พระยาระแวก ผู้ชั่วร้ายในพงศาวดารไทย แต่ เป็นท่าน"วีรบุรุษ" ในพงศาวดารกัมพูชา

ในบางเรื่องผู้เขียนก็ต้องยอมรับว่า "ประวัติศาสตร์บ้านเราบิดเบี่ยวไปมาก" ซึ่งประมาณว่า ถ้าจะพูดกับประเทศเพื่อนบ้าน เราต้องระวังเรื่องประวัติศาสตร์ที่เขียนในบ้านเราให้หนักๆ เพราะแทนที่จะเป็นสัมพันธ์ไมตรี ก็กลับกลายเป็น คนไม่อยากคุยกันทันที
..... โดยในพงศาวดารเขมรกล่าวถึงเรื่องราวที่เขมรต้องพ่ายว่า(บางส่วน)
........"สมเด็จพระมหินทราชาทรงขึ้นครองราชย์แล้วถวายราชสมบัติให้พระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ (หมายถึงพระโอรสทั้งสอง ) แล้วยังทำลายพระพุทธอัฏฐารสที่วัดตระแลงแกงนี้ประการหนึ่ง
อีกประการเพราะทรงโปรดปราน "อ้ายติปัญโญและอ้ายสุปัญโญ" คนนอกศาสนา แล้วจึงลงโทษข้าราชการเขมรนี้ทั้งปวง…"
จากเอกสารของเขมรนั้น เชื่อว่าอ้ายติปัญโญและอ้ายสุปัญโญซึ่งเป็นคนนอกศาสนา นั้นก็คือไส้ศึกที่เมืองสยามส่งเข้ามาทำลายมนต์ขลัง ของเทวาอารักษ์ในเมืองเขมรจนกระทั่ง"บันทายลงแวก" แตกเมื่อขึ้น 13 ค่ำ เดือนเชฏฐ ปีมะเส็ง ปัญจศก พุทธศักราช 2137 จึงจับสมเด็จพระมหาอุภโยราชศรีสุริโยพรรณ พร้อมกับ สมเด็จพระชัยเจษฎา พระราชบุตรองค์โต ซึ่งมีพระชนม์ 14 พรรษา และสมเด็จพระอุทัย ซึ่งมีพระชนม์ 5 พรรษาได้
ในพงศาวดารเขมรกล่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรทรงรับ สั่งมิให้เอาผิดกับพระศรีสุริโยพรรณไม่ เนื่องจากเหตุการณ์ที่เลวร้ายนั้น เป็นด้วยการกรทำของสมเด็จพระมหินทราชาทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังตรัสถามว่า พระองค์จะพาไปยังอยุธยาเพื่อที่จะชุบเลี้ยงเป็นอย่างดี ส่วนเหตุการณ์ทางเขมรนี้ เมื่อทุกอย่างสงบราบคาบลงแล้วก็จะมอบบัลลังก์คืนให้ พระศรีสุริโยพรรณได้ยินดังนั้นจึงตรัสตอบว่าพระองค์ไม่มีความยินดีในสมบัติราชบัลลังก์เลยแม้แต่น้อย หากเป็นไปได้เมื่อพระเชษฐาเสด็จหนีไป ราชสมบัติในกรุงเขมรนั้น ก็สมควรที่จะเวนคืนแก่หลานของพระองค์ด้วย
สมเด็จพระนเรศวร จึงได้สรรเสริญพระมหาอุภโยราชของเขมรพระองค์นี้อยู่ในใจ และหลังจากที่ได้จัดการเรื่องราวที่เมืองลงแวก จนเรียบร้อยแล้วพระองค์จึงทรงเสด็จกลับสู่สยามประเทศพร้อมกับนำเอาสมเด็จพระศรีสุริโยพรรณพร้อมด้วยพระราชบุตรทั้งสองนั้นติดตามไปด้วย โดยให้ตั้งบ้านเรือนอยู่นอกกำแพงกรุง และองค์สมเด็จพระนเรศวรนั้นทรงโปรดให้นำเอาพระราชธิดาพระองค์หนึ่งของสมเด็จพระศรีสุริโยพรรณเข้าวังของพระองค์แล้วทรงแต่งตั้งให้เป็น พระมเหสีมีพระนามว่า "พระเอกษัตรี" เมื่อปีมะแม สัปตศก พ.ศ.2138 นั่นเอง
จากหลักฐานของกัมพูชานั้น ได้กล่าวกันถึงการทิวงคต ของสมเด็จพระมหินทราชาว่าทรงประชวรด้วยไข้ป่าพร้อมด้วยพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ จึงทำให้หลายคนสงสัยว่าทำไมถึงไม่ได้มีการเขียนถึงพิธีปฐมกรรมอย่างที่พงศาวดารไทยได้เขียนเอาไว้....

2 เม.ย. 59 เวลา 14:28 1,729
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...