อียูตัดสิทธิจีเอสพี3หมวดสินค้าไทย พณ.ยันไม่กระทบส่งออก-ลดสุ่มตรวจยาฆ่าแมลง

อียูตัดสิทธิจีเอสพี 3 หมวดสินค้าไทย อาหารปรุงแต่ง น้ำตาลและขนมที่ทำจากน้ำตาล อัญมณีและเครื่องประดับแจ็กพอต มีผลใช้บังคับ ม.ค. 57- ธ.ค. 59 อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศยันสินค้าไทยคุณภาพสูง ไม่กระทบส่งออก เผยข่าวดี อียูลดระดับการสุ่มตรวจยาฆ่าแมลงในผัก

นาง ปราณี ศิริพันธ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555 สหภาพยุโรปได้ออกระเบียบ Commission Implementing Regulation (EU) No 1213/2012 เรื่องการระงับสิทธิ GSP เป็นรายหมวดสินค้าจากประเทศไทย 3 หมวดสินค้า ซึ่งครอบคลุมสินค้าต่าง ๆ อาทิ ของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ ปลา กุ้ง และสัตว์น้ำ น้ำตาล/ขนมที่ทำจากน้ำตาล โกโก้ ช็อกโกแลต ผลิตภัณฑ์ธัญพืช มอลต์ พาสต้า ขนมปัง ผัก ผลไม้ อาหารปรุงแต่ง ซอสและของปรุงแต่งสำหรับทำซอสครีม เครื่องดื่ม อาหารสัตว์ อัญมณีและเครื่องประดับ โดยการระงับสิทธิฯดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2557 ถึง 31 ธ.ค. 2559

"การตัดสิทธิ์ GSP ดังกล่าว ไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทย เนื่องจากมั่นใจว่าผู้บริโภคยังคงต้องการสินค้าคุณภาพสูงจากไทย และจะสามารถรักษาส่วนแบ่งการตลาดในสหภาพยุโรปได้ หลังจากนี้จะสนับสนุนให้ผู้ส่งออกปรับสายการผลิตสินค้าให้มีความหลากหลายและ พัฒนาคุณภาพสินค้า พร้อมทั้งเร่งนำผู้ส่งออกสินค้าสำคัญที่คาดว่าจะถูกตัดสิทธิฯไปลงทุนใน ประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น เพื่อลดต้นทุนการผลิตและใช้สิทธิ GSP ของประเทศเพื่อนบ้าน และให้เร่งไปเปิดตลาดใหม่เพื่อลดการพึ่งพาตลาดสหภาพยุโรป เช่น จีน เกาหลี กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง แอฟริกา และภายในกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นต้น"

อย่าง ไรก็ดี สินค้าสำคัญของไทยในหมวดอื่น ๆ ยังคงได้รับสิทธิ GSP อยู่ เช่น พลาสติก (พิกัดฯ 39) ยาง (พิกัดฯ 40) เครื่องนุ่งห่ม (พิกัดฯ 61 และ 62) รองเท้า (พิกัดฯ 64) และยานยนต์ (พิกัดฯ 87) ซึ่งจะทำให้สินค้าเหล่านี้มีความได้เปรียบในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง

พร้อม กันนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปมีมติเห็นชอบให้มีการลดระดับการสุ่มตรวจหาสารฆ่าแมลงตก ค้างในผักกลุ่มถั่วฝักยาว มะเขือม่วง และพืชตระกูลกะหล่ำ ที่นำเข้าจากไทย จากเดิมสุ่มตรวจสารพิษตกค้าง ที่ระดับร้อยละ 50 ให้ลดลงเหลือร้อยละ 20 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 56 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นการปรับปรุงระเบียบ Commission Regulation (EC) No 669/2009 ว่าด้วยการปฏิบัติตามระเบียบ Regulation (EC) No 882/2001 เพื่อที่จะเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้านำเข้าประเภทอาหารและอาหาร สัตว์ที่มีแหล่งกำเนิดจากพืช ที่มีผลบังคับใช้ 23 ม.ค. 53 เป็นต้นมา

ส่วน กลุ่มผักประเภทอื่นยังคงมาตรการตรวจสอบสินค้า อาทิ โหระพา และผักชี การสุ่มตรวจสารพิษตกค้าง ร้อยละ 20 พริกไทย สุ่มตรวจสารพิษตกค้าง ร้อยละ 10


 

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...