สรุปผลอันดับมหาวิทยาลัยไทย 2014

 อีกหนึ่งตัวช่วยในการวัดระดับคุณภาพของมหาวิทยาลัยต่างๆ จากทั่วโลกที่หลายๆ คนทราบกันดี นั่นคือ ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากสถาบันต่างๆ ที่ได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลของมหาวิทยาลัยจากทั่วทุกมุมโลก นำมาวิเคราะห์-วิจัย ให้ตรงตามเกณฑ์การประเมินที่สถาบันนั้นๆ กำหนดไว้ ซึ่งก็แน่นอนว่า แต่ละแห่งก็ย่อยมีกฎเกณฑ์มาตรฐาน และดัชนีชี้วัดที่แตกต่างกันออกไป และทุกครั้งที่มีการประกาศผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยไทยที่ติดอันดับ ก็มักจะได้รับความสนใจอย่างมากมาย เพราะนั่นหมายถึงมาตรฐานของมหาวิทยาลัยที่ทั่วโลกยอมรับ ที่สำคัญการจัดอันดับจากสถาบันต่างๆ นั้นยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตัวเองของมหาวิทยาลัยให้มีมาตรฐานเป็นสากลมากขึ้นอีกด้วย 
       
        Life on campus จึงได้ทำการรวบรวมสถิติของมหาวิทยาลัยของไทยที่ติดอยู่ในอันดับโลก ของสถาบันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Qs World University Ranking และ The Times Higher Education World University Ranking (THE)สถาบันจัดอันดับชื่อดังจากประเทศอังกฤษ SCImago Institutions Ranking (SIR) และ Webometrics university ranking จากสเปน สรุปผลการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยไทยทั้งหมด ในปี 2014 ที่กำลังจะผ่านไปมาให้ได้ชมกันเป็นการปิดท้ายปี
       
       มาเริ่มกันที่ …
       
       1. QS World University Rankings 
          Quacquarelli Symonds Limited (QS) เป็นบริษัทเอกชนทาธุรกิจในด้านการศึกษา ตั้งอยู่ที่ประเทศอังกฤษ เริ่มจัดอันดับมหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ปี 2009 โดย QS ได้ใช้ตัวชี้วัดและค่าน้าหนักในการจัดอันดับแตกต่างจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก และการจัดอันดับแบ่งเป็นผลการจัดอันดับ ในภาพรวม (Overall Ranking) ผลการจัดอันดับตามสาขาวิชา (Ranking by Subjects) และผลการจัดอันดับตามตัวชี้วัด (Ranking by Indicators) โดยเรียงลำดับมหาวิทยาลัยตามคะแนนที่ได้มากที่สุด ไปจนถึงมหาวิทยาลัยที่ได้คะแนนน้อยที่สุด ซึ่งมีตัวชี้วัดและค่าน้าหนักของ QS Asian University Rankings และ ตัวชี้วัด QS World University Rankings ดังนี้
       
       • ความมีชื่อเสียงด้านวิชาการ (Academic Reputation) 40%
       • ความคิดเห็นของนายจ้างต่อผู้ที่จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษา (Employer reputation) 10%
       • สัดส่วนของอาจารย์ต่อนักศึกษา (Faculty per student) 20%
       • สัดส่วนงานผลงานทางวิชาการที่ได้รับการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ (Citation per faculty) 20%
       • สัดส่วนอาจารย์ชาวต่างประเทศ (International faculty) 5%
       • สัดส่วนนักศึกษาชาวต่างประเทศ (International student) 5%
       
       สรุปผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทยโดย QS World University Rankings 2014 และ 2014/15 
           
       ที่มา : www.topuniversities.com
       
       2. THE หรือ The Times Higher Education World University Ranking 
          หนังสือพิมพ์ไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ (Times Higher Education Supplement) จากสหราชอาณาจักร ดำเนินการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก โดยร่วมกับ บริษัท Thomson Reuters ภายหลังแยกตัวออกจากบริษัทQuacquarelli Symonds Ltd. (QS) เมื่อปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) ได้กำหนดตัวชี้วัด ดังนี้
       
       • การสอน (Teaching) : สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ (30%)
       • การวิจัย (Research) : ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียง (30%)
       • การอ้างอิง (Citation) : การนำไปใช้อ้างอิง (30%)
       • รายได้ทางอุตสาหกรรม (Industry Income) : นวัตนกรรมใหม่ (2.5%)
       • ความเป็นนานาชาติ (International Outlook) : เจ้าหน้าที่, นักศึกษา และงานวิจัย (7.5%)
       
       ผลจากการประเมินและจัดอันดับโดย THE จากมหาวิทยาลัยทั่วโลก มีเพียง “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี” ของไทยเพียงมหาวิทยาลัยเดียวเท่านั้นที่ติดอยู่ใน 400 อันดับ แรกของโลก 
           
       ที่มา : www.timeshighereducation.co.uk
        
       
       3. SCImago Institutions Ranking (SIR) 
          เป็นการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งจะไม่ได้จัดอันดับเฉพาะมหาวิทยาลัย แต่จะนับสถาบันเฉพาะทางด้วย เช่น สถาบันเทคโนโลยี วิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น และนี่คือผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยการประเมินเพื่อจัดอันดับใช้ข้อมูลจานวนผลงานการตีพิมพ์เผยแพร่และการถูกอ้างอิงในฐานข้อมูล Scopus โดยมีเกณฑ์พิจารณา ดังนี้ 
       
       • Output : จำนวน paper ในวารสารวิชาการ peer-reviewed 
       • International Collaboration : ส่วนที่ตีพิมพ์ร่วมกับสถาบันต่างประเทศต่อ paper ทั้งหมด 
       • Normalized Impact: ค่าร้อยละของการ citation ของสถาบันเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของการ citation ทั้งหมดในโลก (world average) 
       • High Quality Publication: ร้อยละของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารชั้นนา ที่อยู่ใน 25% แรกของ Journal Rank SJR indicator 
       
       สรุปผลการประเมินอันดับของมหาวิทยาลัยไทยจาก SCImago Institutions Ranking (SIR) มีดังนี้คือ 
           
       ที่มา : www.scimagoir.com
        
       
       4. Webometrics university ranking 
          การจัดอันดับของ Webometrics จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก อันดับ Webometrics จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ของสถาบัน โดยพิจารณาจากจำนวน Link ที่เชื่อมโยงเข้าสู่เว็บนั้นๆจากเว็บภายนอกโดยวัดจากการสืบค้นด้วย Search Engine และนับจำนวนเอกสารตีพิมพ์ออนไลน์ในกลุ่มของไฟล์.pdf .ps .ppt และ .doc และจำนวนเอกสารที่มีการอ้างอิง (Citation) แบบออนไลน์ผ่านกูเกิลสกอลาร์ (Google Scholar) โดยจะจัดอันดับปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ เดือนมกราคม และ เดือนกรกฎาคม โดยมีเกณฑ์หรือตัวชี้วัดการจัดอันดับของเว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ดังนี้
       
       • Size (S) หมายถึง จานวนเว็บเพจ จากเว็บไซต์ทั้งหมดที่อยู่ภายใต้โดเมนเดียวกัน 
       • Visibility (V) หมายถึง จานวนลิงค์ที่มีการเชื่อมโยงหรืออ้างอิงมาจากภายนอก 
       • Rich Files (R) หมายถึง จานวนแฟ้มข้อมูล หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทั้งหมดที่อยู่ภายในโดเมนเดียวกัน 
       • Scholar (Sc) หมายถึง จานวนบทความวิชาการ และการอ้างอิงบทความทางวิชาการที่ปรากฏ 
       ภายในโดเมนของมหาวิทยาลัย และสามารถสืบค้นได้ด้วย Google scholar
       
        สรุปผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยโดย Webometrics ประจำปี 2014 มีดังนี้คือ 
           
       ที่มา : www.webometrics.info/en 
9 ม.ค. 58 เวลา 10:24 2,192 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...