10 อันดับการคิดค้นของสัตว์

มีบางคนกล่าวว่าความจำเป็นนั้นเป็นต้นตอของสิ่งประดิษฐ์ทั้งหมด แต่เขาดูเหมือนจะลืมไปนะว่าธรรมชาติเป็นผู้นำมาซึ่งการออกแบบอันน่าทึ่ง เรามานับถอยหลังสิ่งมีชีวิตในโลกของสัตว์ เพื่อดูว่าอีกนานแค่ไหนที่มนุษย์จะสามารถเลียนแบบความช่างคิดของธรรมชาติได้สักที มนุษย์ไม่ใช่เจ้าแรกที่คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เพราะหลายๆ อย่างสัตว์ในธรรมชาติมีก่อนหน้าเรามานานแล้ว

อันดับที่ 10 ตัวต่อ


มันอาศัยอยู่ในรังที่อาจมีขนาดใหญ่ได้เท่ากับสนามฟุตบอล และมีประชากรตัวต่อมากกว่า 10,000 ตัว และทั้งรังของมันนั้นก็ทำขึ้นมาจากกระดาษ กระบวนการเริ่มต้นเมื่อราชินีตัวต่อสร้างลูกทรงกลมด้วยวัสดุที่คล้ายกระดาษ ที่นี่เองที่มันมีลูกรุ่นแรกคือตัวต่องานที่เกิดขึ้นมาเพื่อช่วยสร้างอาณาจักรใต้ดิน ต่องานพวกนี้ใช้ขากรรไกรอันแข็งแรงมนการดึงเนื้อไม้ออกมา พวกมันจะทำการเคี้ยว ผสมไม้ให้เข้ากันด้วยน้ำลาย ซึ่งช่วยให้เนื้อไม้อ่อนนุ่มและมีความชื้น เมื่อกลับไปถึงรังมันก็คายไม้ที่เคี้ยวไว้ออกมาและใช้ปากกับขาเกลี่ยเนื้อไม้ให้มีรูปทรงที่ต้องการ เมื่อแห้งเนื้อไม้ก็จะกลายเป็นกระดาษที่แข็งแรงและทนทาน ตัวต่อทำเหมือนมันเป็นเรื่องง่ายๆ

ตามตำนานการค้นพบกระดาษของมนุษย์ ชายชาวจีนชื่อ ไซ่หลง เป็นเจ้าหน้าที่ศาลเฝ้าดูตัวต่อทำรัง หลังจากที่เขาเห็นมันผสมเนื้อไม้กับน้ำลายแล้วคลี่ให้เป็นแผ่นด้วยขาของมัน เขาจึงได้เกิดความคิดขึ้นมา เขาตระหนักว่าเมื่อแยกเนื้อไม้ออกมาแล้วผสมลอยปนอยู่ในน้ำ มันจะสร้างเส้นใยเป็นแพขึ้นมา และเมื่อเอามารีดแล้วทำให้แห้งก็จะกลายเป็นกระดาษ เป็นการค้นพบที่เปลี่ยนแปลงโลกไปทั้งใบ นับตั้งแต่นั้นมากระบวนการดังกล่าวก็ได้รับการพัฒนาเป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง และในตอนนี้ต้นไม้หนึ่งต้นสามารถผลิตกระดาษได้ประมาณ 80,000 แผ่น ตัวต่อทำกระดาษเพื่อใช้สร้างรังมาหลายล้านปีแล้ว ส่วนมนุษย์เราเพิ่งจะคิดวิธีทำกระดาษเมื่อไม่กี่ร้อยปีนี่เอง

อันดับที่ 9 โลมา


ปี 1912 เรือไททานิคคือเรือขนาดใหญ่สุดเท่าที่เคยสร้างขึ้นมา มันมีใบพัดขนาดใหญ่กว่าบ้าน เครื่องยนต์ที่สูงกว่าตึกสี่ชั้น ในสมัยนั้นมันอลังการมากและเชื่อว่ามันเป็นเรือที่จะไม่มีวันจม แต่แล้วระหว่างการเดินทางมันก็ชนเข้ากับก้อนน้ำแข็ง เพียงแค่สามชั่วโมง เรือขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้างมาก็จมลงสู่ก้นทะเล ก่อนหน้าหายนะในครั้งนั้นวิธีเดียวที่ใช้ตรวจจับก้อนน้ำแข็งในทะเลก็คือการส่องกล้องจากทางด้านหน้าเรือ แต่หลังจากเหตุการ์เรือไททานิคล่มอับปางลง นักประดิษฐ์ก็เร่งทำการค้นหาวิธีที่ดีกว่านี้ และต่อมาพวกเขาได้พัฒนาวิธีการตรวจจับก้อนน้ำแข็งด้วยการส่งสัญญาณเสียง เรียกว่าระบบนำวิถีด้วยเสียงหรือสัญญาณเสียงโซน่าร์ เป็นสิ่งงประดิษฐ์ที่ยอดเยี่ยมมากและเป็นสิ่งที่สัตว์ในลำดับที่ 9 ของเราใช้มานานหลายล้านปีแล้ว

พบกับ "โลมา" ที่ไม่มีปัญหาใดๆ ในการเดินทางยามค่ำคืนหรือในสภาพน้ำขุ่น เพราะมันใช้เสียงในการสร้างภาพของสิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัวมัน นอกจากการส่งเสียงร้องเป็นระยะๆ ที่เราเองก็ได้ยินแล้ว โลมายังส่งคลื่นความถี่ที่มนุษย์ไม่ได้ยิน นั่นคือคลื่นเสียงอัลตร้าโซนิคที่ใช้ตรวจจับ ขนาด รูปทรง และความเร็วของวัตถุในน้ำ ลองจินตนาการว่าถ้าเราใช้โซน่าร์ได้เหมือนกับโลมา เราคงต้องมีศรีษะขนาดใหญ่เพื่อให้มีพื้นที่พอสำหรับอวัยวะพิเศษที่เรียกว่า เมล่อน เป็นก้อนไขมันที่ทำหน้าที่เหมือนกับเลนส์กล้องในการโฟกัสคลื่นเสียง เป็นสิ่งที่ผลิตขึ้นโดยอวัยวะในศรีษะ

เมื่อคลื่นเสียงเดินทางผ่านนำมากระทบกับวัตถุ คลื่นเสียงจะสะท้อนกลับ ถ้าเราเป็นเหมือนกับโลมา เราจะไม่ได้ยินเสียงสะท้อนด้วยหู แต่รับเสียงด้วยขากรรไกรล่างที่มีขนาดยาวที่มีโพรงไขมันในกระดูกที่จะช่วยส่งเสียงสู่หูชั้นใน การถอดรหัสของคลื่นเสียงทำให้โลมาสามารถสร้างภาพของโลกรอบๆ ตัวมันได้ แม้กระทั่งเหยื่อที่ว่องไวที่สุด มนุษย์ที่เดินทางอยู่ใต้น้ำนี้ก็ใช้ระบบเดียวกัน โซน่าร์คือตาและหูใต้น้ำของทหารเรือ เช่นเดียวกับโลมา เรือดำน้ำส่งสัญญาณเสียงและฟังเสียงสะท้อนกลับเพื่อบอกให้ได้ถึงอันตรายข้างหน้าที่รออยู่

เมื่อเร็วๆ นี้กองทัพเรือได้พัฒนาโซน่าร์ที่มีความถี่ต่ำและเดินทางได้ไกลยิ่งขึ้น ทรงพลังมากกว่าโซน่าร์แบบเก่า แต่สัญญาณเสียงแบบใหม่นี้อาจสร้างปัญหาให้สัตว์ทะเลขนาดใหญ่อื่นๆ ได้ด้วยเช่นกัน กองทัพเรือประมาณการว่าระยะทาง 300 ไมล์จากแหล่งกำเนิดเสียงคลื่นความถี่ต่ำนี้ดังพอๆ กับเครื่องบินเจ็ตตอนที่บินขึ้น การวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ยังพบว่าคลื่นเสียงดังกล่าวไปรบกวนคลื่นเสียงโซน่าร์ตามธรรมชาติของโลมาและวาฬ อาจทำให้โลมาหลงทางและส่งผลต่อการสื่อสารของพวกมัน ถ้าเสียงดังจะทำให้วาฬหวาดกลัว มันจะขึ้นสู่ผิวน้ำอย่างรวดเร็ว แรงดันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอาจทำให้มันเลือดไหลไม่หยุดได้ หรือป่วยด้วยโรคแรงดันในร่างกายไม่สมดุล โชคดีที่กองทัพเรือมีข้อตกลงในการจำกัดการใช้สิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้เพื่อเอื้ออาทรต่อสัตว์น้ำใต้ทะเล

อันดับที่ 8 หมึก

 


เรือแล่นไปข้างหน้าได้ด้วยใบพัดตั้งแต่ช่วงปี 1830 แต่ในปี 1950 บางสิ่งที่แตกต่างออกไปก็ได้เกิดขึ้น นั่นก็คือเจ๊ตโบ๊ต (Jet Boat) เป็นตัวอย่างที่ดีมากของกฎทางฟิสิกส์ของนิวตัน ในกรณีนี้การพุ้ยน้ำทางด้านหลังของเรือทำให้เรือแล่นไปข้างหน้าได้

เซอร์ไอแซค นิวตันคือหนึ่งในนักคิดผู้ยิ่งใหญ่ของโลก แต่สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังก็สามารถใช้กฎทางฟิสิกส์ได้เหมือนกัน มันเป็นสัตว์ที่พ่นน้ำได้ และมันคือ "หมึก" และเช่นเดียวกับเครื่องยนต์เจ็ต หมึกพุ่งไปข้างหน้าด้วยการพ่นน้ำออกจากร่างกาย ซึ่งมีความเร็วได้ถึง 25 ไมล์ต่อชั่วโมง ทำให้มันเป็นสัตว์ไร้กระดูกสันหลังที่เคลื่อนไหวในน้ำได้เร็วที่สุด มันเคลื่อนที่ได้ด้วยการใช้น้ำที่เก็บไว้ในโพรงของร่างกายแล้วก็บีบที่ปลายคล้ายกับกระบอกฉีดเล็กๆ จนพุ่งไปยังทิศตรงกันข้าม

สิ่งเดียวกันนี้เกิดขึ้นกับสายยาง มันง่ายที่จะควบคุมสายยางได้เมื่อมีแรงดันต่ำ แต่เมื่อเพิ่มแรงดันน้ำสายยางก็จะพ่นไปทั่วอย่างบ้าคลั่ง และนี่คือแรงบันดาลใจที่สร้างเครื่องยนต์เรือเจ๊ตลำแรกขึ้นมา ตามตำนานย้อนหลังไปในช่วงปี 1950 เมื่อนักประดิษฐ์ชาวนิวซีแลนด์เห็นชาวไร่ล้างลานบ้านโดยใช้สายยางแรงดันสูง จึงเกิดความคิดที่จะสร้างเครื่องยนต์ชนิดใหม่ขึ้นมา "บิล แฮมิลตัน" ต้องการสร้างเรือที่สามารถแล่นในน้ำตื้นได้ เขาจึงต้องกำจัดใบพัดเรือทิ้งไปและแทนที่มันด้วยเครื่องยนต์เจ๊ต ซึ่งหลักการนั้นคล้ายกับการเคลื่อนที่ของหมึกเลย

อันดับที่ 7 แมลงเมลาโนฟิลล่า (Melanophilla)

 


มันเป็นสัตว์ที่พบได้ในใจกลางของเปลวเพลิง มีการประมาณการว่าแค่ในสหรัฐอเมริกาที่เดียวมีการใช้เงินมากกว่าสองพันล้านดอลล่าห์ในการที่จะดับไฟป่า เทคนิคก็คือต้องไปถึงไฟให้เร็วในขณะที่ยังเป็นกองเพลิงขนาดเล็ก มันจะเป็นเรื่องง่ายถ้าเรามีอุปกรณ์ที่แมลงในลำดับที่ 7 นี้มีไว้ใช้ ในขณะที่สัตว์ส่วนใหญ่หนีไฟป่า แต่แมลงเมลาโนฟิลล่า (Melanophilla) ในระยะรัศมี 50 ไมล์กลับแข่งกันบินเข้าสู่กองเพลิง พวกมันมองหาแหล่งเดียวที่พวกมันจะแพร่พันธุ์ได้ นั่นก็คือซากต้นไม้ที่ไหม้ไฟใหม่ๆ ซึ่งเป็นสนามรักชั้นดี เพราะว่าสัตว์นักล่าอื่นๆ นั้นจะหนีไฟไปกันหมด และตัวเมียก็จะวางไข่ได้โดยปลอดภัยตามซากต้นไม้นั่นแหละ


ต้นไม้ที่ถูกไฟไหม้ไปจะป้องกันตัวเองไม่ได้ ตัวอ่อนจึงใช้ชีวิตได้อย่างเป็นสุข กัดกินเนื้อไม้ก่อนที่จะเจริญเติบโตมาเป็นตัวแมลง นั่นคือเหตุผลที่ว่าไฟไหม้ป่าคือสิ่งสำคัญสำหรับแมลงเมลาโนฟิลล่า และในการค้นหาวพกมันจะมีอุปกรณ์จับแสงอินฟราเรดซ่อนอยู่ที่ด้านหลังของขาด้วย ตุ่มเล็กๆ นี้มีขนซึ่งไวต่อการรับรู้ราว 70 เส้นที่ใช้ติดตามรังสีอินฟราเรดที่มาจากเปลวเพลิงที่ห่างออกไปหลายไมล์

อันดับที่ 6 นกแกนเน็ต (Gannet Bird)


รถยนต์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญ แต่มันก็ส่งผลตามมาก็คือการเกิดอุบัติเหตุอย่างรถชน การกระแทกที่เกิดจากความเร็วสูง และนั่นเป็นเหตุผลที่ในปี 1971 บริษัทรถยนต์ฟอร์ดได้ติดตั้งเครื่องรับแรงกระแทกในการทดลองเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ถุงลมนิรภัยพองตัวได้ในเศษหนึ่งส่วนพันวินาทีหรือเวลาครึ่งนึงของการกระพริบตา จากการสำรวจพบว่าถุงลมนิรภัยสามารถลดอาการบาดเจ็บที่ศรีษะได้มากถึง 75% จึงไม่น่าแปลกใจที่มันเป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับสัตว์ที่ต้องพุ่งชนและกระแทกกับน้ำทะเลเป็นประจำ ด้วยความเร็วมากกว่า 90 ไมล์ต่อชั่วโมง นกแกนเน็ตคือสุดยอดนักกระโดดน้ำของโลก เวลาที่มันหาปลามันจะพุ่งหลาวลงทะเลด้วยความสูงมากกว่า 100 ฟุต นั่นเป็นความสูงสองเท่าของนักกระโดดน้ำโอลิมปิค

นกแกนเน็ตถลาลงน้ำโดยแผ่ขยายปีกกว้างออกไปเพื่อความเที่ยงตรงแม่นยำ แต่ก่อนที่จะกระทกผิวน้ำ มันจะหุบปีกลู่ไปตามลำตัวแนบไปกับผิวน้ำได้เหมือนกับแท่งเข็ม และมันมีการป้องกันเพิ่มเติมด้วยนั่นคือถุงลมนิรภัยในตัวของมันเอง การพุ่งลงน้ำจากที่สูงจะปลอดภัยขึ้นอย่างมากถ้าเราเป็นเหมือนกับนกแกนเน็ต นั่นเป็นเพราะว่าก่อนที่จะลงกระแทกน้ำมันจะหายใจลึกๆ เพื่อขยายถุงลมใต้ผิวหนัง ทั้งบนหน้าผากและหน้าอก เบาะพวกนี้จะช่วยซับแรงกระแทกได้เหมือนกับถุงลมนิรภัยในรถยนต์ เบาะพิเศษประจำตัวของมันนี้ช่วยให้รอดชีวิตจากการพุ่งลงน้ำจากที่สูงที่ส่งผลให้น้ำกระจายได้ถึง 10 ฟุตขึ้นไปบนอากาศ

มันเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักวิทยาศาสตร์ในการป้องกันภัยเมื่อต้องเดินทางด้วยความเร็วที่ 12,000 ไมล์ต่อชั่วโมง ในปี 2003 ยานอวกาศใช้เวลาร่วม 7 เดือนท่องไปในอวกาศสู่ดาวอังคาร มีร่มชูชีพและจรวดที่จะร่อนลงสู่พื้นได้พร้อมกับถุงลมนิรภัยจำนวนมากมายจริงๆ ต้องขอบคุณเบาะนิรภัยเหล่านี้ที่ช่วยให้เครื่องร่อนลงได้อย่างปลอดภัย และเมื่อแคปซูลเปิดออก หุ่นยนต์ขนาดเล็กก็จะออกไปเก็บภาพอันน่าทึ่งจำนวนมากมายของพื้นผิวดาวอังคารได้ ถุงลมนิรภัยของแคปซูลยานสำรวจดาวอังคารคือสิ่งที่น่าทึ่ง แต่มันก็ทำงานได้แค่ครั้งเดียวจะยังคงอยู่บนดาวอังคาร ต่างกับนกแกนเน็ตที่สามารถพองถุงลมของมันได้หลายครั้งในแต่ละวันเลยทีเดียว

อันดับที่ 5 นกฮูก


ถ้าต้องโฉบ ถลาเข้าหาเพื่อจับสัตว์เล็ก จะต้องมีหูที่ดีและมีปฏิกิริยาสะท้อนกลับที่รวดเร็ว นกฮูกบินได้เงียบกริบมากเป็นผลมาจากการวิวัฒนาการอย่างชาญฉลาด มันมีปีกที่ใหญ่โตเมื่อเทียบกับร่างกายที่เล็ก ขนนกของมันเป็นชายห้อยตรงส่วนปลาย เป็นช่องให้อากาศไหลผ่านไปตามปีกและลดเสียง เช่นเดียวกับปลายลักษณะแบบฟันปลา ส่วนล่างของปลีกมีความอ่อนนุ่มช่วยลดเสียงตอนที่ขยับปีกในระหว่างการบิน

ไม่น่าแปลกใจเลยที่นักวิทยาศาสตร์หันมาสนใจนกฮูกเพื่อการออกแบบเครื่องบินที่สามารถบินได้เงียบที่สุด ในการดีไซน์ปีกของเครื่องบินจัมโบ้เจ๊ทกับนกฮูกมีความแตกต่างกันแต่ก็ใช้หลักการพื้นบานเดียวกัน เมื่อบินผ่านอากาศจะก่อให้เกิดสภาพอากาศแปรปรวน เกิดทอร์นาโดขนาดเล็กๆ ที่บริเวณด้านหลังของปีก และเมื่อทอร์นาโดเหล่านี้เข้าประทะกันเองจะเกิดเสียงดังกึกก้อง สภาพอากาศแปรปรวนส่วนใหญ่เกิดขึ้นเมื่อเครื่องบินจะร่อนลงจอด แต่เมื่อมาถึงตอนนี้ต้องขอบคุณความลับของนกฮูก นักออกแบบได้เปลี่ยนแปลงเหลี่ยมมุมของเครื่องบิน แม้เพียงเล็กน้อยก็มีผลต่อการไหลเวียนของอากาศ มันจึงลดการเคลื่อนที่ฉับพลันของอากาศ ทำให้เครื่องบินมีเสียงดังน้อยลงตามไปด้วย

อันดับที่ 4 ฉลามมาโค (Mako Shark)


หางขนาดใหญ่และลำตัวที่เพรียวของฉลามเมโคว่ายน้ำได้เร็วกว่านักว่ายน้ำที่เร็วที่สุดถึง 6 เท่าทีเดียว เมื่อดูใกล้ๆ ที่ผิวหนังของมันก็จะพบการออกแบบที่เยี่ยมยอด ผิวของฉลามมีตารางเล็กๆ ที่อุ้มน้ำไว้กับตัวได้ จึงไม่ทำให้เกิดสภาพน้ำแปรปรวน ในตอนที่มันว่ายน้ำ น้ำทะเลจะปะทะกันระหว่างชั้นของน้ำ ไม่ใช่กับตัวฉลาม จึงช่วยลดการลากดึงและเพิ่มความรวดเร็วให้กับฉลามมาโคด้วย นักพัฒนาชุดว่ายน้ำจึงได้ออกแบบบอดี้สูทให้มีลวดลายเล็กๆ เพื่อให้มีช่องเล็กๆ จำนวนมากเหมือนกับฉลามเลย รูปร่างและพื้นผิวของวัสดุที่ใช้จะต้องทำให้น้ำผ่านได้มากที่สุด ชุดแบบนี้อาจช่วยนักว่ายน้ำโอลิมปิคได้ แต่เราๆท่านๆ ทั้งหลายก็สามารถว่ายน้ำเร็วได้ ถ้าเรามองเห็นฉลามจริงๆ ว่ายมาหาด้วยความรวดเร็ว

อันดับที่ 3 แมลงวันโอร์เมียร์ (Ormia Fly)


ในคืนฤดูร้อน จิ้งหรีดตัวผู้จะถูปีกไปมาเพื่อหาคู่ แต่โชคไม่ดีเท่าไหร่ที่ไม่เพียงแต่จิ้งหรีดตัวเมียเท่านั้นที่ได้ยินเสียงนี้ มันยังได้ยินไปถึงแมลงวันที่วางไข่ไว้บนตัวจิ้งหรีดเองด้วย ตัวอ่อนแมลงวันซึ่งฝังตัวอยู่ในจิ้งหรีดตัวผู้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยการกัดกินจากด้านในออกมาก่อนที่จะเปลี่ยนรูปร่างกลายเป็นแมลงวันที่เรียกกันว่า "แมลงวันโอร์เมียร์ (Ormia Fly)" และมันติดตามฟังเสียงของจิ้งหรีดยามค่ำคืนได้อย่างไร นักวิทยาศาสตร์จึงนำจิ้งหรีดมาติดไว้กับลูกบอลหมุน เพื่อดูว่ามันทำอะไรบ้างเมื่อจิ้งหรีดส่งเสียงร้องมาจากหลายทิศทาง ผลลัพธ์ของการทดลองนั้นน่าประหลาดใจเหลือเกิน

จากการวิจัยของ รอน ฮอย จากภาควิชาประสาทวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนล (Cornell University) เขาได้กล่าวว่า "สิ่งที่เราค้นพบก็คือ แมลงวันมีหูที่ไม่ธรรมดา ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ใหม่มากในอาณาจักรสัตว์ ไม่มีสัตว์ชนิดไหนมีหูแบบนี้ เป็นเรื่องน่าพิศวงมากสำหรับแมลงวันที่รับเสียงได้เป็นอย่างดี" ไม่เหมือนแมลงวันชนิดอื่นที่ใช้ขนบนขารับความรู้สึก แมลงวันโอร์เมียร์มีหูอยู่ตรงหน้าอก เยื่อแก้วหูแบบพิเศษที่รับเสียงของจิ้งหรีดตัวผู้ได้ดีกว่าเสียงของจิ้งหรีดตัวเมียถึงหนึ่งร้อยเท่า และหูของมันยังสามารถกำหนดทิศทางที่มาของเสียงได้อีกด้วย

อันดับที่ 2 ตุ๊กแก


อุ้งเท้าสี่ข้างอันทรงพลังของตุ๊กแกสามารถปีนป่ายไปได้ทุกสภาพพื้นผิวเลยจริงๆ มันพิเศษกว่าสัตว์ปีนป่ายชนิดอื่น ตุ๊กแกไม่จำเป็นต้องมีตัวดูด ตะขอเกี่ยว หรือสารคัดหลั่งใดๆ นักวิจัยที่วิทยาลัยหลุยส์แอนด์คาร์กพบว่าพลังในการเกาะของตุ๊กแกมาจากเส้นขนเล็กๆจำนวนมากบนอุ้งเท้าแต่ละข้าง



ด้วยแรงยึดเหนี่ยวอันทรงพลัง ตุ๊กแกจึงสามารถไต่ไปตามเพดานหรือพื้นผิวต่างๆ และรับน้ำหนักได้มากถึง 90 ปอนด์ อุ้งเท้าของมันปกคลุมไปด้วยเส้นขนเล็กๆ 150,000 เส้น และที่ปลายขนยังแบ่งออกเป็นเส้นเล็กๆ อีก 1,000 เส้น รวมแล้วอุ้งเท้าของตุ๊กแกมีปลายขนเล็กๆ มากกว่า หนึ่งพันล้านเส้น ซึ่งมีขนาดเล็กมากมีโมเลกุลเล็กมากจนสามารถแทรกซึมไปยังโมเลกุลของพื้นผิวต่างๆ ที่มันไต่ไป แม้กระทั่งโมเลกุลของกระจก ดังนั้นตุ๊กแกจึงเกือบจะกลายมาเป็นสิ่งของที่มันเกาะอยู่

อันดับที่ 1 วู้ดฟร็อก (Wood Frog)



ฤดูหนาวเป็นความท้าทายอย่างยิ่งต่อสัตว์เล็กๆ บางชนิด ซึ่งมันต้องจำศีล ต้องสร้างความอบอุ่นให้เพียงพอเพื่อไม่ให้หนาวตาย เพราะถ้าหากมีน้ำแข็งเกิดขึ้นในร่างกายมันจะต้องลำบากแน่ๆ ภายในเซลล์ ก้อนน้ำแข็งโตขึ้นเป็นเกล็ดแหลม ทำให้เซลล์ เมมเบรนแตก เนื้อเยื่อเสียหาย ซึ่งคนตามภูเขาสูงเรียกว่าน้ำแข็งกัด สำหรับสัตว์ส่วนใหญ่ การแข็งหรือ Freezing หมายถึงความตาย แต่นั่นไม่สามารถทำให้สัตว์ที่ซุ่มซ่อนตัวอยู่ตามพุ่มไม้ในป่าของอเมริกาเหนือเป็นอันตรายได้ สัตว์ในอันดับหนึ่งในการจัดอันดับนี้ก็คือวู้ดฟร็อก นักวิจัยที่ศึกษาเรื่องกบหวังว่าจะค้นพบว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดนี้เอาชีวิตรอดในช่วงฤดูหนาวอันยาวนานหลายเดือนด้วยการแช่แข็งได้อย่างไร

เมื่อร่างกายของมันเข้าสู่กระบวนการแช่แข็ง แต่ละเซลล์ของมันมีการสะสมน้ำตาลกลูโคสไว้เป็นจำนวนมากที่เป็นตัวต่อต้านน้ำแข็งเกล็ดได้ นอกจากนี้ยังผลิตโปรตีนแบบพิเศษในของเหลวระหว่างเซลล์เพื่อดึงเอาความเย็นมาได้ ช่วยให้มันเย็นจนแข็งอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนั้นเกล็ดน้ำแข็งที่เดขึ้นมาจึงเป็นเพียงเกล็ดเล็กๆ และไม่ทำให้เกิดอันตราย ทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เลือดก็แข็งตัวก่อนเข้าสู่หัวใจ กบอาจดูเหมือนตายแล้ว แต่ภายในเซลล์ยังมีชีวิตอยู่ โดยมีกลูโคสเดียวกันที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พยายามค้นคว้าวิธีเดียวกันนี้เพื่อช่วยชีวิตมวลมนุษย์

ในอเมริกาที่เดียวมีคนมากกว่า 50 คนได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะในแต่ละวัน แต่โชคร้ายที่ความต้องการอวัยวะมีมากก่าอวัยวะที่บริจาคกัน และอวัยวะสำคัญอย่างเช่นหัวใจ ปอด ต้องทำการผ่าตัดเปลี่ยนให้ได้ภายในหกชั่วโมงหลังจากที่นำมาจากร่างของผู้บริจาค นั่นหมายความว่าไม่มีเวลาเหลือมากนักในการขนส่ง นักวิจัยจึงหวังว่าจะยืดเวลาดังกล่าวออกไปได้โดยใช้วิธีการเดียวกับวู้ดฟร็อก บริษัทขนส่งอวัยวะในชิคาโก้ได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์วิธีการแช่แข็งเนื้อเยื่อและอวัยวะไว้ที่ระดับต่ำกว่าจุดเยือกแข็งโดยที่ไม่ก่อให้เกิดเกล็ดน้ำแข็งได้ เช่นเดียวกับวู้ฟร็อกทางบริษัทใช้สารเคมีผสมเพื่อลดการเกิดเกล็ดน้ำแข็งเพื่อให้เนื้อเยื่อเสียหายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

9 ธ.ค. 59 เวลา 09:43 1,994 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...