พิพิธภัณฑ์ขนมไทย

 พิพิธภัณฑ์ขนมไทย จังหวัด สมุทรสงคราม

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นประธานเปิดตัวพิพิธภัณฑ์

ทดลองชิมขนมหวานไทยโบราณ

ตัวอย่างจำลองขนมใส่หม้อดินประเภทต่างๆกัน

 

ขนมโหล ขนมแห้ง ขนมกรอบ

น้ำแข็งไส ใส่เครื่องต่างๆหลายๆอย่าง ดูน่ากิน 

จำลองขนมหวานหลายๆอย่าง จัดแบบขันโตก 

 

"พิพิธภัณฑ์ขนมไทย" เป็นพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับขนมไทยที่มีชีวิต  แห่งแรกของประเทศไทย ดังนั้นความโดดเด่นและความน่าสนใจของพิพิธภัณฑ์มีชีวิตแห่งนี้ คือ การบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ในอดีตผ่านสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน องค์ประกอบต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์จะมีชีวิตชีวา มีความเคลื่อนไหว เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นอยู่ในวิถีชีวิต กิจวัตรประจำวัน การประกอบอาชีพของคนในชุมชน
       
       ภายในพิพิธภัณฑ์นอกจากจะประกอบด้วยองค์ความรู้เกี่ยวข้องกับขนมไทยแล้ว ผู้ศึกษาเข้าชมพิพิธภัณฑ์ยังสามารถเรียนรู้ด้วยการจับต้อง ทดลอง ผ่านรูปแบบของกิจกรรมต่างๆ ที่ทางพิพิธภัณฑ์จัดขึ้น ทำให้ผู้พบเห็นสามารถเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน อาหารหรือขนมไทยได้อย่างลึกซึ้ง สามารถก่อให้เกิดความเข้าใจ ตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต สังคม ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้
 

ขนมหวานเป็นของชอบของเด็กทุกคน

 

  ขนมไทยในอดีต  
       
       ในยุครุ่งเรืองของขนมไทยนั้น นอกจากขนมง่ายๆ ที่ทำรับประทานกันเองในครัวเรือนแล้ว ร้านขนมไทยคืออีกทางเลือกหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายแก่ผู้ที่ไม่มีเวลา แต่พิสมัยในรสชาติหวานอร่อยของขนมไทยให้ได้ซื้อหากลับไปรับประทาน
       
       ในสมัยก่อนร้านค้ายังไม่มีจำนวนมากเช่นปัจจุบัน จึงก่อเกิดกิจการการขายขนมโดยรถเข็นเข้าไปยังตรอก ซอก ซอย หมู่บ้านต่างๆ โดยขนมรถเข็นจะขายในช่วงหัวค่ำจนถึงกลางดึก ขนมไทยส่วนใหญ่ที่อยู่ในรถเข็นได้แก่ ขนมนึ่ง เช่น ขนมชั้น ขนมถ้วย ขนมกล้วย ขนมตาล สังขยาฟักทอง และขนมเครื่องไข่ เช่น ทองหยอด ฝอยทอง ทองหยิบ เม็ดขนุน เป็นต้น
       
       ขนมไทยอีกประเภทหนึ่งที่เป็นที่นิยมคือ"ขนมหม้อดิน" หม้อดินเป็นภาชนะประกอบอาหารที่คนไทยในสมัยโบราณคุ้นเคย เพราะสามารถเก็บความร้อนได้นานและทำให้อาหารหรือขนมมีกลิ่นหอมเฉพาะ ขนมหม้อดินโดยส่วนใหญ่เป็นขนมน้ำ เช่น ขนมแกงบวดฟักทอง เผือกบวด มันบวด และประเภทเปียก เช่น ข้าวเหนียวเปียกถั่วดำ ข้าวเหนียวเปียกสาคู หรือประเภทต้ม เช่น บัวลอย ครองแครง ปากริมไข่เต่า หรือประเภทต้มน้ำตาล เช่น ถั่วเขียวต้มน้ำตาล มันต้มขิง ในอดีตจะเห็นแม่ค้าหาบเร่หรือพายเรือนำขนมหม้อดินนี้มาขายกันมาก
       
       "ขนมโหล" เป็นขนมไทยอีกชนิดหนึ่งที่มีวิธีการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อน เช่น ทอด กวน อบ ส่วนวัตถุดิบจะหาได้จากท้องถิ่น และนำมาจำหน่ายใส่โหลแก้ววางเรียงรายในร้านค้าต่างๆ เพื่อดึงดูดลูกค้า เช่น อาลัว ถั่วทอด กล้วยฉาบ ขนมหน้านวล กล้วยกวน มะพร้าวแก้ว ฯลฯ
       
       แต่หากจะพูดถึงขนมไทยยอดนิยม โดยเฉพาะสำหรับเด็กๆ คงจะขาดขนมชนิดนี้ไปไม่ได้ "ขนมน้ำแข็งไส" จุดเริ่มต้นเกิดจากน้ำแข็งเข้ามาเมืองไทยครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงได้มีโรงน้ำแข็งเกิดขึ้นแห่งแรกในประเทศไทย ต่อมาได้มีการดัดแปลงนำน้ำแข็งมาผสมกับขนมหลายชนิดเกิดเป็นขนมน้ำแข็งไส อาทิเช่น ลอดช่อง แตงไทย เผือก ลูกชิด ซ่าหริ่ม ทับทิมกรอบ โดยนิยมโรยดอกมะลิในน้ำกะทิและชิ้นขนุนในน้ำเชื่อม เพื่อให้ความหอมหวาน อร่อยและชื่นใจไปพร้อมๆ กัน


นอกจากนี้ก็ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมาย เช่น ตลาดน้ำอัมพวา แหล่งขายอาหารและของทานเล่น

ผลไม้สารพัดอย่าง

กลางคืนจะไปชมหิ่งห้อยที่ใต้ต้นลำพู ก็สวยได้บรรยากาศไปอีกแบบนะ

 

 

 

 

 

 

20 ส.ค. 53 เวลา 20:45 6,153 1 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...