20 เรื่องน่ารู้ รถไฟไทย

 

 

 

 

 

20 เรื่องน่ารู้ รถไฟไทย เพื่อนๆ รู้ไหมว่า รถไฟไทยนี้ถือเป็นต้นกำเนิดส่วนสำคัญที่สุด! ของการคมนาคมของประเทศไทยในสมัยอดีตเชียวนะ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้คิดริเริ่ม พราะเห็นว่ารถไฟไทยจะสามารถทำให้คนไทยสามารถค้าขายกับคนต่างชาติๆด้ง่ายและสะดวกขึ้น, ให้ต่างชาติเข้ามาเที่ยวเยี่ยมชมเมืองไทย เป็นต้น นอกจากนี้เพือนๆ อาจจจะนึกไม่ถึงว่า การรถไฟไทยเคยสร้างภาพยนตร์มาหลายเรื่องแล้วด้วย อีกทั้งยังหาแหล่งกำเนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงของรถไฟ ทีนเอ็มไทยว่าเราอย่ารอช้า กันดีกว่าไปดูกันเลย ^^

20 เรื่องน่ารู้ รถไฟไทย

20 เรื่องน่ารู้ รถไฟไทย

1. ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรมรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในสังกัดกระทรวงโยธาธิการ

2. 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 สายกรุงเทพ-นครราชสีมา เป็นเส้นทางรถไฟสายแรกของประเทศสยาม ทางขนาดกว้าง 1.435 เมตร โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ ทรงเปิดการเดินรถไฟเส้นนี้

3. กรมรถไฟถือเอาวันที่ 26 มีนาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟจนถึงปัจจุบัน

4. ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อจาก “กรมรถไฟ” เป็น “กรมรถไฟหลวง”

5. นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ได้รับฉายาว่าพระบิดาแห่งการรถไฟไทย ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นบุคคลสำคัญที่ผลักดันให้กิจการรถไฟของไทยเติบใหญ่อย่างมั่นคง และดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงพระองค์แรกในเวลาต่อมา

6. วันที่ 1 กรกฎาคม 2494  การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ เปลี่ยนจากส่วนราชการเป็นรัฐวิสาหกิจ ในสมัยรัฐบาลที่มี จอมพลป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี

7. การรถไฟแห่งประเทศไทย มี หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) เป็นผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทยคนแรก และเป็นอธิบดีกรมรถไฟคนสุดท้าย

8. เมื่อเปลี่ยนจากส่วนราชการเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภค สังกัดกระทรวงคมนาคม และให้มีการโอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิ หน้าที่ต่างๆ รวมไปถึงข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ ลูกจ้าง และสายงานทั้งหมด ของกรมรถไฟไปอยู่ในการดำเนินงานของ การรถไฟแห่งประเทศไทย

9. การรถไฟแห่งประเทศไทยมีหน่วยการเดินรถไฟกระจายอยู่ทั้ง 4 ภูมิภาคของแต่ละภาคโดยมีทั้งสิ้น 3 เขตลากเลื่อน

กองลากเลื่อนเขตนครราชสีมา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กองลากเลื่อนเขตอุตรดิตถ์ (ภาคเหนือ) กองลากเลื่อนเขตหาดใหญ่ (ภาคใต้)

10. ปัจจุบันการรถไฟฯ มีระยะทางที่เปิดการเดินรถแล้ว รวมทั้งสิ้น 4,346 กิโลเมตร

20 เรื่องน่ารู้ รถไฟไทย

20 เรื่องน่ารู้ รถไฟไทย

11. ปี 2465 พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งขณะนั้นทรงเป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ได้ทรงจัดตั้ง “กองภาพยนตร์เผยแพร่ข่าว กรมรถไฟหลวง” เพื่อทำหน้าที่ผลิตภาพยนตร์ข่าวสารและสารคดีเผยแพร่กิจการของกรมรถไฟหลวง ตลอดจนกิจการของกระทรวงทบวงกรมอื่นๆ ทั้งหมด รวมไปถึงบริการรับจ้างผลิตภาพยนตร์ให้แก่เอกชนทั่วไปด้วย

12. การที่มีกองผลิตภาพยนตร์ในกรมรถไฟหลวงก็เพื่อสร้างภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์ให้ คนไทยและชาวต่างประเทศนิยมท่องเที่ยวโดยใช้บริการของรถไฟ เพราะในขณะนั้นรถไฟเป็นสิ่งใหม่ สร้างภาพยนตร์ขึ้นมาเพื่อให้เห็นสถานที่น่าท่องเที่ยวต่างๆของไทย กรมรถไฟหลวงจึงกลายเป็นโรงเรียนในการสร้างคนที่จะผลิตภาพยนตร์เรื่องของไทยต่อไปในอนาคต

13. ต่อมาเมื่อกิจการสร้างภาพยนตร์เรื่องบันเทิงของไทยเกิดขึ้นในปี 2470 ก็ได้อาศัยบุคลากรและอุปกรณ์ของกองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าวนี้เองเป็นฐานสำคัญ เมื่อเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองประเทศตั้งแต่ปี 2475 แล้ว กิจการของกองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว กรมรถไฟหลวง ค่อยๆลดบทบาทลง เพราะรัฐบาลใหม่ในระบอบประชาธิปไตย ได้จัดตั้งกรมโฆษณาการ (คือ กรมประชาสัมพันธ์ในเวลาต่อมา) และตั้งแผนกภาพยนตร์ขึ้นในสำนักงานนี้ เพื่อทำหน้าที่ผลิตภาพยนตร์เผยแพร่กิจการของรัฐบาล

14. ผลงานภาพยนตร์บางส่วนของกรมรถไฟหลวง เช่น ราชพิธีบรมราชาภิเษก

เหตุการณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการบันทึก ภาพยนตร์พระราชพิธีสำคัญตามโบราณราชประเพณีของไทย ชมสยาม โดยฝีมือของ หลวงกลการเจนจิต(เภา วสุวัต) ช่างถ่ายหนังสำคัญของสยามในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นภาพยนตร์แนะนำประเทศสยามต่อชาวต่างชาติ ทำนองส่งเสริมการท่องเที่ยว  นางสาวสุวรรณ เป็นเรื่องแรกที่ถ่ายทำในประเทศสยาม (ไทย) ต่อมาบริษัทสยามภาพยนตร์ได้ขออนุญาตกรมรถไฟหลวง นำมาฉายให้ประชาชนเป็นครั้งแรกมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 เพื่อเก็บเงินรายได้บำรุงสภากาชาดสยาม โชคสองชั้น 

20 เรื่องน่ารู้ รถไฟไทย

15. ครั้งแรกที่ประเทศไทยได้มีการใช้วิธีการทางด้านธรณีวิทยาในการสำรวจ แร่เชื้อเพลิง และปิโตรเลียมอย่างแท้จริง เหตุจากชาวบ้านฝาง จังหวัดเชียงใหม่ พบน้ำมันไหลขึ้นมาบนผิวดิน พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ทรงทราบถึงการค้นพบน้ำมันที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จึงติดต่อว่าจ้าง “Mr. Wallace Lee” นักธรณีวิทยาชาวอเมริกัน ให้สำรวจน้ำมันและถ่านหินเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถจักรไอน้ำในกิจการรถไฟ 

16. กรมรถไฟหลวงยังนับเป็นผู้บุกเบิกสำคัญ เช่น โรงแรมรถไฟหัวหิน ซึ่งปัจจุบัน คือ โรงแรมโซฟิเทลเซ็นทรัลหัวหินรีสอร์ท 

17. โรงแรมรถไฟอีกแห่ง คือ โฮเต็ลวังพญาไท ซึ่งปัจจุบัน คือ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า นับว่าหรูหรามาก เนื่องจากดัดแปลงจากพระราชวังพญาไทมาเป็นโรงแรมเมื่อปี 2469 

18. โรงแรมราชธานีที่สถานีรถไฟหัวลำโพง เปิดดำเนินการเมื่อปี 2470 นับเป็นโรงแรมที่ทันสมัยระดับแนวหน้าของไทย มีบริการอาหารแบบตะวันตก

19. พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน นับแต่แรกที่ทรงปฏิบัติราชการในกรมรถไฟ พระองค์ทรงฝึกให้ข้าราชการไทย โดยการแนะนำสั่งสอนด้วยพระองค์เอง และโดยจัดให้มีนักเรียนสอบชิงทุนของกรมรถไฟหลวงออกไปศึกษาวิชาการรถไฟและการพาณิชย์ ณ ต่างประเทศ เพื่อเข้ามาสวมตำแหน่งสำคัญๆ แทนชาวต่างประเทศดั่งที่เคยจำเป็นต้องจ้างมาใช้แต่ก่อน 

20. ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทางรถไฟในประเทศถูกระเบิดได้รับความเสียหายเป็นอย่างมากมาก จึงจำเป็นต้องกู้เงินจากธนาคารโลก

 

ขอบคุณภาพจาก เพจ ย้อนอดีตวันวาน


18 ก.ค. 57 เวลา 19:37 1,977 70
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...