เมื่อ "รังนกไทย" ถูกแบน เพราะตรวจเจอ "รังนกเลือด" ปลอมย้อมสี ฝีมือใคร?

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ : ทูตพาณิชย์ไทยประจำปักกิ่ง ชี้ต้นตอจีนห้ามนำเข้ารังนกนางแอ่น เหตุตรวจเจอ"รังนกเลือด"ปลอมย้อมสี มีสารไนไตรท์เกินมาตรฐาน

จากกรณีคณะกรรมการพิจารณาจัดเก็บอากรรังนกอีแอ่นจังหวัดชุมพร เชิญผู้ได้รับสัมปทานจัดเก็บรังนก 9 จังหวัด ประกอบด้วยประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุง กระบี่ ตรัง พังงา สตูล และตราด พร้อมผู้เกี่ยวข้องร่วมประชุมเพื่อแก้ปัญหาที่ทางการจีนห้ามนำเข้ารังนกนางแอ่น ภายหลังตรวจพบรังนกที่นำเข้าจากมาเลเซียมีสารไนไตรท์เกินมาตรฐาน หากบริโภคมากเกินไปจะเกิดพิษต่อร่างกาย หรือทำให้เสียชีวิตได้นั้น

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ นายไพจิตร วิบูลย์ธนสาร อัครราชทูตฝ่ายพาณิชย์ สำนักงานพาณิชย์ ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวว่า สถานการณ์ขณะนี้ทางการจีนห้ามนำเข้ารังนกนางแอ่นในระดับรุนแรงกว่าเดิม เนื่องจากปลายปี 2554 มีการตรวจพบรังนกเลือดที่มีสารไนไตรท์เกินมาตรฐาน สันนิษฐานว่าเป็นรังนกเลือดของปลอม เพราะคนจีนนิยมรังนกเลือด จึงมีการย้อมสี พอตรวจสอบพบก็เหมารวมทุกประเทศ ทั้งอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย สั่งห้ามทั้งหมด จำได้ว่านายหลี่ เค่อเฉียง ซึ่งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีจีนอยู่ในเวลานั้น ได้รับมอบหมายจากนายเวิน เจีย เป่า นายกรัฐมนตรีจีนในขณะนั้น มานั่งเป็นประธานดูแลเอง และออกคำสั่งเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2555 ห้ามนำรังนกเข้าประเทศ โดยจะมีการตรวจค้นกระเป๋า ถ้าพบจะยึดทันที ซึ่งไม่คุ้มค่ากับผู้ลักลอบนำเข้าไป เพราะรังนกมีราคาแพง ประกอบกับมีปัญหาไข้หวัดนกด้วย 

"หลังจากมาตรการดังกล่าวออกมา ทางกระทรวงเกษตรฯกับสำนักงานเพื่อตรวจสอบ กักกัน และกำกับดูแลคุณภาพแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (เอคิวเอสไอคิว) ได้ออกประกาศเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ห้ามนำเข้ารังนกที่มีสารไนไตรท์เกิน 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่ปรากฏว่ารังนกส่วนใหญ่ที่นำเข้ามีค่าสารไนไตรท์สูงกว่าทั้งนั้น แม้จะขออนุญาตนำเข้าก็ไม่ผ่านอยู่ดี"นายไพจิตรกล่าว 

นายไพจิตร กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ได้หารือร่วมกับทางจีนเพื่อแก้ปัญหา โดยกำหนดขั้นตอน กฎระเบียบให้ชัดเจน ด้วยการยกร่างพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดการตรวจสอบและกักกันโรคในสินค้ารังนก จากไทยสู่จีน ซึ่งได้ตรวจสอบร่างพิธีสารระหว่าง 2 ประเทศ 2 รอบแล้ว และตอนนี้ร่างดังกล่าวอยู่ในมือทางการจีน คาดว่าจะตรวจและลงนามภายในครึ่งปีแรกนี้ จากนั้นครึ่งปีหลังจะพาคณะจีนไปสำรวจจุดเก็บรังนกในไทย เพื่อขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงรังนกนางแอ่น ตีทะเบียนผู้ประกอบการ และออกใบอนุญาต ทั้งนี้ ทราบว่าทางมาเลเซียและอินโดนีเซียก็มีการยกร่างพิธีสารดังกล่าวเหมือนกัน แต่ยังไม่คืบหน้า ซึ่งทางการจีนคงจะเกลี่ยตารางเวลาเพื่อศึกษาร่างพิธีสารให้สอดคล้องเป็น มาตรฐานเดียวกัน ดังนั้น เชื่อว่าภายในสิ้นปีนี้จะเรียบร้อย และต้นปี 2557 ธุรกิจรังนกจะฟื้นตัวแน่นอน 

นายภพพล ศิริลักษณพงศ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) พังงา กล่าวว่า ผู้ที่ประมูลสัมปทานรังนกได้ในพื้นที่เกาะรังนก อ่าวพังงา เป็นผู้ประกอบการต่างจังหวัด ไม่มีผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่ จ.พังงา ส่วนความสะอาดของรังนกใน จ.พังงานั้น เชื่อว่ามีความสะอาดสูง เนื่องจากพื้นที่มีรังนกทั้งหมดมีสภาพเป็นเกาะในทะเล ห่างไกลชุมชน และเป็นพื้นที่มีอากาศสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีโรงงานและชุมชนอยู่ใกล้ ทั้งนี้ การประมูลสัมปทานรังนกจะจัดให้ยื่นซองประกวดราคา 5 ปี/ครั้ง ซึ่งในครั้งนี้ประมูลไปก่อนที่ตนจะมารับตำแหน่ง ทสจ.พังงา

นายอภิชาต กิจประสาน ผู้จัดการบริษัท ขวานเพชร (สยาม) จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทผู้รับสัมปทานจัดเก็บรังนกอีแอ่นบนเกาะยุ้ง และเกาะมัดหวาย ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ด่านสวี อ.สวี จ.ชุมพร กล่าวว่า จากข้อมูลที่เชื่อถือได้ทราบว่าสาเหตุของปัญหารังนกจากเมืองไทยไม่สามารถส่ง ไปขายประเทศจีนได้ เกิดจากบริษัทรังนกในมาเลเซียมีการฉีดสีรังนก เพื่อต้องการให้ได้ราคาสูงขึ้น เพราะตามปกติรังนกที่มีราคาแพงจะมีเลือดนกผสมอยู่ด้วย ซึ่งรังนกประเภทนี้เป็นรังนกที่เก็บในรอบสุดท้ายในแต่ละปี เชื่อกันว่ามีคุณค่าทางอาหารสูงกว่ารังนกทั่วไป ส่วนผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้นกับผู้ส่งออกรังนกจากไทยไปจีนในขณะนี้คือ รังนกที่ผู้ได้รับสัมปทานเก็บได้ไม่สามารถระบายไปยังประเทศจีนได้ จึงทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถหาเงินมาชำระค่าอากรรังนกได้ตามสัญญา ปกติแล้วประเทศไทยสามารถผลิตรังนกได้ประมาณ 18 ตันต่อปี มีมูลค่ารวมกว่า 1.4 หมื่นล้านบาท และรังนกส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปยังประเทศจีน แต่เมื่อไม่สามารถส่งออกได้ จึงทำให้ขณะนี้รังนกเริ่มมีราคาตกลง เช่น รังนกบ้านที่เคยจำหน่ายกันในราคา กก.ละ 2-3 หมื่นบาท ลดลงเหลือ กก.ละ 1.5 หมื่นบาทเท่านั้

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...