3 ทหารหน่วยรบพิเศษบนราง BTS เบิกคดี 6 ศพ วัดปทุมฯ รับยิงกระสุนจริงเข้าวัด

 

จาก ประชาไท จากการไต่สวนการตาย 6 ศพ วันปทุมฯ ทหารรบพิเศษ 3 นาย เบิกความรับทหารในหน่วยยิงเข้าไปในวัดจริง  แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ยิง รับทหารในภาพบนรางรถไฟหน้าวัดเป็นทหารหน่วยเดียวกัน ชี้มีกลุ่มติดอาวุธยิงตอบโต้ จนท.ตรงตอม่อรถไฟฟ้า และเสื้อขาวยิงมาจากกุฏิวัด จึงยิงกระสุนจริงสวนกดดัน นัดไต่สวนต่อ 21 ก.พ.นี้

ภาพที่ถูกถ่ายจากดาดฟ้า สตช.เย็นวันที่ 19 พ.ค.53 ซึ่งพยานรับเป็นทหารในหน่วย

 

 

14 ก.พ.56 ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลไต่สวนคำร้องชันสูตรการเสียชีวิต ในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิตของ นายสุวัน ศรีรักษา อายุ 30 ปี อาชีพเกษตรกร ผู้เสียชีวิตที่ 1, นายอัฐชัย ชุมจันทร์ อายุ 28 ปี บัณฑิตคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้เสียชีวิตที่ 2, นายมงคล เข็มทอง อายุ 36 ปี เจ้าหน้าที่อาสามูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ผู้เสียชีวิตที่ 3, นายรพ สุขสถิต อายุ 66 ปี อาชีพพนักงานขับรถรับจ้างในสนามบิน ผู้เสียชีวิตที่ 4, น.ส.กมนเกด ฮัคอาด อายุ 25 ปี อาชีพพยาบาลอาสา ผู้เสียชีวิตที่ 5, และนายอัครเดช ขันแก้ว อาชีพรับจ้าง ผู้เสียชีวิตที่ 6 โดยทั้ง 6 ศพ ถูกยิงเสียชีวิตภายในวัดปทุมวนาราม เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553 ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.  สมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี

 

 

โดยพนักงานอัยการนำประจักษ์พยานเข้าเบิกความรวม 3 ปาก ประกอบด้วย พ.ท.นิมิตร วีระพงษ์ สังกัด ฝ่ายกิจการพลเรือน ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จ.ลพบุรี ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับกองพันรบพิเศษที่ 1 กรมรบพิเศษที่ 3 ในฐานะ หัวหน้าชุดทหารรบพิเศษ ที่ปฏิบัติการบนรางรถไฟฟ้าสถานีสยาม ระหว่างวันที่ 18 และ 19 พฤษภาคม  2553 รวมด้วยจ่าสิบเอกสมยศ ร่มจำปา อายุ 45 ปี และสิบเอกเดชาธร มาขุนทด อายุ 38 ปี  ทหารจากกองพันชุดจู่โจม รบพิเศษ 3 ค่ายเอราวัณ จังหวัดลพบุรี ในฐานะทหารชุดปฏิบัติการบนรางรถไฟฟ้าหน้าวัดปทุมฯ

 

 

พ.ท.นิมิตร วีระพงษ์ เบิกความว่า ได้รับคำสั่งให้มาปฏิบัติการร่วมกับ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. ตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค.53 โดยได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา หน่วยรบพิเศษที่ 3 เพื่อรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญและสถานที่ ในวันที่ 10 เม.ย.53 บริเวณสี่แยกคอกวัว พื้นที่ที่ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม รับผิดชอบอยู่ มีการยิงกันอย่างหนักเป็นเหตุให้ พ.อ.ร่มเกล้า เสียชีวิต

 

ส่วนที่พยานรับผิดชอบอยู่คือบริเวณสะพานมัฆวาน จากเหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย.53  ศอฉ.พบว่ามีกลุ่มบุคคลที่แอบแฝงอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมและใช้กำลัง จึงได้มีคำสั่งให้ปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมโดยวิธีการจากเบาไปหาหนัก 7 ขั้นตอน ส่วนบุคคลที่ใช้กำลังต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ทหารให้ใช้วิธีการที่เรียกว่า “กฎการใช้กำลังของกองทัพไทย” โดย ศอฉ.ได้ประกาศกฎการขอคืนพื้นที่และการใช้อาวุธ

 

 

ภายหลังเดือน เม.ย.53 ผู้ชุมนุมประกาศจัดการชุมนุมที่บริเวณสีลม พยานจึงได้รับคำสั่งให้มาระวังป้องกันให้กับกองพลทหารม้า พยานจึงได้มายังพื้นที่ถนนสีลมตรงจุดทางเชื่อต่อรถไฟฟ้าบริเวณสี่แยกศาลาแดงหน้าบริเวณโรงแรมดุสิตธานี ตอมาวันที่ 15 พ.ค.53 ได้รับคำสั่งให้ระวังป้องกันให้กับกลุ่มทหารที่อยู่บริเวณถนนราชปรารภ โดยก่อนที่พยานจะเข้าไปนั้นมีคนใช้อาวุธปืนยิง M79 ตอบโต้กับเจ้าหน้าที่ทหารที่อยู่บริเวณแยกราชปรารภ เมื่อหน่วยของพยานเข้าไปจึงได้ใช้อาวุธปืนยิงคุ้มกันเพื่อไม่ให้คนที่มีอาวุธปืนดังกล่าวยิงมายังเจ้าหน้าที่ทหาร

 

 

ต่อมาวันที่ 18 พ.ค.53 ศอฉ. ต้องการกระชับพื้นที่บริเวณแยกราชประสงค์ พยานและหน่วยของพยานจึงประจำที่แยกปทุมวัน ในเวลา 17.00 น. ต่อมาในวันที่ 19 พ.ค.53 พยานและหน่วยพยานได้ขึ้นไปประจำบนสถานีรถไฟฟ้าคุ้มกันให้กับเจ้าหน้าที่ทหารจากกรมทหารราบที่ 31 กองพันที่ 2 รักษาพระองค์ (ร.31 พัน 2 รอ.) โดยทหารดังกล่าวมีหน้าที่คุ้มกันประชาชนที่ต้องการเดินทางออกจากพื้นที่กลับยังภูมิลำเนา โดย ศอฉ. ได้เตรียมรถเพื่อรับผู้ชุมนุมอยู่บริเวณสนามกีฬาแห่งชาติ ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้ประชาสัมพันธ์และมีการส่งข้อความหากลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อแจ้งว่าสามารถเดินทางออกจากพื้นที่การชุมนุมได้ โดยวันที่ 19 พ.ค.53 เวลา 13.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมแจ้งความประสงค์ว่าต้องการจะเดินทางออกจากพื้นที่ประมาณ 200 คน หลังจากนั้นมีผู้ชุมนุมเดินทางออกมาจากพื้นที่ชุมนุม

 

 

และเวลาต่อมาเกิดเหตุเพลิงไหม้ที่โรงหนังสยาม พยานได้รับคำสั่งจาก ร.31 พัน 2 รอ. ให้ พยานไปตรวจค้นบริเวณแนวบังเกอร์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ ร.31 พัน 2 รอ. เดินทางนำเจ้าหน้าที่ดับเพลิงไปยังโรงหนังสยาม ขณะรับคำสั่งนั้นพยานประจำอยู่บริเวณสนามกีฬาแห่งชาติ โดยก่อนหน้าที่พยานและหน่วยได้รับคำสั่งทราบว่ามีกองกำลังติดอาวุธยิงกระสุนมายังเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงไม่สามารถปฏิบัติงานได้

 

 

ศอฉ.มีคำสั่งให้หน่วยของพยานที่มีประมาณ 60 คน ทำหน้าที่ป้องกันให้กับหน่วยภาคพื้น ซึ่งมี ร.31 พัน 2 รอ. ปฏิบัติหน้าที่บนพื้นราบ ส่วนหน่วยของพยานประจำอย่าบนสถานีรถไฟฟ้าเพื่อทำหน้าที่ระวังป้องกัน โดยหน่วยของพยานใช้อาวุธปืน M16

 

 

วันที่ 19 พ.ค.53 เวลาประมาณ 15.00 น. หน่วยของพยานได้ปฏิบัติการระวังป้องกันโดยเริ่มจากแยกปทุมวันฯ หลังจากนั้นได้เดินบนสะพานลอยรถไฟฟ้ากระทั้งข้ามแยกปทุมวัน และเดินไปยังสถานีรถไฟฟ้าสยาม โดยผู้ใต้บังคับบัญชาของพยานที่อยู่ด้านหน้าทำการสำรวจ ขณะนั้นมีชาย 2 คนใช้อาวุธปืนยิงใส่ โดยผู้ใต้บังคับบัญชาของพยานแจ้งว่าชาย 2 คนดังกล่าวยืนอยู่บริเวณแยกเฉลิมเผ่าตรงจุดที่รถ 6 ล้อจอดอยู่ ขณะนั้น ร.31 พัน 2 รอ. ได้แจ้งให้หน่วยของพยานถอนตัวออกมาจากบริเวณดังกล่าวก่อนเนื่องจากสถานการณ์ยังไม่ชัดเจน รวมทั้งเกรงว่ายังคมมีกลุ่มผู้ชุมนุมหลงเหลืออยู่บริเวณดังกล่าว ขณะที่หน่วยของพยานถอนตัวนั้นพยานทราบว่ามีกลุ่มผู้ชุมนุมหลบเข้าไปในวันปทุมฯ รวมทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

 

 

ขณะที่หน่วยของพยานได้รับคำสั่งให้ถอนตัวออกจากบริเวณดังกล่าว ผู้ใต้บังคับบัญชาของพยานยิงไปยังบริเวณรถ 6 ล้อ ที่บริเวณแยกเฉลิมเผ่าเพื่อกดดันไม่ให้ชาย 2 คนที่มีอาวุธ โดยนอกจากยิงไปยังบริเวณรถหกล้อแล้วยังยิงไปยังตอหม้อเสารถไฟฟ้า จากนั้นหน่วยของพยานได้ถอนออกมาจากบริเวณดังกล่าวแล้วมายังบริเวณสถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติ หลังจากนั้นเห็นเพลิงไหม้ที่ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ร.31 พัน 2 รอ. ได้รับคำสั่งให้อำนวยความสะดวกเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเพื่อไปยังห้างเซ็นทรัลเวิลด์และบริเวณสยามสแควร์

 

 

พยานทราบว่า ศอฉ. ได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ทหารที่แยกเพลินจิตร แยกปทุมวันและแยกสีลม ให้อำนายความสะดวกให้รถเข้าไปดับเพลิงที่ห้างเซ็นทรัลเวิลด์และบริเวณสยามแควร์ หากทางด้านใดใน 3 ทางนั้นอำนวยความสะดวกได้ก็ให้อำนวยการไป โดย ร.31 พัน 2 รอ. ที่ประจำอยู่ แยกปทุมวันนั้น ไปทางพื้นราบถนนพระราม 1 และอำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเพื่อไปยังสยามสแควร์และห้างเซ็นทรัลเวิลด์ โดยหน่วยของพยานจะประจำป้องกันให้บนพื้นที่สูง บนรางรถไฟฟ้าสถานีสนามกีฬาแห่งชาติและเดินไปกระทั้งถึงสถานีสยามสแควร์

 

 

โดยหน่วยของพยานจะทำการล้อมป้องกันไม่ให้บุคคลใดยิงปืนมายังเจ้าหน้าที่ทหาร ร.31 พัน 2 รอ. ที่ประจำอยู่บริเวณภาคพื้นดิน  หน่วยของพยานเดินทางไปบนรางรถไฟฟ้าชั้น 2 และชั้น 3 บนสถานีสนามกีฬาแห่งชาติมาจนกระทั้งถึงก่อนชานชาลาสถานีสยามมองเห็นตาขายสีเขียวและกองยางรถยนต์วางปิดกั้นอยู่จนไม่สามารถมองเข้าไปเห็นด้านในของชานชาลาของสถานีรถไฟฟ้าสยามได้ ตรวจพบเศษอาหารและระเบิดเพลิงกองอยู่ 5-6 ขวด

 

 

หน่วยของพยานเดินทางออกจากสถานีรถไฟฟ้าสยามกีฬาเวลาประมาณ 17.20 น. และไปถึงสถานีสยามเวลาประมาณ 18.00 น. เหตุที่ทราบเนื่องจากได้ยินเสียงเพลงชาติ และพยานได้ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่บริเวณรางรถไฟฟ้าชั้น 2 และ 3 ตั้งแต่สถานีจนถึงท้ายของชานชาลา เนื่องจากชั้นที่เป็นสถานีจำหน่ายตั๋วนั้นพยานไม่สามารถเดินเข้าไปได้เพราะมีตะแกรงเหล็ก

 

 

ขณะที่ประจำอยู่บริเวณชั้น 3 ของสถานีรถไฟฟ้าเห็นรอยไหม้ของร้านเสริมสวยบริเวณสยามสแควร์ ซึ่งพยานเห็นว่าน่าจะเกิดจากการขว้างระเบิดเพลิงจากบนลงล่าง พยานยังได้ให้ผู้ใต้บังคับบัญชานำคีมมาตัดตะแกรงเหล็ก ขณะรอนั้นหน่วยของ ร.31 พัน 2 รอ. ได้ประจำอยู่ด้านล่างของสถานีรถไฟฟ้าสยาม ขณะนั้นได้ยินเสียงปืนดังมาจากแยกเฉลิมเผ่า ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ประจำอยู่บริเวณชั้น 2 ของสถานีรถไฟฟ้า ได้ยินเจ้าหน้าที่ทหารจาก ร.31 พัน 2 รอ. ด้านล่างร้องขอความช่วยเหลือ ขณะนั้นเจ้าหน้าที่ทหารจาก ร.31 พัน 2 รอ. ขึ้นจากบันไดด้านล่างมายังชั้นจำหน่ายตั๋วของสถานีฯ แต่ยังไม่สามารถเข้าไปได้เนื่องจากตะแกรงเหล็กปิดกั้นอยู่

 

 

พยานจึงสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ประจำอยู่บนรางรถไฟฟ้า 2 ทำหน้าที่ระวังป้องกันให้กับทหาร ร.31 พัน 2 รอ. จากนั้นผู้ใต้บังคับบัญชาของพยานได้แจ้งว่ามีกลุ่มคนยิงปืนมายังชั้น 2 ของสถานีรถไฟฟ้าสยาม โดยผู้ใต้บังคับบัญชาของพยานได้ปฏิบัติตามกฎของกองทัพไทยที่เริ่มต้นด้วยการเตือนก่อน จากนั้นยิงอาวุธปืนเล็งมายังพื้นถนนซึ่งไม่ได้มุ่งหมายไปยังบุคคล แต่หากยังมีภัยคุกคามอยู่อย่างต่อเนื่องจึงจะยิงไปยังกลุ่มคนเพื่อกดดันให้ถอยร่นไป

 

 

หลังจากนั้นเวลา 18.10 น. หลังจากหน่วยของพยานได้ประจำอยู่บนรางรถไฟฟ้าชั้น 2 ชั้น 3 และชั้นล่างตรงสถานีเพื่อเฝ้าระวังให้หน่วยที่ปฏิบัติยังภาคพื้นซึ่งขณะนั้น เวลาประมาณ 18.00 น. หน่วยพยานได้เคลื่อนกำลังจากสถานีรถไฟฟ้าสยามไปกระทั้งด้านหน้าวัดปทุม โดยผู้ใต้บังคับบัญชาของพยาน 7 นายเคลื่อนที่บนรางรถไฟฟ้าชั้น 2 ไปจนกระทั้งบริเวณหน้าวัดปทุม เนื่องจากขณะนั้นมีภัยคุกคามเกิดขึ้นภายในวัดปทุมและบริเวณนอกวัด โดยภัยคุกคามนั้นหมายถึงคนที่อยู่ในวัดปทุมและนอกวัดยิงปืนใส่

 

 

เวลาประมาณ 18.20 น. พยานได้เรียกกำลังทั้ง 7 นาย กลับมาประจำการอยู่ที่สถานีรถไฟฟ้าสยามและพยานประจำอยู่ที่สถานรถไฟฟ้าสยามจนกระทั้งวันที่ 21 พ.ค.53 เมื่อวันที่ 20 พ.ค.53 หน่วยของพยานได้รับคำสั่งให้เฝ้าระวัง ร.31 พัน 2 รอ. เข้าตรวจค้นในวัดปทุม โดยหน่วยของพยานประจำอยู่บนรางรถไฟฟ้าเช่นเดิม ศอฉ.ให้ ร.31 พัน 2 รอ. เข้าไปตรวจค้นในวัดปทุมและนำกลุ่มผู้ชุมนุมออกจากวัด

 

 

ในการปฏิบัติหน้าที่ทั้งหมดหน่วยของพยานใช้กระสุนปืนน้อยมากแต่จำไม่ได้ว่าเท่าไหร่ ในการปฏิบัติหน้าที่หน่วยของพยานไม่มีเจ้าหน้าที่ในหน่วยผู้ใดได้รับบาดเจ็บ พยานได้ทราบจากรายงานของสื่อมวลชนว่าภายในวัดปทุมมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในวันที่ 19 พ.ค.53

 

 

ในการปฏิบัติหน้าที่หน่วยของพยานมีประมาณ 60 นาย ได้รับคำสั่งโดยตรงจาก ศอฉ. ให้ M16 ชนิด A2 และ A4 ซึ่งจะใช้กับลูกกระสุนปืน M866 มีหัวสีเขียว กระสุนปืน M855 มีหัวสีเขียวสามารถใช้กับปืนทราโวหรือปืนชนิดอื่นได้ด้วย และสามารถให้กับ M16 ชนิด A1 ได้ แต่ประสิทธิภาพในการยิงอาจจะลดลงและอาจจะก่อให้เกิดการชำรุดของปืน หน่วยของพยานไม่มีพลซุ่มยิง หน่อยของพยานจะทำหน้าที่ระวังป้องกันเมื่อมีการร้องขอ และเป็นหน่วยที่ชำนาญที่สุดในการปฏิบัติหน้าที่ในเมือง

 

 

ตามกฎการใช้กำลังหากมีการใช้อาวุธปืนหรือขว้างระเบิดเพลิงมายังเจ้าหน้าที่ทหารๆ สามารถจะยิงปืนไปเพื่อยับยั้งไม่ให้เกิดการกระทำนั้นต่อไป แต่จะไม่ยิงไปเพื่อมุ่งหมายต่อชีวิต

 

 

ภาพที่ปรากฏบนรางรถไฟฟ้าเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของพยาน ขณะที่ผู้ใต้บังคับบัญชาของพยานปฏิบัติหน้าที่บนรางรถไฟฟ้านั้นจะรายงานมายังพยานผ่านทางวิทยุสื่อสาร หากจะใช้อาวุธปืนยิง จ่าสิบเอกสมยศ ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตพยานก่อน ขณะที่อยู่บนรางรถไฟฟ้าพยานอยู่ตรงกลางสถานีและมอบภารกิจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปตรวจระวังป้องกันตามที่ได้รับการร้องขอ โดยผู้ใต้บังคับบัญชาของพยานได้ปฏิบัติหน้าที่บริเวณหน้าวัดปทุมบนรางรถไฟฟ้า

 

 

ซึ่งภายหลังได้รับรายงานด้วยว่าจ่าสิบเอกสมยศ ได้ยิงปืนไปยังบริเวณหน้าศาลและผู้ใต้บังคับบัญชาของพยานอีก 1 นาย ได้ยิงปืนไปยังบริเวณรถซึ่งจอดภายในวัดปทุมด้วย ซึ่งเป็นการรายงานด้วยวาจาหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติหน้าที่

หน่วยของพยานได้เคยฝึกควบคุมฝูงชนและปราบจลาจล กระสุนปืนที่พยานใช้นั้นหากยิงไปกระทบของแข็งกระสุนปืนจะแตกกระจายออก จึงเป็นไปได้น้อยมากที่จะแฉลบ การที่กระสุนไประทบของแข็งจะแฉลบได้นั้นจะต้องทำมุม 10-15 องศา เท่านั้น กระสุนที่ไปกระทบของแข็งหรือปูนจะมีการกระจายออกรอบทิศทาง

 

 

จ่าสิบเอก สมยศ ร่มจำปา เบิกความกรณีการชุมนุมของ นปช. นั้น พยานมาปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 5 พ.ค.53 ภายใต้การบังคับบัญชาของ ศอฉ.และผู้บังคับบัญชาคือ พ.ท.วินัย พิมาย ที่เป็นผู้บังคับกองพัน ส่วน พ.ท.นิมิตร วีรพงษ์ นั้นพยานมาขึ้นต่อการบังคับบัญชาในวันดังกล่าว ซึ่งประจำอยู่ที่ราบ 11 แล้วไปที่บริเวณสี่แยกสีลม และในวันที่ 15 พ.ค.ได้ไปประจำการอยู่ที่แอร์พอตลิงค์ มีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันอาคารสถานที่ หลังจากนั้นพยานได้กลับไปที่ราบ 11 อีก จนวันที่ 18 พ.ค.53 ได้เดินทางลงรถที่กระทรวงพลังงานและได้เคลื่อนไปที่สถานีรถไฟฟ้า BTS สนามกีฬา มีคำสั่งให้รักษาความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าทีทหารจากกรมทหารราบที่ 31 กองพันที่ 2 รักษาพระองค์ (ร.31 พัน 2 รอ.)

 

วันที่ 19 พ.ค.53 เวลาประมาณ 10.00 น. ศอฉ. เริ่มมีการประกาศให้ประชาชนทยอยออกมาจากพื้นที่ชุมนุมมาทางด้านสนามกีฬา โดยพยานยังรักษาความปลอดภัยให้กับ ร.31 พัน 2 รอ. ในด้านล่างและคุ้มกันกลุ่มผู้ชุมนุมที่ต้องการออกพื้นที่

 

ต่อมาก่อน 15.00 น. ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา คือ พ.ท.นิมิตร ให้เข้าไปเคลียร์พื้นที่ด้านล่างที่มีกองยาง ถังน้ำมันและสิ่งกีดขวางอื่นๆ ที่อยู่บริเวณหน้าสนามกีฬาไปจนถึงแยกปทุมวัน รวมทั้งให้ดูแลคุ้มกันให้กับเจ้าหน้าที่ดับเพลิง เนื่องจากในตอนนั้นโรงภาพยนตร์ สยาม เกิดเหลิงไหม้แล้ว

 

ซึ่งขณะนั้นพยานเป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติการมีกำลัง 9 นาย หลังจากได้รับคำสั่งให้เคลียร์พื้นที่เข้าไปในพบเต้นท์และสิ่งกีดขวางกองอยู่และได้ยินเสียงปืนมาจากด้านหน้า โดยก่อนหน้

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...