ความรู้เกี่ยวกับพีระมิดมาฝาก (เยอะมาก)

 

พีระมิดอียิปต์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 
หมู่พีระมิดแห่งกีซา

พีระมิดในประเทศอียิปต์ เป็นหนึ่งในพีระมิดที่เป็นที่รู้จักโดยมีหลายแห่งในประเทศอียิปต์เป็นสิ่งก่อสร้างของชาวอียิปต์โบราณสมัยก่อนยุคเหล็ก โดยเฉพาะ พีระมิดคูฟู ใน หมู่พีระมิดแห่งกิซ่า นับเป็นสิ่งก่อสร้าง ขนาดใหญ่ที่สุด ที่มนุษย์เคยสร้างขึ้นมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิทยาการ ที่น่าอัศจรรย์ของอียิปต์โบราณ

เนื้อหา  [ซ่อน]
1 หมู่พีระมิดแห่งกิซ่า (Giza Pyramid Complex) 1.1 วิธีการสร้างมหาพีระมิดแห่งกิซ่า 1.2 วัตถุดิบที่ใช้ในการสร้างพีระมิดแห่งกิซ่า 1.3 แรงงานในการสร้างมหาพีระมิดแห่งกิซ่า 2 พีระมิดโซเซอร์ (Djoser's Pyramid) 3 พีระมิดไมดุม (Meidum Pyramid) 4 พีระมิดหักงอ (Bent Pyramid) 5 พีระมิดแดง (Red Pyramid) 6 นิยามของมหาพีระมิดแห่งเมืองกิช่า 7 หมายเหตุ 8 ดูเพิ่ม 9 อ้างอิง 10 แหล่งข้อมูลอื่น [แก้]หมู่พีระมิดแห่งกิซ่า (Giza Pyramid Complex)
แผนผังหมู่พีระมิดแห่งกิซ่า

พีระมิด (Pyramid) ใน ประเทศอียิปต์ มีมากมายหลายแห่งด้วยกัน แต่ที่มีชื่อเสียงที่สุดจนอาจนับเป็นตัวแทนของพีระมิดอียิปต์ทั้งมวล ได้แก่ หมู่พีระมิดแห่งกิซ่า (Giza Pyramid Complex) ( 29°58′45.25″N, 31°08′03.75″E) ซึ่งประกอบไปด้วย

พีระมิดคูฟู (Khufu) หรือ มหาพีระมิดแห่งกิซ่า (The Great Pyramid of Giza) ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ที่ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน มีขนาดใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในหมู่พีระมิดแห่งกิซ่า

พีระมิดคาเฟร (Khafre) ตั้งอยู่ตรงกลางของพีระมิดทั้ง 3 และสร้างอยู่บนพื้นที่สูง ทำให้ดูเหมือนมีขนาดใหญ่ที่สุด และมีบางคนเข้าใจผิดว่าพีระมิดคาเฟรคือมหาพีระมิดแห่งกิซ่า ทางทิศตะวันออกของพีระมิดคาเฟรมี มหาสฟิงซ์ (The Great Sphinx of Giza) หินแกะสลักขนาดมหึมาที่มักปรากฏในภาพถ่ายคู่กับพีระมิดคาเฟร

พีระมิดเมนคูเร (Menkaure) ขนาดเล็กที่สุดและเก่าแก่น้อยที่สุดในหมู่พีระมิดแห่งกิซ่า จากตำแหน่งการก่อสร้างทำให้คาดได้ว่า เดิมอาจตั้งใจสร้างให้มีขนาดใกล้เคียงพีระมิดคูฟู และพีระมิดคาเฟรแต่ในที่สุดก็สร้างในขนาดที่เล็กกว่า พีระมิดเมนคูเรมักปรากฏในภาพถ่ายพร้อมกับหมู่พีระมิดราชินีทั้ง 3 (The Three Queen's Pyramids)

พีระมิดทั้งสามสร้างเรียงต่อกันเป็นระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกของกรุงไคโรเมืองหลวงของประเทศอียิปต์ในปัจจุบัน ด้วยโครงสร้างใหญ่โตและลักษณะรูปทรงเรขาคณิตเฉพาะตัว ทำให้สามารถสังเกตเห็นได้จากระยะไกล ทั้งนี้แม้แต่จากภาพถ่ายดาวเทียม (คลิกเพื่อดูภาพถ่ายดาวเทียมหมู่พีระมิดแห่งกิซ่า)

[แก้]วิธีการสร้างมหาพีระมิดแห่งกิซ่า

วิธีการยกแท่งหินขนาดใหญ่หนักหลายสิบตัน เพื่อประกอบขึ้นเป็นพีระมิดอย่างแม่นยำยังเป็นปริศนา โครงสร้างเหนือห้องเก็บโลงพระศพ ในพีระมิดคีออปส์ ประกอบขึ้นด้วย แท่งหินแกรนิตสีแดงขนาดใหญ่หลายสิบแท่งซ้อนทับกัน 5 ชั้น แต่ละแท่งมีน้ำหนัก 50 ถึง 70 เมตริกตัน แท่งหินขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบในหมู่พีระมิดกิซ่าอยู่ภายในวิหารข้างพีระมิดเมนคีเรเป็นแท่งหินปูนที่มีน้ำหนักมากถึง 200 เมตริกตัน เป็นน้ำหนักประมาณเท่ากับชิ้นส่วนหนักที่สุดภายในเรือไททานิค ซึ่งไม่มีปั้นจั่นใดๆ ในอู่ต่อเรือขณะนั้นสามารถยกได้ จนผู้สร้างเรือต้องว่าจ้างทีมงาน ชาวเยอรมัน มาสร้างปั้นจั่นยักษ์สำหรับยกชิ้นส่วนดังกล่าว

เฮโรโดตุส (Herodotus) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ซึ่งเดินทางไปอียิปต์ช่วง 450 ปีก่อนคริสตกาล หรือประมาณ 2 พันปีเศษหลังจากพีระมิดสร้างเสร็จ ได้บันทึกคำบอกเล่าของนักบวชชาวอียิปต์โบราณไว้ว่า ในการสร้างพีระมิดชาวอียิปต์โบราณมีอุปกรณ์บางอย่างทำด้วยไม้ใช้สำหรับยกหินขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามไม่พบหลักฐานอื่นๆ ที่อ้างอิงถึงเครื่องมือนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด หรือบันทึกโบราณ เฮโรโดตัสยังได้บันทึกไว้ว่าการก่อสร้าง พีระมิดคูฟู ทำเฉพาะช่วงฤดูน้ำหลากซึ่งประชากรว่างจากการเพาะปลูก นั่นคือ ประมาณปีละ 3 - 4 เดือน และก่อสร้างอยู่ 20 ปี จึงแล้วเสร็จ

เนื่องจากเทคโนโลยีในขณะนั้นยังไม่มีระบบปั้นจั่นไม่รู้จักแม้กระทั่งล้อเลื่อน และไม่มีหลักฐานการใช้พาหนะที่ลากด้วยแรงสัตว์ การเคลื่อนย้ายหินจึงใช้แรงงานคนลากเข็นไปบนแคร่ไม้ โดยมีการราดน้ำเพื่อช่วยลดแรงเสียดทาน การเคลื่อนย้ายวัตถุน้ำหนักมากๆ ด้วยวิธีนี้มีหลักฐานเป็นภาพแกะสลักนูนต่ำบนฝาผนังหิน ซึ่งแสดงการเคลื่อนย้ายเทวรูปหินขนาดใหญ่ด้วยแรงคนนับร้อย

วิธีการลำเลียงหินขึ้นสู่บริเวณก่อสร้างในระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างการก่อสร้างคืออีกส่วนหนึ่งที่เป็นปริศนา แนวคิดแรกเริ่มเชื่อกันว่าชาวอียิปต์โบราณใช้วิธีสร้างทางลาดบริเวณด้านข้างของพีระมิด และชักลากหินขึ้นตามทางลาดที่ก่อสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามความสูงของระดับการก่อสร้างจนถึงจุดสูงสุดยอด และเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จจึงทำการรื้อทางลาดดังกล่าวออกคงเหลือไว้แต่ พีระมิด ที่สร้างเสร็จ ถ้าแนวคิดนี้เป็นจริงสิ่งก่อสร้างใหญ่ที่สุดในโลกยุคนั้นอาจไม่ใช่พีระมิดคูฟู แต่อาจเป็นทางลาดสูงเท่าตึก 40 ชั้นที่ใช้ก่อสร้างพีระมิดแทน มีแนวคิดอื่นๆ เสนอว่าทางลาดดังกล่าวอาจไม่ได้สร้างอยู่ด้านใดด้านหนึ่งข้างพีระมิด แต่อาจสร้างเป็นทางวนรอบพีระมิดแทน หรืออาจบางทีแต่ละชั้นของพีระมิดนั่นเองคือทางที่ใช้ชักลากหินขึ้นสู่ชั้นถัดไป ผ่านทางลาดขนาดเล็กที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อระหว่างแต่ละชั้น

แม้จะยังไม่มีข้อสรุปถึงวิธีการลำเลียงหินขึ้นสู่บริเวณก่อสร้าง แต่การประกอบหินแต่ละก้อนสามารถสรุปได้ว่าผ่านการตัดแต่งแบบก้อนต่อก้อน เนื่องจากแต่ละก้อนต้องมีขนาดและแง่มุมพอดีกับหินก้อนอื่นๆที่จัดเรียงไว้ก่อนหน้า เพราะในการก่อสร้างพีระมิดไม่มีการใช้วัสดุเชื่อมประสาน หินแต่ละก้อนวางซ้อนกันอยู่ได้ด้วยน้ำหนักกดทับด้านบน และระนาบที่เท่ากันในแต่ละชั้นจึงต้องตัดแต่งอย่างปราณีตแบบก้อนต่อก้อนก่อนประกอบเข้าสู่ตำแหน่ง

ด้วยเครื่องมือง่ายๆ อย่างไม้วัดระดับแนวราบ และสายดิ่งที่ใช้ตรวจสอบผิวหน้าหินในแนวตั้ง โดยใช้ลิ่มหินควอตซ์ (Quartz) ซึ่งเป็นหินอัคนีความแข็งสูงในการขัดแต่งผิวหน้าของหินแต่ละด้านให้เรียบ ช่างหินอียิปต์โบราณสามารถสร้างผลงานดีเยี่ยม จนผิวสัมผัสระหว่างหินแต่ละก้อนห่างกันเพียง 0.02 นิ้วเท่านั้น

ควรทราบอีกว่า ณ เวลานั้นโลกยังไม่เข้าสู่ ยุคเหล็ก โดยที่เทคโนโลยีการตีเหล็กยังไม่ถูกพัฒนาขึ้นจนกว่าอีก 1 พันปีต่อมา เครื่องมือโลหะที่มีใช้ในสมัยนั้นทำด้วย ทองแดง ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายหากต้องการตัดหินปูนและหินแกรนิตให้ได้ขนาดและรูปทรงตามต้องการ ผู้ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยียุคโบราณเชื่อว่า ช่างอียิปต์โบราณใช้ แท่งโลหะพันด้วยเชือก เพื่อหมุนปั่นแท่งโลหะเจาะรูลึกในก้อนหินโดยมีการโรยผงทรายลงในรูที่เจาะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องมือ

[แก้]วัตถุดิบที่ใช้ในการสร้างพีระมิดแห่งกิซ่า
31 มี.ค. 53 เวลา 11:47 6,384 10 70
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...