กว่าจะได้"สมาร์ทโฟน"แต่ละเครื่อง พวกเขาต้องทำงานตากแดดนานกว่า 12 ชั่วโมง แลกกับค่าแรงเพียง 100 บาท/วัน

เมื่อ 100 ปีก่อน มีชาวเบลเยี่ยมคนหนึ่งค้นพบทองคำ เพชร ยูเรเนียม และโคลแทน ในทวีปแอฟริกา ซึ่งแต่ละอย่างนั้นล้วนเป็นแร่ธาตุที่มีค่าเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นต่อมาก็มีการทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในทวีปแอฟริกาเกิดขึ้นต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน

Luwow เป็นเหมืองแร่ "โคลแทน" ในประะเทศคองโก โดยมีแรงงานในเหมืองกว่า 1,400 คน และแรงงานแต่ละคนนั้นต้องใช้มือ จอบ และเสียมขุดหาแร่โคลแทนท่ามกลางแดดร้อนเป็นเวลานานกว่า 12 ชั่วโมง เพื่อแลกกับค่าแรงวัน 100 บาท

การทำงานในเหมืองแร่นั้นเต็มไปด้วยความลำบาก โดยในเหมืองจะแบ่งเป็น "ผู้คุม" และ "คนงาน" ซึ่งคนงานจะทำงานอย่างหนักเพื่อขุดหาแร่ รวมทั้งแบกแร่หนักเป็นกระสอบ ส่วนผู้คุมจะทำหน้าที่ยืนดูแลการทำงานของคนงานเฉยๆ และคอยสั่งให้ทำงานหนักขึ้น เร็วขึ้นเท่านั้นเอง

หลังจากที่คนงานขุดแร่โคลแทนมาได้ แร่เหล่านั้นก็จะถูกนำมาบรรจุใส่กระสอบ แล้วให้คนงานแบกไปทำการร่อนเอาแต่เนื้อแร่ต่อไป

ซึ่งแร่โคลแทนที่หามาได้นั้นจะถูกนำไปใช้ผลิตคอนดักเตอร์ ซึ่งเป็นตัวควบคุมพลังงานที่ใช้ใน “สมาร์ทโฟน” ไม่ว่าจะแอปเปิล ซัมซุง หรือยี่ห้อต่างๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้แร่โคลแทนทั้งนั้น

ด้วยหยาดเหงื่อของแรงงานจำนวนมากทำให้ประเทศคองโกกลายเป็นประเทศที่ส่งออกแร่โคลแทนมากที่สุดในโลก แต่น่าเสียดายที่รายได้จากการขายแร่โคลทั้งหมดถูกนำไปใช้ในการซื้ออาวุธ เพื่อนำมาใช้ในสงครามความขัดแย้งในภูมิภาคที่มีมานานกว่า 20 ปี

ข้อมูลและภาพประกอบจาก "kiitdoo"

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...