คลาสสิค! ย้อนดูจากมานะมานีถึงหนังสือเรียนไทยปัจจุบัน

ความเป็นมาของหนังสือแบบเรียนไทย มีข้อมูลระบุว่าเริ่มมาตั้งแต่สมัยอยุธยาโดยมีหนังสือจินดามณี เป็นต้นแบบการเรียนต่อมาเริ่มมีการเล่าเรียนสำหรับขุนนาง ข้าหลวง ชาววังต่างๆ เริ่มมีการใช้หนังสือชื่อมูลบทบรรพกิจ

ซึ่ง เป็นตำราฝึกหัดเรียนวิชาภาษาไทย ว่าด้วยรูปสระ พยัญชนะ ตัวอักษร วรรณยุกต์ และเครื่องหมายพิเศษต่าง ๆ มีแบบฝึกหัด อ่านเป็นกาพย์ จนกระทั่งเมื่อเริ่มมีการตั้งระบบการศึกษาขึ้นอย่างจริงจังในประเทศไทย หนังสือแบบเรียนเริ่มมีวัฒนาการที่เปลี่ยนไป


Mthaiข่าวภาคซ่าส์ ขอ ย้อนช่วงเวลากลับไปเมื่อ 40 ปีที่แล้ว หยิบเอา 3 เวอร์ชั่นของตำราเรียนไทยที่มีความคล้ายกันของเนื้อหาคือเกี่ยวกับ การฝึกอ่าน เขียน วรรณคดีไทย แต่ที่แตกต่างกันคือการใช้ตัวละครในการนำเสนอที่เปลี่ยนไปตามยุคตามกาลเวลา โดยสามารถแบ่งได้ 3 ยุคสมัยดังนี้

ยุคที่ 1 มานะ มานี ปิติ ชูใจ

เป็น ชุดแบบเรียนภาษาไทยระดับประถมศึกษา ในชั้นประถมปีที่ 1-6 ระหว่างปี พ.ศ. 2521- 2537 รวมทั้งสิ้น 12 เล่ม ซึ่งใช้ในการเรียนการสอนภาษาไทย เขียนโดยอจารย์รัชนี ศรีไพรวรรณ

มานะ มานี ปิติ ชูใจ มีเรื่องราว ตัวละคร และการดำเนินเรื่องเหมือนชีวิตจริง สะท้อน สังคมชนบท ธรรมชาติ และมิตรภาพ เพื่อให้เรื่องสนุกสนาน น่าอ่าน และเพิ่มประสบการณ์ทางภาษา มีเรื่องราวแสดงบทบาทของตัวละครและเหตุการณ์ ที่แสดงบุคลิกนิสัยและคุณธรรม แต่ละบทมีภาพประกอบ ท้ายของแต่ละบท มีแบบฝึกฝนความรู้

ยุค2 กล้า แก้ว

เป็น ชุดแบบเรียนภาษาไทยระดับประถมศึกษา ตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) เริ่มมีการใช้จริงในปี 2537 ใช้เรียนในชั้นประถมปีที่ 1-6 รวมทั้งสิ้น 12 เล่ม ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นชุดแบบเรียนภาษาไทยแบบใหม่ที่ต่อจากชุดมานะ มานี ปิติ ชูใจ

ประกอบด้วย ตัวละคร แก้ว นักเรียนหญิง, กล้า นักเรียนชาย,ตาของแก้วและกล้า,เจ้าดำ สุนัขของแก้วและกล้า,เจ้าแต้ม แมวของแก้วและกล้า บทที่หลายคนยังคงจำได้เช่น บทที่1 รถไฟ ที่จะท่องว่า รถไฟ รถไฟมา ตา ตามารถไฟ

ยุคที่ 3 ภาษา พาที

หนังสือ วิชาภาษาไทย 12 เล่ม เป็นหนังสือภาษาไทยประจำหลักสูตรปัจจุบัน (2551) ซึ่งเป็นหลักสูตรแกนกลางที่ใช้เรียนในภาคบังคับทั่วประเทศในช่วงประถมศึกษา

ประกอบด้วยตัวละครในการเดินเรื่องคือใบ โบก มีลักษณะเป็นช้างมีสีฟ้าเป็นเพื่อนของสัตว์เลี้ยงของเด็กชายชื่อภูผา,ใบบัว มีลักษณะเป็นช้างมีสีส้มเป็นเพื่อนของสัตว์เลี้ยงของเด็กชายชื่อภูผา เช่นเดียวกัน,ภูผา เด็กชายเจ้าของช้าง มีจิตใจ โดยจะมีบทที่เด็กๆท่องได้ขึ้นใจเป็นอย่างดีคือ มา มาดูใบบัว มา มาดู ใบโบก เป็นต้น

ซึ่ง จากที่กล่าววมาจะเห็นได้ว่ามีตัวละครต่างๆมากมายในหนังสือภาษาไทย แต่ที่คลาสสิคและผู้ใหญ่หลายคนคงจำได้ดีคือ มานะ มานี ซึ่งตอนนี้กลายมาเป็น ปรากฎการณ์บนสื่อสังคมออนไลน์โดยเฉพาะเฟซบุ๊กมีบทบาทมากขึ้น ตัวละครเหล่านั้นก็กลับถูกนำมาใช้ ทั้งในแง่การโพสต์เพื่อหวนรำลึกวันเก่าๆ ที่ถูกสร้างนั้น และการนำมาใช้ล้อเลียนเสียดสี

ภาพการ์ตูนระทม

อย่าง แฟนเพจ หนังสือเพี้ยน ป.1 และ กาตูนร์ ระทม โดยการนำตัวละครที่เป็นเด็กเรียบร้อยเรียนดี เป็นต้นแบบเด็กไทยในอุดมคติที่ผู้ใหญ่ในสังคมตีกรอบไว้ แต่ในสังคมออนไลน์ได้นำตัวละครมานีมานำเสนอในแง่มุมของความรุนแรง การเมือง เพศ

ทั้งนี้ไม่ว่ากาลเวลาจะ ผ่านมานานแค่ไหน เราก็จะเห็นว่าแบบเรียนภาษาไทยเริ่มปรับเปลี่ยนไปตามพัฒนาการของสังคมและ เด็ก ซึ่งไม่แน่ว่าในอนาคตแบบเรียนเล่านี้อาจจะเปลี่ยนไปจากรูปของตำราเรียนเข้า ไปสู่ระบบดิจิตอล มานะ มานี ปิดิ ชูใจ หรือ แก้วกับกล้า อาจจะเปลี่ยนจากการ์ตูนใสซื่อน่ารักสู่รูปแบบใหม่ มุมใหม่ที่แตกต่างออกไปด้วยเช่นกัน

9 ส.ค. 56 เวลา 22:13 4,698 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...