หอเอน เมืองปิซ่า

ภาพมุมกว้างบริเวณหอเอน ลานนี้เรียกว่า Piazza del Duomo เป็นที่ตั้งของ Batistry และ The Cathedral Baptistry สร้างในปี ค.ศ. 1260

หอเอนแห่งเมืองปิซา 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก (สิ่งก่อสร้างที่มหัศจรรย์สมัยกลาง  อายุตั้งแต่ คริสตศตวรรษที่ 5 – คริสตศตวรรษที่ 16) ตั้งอยู่ที่เมืองปิซา ประเทศอิตาลี ในจัตุรัสเปียซซา เดล ดูโอโม (Piazza Del Duomo) หอระฆังของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก

ยอดหอเอนสามารถขึ้นไปได้แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

หอเอนแห่งเมืองปิซา เป็นหอคอยหินอ่อน สูง 54 เมตร (181 ฟุต) มี 8 ชั้น แต่ละชั้นมีเสาหินอ่อนที่สลักลวดลาย ได้ลงมือสร้างเมื่อ พ.ศ. 1717 (ค.ศ. 1174) ไปเสร็จในปี พ.ศ. 1893 (ค.ศ. 1350) ใช้เวานานถึง 176 ปี ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใช้เวลาสร้างนานที่สุดในโลก ความน่ามหัศจรรย์อีกอย่าง คือ เมื่อเริ่มสร้างได้ 4-5 ชั้น หอนี้เริ่มเอียง แต่ไม่ถึงกับพังทลายลงมา เพราะแรงที่จุดศูนย์ถ่วง เมื่อลากดิ่งลงมาไม่ออกนอกฐานจึงไม่ล้มยังทรงตัวอยู่ได้ เมื่อสร้างเสร็จ ยอดของหอเอียงออกจากแนวดิ่งของฐานถึง 4 เมตร( 14 ฟุต)

ท่ามาตราฐาน ที่ทุกคนมาจะต้องถ่ายแบบนี้

การแสดงเปิดหมวกของศิลปินที่นั่น

ร้านขายของที่ระลึกตลอดแนวทางเดิน

กาลิเลโอ กาลิเลอิ เคยใช้หอเอนเมืองปิซา (Leaning Tower of Pisa) นี้ทดลองเกี่ยวกับเรื่อง แรงโน้มถ่วง ในตอนที่เขาเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยปิซา โดยใช้ลูกบอล 2 ลูกมี่น้ำหนักไม่เท่ากันทิ้งลงมา เพื่อพิสูจน์ว่า ลูกบอล 2 ลูกจะตกถึงพื้นพร้อมกัน ซึ่งก็เป้นตามที่กาลิเลโอคาดไว้ ในปี ค.ศ.1934 เบนิโต มุสโสลินี พยายามจะทำให้หอกลับมาตั้งฉากดังเดิม โดยเทคอนกรีตลงไปที่ฐาน แต่กลับทำให้หอยิ่งเอียงมากขึ้นไปอีก

เพื่อป้องกันความสั่นสะเทือนจะทำให้เกิดอันตรายต่อหอเอน เราจะต้องทำการนั่งรถ Shuttle Bus เข้าไปด้านใน เขาไม่อนุญาตให้เราขับรถเข้าไปข้างในครับ

หลังจากนั้น ในปี ค.ศ. 1990-2001 หอเอนเมืองปิซา (Leaning Tower of Pisa) ได้รับการปรับปรุงฐานให้แข็งแรงยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้หอล้มลงมา   มีความพยายามที่ทำให้หอเอนหยุดการเอียง เพราะว่ามันจะเอียงเพิ่ม 1นิ้ว ทุกๆ 20ปี เคยใช้การเจาะรูแล้วอัดปูน Mortar ใส่แต่ไม่สำเร็จ หลังจากนั้นก็ลองใช้ตะกั่วหลายร้อยตันถ่วงไปก็พอได้บ้าง แต่มาสำเร็จเมื่อปี 2001 โดยขุดดินด้านที่สูงกว่าออกทีละน้อย สุดท้ายสามารถกู้การเอียงได้ 16 นิ้วซึ่งคาดว่าจะปลอดภัยไปอีก300ปี

19 ส.ค. 53 เวลา 02:31 5,316 4 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...