"นักร้องไห้งานศพ" มืออาชีพสาวสวยจากไต้หวัน

การร้องไห้ตามคำสั่งไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สำหรับ "หลิวจุนหลิน" แล้ว นั่นไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร นั่นเพราะเธอต้องร้องไห้ทุกวัน ไม่ใช่เพราะมีเรื่องต้องเสียใจอะไร แต่นี่คือ"อาชีพ"

 



คน ร้องไห้หน้าศพ หรือ "คูซังเหริน" ยังเป็นธรรมเนียมที่นิยมปฏิบัติกันอยู่ในสังคมจีน เพื่อสร้างบรรยากาศเศร้าสลดในงานศพให้โศกเศร้าอย่างถึงที่สุด และเธอก็ถือเป็น "นักร้องไห้หน้าศพ" ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของไต้หวัน

หลาย คนอาจมองว่าการร้องไห้เพื่อเงินเป็นอาชีพที่หากินกับความเศร้าของคน แต่สำหรับหลิว เธอมองว่า อาชีพดังกล่าวมีมานานแล้วตั้งแต่ในอดีต ซึ่งตามธรรมเนียมแล้ว ผู้ที่ล่วงลับต้องการการร้องไห้ที่โหยหวนและดังพอควร ที่จะส่งพวกเขาไปสู่ชาติภพหน้า

ใน อดีต ลูกสาวของบ้าน มักต้องเดินทางไปทำงานต่างเมือง ขณะที่การเดินทางเป็นไปด้วยความยากลำบาก หากใครในบ้านเสียชีวิต พวกเธอไม่สามารถเดินทางกลับมาร่วมงานศพได้ทัน ดังนั้น บ้านต่างๆจึงจำเป็นต้องจ้าง "ลูกสาวจำเป็น" เพื่อเป็นคนทำหน้าที่นี้

งาน ศพตามธรรมเนียมของไต้หวัน นอกจากการร้องไห้ด้วยเสียงอันดังแล้ว ยังมีการแสดงเพื่อความบันเทิงนานาชนิดด้วย เพื่อเป็นการแสดงความเคารพให้แก่ผู้ตาย โดยในส่วนนี้ หลิว รวมถึงวงดนตรีของธอต่างสวมเสื้อผ้าสีสันฉูดฉาด และแสดงลีลาประกอบเพลงจังหวะคึกคักหลายเพลง ทั้งยังมีการแสดงตีลังกา และผาดโผนอีกจำนวนหนึ่ง ขณะที่ "อาจี้" พี่ชายของเธอทำหน้าที่เล่นเครื่องสายแบบโบราณ 

 


หลัง การแสดงจบลง เธอจะกลับมาสวมชุดไว้ทุกข์อีกครั้ง และคลานไปยังโลงศพ ก่อนที่จะร้องไห้คร่ำครวญปริ่มขาดใจอีกครั้ง ขณะที่เสียงเพลงจากเครื่องสายบรรเลงคลอเบาๆ เสียงร้องของเธอดูโหยหวนและเอื้อนยาว เหมือนไม่ชัดเจนว่ากำลังร้องไห้หรือร้องเพลง

"พ่อจ๋า ลูกสาวคนนนี้คิดถึงใจจะขาด โปรดเถิดจงกลับมา"

หลิว ร้องไห้ให้ดูตามสั่ง แต่ยืนยันว่าการร้องไห้ทุกครั้งเป็นเรื่องจริง เธอคิดเสมอว่าทุกครั้งที่ไปทำงาน จะต้องคิดว่าครอบครัวที่สูญเสียก็เหมือนครอบครัวของเธอ เพื่อให้สามารถใส่อารมณ์ไปได้อย่างเต็มที่ และเมื่อเห็นคนที่มาร่วมงานเศร้าโศก นั่นทำให้เธอเศร้ายิ่งกว่า

ภาพ ลักษณ์ของเธอดูเหมือนสาวสมัยใหม่มากกว่าที่จะมาทำอาชีพโบราณเช่นนี้ หลิน เจิ้งจาง ผู้อำนวยการบริษัทรับจัดพิธีศพ ซึ่งทำงานร่วมกับหลิวมานานหลายปี กล่าวว่า นั่นทำให้เธอดูแตกต่างจากคนอื่น โดยทั่วไปคนมักมองว่าอาชีพนี้เหมาะกับผู้หญิงที่อายุมากกว่าเธอ แต่ด้วยความสาวและสวยของเธอ ทำให้เกิดจุดเดนและสร้างความสนใจได้มาก 

 



หลิว ไม่ใช่คนแรกของครอบครัวที่ทำอาชีพนี้ แต่แม่และยายของเธอก็ล้วนแต่เป็นนักร้องไห้มืออาชีพมาก่อน สมัยยังเด็ก เธอมักจะวิ่งเล่นนอกบ้านที่จัดงานศพที่แม่เธอทำงานเสมอ ส่วนที่บ้าน เธอก็จะชอบเล่นซ้อมร้องไห้ต่อหน้าแม่และพี่สาว โดยคว้าอะไรก็ได้แล้วสมมุติว่าเป็นไมโครโฟน และสมมุติสิ่งของว่าเป็นโลงศพและคลานเข้าไปหา

พ่อ แม่ของเธอเสียชีวิตเมื่อเธอยังเป็นเด็ก และทิ้งลูกๆ 3 คนให้ยายเลี้ยง ทำให้เธอและพี่ชายต้องเข้ามาสู่อาชีพนี้แบบไม่ตั้งใจ เพื่อหาเงินใช้จ่ายในครอบครัว ขณะที่เธอมีอายุเพียง 11 ปี

เธอ ต้องตื่นนอนตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้นเพื่อซ้อมร้องไห้ ทำให้หลายครั้งไม่ได้ไปเรียนหนังสือ ตอนอยู่ที่โรงเรียนเธอมักโดนเพื่อนล้อถึงงานที่ทำ รวมถึงชุดที่สวมใส่ บางครั้งทำให้เธอรู้สึกไร้ค่าและน้อยใจ

การ แสดงไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด หลายครั้งที่มีการแสดงท่าทีดูถูกจากครอบครัวของผู้ตาย หลิวกล่าวว่า ก่อนเริ่มพิธี บางครอบครัวแสดงท่าทีไม่พอใจ แต่หลังจากพิธีจบ พวกเขากลับร้องไห้อย่างหนักและเดินมาขอบอกขอบใจยกใหญ่ ซึ่งนั่นทำให้เธอเข้าใจของจุดประสงค์ที่แท้จริงในงานของเธอ หลิวกล่าวว่า มันทำให้ผู้คนได้ปลดปล่อยความโกรธเกรี้ยวและโศกเศร้า และสำหรับคนที่ไม่กล้าร้องไห้ต่อหน้าคนมากๆ พิธีนี้จะช่วยได้มาก เพราะคนจำนวนมากจะร่วมร้องไห้พร้อมกับเรา

หลิว ได้รับการฝึกฝนจากยายอย่างเข้มงวด จากเด็กที่ไม่รู้ประสีประสา กลายเป็นผู้หญิงที่สามารถพัฒนาทักษะในอาชีพ จนทำให้ครอบครัวที่เคยมีฐานะยากจนของเธอมีกินมีใช้ กระทั่งปัจจุบัน หลิวและพี่น้องต่างมีบ้านเป็นของตนเอง โดยในงานศพแต่ละครั้ง พวกเขาจะมีรายได้ต่องานที่ราว 18,000 บาท 

 

8 มี.ค. 56 เวลา 01:07 4,411 1 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...