คู่กรรม ประวัติศาสตร์กับนิยาย ตอนที่ 2 ขบวนการเสรีไทย

ใน คู่กรรม มีการกล่าวถึงขบวนการเสรีไทยอยู่ในหลายส่วน  ซึ่งคนที่เคยอ่านนิยายหรือเคยดูภาพยนตร์และละครทีวีเรื่องคู่กรรม คงจะจำได้ว่า พลเรือตรี หลวงชลาสินธุราช บิดาของ อังศุมาลิน นางเอกในเรื่องคู่กรรมนั้น เป็นสมาชิกเสรีไทยระดับแกนนำ ขณะที่วนัส เพื่อนสนิทของนางเอกก็เป็นเสรีไทยสายอังกฤษ รวมทั้งยังมีสองคู่หูคู่ฮาอย่างตาผล ตาบัวที่เป็นแนวร่วมด้วย

หลังจาก ดร.ปรีดี ถูก จอมพล ป. ปลดจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว ก็ได้รวบรวมพรรคพวกก่อตั้งขบวนการใต้ดินในชื่อ องค์กรต่อต้านญี่ปุ่น โดยมีฐานลับอยู่ที่ทำเนียบท่าช้างและ ม.ธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ ส่วนทางด้านรัฐบาลไทยก็ได้ส่งคำประกาศสงครามไปยังอังกฤษและอเมริกา

หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมชย์

ทว่าที่อเมริกานั้น หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมชย์ เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐ ไม่เห็นด้วยกับคำประกาศสงครามดังกล่าวโดยถือว่าไม่ใช่มติมหาชนของไทย จึงไม่ส่งคำประกาศสงครามนั้นให้กับรัฐบาลสหรัฐ จากนั้นก็ได้รวบรวมชาวไทยในสหรัฐอเมริกาก่อตั้งขบวนต่อต้านญี่ปุ่นขึ้น ส่วนทางอังกฤษ หลังทราบว่ารัฐบาลไทยประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร บรรดานักเรียนไทยและคนไทยในอังกฤษต่างคัดค้านและได้จัดตั้งขบวนการต่อต้าน ญี่ปุ่นขึ้นโดยมี หม่อมเจ้า ศุภสวัสดิ์ วงสนิท สวัสดิวัฒน์ เป็นผู้นำ ซึ่งขบวนการต่อต้านกลุ่มนี้เองคือกลุ่มที่ วนัส เพื่อนคนสนิทของอังศุมาลินเข้าร่วมด้วย โดยกลุ่มต่อต้านญี่ปุ่นในอังกฤษและอเมริกาได้รวมกำลังกับองค์กรของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ โดยใช้ชื่อว่า ขบวนการเสรีไทย

เครื่องหมายเสรีไทย

นายปรีดี พนมยงค์ซึ่งเป็นหัวหน้าเสรีไทยในประเทศไทยได้ติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตรโดย ใช้รหัสลับว่า รูธ (Ruth) และได้ประสานงานกับเสรีไทยในต่างประเทศซึ่งประกอบด้วยเสรีไทยสายอังกฤษและ เสรีไทยสายอเมริกา เพื่อดำเนินงานต่อต้านญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม การทำงานของเสรีไทยในช่วงแรกเป็นไปอย่างยากลำบากเนื่องจากทางการไทยคอยขัด ขวาง

งานสำคัญชิ้นแรกของ เสรีไทยคือส่งคนไปแจ้งข่าวกับฝ่ายสัมพันธมิตรถึงการจัดตั้งขบวนการต่อต้าน ญี่ปุ่นในไทย เพื่อแสดงจุดยืนว่าไทยไม่ต้องการเข้าร่วมกับญี่ปุ่นและฝ่ายอักษะ ซึ่งในงานนี้ดร.ปรีดี ได้ให้นาย จำกัด พลางกูร อดีตนักเรียนเก่าอังกฤษเดินทางข้ามพรมแดนทางเหนือไปยังเมืองจุงกิง ประเทศจีนซึ่งอยู่ในเขตของฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งภารกิจนี้ถูกเรียกว่า ปฏิบัติการจุงกิง โดยนายจำกัดพร้อมสมาชิกเสรีไทยสองนายซึ่งทำหน้าที่ผู้คุ้มกันได้ออกเดินทาง ผ่านป่าเขาเพื่อไปยังที่หมาย

ทว่า หน่วยตำรวจลับญี่ปุ่นที่ชื่อว่า เคมเปไต ได้สืบทราบและส่งกำลังออกไล่ล่า ทำให้สมาชิกเสรีไทยทั้งสองต้องสละชีวิตในการต่อสู้กับหน่วยตำรวจลับแต่ก็ทำ ให้นายจำกัดสามารถไปถึงเมืองจุงกิงได้สำเร็จ ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2486 จากนั้นจึงได้ติดต่อกับทูตอังกฤษและสหรัฐที่ประจำอยู่ที่จุงกิงและส่งโทรเลข ติดต่อกับหม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมชย์ ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรและคนไทยในต่างแดนรับรู้ถึงการมีตัวตนขององค์การต่อ ต้านญี่ปุ่นในไทย จากนั้นจึงได้เกิดการรวมตัวกับเป็นขบวนการเสรีไทยอย่างสมบูรณ์

การฝึกเสรีไทยที่อินเดีย

โดยหลังจากฝ่าย สัมพันธมิตรรับรู้ถึงการจัดตั้งขบวนการเสรีไทยแล้ว สหรัฐและอังกฤษก็ได้รับอาสาสมัครเสรีไทยเข้ารับการฝึกรบแบบกองโจรและฝึกงาน ด้านจารกรรมโดยอาสามัครทั้งหมดเข้ารับการฝึกจากหน่วย O.S.S (Office of Strategic Service) ของสหรัฐและกองกำลัง136 ของอังกฤษ ที่ฐานทัพสัมพันธมิตรในเมืองปูนา ประเทศอินเดีย ส่วนนายจำกัด นั้นด้วยความที่ตรากตรำกับปฏิบัติการจุงกิง ประกอบกับภาวะโรคแทรกซ้อนจึงทำให้เขาล้มป่วยและเสียชีวิตลงในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2486

การทำงานของเสรีไทยใน ระยะแรกเป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะนอกจากจะต้องเผชิญหน้ากับกองทัพญี่ปุ่น แล้วยังถูกขัดขวางจากเจ้าหน้าที่ทางการไทยด้วย ทำให้มีเสรีไทยจำนวนไม่น้อยต้องพลีชีพไป จนกระทั่งเมื่อจอมพล ป.ถูกสภาผู้แทนกดดันให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูง สุดใน เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2487 จากกรณีแผนย้ายเมืองหลวงจากกรุงเทพไปเพชรบูรณ์ ซึ่งในการดำเนินแผนดังกล่าว ทางการได้เกณฑ์คนไทยกว่าหนึ่งแสนคนเดินทางไปยังเพชรบูรณ์เพื่อก่อสร้างเมือง ใหม่ ทว่าเพชรบูรณ์ยามนั้นเป็นป่าดงทุรกันดารเต็มไปด้วยไข้ป่า ทำให้แรงงานที่เกณฑ์ไปล้มตายลงกว่าสี่พันคนในเวลาเพียงปีเดียว ก่อให้เกิดกระแสต่อต้านไปทั่ว จนทำให้สภาลงมติปลดจอมพล ป และให้พันตรี ควง อภัยวงศ์ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งรัฐบาลของพันตรีควง ได้ร่วมมือกับเสรีไทยอย่างลับๆ จึงทำให้งานของเสรีไทยง่ายขึ้นและสามารถส่งกำลังจากต่างประเทศแทรกซึมเข้ามา ในไทยได้มากขึ้น

ในตอนปลายของนิยาย เรื่องคู่กรรม วนัสซึ่งเป็นเสรีไทยสายอังกฤษได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยโดยการโดดร่มจาก เครื่องบิน ซึ่งหากเทียบตามประวัติศาสตร์จริง เหตุการณ์ดังกล่าวก็น่าจะอยู่ในช่วงปลายปี พ.ศ.2487 ซึ่งมีเสรีไทยจากอังกฤษและสหรัฐจำนวนมากได้เดินทางเข้ามาปฏิบัติงานในประเทศ ไทย

สมาชิกส่วนหนึ่งของขบวนการเสรีไทยในต่างแดน

โดยเสรีไทยเหล่านี้ ได้ประสานงานกับเสรีไทยในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งโรงเรียนนายทหารสารวัตรและโรงเรียนนายสิบสารวัตร ทหาร โดยรับสมัครนิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักเรียนเตรียมปริญญาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและนักเรียนโรงเรียนเตรียมนายเรือ มาฝึกให้เป็นผู้บังคับบัญชาของกองกำลังใต้ดินเพื่อเตรียมสู้รบกับกองทัพ ญี่ปุ่นในวันที่ฝ่ายสัมพันธมิตรกำหนด ทั้งยังมีการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยในประเทศร่วมกันต่อต้านญี่ปุ่น ส่งข่าวด้านยุทธศาสตร์ทางทหารตลอดจนรายงานสภาพดินฟ้าอากาศให้ฝ่ายสัมพันธ มิตรทราบ ซึ่งทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถปฏิบัติการทางทหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ดี การปะทะกันระหว่างขบวนการเสรีไทยกับกองทัพญี่ปุ่นไม่มีโอกาสเกิดขึ้น เพราะญี่ปุ่นประกาศยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังจากสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูถล่มเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิเมื่อวัน ที่ 6 และ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488

แม้ไทยจะเข้าร่วมเป็น พันธมิตรกับญี่ปุ่น แต่บทบาทของขบวนการเสรีไทยก็ทำให้ไทยมีอำนาจต่อรองในการเจรจากับฝ่ายสัมพันธ มิตรหลังสงครามยุติ โดยสหรัฐอเมริกาถือว่าไทยไม่เคยประกาศสงครามกับตน ขณะที่อังกฤษยังดำเนินนโยบายแข็งกร้าวและพยายามทำให้ไทยเป็นผู้แพ้สงคราม เนื่องจากในระหว่างสงคราม รัฐบาลไทยได้ส่งทหารเข้าร่วมรบกับญี่ปุ่นและเข้ายึดดินแดนบางส่วนของ อาณานิคมอังกฤษในพม่า

ทว่าสหรัฐอเมริกาได้ ช่วยไกล่เกลี่ยจนได้ข้อสรุปว่า การประกาศสงครามของไทยถือเป็นโมฆะ โดยไทยต้องคืนดินแดนที่ได้มาในช่วงสงครามให้อังกฤษและส่งมอบข้าวสาร 1.5 ล้านตัน พร้อมเงินชดเชยค่าเสียหายให้กับอังกฤษอีกห้าล้านสองแสนปอนด์ ซึ่งแม้จะต้องเสียค่าชดเชยดังกล่าว แต่ไทยก็รอดพ้นจากการเป็นผู้แพ้สงครามและไม่ต้องถูกกองทัพอังกฤษเข้ามายึด ครอง

8 ม.ค. 57 เวลา 17:49 4,029 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...