เคนโด้ วิถีแห่งดาบของชาวญี่ปุ่น

 

 

 

 

 

วันนี้ทีนเอ็มไทย ขอนำเรื่องน่ารู้อย่าง เคนโด้ (Kendo) วิถีแห่งดาบของชาวญี่ปุ่น ศิลปะป้องกันตัวที่ต้องฝึกฝนทั้งร่างกายและจิตใจได้เป็นอย่างดี และอีกไม่นานเราก็จะได้ชมในละคร The rising sun?รอยรักหักเหลี่ยมตะวัน และ รอยฝันตะวันเดือด ที่ได้สองหนุ่มสุดฮอต อย่างมาริโอ้ และ ณเดชน์ ร่วมแสดง ซึ่งทั้งคู่จะเล่นกีฬาเคนโด้ เพื่อใช้ในการต่อสู้แบบชาวญี่ปุ่นอีกด้วย ดังนั้นวันนี้เราไปทำความรู้จักเรื่องน่ารู้ของ?เคนโด้ วิถีแห่งดาบของชาวญี่ปุ่นนี้กันค่ะ

เคนโด้ วิถีแห่งดาบของชาวญี่ปุ่น

“เคนโด้”(Kendo) คือ ศิลปวิทยายุทธ์ ที่มีความหมายว่า วิถีแห่งดาบ ค่ะ โดยมีพื้นฐานมาจากการใช้ดาบของซามูไร ซึ่งสืบทอดกันมาตั้งแต่ ค.ศ. 789 จนกระทั่งพัฒนามาเป็นกีฬาเคนโด้ และกำลังได้รับความนิยมในกว่า 28 ประเทศทั่วโลก นอกจากจะเป็นวิชาการต่อสู้ที่รวดเร็วและเด็ดขาดแล้ว เคนโด้ยังแฝงหลักจริยธรรมของนักรบ และความลึกล้ำด้านจิตวิญญาณของศาสนาไว้อีกด้วย วิชาเคนโด้จึงถูกนำมาเป็นวิชาการปกครองแขนงหนึ่งซึ่งนักรบชนชั้นปกครอง รวมทั้งเหล่าวิญญูชนให้ความนับถือ ยกย่องเป็นพิเศษมาช้านาน จนกระทั่งแพร่หลายไปเป็นวิชาหนึ่งในสถาบันวิชาการปกครอง และการทหารต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย

เคนโด้ วิถีแห่งดาบของชาวญี่ปุ่น

แก่นแท้ของวิชาเคนโด้ (Kendo)?คือ การผนวก ดาบ จิตใจ และร่างกาย เข้าเป็นหนึ่ง การโจมตีโดยดาบไม้ไผ่ หรือชินัย ซึ่งประสานจิตและกายไว้เป็นหนึ่งเดียว จนเอาชนะคู่แข่งได้ในพริบตานั้นจะเรียกว่า อิทโชะคุ อิตโต ( ISSOKU ITTO) หรือ “ดาบเดียวในหนึ่งก้าว” ซึ่งถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่อันเกิดจากการใช้พลังเพียงนิดเดียว ดังนั้น ผู้ที่ฝึกเคนโด้อย่างลึกซึ้ง ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้สูงอายุเพียงไหนก็สามารถ ใช้หลักการนี้เอาชนะคู่ต่อสู้ที่มีร่างกายแข็งแรงกว่าได้อย่างง่ายดาย

เคนโด้ วิถีแห่งดาบของชาวญี่ปุ่น

สำหรับประวัติเคนโด้ในประเทศไทย

คำว่า “เคนโด้ (Kendo)” นั้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2514-5 ประเทศไทยเรารู้จักกีฬาเคนโด้เป็นครั้งแรกทางหน้าจอโทรทัศน์ ก็คือเรื่อง Ore wa Otoko da! (ข้าคือลูกผู้ชาย) ที่ใช้ชื่อเรื่องภาษาไทยง่ายๆแต่ติดปากว่า “เคนโด้(Kendo)“ เนื้อเรื่องกล่าวถึงการต่อสู้ของลูกผู้ชายอย่าง โคบายาชิ โคจิ ที่ไม่ชอบการที่ผู้หญิงมีอิทธิพลอย่างสูงในโรงเรียนอาโอบะ โดยใช้การต่อสู้ของลูกผู้ชายคนหนึ่งผ่านดาบไม้ไผ่ (เคนโด้) สร้างชมรมเคนโด้ขึ้นมาด้วย ความยากลำบาก การเป็นขมิ้นกับปูนกับ โยชิคาว่า มิซาโอะ หัวหน้าชมรมดรัมเมเยอร์ได้สร้างสีสันให้กับหนังเรื่องนี้เป็นอย่างมาก หลังจากเรื่องดังกล่าวจบไปแล้ว คำว่า “เคนโด้” ก็เลือนหายไป

จนกระทั่งเมื่อเดือนธันวาคมปีพ.ศ. 2528 ได้มีอาสาสมัครชาวญี่ปุ่นผู้ชำนาญในสาขาพลศึกษาชื่ออาจารย์เคอิชิ นากาเน่ ( Keishi Nakane) เดินทางมาเป็นอาสาสมัครประจำที่วิทยาลัยพลศึกษากรุงเทพฯ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี และได้นำเคนโด้ที่อาจารย์ถนัดที่สุดเผยแพร่เป็นครั้งแรก โดยทำการฝึกสอนให้กับทางคณาจารย์และนักศึกษาที่สนใจในเวลาเย็น ขณะนั้นอาจารย์ได้รับ 5 ดั้งจากสหพันธ์เคนโด้ญี่ปุ่น

เคนโด้ วิถีแห่งดาบของชาวญี่ปุ่น

แต่เนื่องจากชุดและอุปกรณ์ในการฝึกซ้อมเคนโด้นั้นมีราคาสูงมาก อาจารย์เคอิชิ นากาเน่ จึงได้ติดต่อชุดอุปกรณ์จาก JICA (Japan International Cooperation Agency) จำนวน 20 ชุดและขอชุดเก่าจากสหพันธ์เคนโด้ญีปุ่นอีกจำนวนหนึ่งเพื่อให้ผู้ที่สนใจในเมืองไทยได้ฝึกซ้อมหลังจากนั้น ผู้ที่เล่นเคนโด้ซึ่งมีอยู่ประมาณ 15 คนก็ได้ออกไปเผยแพร่ตามสถานที่ต่างๆ และถูกส่งไปเข้าร่วมการแข่งขันฝึกซ้อมกันกับประเทศอาเซียนที่เล่นกันอยู่เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์อยู่เป็นประจำ ต่อมาก็มีสถาบันหลายแห่งที่ให้ความสนใจในกีฬาเคนโด้จึงได้เรียนเชิญอาจารย์เคอิชิ นากาเน่ ไปช่วยแนะนำ การเล่นและฝึกสอน เช่นโรงเรียนนายเรือ , มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรมพลศึกษา

ต่อมาช่วงปี พ.ศ. 2533 ก็ได้มีคนไทยที่ไปเรียนยังต่างประเทศเช่นสหรัฐอเมริกา, เกาหลีและญี่ปุ่นได้ฝึกเล่นเคนโด้ และเดินทางกลับมารวมตัวกัน ขึ้นร่วมกับชาวญี่ปุ่นที่สนใจอยู่แล้วรวมกันก่อตั้ง ชมรมกีฬาเคนโด้แห่งประเทศไทย ( Thailand Kendo Club) ขึ้น และในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2534 ทางชมรมได้ร่วมกับกรมพลศึกษาเป็นเจ้าภาพรับจัดการแข่งขันเคนโด้ชิงชนะเลิศอาเซียนครั้งที่ 3 ขึ้น ณ อาคารนิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติ

อุปกรณ์และเครื่องแบบ

อุปกรณ์และเครื่องแบบ เคนโด้ (Kendo)

1.ดาบไม้ไผ่ (Shinai : ชินัย) เป็นดาบที่ทำจากไม้ไผ่ 4 แผ่น มามัดรวมด้วยกันด้วยเชือกหนัง ใช้สำหรับฝึกฝนทั่วไป

2.ดาบไม้ (Bokuto : โบคุโต) เป็นดาบที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง ใช้ในการฝึกที่เป็นทางการ

3.เสื้อ (Keigoki : เคย์โกกิ)

4.กางเกง (Hakama : ฮากามะ)

5.เสื้อเกราะ (Boku : โบกุ) มีทั้งหมด 4 ชิ้น คือ หัว(Men : เม็ง) ตัว(Do : โด) ข้อมือ(Kote : โคเทะ) และส่วนสะโพก(Tare : ทาเระ)

วิธีการเล่นเคนโด้(Kendo) จะมีวิธีการฝึกซ้อมอยู่สองแขนง

แขนงที่หนึ่งคือการฝึกท่ารำ คล้ายๆ กับกระบี่กระบองของบ้านเรา การรำนี้เขาเรียกว่า คาตะ(KATA)เป็นการรำที่ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ สมาธิ ในการรำจะประกอบด้วยผู้ฝึกเคนโดจำนวนสองคน ผลัดกันรุกและรับ

แขนงที่สองคือการต่อสู้ของผู้ฝึกเคนโด โดยการใส่ชุดเกราะที่เรียกว่า โบกู (BOGU) และใช้อาวุธเป็นดาบไม้ไผ่ที่เรียกว่า Shinai
ในการฝึกเคนโดนั้น ตามปกติโดยทั่วไปผู้เข้าฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ประเภทนี้จะต้องเริ่มฝึกจากท่ารำคาตะก่อนแล้วจึงตามด้วยการฝึกแบบใส่ชุดเกราะ และก่อนที่จะใส่ชุดเกราะจะมีการสวมชุดอีกชุดหนึ่งข้างในก่อน ชุดนี้จะประกอบด้วยเสื้อ (Kendo-gi) และกางเกง (Hakama) ในการฝึกแบบต่อสู้นั้นจะทำให้ผู้ฝึกได้ฝึกการใช้สมาธิและการตัดสินใจอย่างรอบคอบและรวดเร็ว เพราะกีฬาประเภทนี้ตัดสินกันที่เสี้ยววินาที

จุดทำคะแนน

เมื่อฝึกได้เข้าขั้นจนได้เข้าทำการแข่งขันแล้ว ในการแข่งขันผู้เล่นจะต้องตีให้ถูกจุดทำคะแนนทั้งสามจุดนั่นคือศีรษะ (Men) ข้อมือ (Kote) และลำตัว (Do) การที่จะทำให้การทำคะแนนแต่ละครั้งได้รับการยอมรับจากกรรมการขึ้นอยู่กับความหนักแน่นและความถูกต้องแม่นยำ ไม่ใช้ว่าใครก็สามารถจะทำกันได้ง่ายๆ สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและประสบการณ์

สนามในการแข่งเคนโด้(Kendo)

ส่วนสนามที่ใช้ในการฝึกต้องเป็นพื้นที่เรียบเป็นพื้นไม้และอยู่ในร่มถ้าเป็นประเทศไทยถ้าติดแอร์ได้จะเป็นการดีเพราะชุดเคนโดรวมเสื้อเกราะและหน้ากากจะทำความร้อนให้กับตัวเราเป็นอย่างดีในการแข่งขันจะมีการตีกรอบเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 6 x 6 หรือ 8 x 8 เมตร ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ การต่อสู้จะต่อสู้กันภายในกรอบและผู้ใดที่ก้าวเลยออกนอกกรอบจะโดนตัดคะแนน

สำหรับวิธีการคิดคะแนน

ในการตัดสินผู้เข้าแข่งขันคนใดได้สองคะแนนจากกรรมการก่อนจะเป็นผู้ชนะ

หลังจากเราได้ทราบเรื่องน่ารู้ ของ เคนโด้(Kendo) วิถีแห่งดาบของชาวญี่ปุ่น แล้ว เราลองมาดูภาพการฝึกฝนเคนโด้ ในเบื้องหลังละคร The rising sun รอยรักหักเหลี่ยมตะวัน และ รอยฝันตะวันเดือด ของสองหนุ่ม มาริโอ้ และ ณเดชน์ เรียกน้ำย่อยก่อนออนแอร์ในวันที่ 16 กรกฎาคมนี้กัน

เคนโด้ ในเบื้องหลัง The rising sun รอยรักหักเหลี่ยมตะวัน และ รอยฝันตะวันเดือด

เคนโด้ วิถีแห่งดาบของชาวญี่ปุ่น

เคนโด้ ในเบื้องหลัง The rising sun รอยรักหักเหลี่ยมตะวัน และ รอยฝันตะวันเดือด

เคนโด้ วิถีแห่งดาบของชาวญี่ปุ่น

ปิดท้ายด้วยภาพคู่ ญาญ่า กับ ณเดชน์

เคนโด้ (Kendo) ไม่ว่าจะเป็นกีฬาสัญชาติไหน แต่เมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นกีฬาแล้ว นอกจากให้ความแข็งแกร่งต่อร่างกายยังเป็นเครื่องขัดเกลาจิตใจของผู้ฝึกฝนได้เป็นอย่างดี ‘รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย คือหัวใจของนักกีฬาที่ดี’ สิ่งเหล่านี้มีอยู่ในกีฬาทุกประเภท เคนโดก็เป็นอีกทางเลือกของเพื่อนๆ ที่สนใจ กับ เคนโด้ วิถีแห่งดาบของชาวญี่ปุ่นสำหรับวัยรุ่นคนไหนที่สนใจลองเล่นกันดูนะคะ เป็นยังไงแล้วลองมาเล่าสู่กันฟังบ้างน้า…

18 ก.ค. 57 เวลา 18:19 1,646 70
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...