นักวิจัยพบเชื้อโรคกระจายทั่วอ่าวไทยเสี่ยงกินอาหารทะเล

นักวิจัยจากภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทำการเก็บตัวอย่างน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบนกว่า 19 จุด ที่ได้รับผลกระทบจากมวล

น้ำจืดจากอุทกภัยปี 2554 พบเชื้อแบคทีเรีย โคลิฟอร์ม และ เชื้อสเตรปโตค็อกคัส เกรง

ปนเปื้อนในอาหารทะเลบ่อเกิดโรคอาหารเป็นพิษ เตรียมลงพื้นที่ตรวจซ้ำว่าเชื้อโรคทน

สภาพความเค็มของน้ำทะเลได้หรือไม่

 

รศ.ดร.วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
 
มหาวิทยาลัย ในฐานะรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำและผู้ทำวิจัย เปิดเผย
 
ว่า จากการทำวิจัยโครงการศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิกรด-ด่าง ต่อแบคทีเรียก่อโรคใน
 
น้ำทะเลบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยกว่า 19 จุดเมื่อช่วงเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา พบว่าพื้นที่ทะเล
 
อ่าวไทย ซึ่งได้รับผลกระทบจากมวลน้ำจืดจำนวนมหาศาลที่ไหลลงมาจากเหตุการณ์น้ำ
 
ท่วม พบเชื้อแบคทีเรียเชื้อสเตรปโตค็อกคัส (Staphylococcus aureus) และโคลิฟอร์ม
 
(coliform) ในระดับที่สูงกระจายอยู่ทั่วทะเลอ่าวไทย ซึ่งหากเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ
 
ที่ได้มีการเก็บตัวอย่างมาตรวจสอบก่อนหน้านี้เมื่อช่วงเดือน ต.ค.มีในจำนวนที่น้อยกว่า
 
และบางจุดไม่พบเชื้อแบคทีเรีย จึงสันนิษฐานว่าเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวมาจากมวลน้ำเน่า
 
ที่มากับเหตุการณ์น้ำท่วม เนื่องจากมวลน้ำดังกล่าวไหลผ่านไปหลายพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่ง
 
ของเชื้อโรคหลายชนิดอยู่แล้ว


กลุ่มแบคทีเรียทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นดัชนีชี้วัดของจำนวนแบคทีเรียตัวอื่นๆ ด้วย คือ หากพบว่า
 
มี 2 ชนิดนี้อยู่ ก็หมายถึงว่า ยังมีแบคทีเรียชนิดอื่นๆ รวมอยู่ในจำนวนมากด้วย โดยในกลุ่ม
 
แบคทีเรียโคลิฟอร์ม เป็นเชื้อโรคที่มาจากมูลสัตว์และมูลมนุษย์ เมื่อพบในปริมาณที่มากจะ
 
ส่งผลให้น้ำทะเลเสียได้ ส่วนกลุ่มเชื้อสเตรปโตค็อกคัส เป็นเชื้อโรคที่มาจากน้ำเน่าเสีย
 
จากซากสัตว์ที่ตายจากน้ำท่วม เช่น ฟาร์มไก่ที่ อ.บางปะอินตายจำนวนมาก ก็มีส่วนทำให้
 
เชื้อโรคชนิดนี้ปนอยู่ในน้ำทะเลสูงมาก ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดการปนเปื้อนในอาหารทะเล
 
หากนำอาหารทะเลมารับประทานสดหรือไม่ผ่านการปรุงสุก จะทำให้ผู้บริโภคเป็นโรค
 
อาหารเป็นพิษได้ภายใน 6 ชั่วโมง ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนปวดท้องจากสารพิษ
 
และมักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน รศ.ดร.วรวุฒิ กล่าว


รศ.ดร.วรวุฒิ ยังกล่าวอีกว่า แบคทีเรียทั้ง 2 ชนิดนี้ในงานวิจัยได้ใช้เป็นดัชนีชี้วัดปริมาณ
 
ของเชื้อโรคที่มีอยู่ในจำนวนมาก แต่ในความเป็นจริง ยังมีแบคทีเรียก่อโรคอื่นๆ อีกที่มีอยู่
 
ในมวลน้ำจากภาวะน้ำท่วมน้ำขังที่มีการไหลลงสู่ทะเล และอาจมีแนวโน้มการ
 
เปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับแบคทีเรีย 2 กลุ่มนี้ ซึ่งอาจจะกระทบกับสิ่งมีชีวิตในทะเล เช่น
 
กุ้งหอย ปู และปลา ที่อาจจะถูกเชื้อโรคดังกล่าวปนเปื้อนอยู่ ซึ่งภายในเดือนนี้ คณะ
 
ทำงานวิจัยจะลงพื้นที่อ่าวไทย เพื่อไปสำรวจผลกระทบและเก็บตัวอย่างน้ำทะเลมาตรวจ
 
สอบอีกครั้ง เพื่อดูว่าเชื้อแบคทีเรียทั้ง 2 ชนิดนี้ รวมถึงแบคทีเรียชนิดอื่นๆ สามารถทนต่อ
 
ความเค็มของน้ำทะเลหรือไม่


ในเดือนนี้เราจะลงพื้นที่ทะเลอ่าวไทยอีกครั้ง เพื่อเก็บตัวอย่างน้ำทะเลทั้ง 19 จุดมาตรวจ
 
สอบและติดตามการเปลี่ยนแปลงประชากรของแบคทีเรียทั้ง 2 กลุ่มนี้ว่ามีวิวัฒนาการการ
 
เปลี่ยนแปลงอย่างไร ซึ่งแบคทีเรียอาจไม่สามารถมีชีวิตในสภาพความเค็มจากน้ำทะเล
 
และอาจจะตายไปหมดก็ได้ หรืออาจจะมีพัฒนาการของแบคทีเรียที่สามารถทนเค็มได้
 
และเพิ่มจำนวนได้มากขึ้น ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็จะอยู่ในสภาวะอันตรายกับระบบนิเวศน์ทาง
 
ทะเล และเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคอาหารทะเลที่อาจจะปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย 2 กลุ่มนี้
 
ด้วย รศ.ดร.วรวุฒิ กล่าวย้ำ


อย่างไรก็ตาม ต้องรอความชัดเจนของผลการสำรวจในครั้งล่าสุดที่จะลงพื้นที่ภายใน
 
เดือนนี้ก่อนหากพบว่าเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวยังคงอยู่ในทะเลอ่าวไทยและทนต่อสภาพ
 
ความเค็มของน้ำทะเลได้ ก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก เนื่องจากทะเลอ่าวไทยเป็น
 
แหล่งอาหารทะเลขนาดใหญ่ที่สำคัญ อาจจะกระทบกับคนจำนวนมากที่บริโภคอาหาร
 
ทะเลสดๆ และอาจจะกระทบกับระบบนิเวศน์ทางทะเลในระยะยาวด้วย 
 
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
#นักวิจัย #เชื้อโรค #อ่าวไทย
Hoyjoke
เจ้าของบทประพันธ์
สมาชิก VIPสมาชิก VIPสมาชิก VIP
29 ม.ค. 55 เวลา 16:59 1,475 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...