ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ลมพัดแรงจนใบกังหันลมสีขาวเด่นสะดุดตาเบื้องหน้าถึงกับหมุนติ้วอากาศดีๆ ที่โรงเรียนบ้านชายทะเล อ.ปากพนังจ.นครศรีธรรมราช คงจะจริงอย่างที่เขาว่ากันว่า นี่คือจังหวัดที่ได้ชื่อว่าเหมาะที่สุดแล้วสำหรับตั้งกังหันลมในประเทศไทย

ตรงกันกับข้อมูลจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน ที่ระบุว่าพื้นที่และความเหมาะสมสำหรับการใช้ประโยชน์จากพลังงานลม ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่อยู่ติดชายทะเล เพราะได้รับทั้งลมบก ลมทะเล และลมประจำฤดู

โดยเฉพาะพื้นที่แนวชายฝั่งไล่ตั้งแต่อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ยาวไปจนถึงอ.สิงหนคร จ.สงขลา ระยะทาง 140 กิโลเมตรซึ่งได้รับลมเป็นระยะยาวนานในหนึ่งปี ทั้งลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเร็วลมเฉลี่ย 4-5 เมตรต่อวินาที

?ที่นี่อากาศเยี่ยมครับ พื้นที่ตรงปากอ่าวชายทะเล ลมดีตลอดปี?ชายผิวเข้มคล้ำแบบชาวปักษ์ใต้คนหนึ่งยืนยัน

หลายสิบปีที่แล้ว เรื่องกังหันลมสำหรับประเทศไทย เป็นเพียงแค่วัตถุสวยงามเอาไว้ประดับบ้าน ประดับสถานที่ให้รู้สึกตื่นตาตื่นใจเท่านั้น แต่ในวันที่บ้านเมืองประสบปัญหาแย่งกันใช้ทรัพยากรมากขึ้นเรื่อยๆ หน่วยงานหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน จึงเริ่มหันไปศึกษาเรื่องพลังงานทางเลือก และสายลมที่พัดผ่านไปมารอบตัวเรานี่เอง ที่ถือเป็นพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจที่สุดในเวลานี้

?สาเหตุที่เลือกทำโครงการกังหันลมผลิตไฟฟ้า เนื่องจากพลังงานจากกังหันลม เป็นพลังงานที่สะอาด ไม่ทิ้งกากและมลภาวะ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อหา มีระยะเวลาในการให้พลังงาน 15-20 ชั่วโมงต่อวัน พลังงานลมยังเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด ใช้ประโยชน์ได้ต่อเนื่องนับเป็นทางเลือกที่สำคัญสำหรับประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคต? เป็นคำกล่าวของ รจน์นันท์เพิ่มเจริญผู้ช่วยผู้จัดการ แผนกสื่อสารองค์กรบริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์)

กังหันลมสีขาวสูงโดดเด่นที่ตั้งตระหง่านอยู่บนลานโล่ง ด้านหน้าโรงเรียนบ้านชายทะเลอ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ตัวนี้ เป็นหนึ่งในกังหันลมที่บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง(ไทยแลนด์) มอบให้แก่โรงเรียนในชนบททั่วประเทศ จำนวน 15 แห่ง ภายใต้โครงการ?พลังงานสีขาว เพื่อโลกสีเขียว?โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำพลังงานสะอาดที่ได้จากลมไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าให้แก่โรงเรียน

นอกจากนี้ กังหันลมยังเป็นเสมือนสื่อการเรียนการสอน ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์เรียนรู้เรื่องพลังงานทางเลือกสำหรับนักเรียนและผู้คนในชุมชนได้อีกด้วย

?เท่าที่สังเกตจากทุกพื้นที่ก็คือชาวบ้านพากันออกมามุงดูให้ความสนใจกันมาก แหงนคอมองกันใหญ่ ทั้งๆ ที่หลายคนไม่รู้อะไรเกี่ยวกับกังหันลมเลย บางคนเดินมาถามว่าไอ้พัดลมยักษ์นี่มันจะหมุนไปทำไม แต่พอเรานำมาติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านกังหันลมมาให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานของกังหันลมว่า มันผลิตไฟฟ้าได้ยังไง ลมแค่ไหนผลิตไฟฟ้าได้แค่ไหนประโยชน์ของพลังงานสะอาดที่เป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดโลกร้อน ก็รู้สึกว่าเด็กๆ นักเรียนและชาวบ้านในชุมชนก็ได้รู้จักกับกังหันลมมากขึ้น?

สำหรับกังหันลมผลิตไฟฟ้าตัวนี้ รจน์นันท์บอกว่า เป็นเทคโนโลยีของคนไทย ได้รับการพัฒนาโดยกลุ่มกังหันลมผลิตไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากกังหันลมจะถูกนำไปใช้ใน ?ห้องสมุดพลังงานสีขาว โดยแคนนอน?

นิรุตติ นิลแก้ววิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านกังหันลม เล่าถึงกระบวนการทำงานโดยย่อของกังหันลมผลิตไฟฟ้าให้ฟังว่า กังหันลมสามารถติดตั้งได้ทั้งที่ตัวอาคารและบนพื้นดิน สำหรับที่ติดตั้งในโรงเรียนทั้ง 15 แห่ง จะติดตั้งบนพื้นดินโล่งสามารถรับลมได้อย่างเต็มที่ ไม่มีต้นไม้ใหญ่มาขวางทาง

กังหันลมตัวนี้มีหลักการทำงานโดยย่อ คือต้องการความเร็วลมที่ 2.5 เมตรต่อวินาที เป็นเวลา 2 ชั่วโมง เพื่อจะผลิตไฟฟ้า 1,000 วัตต์จากนั้นจะสะสมกระแสไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่และส่งต่อไปที่เครื่องแปรกระแสไฟฟ้าจากกระแสตรงเป็นกระแสสลับ และจ่ายให้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านทั่วไป ไฟฟ้าที่ได้จะจ่ายให้ดวงไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ

?โดยปกติกระแสลมในประเทศไทยมีความเร็วลมเฉลี่ยที่ 4 เมตรต่อวินาที และจะมีกระแสลมเฉลี่ย 20 ชั่วโมงต่อวัน กังหันลมหนึ่งตัวสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ 200 วัตต์ต่อชั่วโมง ในเวลา 20 ชั่วโมง จะผลิตได้ 400 วัตต์ หรือ 4 กิโลวัตต์ ซึ่งหมายถึงผลิตได้วันละ4 ยูนิต ถ้าคำนวณจากค่ากระแสไฟฟ้ายูนิตละ 4 บาท ทางโรงเรียนจะประหยัดไฟได้ถึงปีละ 5,760 บาท? ผู้เชี่ยวชาญด้านกังหันลมรายนี้พูดถึงประโยชน์ ที่โรงเรียนนี้ได้จากกังหันลมผลิตไฟฟ้าแคนนอน

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือไปจากกังหันลมแคนนอนตัวนี้แล้ว ยังมีกังหันลมอีกนับร้อยตัวที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาและพัฒนาศักยภาพของพลังงานลม เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ในอนาคต จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีศักยภาพ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมทั่วประเทศถึง 1,600 เมกะวัตต์ หรือเท่ากับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 แห่งเลยทีเดียว

?เป็นเรื่องที่ดีมากที่เราจะหันไปพึ่งพาพลังงานทางเลือก จากพลังงานลมมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าแทนการสร้างเขื่อน หรือการสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นวัตถุดิบ แม้จะไม่สามารถแทนพลังงานที่ผลิตได้ทั้งหมด แต่ก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่จะลดการสร้างมลพิษเพิ่ม ลดการทำลายทรัพยากร เช่น การสร้างเขื่อน เราจะต้องตัดต้นไม้ และใช้พื้นที่จำนวนมหาศาล แต่การสร้างกังหันลม แค่เอาเสาไปปักในพื้นที่ที่มีศักยภาพเสร็จแล้วก็ปล่อยให้ระบบทำงานเท่านั้น? ศุภกิจนันทะวรการนักวิจัยพลังงานและอุตสาหกรรมมูลนิธินโยบายและสุขภาวะ กล่าว

ลมเป็นพลังงานที่จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น แต่สามารถสัมผัสได้ด้วยความรู้สึก พร้อมให้มนุษย์นำศักยภาพของพลังงานลมมาเปลี่ยนให้เกิดประโยชน์ต่อโลกและสังคมโดยรวม

วันข้างหน้านี้ กังหันลมที่กำลังหมุนติ้วๆอยู่นี้แหละ จะเป็นทางเลือกสำคัญในการใช้ทรัพยากร ที่เรามีอยู่เหลือเฟือได้อย่างคุ้มค่าที่สุด

??????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ?