รวมผลงานวิจัยที่สุดแห่งปี '56

 

 

 

 

 

ฉลองต้อนรับปีใหม่ 2013 “Life on Campus” ขอทิ้งท้ายความสุขด้วยการรวบรวมผลงานวิจัยและผลงานไอเดียของคณาจารย์ และเหล่าบรรดานิสิตนักศึกษา หัวกะทิ จากรั้วมหาวิทยาลัยต่างๆ มาให้อ่านกันอีกครั้ง 

สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สถาบันพลังงาน มช.) ศึกษาวิจัย และดำเนินงาน “โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานเพื่อทดแทนก๊าซปิโตรเลียมเหลวในเชิงพาณิชย์” เพื่อศึกษาระบบผลิตก๊าซชีวภาพอัดสำหรับทดแทนก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี)ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อสร้างสถานีจ่ายก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) สำหรับนำไปใช้ทดแทนก๊าซหุงต้มในครัวเรือน ที่นับวันราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านพลังงาน มีก๊าซ LPG ใช้อย่างเพียงพอ และลดการพึ่งพาการนำเข้าก๊าซLPG จากต่างประเทศ
       
       รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สถาบันพลังงาน มช.) กล่าวว่า ปัจจุบัน ศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพของทั้งประเทศไทยทั้งภาคปศุสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรมและชุมชน มีถึง 1,170 ล้าน ลบ.ม./ปีซึ่งกระจายตัวอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย จากศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพดังกล่าว สามารถนำเอาก๊าซชีวภาพที่ได้จากการหมักของเสียหรือของเหลือใช้

 

คณะเภสัชศาสตร์ ม.อ. เผยผลวิจัย พบสารชนิดใหม่ใน “ใบชะมวง” ออกฤทธิ์ต้านมะเร็ง ระบุนับเป็นการค้นพบครั้งแรกของโลก พร้อมตั้งชื่อว่า ‘ชะมวงโอน’ ระบุสามารถใช้เป็นสารต้นแบบที่นำไปพัฒนาโครงสร้างสู่ยาต้านมะเร็งในอนาคต
       
       รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์ ผู้อำนวยการสถานวิจัยยาสมุนไพรและเทคโนโลยีชีวภาพทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.) (Assoc. Prof. Dr. Pharkphoom Panichayupakaranant, Director of Research in Pharmaceutical Biotechnology, Faculty of Pharmacy, Prince of Songkla University) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับ นายอภิรักษ์ สกุลปักษ์ (Mr.Apilak Sakulpak) นักศึกษาทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ ทำการศึกษาวิจัยคุณสมบัติมีฤทธิ์ต้านมะเร็งและต้านแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหารจาก ‘ใบชะมวง’ ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก หลังจากใช้เวลาศึกษาค้นคว้านานกว่า 2 ปี ซึ่งผลงานดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ Food Chemistry ซึ่งเป็นวารสารที่ได้รับความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการอย่างกว้างขวาง

การฝึกสุนัขก่อนที่จะออกปฏิบัติงานจริงนั้นต้องฝึกเป็นเวลานาน เพราะเป็นงานที่มีความเสี่ยงสูงต้องอาศัยความชำนาญและความแม่นยำ และหนึ่งในการฝึกนั้นคือการฝึกสุนัขกัดซึ่งจำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันที่มีความแข็งแรง ทนทานสูง เพื่อป้องกันอันตรายจากการกัดของสุนัข
       
       ดังนั้นทางคณะผู้วิจัยโดย นายสุรกุล พงษ์บรรณิสสร,นายวรพันธ์ สุวรรณประเสริฐและนายชนนันท์ ทวีทรัพย์ นักศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งทอ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยมี รศ.สุจิระ ขอจิตต์เมตต์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาตลอดโครงการ ได้ทำการคิดค้นเพื่อทำการศึกษา และออกแบบ "อุปกรณ์ปลอกแขนใช้สำหรับฝึกสุนัข" โดยใช้ผ้าโครงสร้างผ้าถักสามมิติจากเส้นใยไนลอน 66 ซึ่งมีคุณสมบัติที่มีความแข็งแรงทนทานจากการเจาะทะลุ การบาด การขัดถู และแรงฉีกขาด มาใช้ในการผลิตเป็นอุปกรณ์ปลอกแขนใช้สำหรับฝึกสุนัข

โปรเจ็กต์"Holiday Pet manager"คิดค้นขึ้นโดยสองนักศึกษาปีที่ 4 ดีกรีวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี "นางสาวอลิสา สาตราวาหะ" ควงคู่เพื่อนซี่้ "นางสาวดลพร ฐิติพัฒนาวาณิช" ที่นำความรู้จากห้องเรียนมาสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสัตว์เลี้ยงเอาใจคนรักสัตว์ โดยมี อาจารย์Sally E. Goldin และ อาจารย์ Kurt T Rudahlจากคณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มจธ. เป็นที่ปรึกษา นำไปเสนอที่ ICT International Student Project Conference 2013 ที่ผ่านมา โดยมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมมากมาย รวมทั้งมหาวิทยาลัยจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศมาเลเซีย และคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ประเภท Multimedia and Embedded Systems จากการประกวด Software Innovation Contest ที่จัดขึ้นในการประชุมนี้อีกด้วย
       
       อลิสาบอกเล่าที่มาว่าเจ้าของสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่มักเจอปัญหาบ่อยๆ เวลาที่ต้องเดินทางไปต่างจังหวัดหลายวันและไม่มีคนอยู่บ้าน สิ่งสำคัญที่สุดก็คือเรื่องอาหาร เจ้าของสัตว์เลี้ยงบางคนตัดสินใจให้อาหารจำนวนมากทิ้งไว้แก่สัตว์เลี้ยง แต่การทำแบบนี้อาจจะทำให้สัตว์เลี้ยงสุขภาพไม่ดี แต่หากต้องพึ่งพาเพื่อนบ้านอยู่เป็นประจำก็คงไม่เหมาะ จึงตัดสินใจทำโปรเจ็กต์ที่มีชื่อว่า "Holiday Pet manager" หรือเรียกง่ายๆ ว่าระบบจัดการสัตว์เลี้ยงในวันหยุดนั่นเอง

นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มทส. ประดิษฐ์ "วีลแชร์เพื่อช่วยสุนัขพิการ" จากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องตลาด ต้นทุน 300 - 500 บาท สร้างวีลแชร์ให้น้องหมาพิการกว่า 20 ตัว พร้อมเผยแพร่วิธีการประดิษฐ์ หวังให้ผู้มีจิตเมตตานำไปปรับใช้เพื่อช่วยเหลือสุนัขพิการตัวอื่นๆ ต่อไป คาดหวังให้สังคมมีการจัดการคุ้มครองสุนัขอย่างจริงจัง
       
       นายภุชงค์ โยธา นักศึกษาสาขาวิศวกรรโยธา ชั้นปี 3 สำนักวิชาวิศวกรรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เจ้าของผลงาน “วีลแชร์เพื่อสุนัขพิการ” ด้วยวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องตลาด ประกอบด้วย ท่อ PVC ข้อต่อ PVC ผ้าหนังรับน้ำหนัก ล้อสำเร็จรูป กาวทาหนัง กาวร้อนเชื่อมท่อ PVC

นับว่าคณาจารย์ และเยาวชนไทยมีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักหยิบยกปัญหามาแก้ไขดัดแปลงให้เป็นสิ่งประดิษฐ์ดีๆ ที่มีประโยชน์ และในอนาคตเราคงได้สัมผัสกับสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้  ขอให้กำลังใจแก่ผลงานวิจัยอื่นๆ ที่รังสรรค์ผลงานดีๆ ตลอดทั้งปี 2556 ที่ผ่านมาและขอให้ไม่หยุดคิดสิ่งดีๆ เพื่อคนไทยนะครับ

2 ม.ค. 57 เวลา 09:10 2,214 1 230
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...