พม่าเสียเมือง เมื่อพญาราชสีห์สยบลุ่มอิระวดี

สงครามอังกฤษ-พม่า เป็นสงครามระหว่างโลกเก่ากับโลกใหม่ อันเกิดขึ้นในยุคล่าอาณานิคม ซึ่งยามนั้น ชาติตะวันตกได้พัฒนาเทคโนโลยีจนก้าวหน้า ทว่าทรัพยากรที่ลดลง ทำให้ชาติยุโรปมองหาแหล่งทรัพยากรใหม่ และสายตาของพวกเขาก็จับจ้องมายังดินแดนต่างๆในเอเชียและแอฟริกา   การรุกรานของกองทัพชาวผิวขาวผู้มีอาวุธที่ทันสมัยกว่า ทำให้ราชอาณาจักรโบราณหลายแห่งในเอเชียและอาฟริกาต้องล่มสลายลง ในเวลานั้น นักล่าเมืองขึ้นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ อังกฤษ ซึ่งในศตวรรษที่ 19  จักรวรรดิอังกฤษก็แผ่ขยายครอบคลุมดินแดนมากกว่าชนชาติใดๆจนได้รับสมญาว่า ดินแดนที่พระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน

กองทหารพม่าสมัยศตวรรษที่18

      สำหรับราชวงศ์คองบองของพม่านั้น  นับแต่ก่อตั้งมา ก็ทำสงครามขยายแสนยานุภาพมาตลอด จนอาณาเขตของพม่ารุกล้ำพรมแดนทางตะวันออกของอินเดียซึ่งในเวลานั้นเป็นเขต การปกครองของบริษัทอีสต์ อินเดีย ของอังกฤษ จนเกิดเป็นความขัดแย้งที่นำไปสู่สงครามใหญ่สามครั้งซึ่งกลายเป็นจุดอวสานของ ราชอาณาจักรพม่า

สงคราม อังกฤษ- พม่า ครั้งที่ 1

 หลังการสวรรคตของพระ เจ้าปดุง ราชอาณาจักรอังวะก็เริ่มเสื่อมลง ขณะนั้น พระเจ้าจักกายแมง ราชนัดดาของพระเจ้าปดุงทรงมีปัญหาขัดแย้งกับอังกฤษ จากการที่พม่ายกทัพไปปราบกบฏในแคว้นมณีปุระและข้ามไปรุกรานอัสสัมและจิตตะ กอง ทำให้อังกฤษไม่พอใจ เพราะทั้งสองเป็นแคว้นในอารักขาของอังกฤษ ลอร์ดฮาสติงท์ผู้สำเร็จราชการของอังกฤษประจำอินเดียได้ส่งสาสน์ของเจ้าครอง แคว้นอัสสัมและจิตตะกองที่แสดงเจตจำนงค์ยอมเป็นรัฐในอารักขาอังกฤษให้กับ พม่า เพื่ออ้างสิทธิเหนือแคว้นทั้งสองและขอให้ทัพพม่าถอนกำลังออกไป ทว่าฝ่ายพม่าได้ประกาศว่าสาส์นนั้นเป็นของปลอมและยกทัพเข้าโจมตีแคว้นทั้ง สอง โดยได้รับชัยชนะเหนืออัสสัม รวมทั้งเกาะชาปุระใกล้กับฝั่งจิตตะกองซึ่งเป็นของอังกฤษ ก็ถูกกองทัพพม่าบุกยึดด้วย จากนั้นพม่าได้วางแผนโจมตีพรมแดนเบงกอล ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้สร้างความไม่พอใจให้กับอังกฤษเป็นอย่างมาก ในที่สุด เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1824 ลอร์ดแอมเฮิร์ส ข้าหลวงใหญ่แห่งอินเดียก็ประกาศสงครามกับพม่า

      กองทัพอังกฤษได้ผลักดันทัพพม่าออกจากอัสสัม ทว่า มหาพันธุละ แม่ทัพที่มีความสามารถที่สุดของพม่าก็สามารถขับไล่กองกำลังอังกฤษที่พรมแดน จิตตะกองออกไปได้ อังกฤษจึงเปิดแนวรบใหม่โดยส่งทหาร 11000 นายภายใต้การนำของนายพล อาชิบัล แคมเบลล์เข้าโจมตีกรุงย่างกุ้งทางทะเล  และตีเมืองได้ในวันที่ 11พฤษภาคม ปี  ค.ศ.1824 หลังพ่ายแพ้ กองทหารพม่าล่าถอยเข้าไปในป่าของเมืองพะโค

กองทหารอังกฤษตีค่ายพม่า

         มหาพันธุละได้เดินทัพมาถึงย่างกุ้งพร้อมทหาร 60,000 นาย ทว่ากองทัพพม่าพ่ายแพ้ต่ออังกฤษและมหาพันธุละก็ถูกสังหารในสนามรบ  จากนั้นในเดือนเมษายน ค.ศ.1825  นายพลแคมเบลล์ก็ยึดเมืองแปร เมืองหลวงของพม่าตอนล่างไว้ได้  การสู้รบยังดำเนินเรื่อยมาจนถึงสิ้นปี ค.ศ. 1825  และในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ.1826 ฝ่ายพม่าก็ขอสงบศึก ซึ่งจากสนธิสัญญาที่ทำขึ้นหลังการสงบศึก ทำให้พม่าต้องเสียแคว้นยะข่ายและมณีปุระให้กับอังกฤษแลกกับการที่อังกฤษจะ ถอนทัพออกจากดินแดนพม่าตอนล่าง จากนั้นในวันที่ 23 พฤศจิกายน  ค.ศ.1826 ก็ได้มีการทำสนธิสัญญาการค้าระหว่างพม่ากับอังกฤษขึ้น โดยวางอยู่บนผลประโยชน์ของทั้งฝ่าย

สงครามอังกฤษ – พม่า ครั้งที่สอง

สงครามนี้เริ่มขึ้นใน ปี ค.ศ.1852 โดยหลังแพ้สงครามกับอังกฤษ พระเจ้าจักกายแมงผู้ทำข้อตกลงกับฝ่ายอังกฤษได้ประชวรจนพระสติวิปลาสและถูก โค่นราชบัลลังก์ จากนั้น พระเจ้าพุกามแมง พระโอรสของพระองค์ซึ่งขึ้นครองราชย์แทน ได้ละเมิดสนธิสัญญาที่ทำกับอังกฤษและปล่อยให้มีการใช้ความรุนแรงกับชนชาติ อังกฤษ

ฝ่ายอังกฤษได้ส่งสาส์ นถึงพระเจ้าพุกามแมง โดยประกาศว่า ปฏิบัติการต่อต้านจะเริ่มขึ้น หากพระองค์ไม่ทรงยอมปฏิบัติตามสนธิสัญญาเดิมที่พระราชบิดาเคยทำไว้ ทว่าฝ่ายพม่ายังคงนิ่งเฉย

ในวันที่ 1 เมษายนค.ศ.1852 เมื่อไม่มีคำตอบจากฝ่ายพม่า กำลังทหาร 8100 นายที่นำโดยนายพลเอช ที ก็อดวิน และกองเรือที่บังคับบัญชาโดยผู้การแลมเบิร์ตก็เคลื่อนพลและเปิดฉากสงคราม ครั้งที่สองระหว่างพม่ากับอังกฤษกองทัพอังกฤษเข้ายึดเมืองเมาะตะมะในวันที่ 5 เมษายน และเข้ายึดกรุงย่างกุ้งในวันที่ 12

พระราชวังกรุงอมรปุระของพม่า

ในวันที่14 เมษายน หลังการต่อสู้อย่างรุนแรงระหว่างกองทหารพม่ากับอังกฤษ พระมหาเจดีย์ชเวดากองก็ถูกทัพอังกฤษยึดไว้ได้ จากนั้นกองทัพอังกฤษก็เข้ายึดพะสิมและเมืองพะโคได้ตามลำดับหลังการปะทะกัน ประปรายรอบบริเวณเจดีย์พระธาตุมุเตาและด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหาร บริษัท อีสต์ อินเดียกับรัฐบาลอังกฤษก็ลงมติให้ผนวกพื้นที่ตอนล่างของหุบเขาอิระวดีรวม ทั้งเมืองแปรเข้าไว้ในเขตปกครอง จากนั้นในเดือนธันวาคม ลอร์ดดาลฮูส ข้าหลวงอังกฤษประจำอินเดียก็แจ้งกับพระเจ้าพุกามแมงของพม่าว่า อาณาเขตพม่าตอนล่างถือว่าอยู่ในเขตปกครองของอังกฤษและถ้ากองทหารของพระองค์ ทำการต่อต้านใดๆ กองทัพอังกฤษจะเข้าทำลายอาณาจักรทั้งหมดของพระองค์ 

สงครามอังกฤษ- พม่า ครั้งที่สาม (1885-1886)

สงครามครั้งนี้เกิด ขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าสีป่อ หรือ ธีบอ และเป็นสงครามครั้งสุดท้ายระหว่างพม่ากับอังกฤษซึ่งส่งผลให้พม่าต้องสูญเสีย เอกราชในเวลาต่อมา  เหตุการณ์นี้เริ่มจากการที่บริษัท Bombay-Burma Trading Company ถูกยกเลิกสิทธิที่จะไม่ต้องเสียภาษีให้ทางการพม่า เรื่องราวลุกลามจนทางอังกฤษยื่นหนังสือร้องเรียนต่อราชสำนักพม่า เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ.1885

ในวันที่ 9  พฤศจิกายน ทางพม่าปฏิเสธที่จะเจรจาด้วย ดังนั้นแผนการเข้ายึดมัณฑะเลย์และล้มล้างราชบัลลังก์ของพระเจ้า สีป่อ จึงเริ่มขึ้น

    ในเวลานั้น ดินแดนของพม่าตอนบน ส่วนใหญ่เป็นเขตป่าเขาที่ทุรกันดาร และพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะสำหรับการปฏิบัติการทางทหาร และทางอังกฤษเองก็มีข้อมูลทางภูมิศาสตร์ของพม่าตอนบนเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามเนื่องจากอังกฤษได้ใช้เรือกลไฟเดินทางขึ้นลงในแม่น้ำอิระวดีมา เป็นเวลานาน จากย่างกุ้งไปมัณฑะเลย์และพบว่าวิธีที่เร็วและสะดวกที่สุดในการทำสงคราม ครั้งนี้คือการเคลื่อนทัพทางน้ำมุ่งตรงไปสู่เมืองหลวงของพม่า โดยนับเป็นโชคดีของทางอังกฤษที่เรือกลไฟเบาล่องแม่น้ำและ พลเอก,เพรนเดอกัสต์,ถูกวางตัวให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพในการรบครั้ง นี้ได้ใช้เรือกลไฟและเรือลำเลียงของบริษัทฟลอติลลา อิระวดี,ซึ่งตั้งอยู่ที่ย่างกุ้งในการลำเลียงกำลังทหารและอาวุธ โดยมีเจ้าหน้าที่ของบริษัทที่มีความรู้เรื่องร่องน้ำทำหน้าที่ควบคุมเรือ ทั้งหมด กำลังพลที่ใช้ ประกอบด้วยทหารอังกฤษ 9,034 นาย ทหารพื้นเมือง2,810 นาย ปืนใหญ่ 67 กระบอก ปืนกลเรือ 24 กระบอก ส่วนกองเรือทั้งหมดประกอบด้วยเรือ 55 ลำ .   

กองทัพอังกฤษทำลายป้อมมินหล่า  

     กองทัพอังกฤษเคลื่อนพลออกจากย่างกุ้งขึ้นไปตามแม่น้ำอิระวดี โดยเมื่อพระเจ้าสีป่อทรงทราบเรื่องก็ทรงมีพระบรมราชโองการเรียกระดมทหาร เพื่อรับศึก ฝ่ายพม่าได้วางแนวป้องกันไว้ตลอดลำน้ำอิระวดี แต่ปืนใหญ่แบบโบราณของพม่าก็ไม่อาจเทียบกับอานุภาพการยิงของปืนใหญ่แบบใหม่ ของกองทัพอังกฤษได้  ทหารอังกฤษยกพลขึ้นบกที่ป้อมมินหล่าและเข้าโจมตีป้อมอย่างดุเดือด ทำให้แม่ทัพพม่าสองนายเสียชีวิตในที่รบพร้อมกับทหารพม่าอีก 176 นาย ในขณะที่ฝ่ายอังกฤษสูญเสียกำลังเพียง 3 นายเท่านั้น. จากนั้นกองเรืออังกฤษได้เคลื่อนทัพไปถึงเมืองมยิงยัน เจ้าเมืองได้จัดกระบวนทัพแบบโบราณออกมารบ แต่ก็ถูกปืนใหญ่เรือรบอังกฤษยิงถล่มจนแตกกระจายและกองทหารอังกฤษก็เข้าถึง มัณฑะเลย์ได้โดยไร้ผู้ขัดขวาง พระเจ้าสีป่อและพระนางศุภยาลัตผู้เป็นพระมเหสีถูกนำไปประทับที่อินเดียจวบจน สิ้นพระชนม์

แม้ว่าสงครามครั้งนี้ อังกฤษจะสามารถเผด็จศึกพม่าได้ในไม่กี่วัน ทว่าการเนรเทศพระเจ้าสีป่อและพระนางศุภยาลัตออกจากประเทศ กลับก่อให้เกิดผลกระทบที่รุนแรง ชาวพม่าจำนวนมากต่างพากันลุกฮือต่อต้านการปกครองของอังกฤษ ส่งผลให้เกิดการสู้รบแบบสงครามกองโจรกระจายไปทั่วภูมิภาคต่างๆของพม่าไม่ เว้นแม้แต่พม่าตอนล่างที่ตกอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษมาก่อนหน้านั้นแล้ว ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นทำให้ทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่ายอังกฤษต้องเสียชีวิตไป เป็นจำนวนมากก่อนที่อังกฤษจะสามารถควบคุมสถานการณ์ทั้งหมดไว้ได้ หลังจากนั้นพม่าก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรโดยสมบูรณ์จนมาถึงปี ค.ศ.1947  จึงได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ.

22 ม.ค. 57 เวลา 22:06 3,666 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...