้างเผือก" ของเราเล็กน้อย

 

 

9 พ.ย. 52 เวลา 02:24 3,781 13 172
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...