เมื่อ ′ถั่ว′ กลายเป็นทองคำ !!? เกษตรกร ′เซเนกัล′ ดีใจ ′พ่อค้าจีน′ ฉุดราคาสูงขึ้น

 

‘ถั่วลิสง’ ในสาธารณรัฐเซเนกัล กลายเป็นทองคำ เมื่อพ่อค้าชาวจีนให้ราคาสูง เพื่อส่งออกไปยังจีน รัสเซียและมาเลเซีย

 

สาธารณรัฐเซเนกัล ตั้งอยู่ในแอฟริกาตะวันตก ในอดีตเคยตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้แนะนำให้ประชาชนปลูกถั่ว โดยปัจจุบันประชากรร้อยละ 60 ของประชากรทั้งหมดเป็นลูกจ้างในอุตสาหกรรมถั่วลิสง

 

 

 


เกษตรกรรายหนึ่งบอกกับผู้สื่อข่าวว่า พวกเขาต้องการขายถั่วให้กับพ่อค้าชาวจีนมากกว่าขายให้โรงงานผลิตน้ำมันถั่วเหลืองในท้องถิ่น เพราะได้ราคาตั้งแต่ 250-260 ฟรังก์ หรือประมาณ 12 -16 บาท ต่อกิโลกรัม และบางครั้งได้ราคาสูงถึง 300 ฟรังก์หรือ 32 บาท ต่อกิโลกรัม ในขณะที่รัฐกำหนดราคาสูงสุดให้น้อยกว่า 4 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งพวกเขารู้สึกขอบคุณชาวจีนที่มาทำให้ถั่วลิสงได้ราคามากขึ้น

 

 

 


ด้านพ่อค้าส่งออกชาวคนจีนคนหนึ่งกล่าวว่า พวกเขาซื้อถั่วมา จากนั้นแกะเปลือกออก ก่อนจะส่งไปขายที่จีน รัสเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย
 
นอกจากขายถั่วลิสงแบบเมล็ดแล้ว พวกเขายังแปรรูปถั่วลิสงเป็นน้ำมันถั่ว แป้ง หรือเครื่องปรุงเพื่อใช้ในอาหารหลายอย่าง เช่น “thieboudienne” หรือข้าวกับปลา ซึ่งเป็นอาหารประจำชาติ  และยังเอาส่วนที่เหลือจากเมล็ดไปทำอาหารสัตว์และทำเชื้อเพลิงจากเปลือกถั่ว

 

 

“thieboudienne” หรือข้าวกับปลา ซึ่งเป็นอาหารประจำชาติ

 


รายงานกล่าวว่าการเพาะปลูกถั่วลิสงได้ลดลงเมื่อหลายปีที่ผ่านมา เนื่องขาดฝนและถั่วมีราคาต่ำลง  แต่หลังจากการแก้ไขกฏหมายให้ง่ายขึ้นต่อการส่งออกเมื่อสามปีที่แล้ว ทำให้เกษตรกรได้กำไรเพิ่มขึ้นจากการขายถั่วลิสงให้กับพ่อค้าชาวจีน จึงทำให้มีการปลูกถั่วมากขึ้น


ขณะเดียวกันโรงงานในท้องถิ่นกลับพบว่า พวกเขาหาซื้อถั่วได้ยากขึ้น เนื่องจากให้ราคาที่ต่ำเกินไป ทำให้ขณะนี้อุตสาหกรรมแปรรูปถั่วลิสงตกอยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่ เนื่องจากสามารถทำงานได้เพียงเดือนเดียวจากตลอดทั้งปี โดยบอกว่านี่เป็นการแข่งขันกับต่างประเทศที่ไม่เป็นธรรม และเรียกร้องให้ออกกฏหมายคุ้มครองโดยให้สิทธิพิเศษแก่โรงสีและโรงงานท้องถิ่นก่อน เพราะพวกเขามีลูกจ้างกว่า 5,000 คน โดย 2,000 คนเป็นลูกจ้างประจำ และเสริมว่าเขาวิตกว่าจะมีเมล็ดพันธุ์ไม่เพียงพอ เนื่องจากการส่งออกที่มากขึ้น

 

 

 


ในขณะที่ผู้ผลิตท้องถิ่นอีกรายกับมีความเห็นที่แตกต่าง โดยบอกว่าเกษตรกรชาวเซเนกัล ได้ปลูกถั่วมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19  ดังนั้นพวกเขาจะสามารถจัดการให้มีเมล็ดพันธุ์อย่างเพียงพอได้เสมอ

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...