"ถังข่า"งานศิลปะสุดโหดของทิเบตเมื่อ 2,000 ปีก่อน ได้มาจากการ"ถลกหนังทาสสดๆ"อย่างน่าสยดสยอง

"ถังข่า" เป็นภาพวาดบนเนื้อของมนุษย์ที่วาดไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ (คล้ายกับรอยสัก) ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งเหอหนาน มีอายุนานกว่า 2,000 ปี ซึ่งถือเป็นงานศิลปะในประวัติศาสตร์ที่สะท้อนให้เห็นสังคมของทาสชาวเกษตรกรในทิเบต

เนื่องทาสเกษตรกรชาวทิเบตในสมัยก่อนนั้นจะถูกกดขี่ ใช้งานอย่างทารุณและโหดร้ายเป็นอย่างมาก บางครั้งก็อาจจะถูกตัดแขนตัดขาจนกลายเป็นเรื่องธรรมดา และทาสคนไหนที่ถูกคัดเลือกก็จะถูกจับบังคับและทำการวาดภาพลงบนเนื้อหนังทั่วร่างกายตอนยังมีชีวิตอยู่ จากนั้นก็จะถูกมัดกับเสาใช้ของมีคมเจาะที่กลางกะโหลกศีรษะให้เป็นรู แล้วจึงใช้มีดแหวกบริเวณรูที่เจาะให้เป็น 4 แฉก ลึกประมาณ 2 เซนติเมตร แล้วจึงนำปรอทมาหยอดลงไปในรูให้ซึมไปทั่วร่างกาย

หลังจากนั้นเมื่อปรอทแข็งตัวแล้ว ก็จะทำการ "ถลกหนัง" ออกมาจากร่างกายได้เป็นชิ้นเป็นอันโดยไม่บุบสลายเลยทีเดียว แม้ว่ามันจะเป็นศิลปะ แต่มันกลับเป็นงานศิลปะที่โหดร้ายและน่าสยดสยองเป็นอย่างมาก แค่ฟังก็ถึงกับขนลุกแล้ว...

 

 

 

ข้อมูลและภาพประกอบจาก "Dragonary Sriboonchaichoosakul"

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...