เศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการศึกษาของชาติ

 

 

 

 

 

 

 

 

ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ปาฐกถาเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการศึกษาของชาติ” ในงานประชุมมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้ตั้งแต่ปี 2542 คิดว่าคนส่วนใหญ่รู้จักและได้นำไปใช้อยู่แล้ว จึงขอนำเรื่องการนำไปใช้ในแวดวงการศึกษาไทยมากล่าว ซึ่งปรัชญานี้เป็นหลักคิดและแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อสร้างความเข้มแข็งรอบด้านและเป็นภูมิคุ้มกันเยาวชนไทย

“ภูมิคุ้มกัน” เป็นภาษาทางการแพทย์ คือภูมิคุ้มกันต่อโรคภัยไข้เจ็บ เช่น เราสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้จากการฉีดวัคซีนป้องกัน เพื่อให้เมื่อเวลาถูกเชื้อโรคแล้วจะได้ไม่เป็นโรคหรือเป็นก็ไม่รุนแรง แต่ถ้าเราไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคใดโรคหนึ่ง สุขภาพอ่อนแอ เราก็จะเป็นโรคนั้นร้ายแรงมาก

 ในทางสังคม ภูมิคุ้มกันคือความเข้มแข็งที่จะรับมือกับผลกระทบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวคิดและแนวปฏิบัติเพื่อให้คนไทยเข้มแข็งรอบด้าน และรับสั่งว่านำไปใช้ได้กับนักเรียน นักศึกษา ครูบาอาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา ตลอดถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ครอบครัวครู นักเรียน สถานศึกษาต่างๆ ชุมชนและประเทศชาติ ก็สามารถใช้ได้

“เป้าหมายเพื่อเกิดความสมดุล และหากมีการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกภายในมากระทบต่อเด็กหรือครอบครัว จะได้สามารถรับมือได้ โรงเรียนก็ไม่ซวนเซ เช่นกรณีน้ำท่วม 3 เดือนบางโรงเรียนแย่เลย พอน้ำลดไม่รู้จะทำอย่างไร แต่โรงเรียนที่เข้มแข็งมีภูมิคุ้มกัน สามารถฟื้นได้เร็ว เช่นเดียวกับครอบครัวครูเมื่อโดนน้ำท่วมแล้วนำปรัชญานี้ไปใช้ มีภูมิป้องกัน 4 ด้านก็เข้มแข็งและฟื้นได้เร็ว แต่ครูที่ไม่อีนังขังขอบเรื่องเหล่านี้เป็นหนี้เป็นสินรุนรัง ทะเลาะเบาะแว้งกัน”

 ปรัชญานี้เนื้อหาไม่ยาก และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นดีพี) ได้แปลหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นภาษาอังกฤษ เอาแนวคิดและตัวอย่างในประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จ แปลเป็นภาษาอังกฤษเผยแพร่ใน166 ประเทศ

คนแทบทุกทวีปต่างตื่นเต้นกับปรัชญานี้มาก เพราะวิกฤตของมนุษย์วันนี้และวันหน้ามันเยอะแยะ  ถ้ายังดันทุรังใช้วัตถุนิยมบริโภคนิยมและทุนนิยมสามานย์ นั่นคือทุนนิยมบวกคอรัปชั่น อาจจะลงเหวมากขึ้น ฉะนั้นต้องรีบถอนตัวขึ้นมาจากการจมปลัก ปลักที่ว่าคือการบริโภคนิยมและวัตถุนิยมอย่างไม่ลืมหูลืมตา

 ปรัชญานี้ได้รับการวิเคราะห์ โต้เถียง ทดสอบ และนำไปใช้ในหลาย ๆ สิ่งสำคัญมากคือเรื่องการกำหนดให้ยึด “ทางสายกลาง” ซึ่งท่านพุทธทาสภิกขุทรงใช้คำง่ายๆ คือ “ไม่มากเกินไม่น้อยเกิน” ถ้าใครใช้แล้วจะสามารถรับมือกับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงทั้งตนเองและผู้อื่นได้ และสามารถก้าวทันโลกด้วย แม้จะมีคนเข้าใจผิดว่าการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะจนดักดาน ไม่มีโอกาสรวย ไม่มีโอกาสเก่ง จริงๆแล้วปรัชญานี้สร้างความเข้มแข็ง และเมื่อพูดถึงเศรษฐกิจ ก็รวมถึงความสามารถแข่งขันให้ทันโลก

 องค์ประกอบที่ครบถ้วนของความพอเพียงมี 3 อย่าง ถ้าไปศึกษาพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้ ขอนำมาขยายใจความให้นักเรียน ครูหรือผู้บริหารโรงเรียนได้เข้าใจง่ายขึ้น

 องค์ประกอบแรก- ความพอประมาณ มีเงื่อนไขว่า พอประมาณในอัตภาพขณะนั้น เช่น นักศึกษาคนหนึ่งเข้ามหาวิทยาลัยอยู่ปีหนึ่ง ตนเองและครอบครัวจะมีอัตภาพในขณะนั้น แต่ว่าเมื่อขึ้นปี 2 อัตภาพเปลี่ยนไป  ปีสามปีสี่ก็เปลี่ยน การตัดสินใจและใช้ชีวิตของนักศึกษาก็ต้องขึ้นอยู่กับอัตภาพในแต่ละขณะ
 
 ครูที่เคยรวยแต่ขณะนี้จนแล้ว แต่ยังยึดอัตภาพเดิม ก็ไม่ควร การตัดสินใจทำอะไร “พอประมาณ” ต้องเป็นไปตามอัตภาพแต่ละขณะที่ดำรงอยู่ อย่าหลงกับอดีต กระทั่งบางคนหลงกับภาพที่ตนเองไม่มีด้วยซ้ำไป ตรงนี้ต้องเก็บมาเตือนลูกหรือลูกศิษย์ และคนที่ทำงานด้วยกันในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย
 
 ดังภาษิตจีนกล่าวว่า เตี่ยมักคิดว่าลูกเรียนเก่ง-ลูกมักคิดว่าเตี่ยรวย ยิ่งลูกไปเรียนที่เมืองอื่นยิ่งแล้วใหญ่ ต่างคนต่างเข้าใจผิด เช่น เวลาลูกจะตัดสินใจซื้ออะไรก็คิดว่าพอประมาณตอนเตี่ยรวย เช่นเดียวกับครูบาอาจารย์ที่เป็นหนี้เป็นสินเยอะแยะ เพราะไม่ได้ประเมินอัตภาพของตนเองเป็นระยะ ๆ

 องค์ประกอบที่สอง- มีเหตุผลอธิบายได้ ต้องสอนลูกเสมอว่าเวลาลูกจะใช้เงิน นอกจากพอประมาณแล้ว ต้องสามารถอธิบายเหตุผลของการใช้เงินให้ได้ด้วย ถ้าเป็นผู้ใหญ่ต้องอธิบายได้ตามกฎเกณฑ์ กฎหมาย และกฎศีลธรรม

องค์ประกอบที่สาม- สร้างภูมิคุ้มกัน โดยถามตนเองว่ากระทบกับเงินออมหรือกระทบกับภูมิคุ้มกัน 4 ด้านหรือไม่ และหากกระทบจะก่อเกิดหนี้สินมากขึ้นหรือทำให้เงินออมหมดไปครึ่งหนึ่ง หากเป็นเช่นนั้นอนาคตจะทำอย่างไร ดังนั้นเราต้องวางแผนการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับอัตภาพ

 “เคยมีบทสัมภาษณ์เศรษฐีอเมริกาคนหนึ่งกล่าวว่าคุณมีเงินมีทรัพย์สินเยอะแยะ ถ้าคุณตายไปลูกจะดูแลทรัพย์สมบัติดังกล่าวได้หรือไม่ จากนั้นนักวิจัยกลุ่มนี้ได้ไปสัมภาษณ์เศรษฐีอเมริกันหลายคน สรุปเป็นรูปแบบการเลี้ยงลูก ดังนี้

1.จะสอนลูกให้รู้จักค่าของเงิน

2.สอนลูกให้รู้จักใช้เงินอย่างรู้คุณค่า

3.สอนลูกให้รู้จักการออมและทำบุญ

สิ่งเหล่านี้มีประโ

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...