ที่มาของคำว่า เด็กเนิร์ด!

 

ภาพลักษณ์ของ ”เด็กเนิร์ด“  ในปัจจุบันที่เพื่อนๆรู้จักกันก็คงคิดว่า เป็นเด็กที่ไม่ชอบเข้าสังคม หมกมุ่นเรื่องเรียน ถือตำรา

เยอะๆ แว่นหนาๆ แต่งตัวเชยๆ กันใช่ไหมล่ะ  แต่ที่จริงแล้วเพื่อนๆเคยสงสัยกันบ้งารึเปล่า?ว่า คำที่วัยรุ่นชอบเรียกกันว่า “เด็ก

เนิร์ด” เนี่ย ความจริงแล้วที่มาที่ไปเป็นอย่างไร?

ที่มาของคำว่า เด็กเนิร์ด !

‘เนิร์ด’ (Nerd) เป็นคำเรียกสั้นๆที่ฮิตฮอตนี้ ที่จริงแล้ว นิยามของเนิร์ดมีมาตั้งแต่ยุค 40’ จากการที่ Rensselaer Polytechnic Institute สถาบันการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของอเมริกา แบ่งนิยามของนักศึกษาออกเป็นสองกลุ่ม คือ ‘Drunk’ กลุ่มที่ไม่ชอบเรียน ตกกลางคืนเอาแต่ปาร์ตี้ กินเหล้าเมาหัวราน้ำ (อันนี้รู้สึกว่าเด็กไทยเป็นกันเยอะนะ อิอิ ^^) ส่วนอีกกลุ่มตกเย็นกลับที่พัก ทำการบ้านอ่านหนังสือ เรียกว่า ’Knurd’(สะกดตัวอักษรกลับหลังจาก Drunk) ต่อมาก็ได้ตัด k และเปลี่ยนมาเป็น ‘Nerd’ ในปัจจุบัน หากสนใจเรื่องราวประมาณนี้ก็หาดูได้จากภาพยนตร์ปี 1984 เรื่อง Revenge of Nerds

และตามพจนานุกรมฉบับ Oxford Advanced Learners’ ได้แปลความหมายของคำว่า ‘เนิร์ด’ เอาไว้ 2 รูปแบบด้วยกัน ความหมายแรกเนิร์ดคือบุคคลที่แสนจะน่าเบื่อ งี่เง่า และเชยแหลก ความหมายต่อมาคือ บุคคลที่บ้าคลั่งในคอมพิวเตอร์อย่างรุนแรง  แต่ความหมายที่แท้จริงของคำว่า ‘เนิร์ด’ ในชีวิตประจำวันแล้ว มันคืออะไรที่กว้างกว่านั้น

เนิร์ด (Nerd) หมายถึง กลุ่มคนที่มีระดับสติปัญญาสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน พูดง่ายๆก็คือฉลาดกว่าคนทั่วๆไป และชอบในเรื่องที่ชาวบ้านเขาไม่สนใจกัน ส่วนมากก็จะเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ห้องเรียน หรือคอมพิวเตอร์ที่ได้จากหน้าจอสี่เหลี่ยม แม้กระทั่งภาษาไทย สังคม อังกฤษ ก็ยังสามารถจัดในหมวดหมู่ในชาวเนิร์ดได้  ซึ่งคำนี้จะใช้กันแพร่หลายที่สุดในอเมริกา ภาพลักษณ์ของพวกเขาก็คือ นึกภาพคนใส่แว่นหนาเตอะ ขลุกอยู่กับกองหนังสือทั้งวันนั้นแหละใช่เลย แต่ภาพลักษณ์ด้วยส่วนมากก็จะเป็นชายหนุ่มใส่แว่นหนากรอบดำ มีไม้โปรเทกเตอร์ติดกระเป๋า ใส่ชุดที่เป็นทางการมากเกินไป และบางครั้งภาพที่ออกมาก็เป็นคนที่ไม่รักษาความสะอาด และถ้าไม่ผอมก็อ้วนเกินไป เป็นคนเข้าสังคมไม่เก่ง ไม่สามารถสนทนาเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องเทคนิคกับคนอื่นๆได้

ที่มาของคำว่า เด็กเนิร์ด!  :  อัฉริยะที่เรียกว่าเนิร์ด

      รู้รึเปล่าว่า ? จริงๆ แล้วที่พวกเรามีเทคโนโลยี ให้ใช้ได้จนถึงทุกวันนี้ 90 เปอร์เซ็นต์ พวกเด็กเนิร์ดเป็นผู้คิดค้นขึ้นมา และเมื่อผู้ยิ่งใหญ่อย่าง บิลล์ เกตต์ , สตีฟ จ๊อบส์ อบรวมถึงการที่บรรดาเนิร์ดก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าของอาณาจักรธุรกิจไอทีระดับโลกแล้ว ดูเหมือนว่าจะไม่มีใครรู้สึกเคอะเขินกับการถูกเรียกว่า ‘เนิร์ด’ อีกต่อไป

     ที่มาของคำว่า เด็กเนิร์ด!  : เนิร์ดคือ แฟชั่นใหม่

       ตั้งแต่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษ 1990 มีเนิร์ดจำนวนมากบนโลกอินเตอร์เน็ต ซึ่งเอาคำนี้มาใช้ด้วยความภาคภูมิใจ และใช้ในความหมายที่เป็นแง่บวก เพื่ออธิบายถึงบุคคลที่มีความสามารถทางด้านเทคนิค โดยดั้งเดิมนั้น เนิร์ดใช้กับผู้ชายเท่านั้น แต่ตอนนี้ผู้หญิงก็เริ่มหันมาสนใจเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิชาอื่นๆ ที่ปกติมีแต่ผู้ชายสนใจ ดังนั้น เนิร์ดจึงใช้ได้ทั้งชายและหญิง

ตัวอย่างเด็กเนิร์ด เวลม่า ดิงเลย์ ในเรื่อง สกูปิดู, โคจิโร่ อิซึมิ และมิยาโกะ อิโนอุเอะ ในเรื่อง ดิจิมอน, เด็กซ์เตอร์ ในเรื่อง ห้องทดลองของเด็กซ์เตอร์, เดคิสุงิคุง ในโดราเอมอน, เอ็มม่า วัตสัน (เฮอร์ไมโอนี่) ในเรื่องแฮร์รี่พอตเตอร์, Tobey Maquire ในบท Peter Parker จาก Spider man

ปัจจุบันเนิร์ดกลายเป็นรสนิยมและกำลังกลายเป็นแฟชั่นสไตล์หนึ่ง โดยมีที่มาจากฝรั่ง ซึ่งถ้าเป็นผู้ชายจะมีลักษณ์ที่เห็นได้ชัดคือดัดฟัน แว่นหนาๆ เอาเสื้อเข้าในกางเกง ใส่รองเท้าเชยๆ และชอบโดนแกล้งอยู่เสมอๆ และถ้าเป็นเด็กผู้หญิงมักจะผูกผมเรียบร้อย ตัดหน้าม้า ใส่แว่น ดัดฟัน หน้าเป็นกระ ชอบทำตัวแปลกๆ เฉิ่มๆ และดูไม่มีอะไรน่าสนใจ

สำหรับเนิร์ดในเมืองไทยเวลานี้กำลังเป็นแฟชั่น เหมือนกับเมื่อก่อนที่มีเด็กแนว เด็กอินดี้ ซึ่งทุกคนพยายามที่จะแต่งตัว หรือสร้างอัตลักษณ์ให้โดดเด่น และแตกต่างกันออกไป การแต่งตัวแบบเด็กเนิร์ดจึงหาทางออกหนึ่ง มันเริ่มต้นมาจากการที่เด็กเนิร์ดสวมแว่นเปลี่ยนกรอบแว่นจากโลหะธรรมดาๆ เชยๆ มาใส่เป็นกรอบพลาสติกสีสันสดใส จนทำให้คนที่ไม่ได้สายตาสั้นเห็นแล้วอยากใส่แว่นบ้าง แว่นตาจึงเป็นแมททีเรียลที่เห็นแล้วให้ความรู้สึกชัดเจนถึงความเป็นเด็กเนิร์ดที่สุด เวลานี้เด็กสยาม หรือเด็กแนว ทั่วไปก็สามารถกลายเป็นเด็กเนิร์ดได้

เนิร์ดจึงกลายมาเป็นประเด็นที่วัยรุ่นนำมาล้อเลียนและประชดประชัน จนคำว่า เนิร์ด กลายเป็นคำพูดที่อยู่ในกระแสพอสมควร พูดกันเวลานี้แล้วทุกคนรู้จักแล้วเข้าใจ เรียกว่ามันเริ่มขยายวงกว้างมากขึ้น ติดท็อปแล้วเหมือนกัน แต่ถ้าหลังจากนี้ไปมีคนสนใจกันมากๆ อาจเป็นช่วงขาลง เพราะวัยรุ่นแทบทุกคนเวลานี้มองหาแต่สิ่งที่แตกต่าง   

 ที่มาของคำว่า เด็กเนิร์ด! :  เผ่าพันธุ์ชาวเนิร์ด

 นอกจากคำว่า ‘เนิร์ด’ แล้ว ยังมีศัพท์ที่ใกล้เคียงที่บ่งบอกลักษณะการใช้ชีวิตของเด็กเนิร์ดทั้งหลาย เช่น

กี๊ก (Geek) ซึ่งตอนนี้ก็ยังมีการถกเถียงกันอยู่ระหว่างคำนี้กับเนิร์ด เพราะทั้งสองคำมีความหมายใกล้เคียงกัน แต่สรุปแล้วกี๊กนั้นดูเป็นเฉพาะกลุ่มมากว่าเนิร์ด เพราะว่าเขาสนใจในสิ่งที่ตัวเองคลั่งไคล้ เช่น พวกบ้าเกม บ้าคอมพิวเตอร์ บ้าวิทยาศาสตร์ ไม่สนใจเรื่องแฟชั่น จึงออกแนวเชยๆ ไม่ทันสมัย

ดอร์ก (Dork) เด็กกลุ่มนี้ค่อนข้างแตกต่างกับสองกลุ่มข้างบน เพราะมีลักษณะที่ค่อนข้างชัดเจน เพราะดอร์กจะออกแนวเป็นคนที่ซุ่มซ่าม เป๋อ กะเปิ๊บกะป๊าบ ไปที่ไหนก็จะสร้างเสียงหัวเราะอยู่เสมอ ด้วยความเฉิ่มและตลกของพวกเขานี้เองเลยดูเป็นผู้ชายที่ไม่ห่วงลุค

นอกจากนี้ ฝรั่งจะมีเนิร์ดอีกจำพวกหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า ‘เทคโนเนิร์ด’ อารมณ์เนิร์ดแบบเด็กแนวหน่อยๆ เนิร์ดแบบฉลาดๆ และสุขุมมากกว่าเด็กเนิร์ดโดยทั่วไป เพราะส่วนใหญ่เนิร์ดในคำจำกัดความเก่าๆ จะเป็นผู้ที่สนใจแต่เรียน อ่านแต่หนังสือ และไม่เข้าสังคม แต่พวกเทคโนเนิร์ดจะเป็นพวกแสวงหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เป็นสิ่งที่น่าสนใจในช่วงเวลานั้นๆ จนรู้สึกว่าตนเองฉลาดล้ำ

เนิร์ดในญี่ปุ่น จะเรียกว่า “โอตาคุ”  มีลักษณะภายนอกคล้ายๆ กัน แต่โอตาคุจะหมกมุ่นกับ anime’ (หนังการ์ตูน) หรือ manga (การ์ตูนเล่ม) โอตาคุหลงใหลในเรื่องราวที่หลากหลายมากกว่า โอตาคุเป็นทั้งคำในแง่บวกและคำในแง่ลบขึ้นอยู่กับทัศนคติของคนที่ใช้และคนที่ถูกพาดพิงถึง

ที่มาของคำว่า เด็กเนิร์ด! : วิธีเช็คความเป็น เนิร์ด 

ใช้เหตุผลหรือความชอบของตนเองเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ ทำสิ่งต่างๆตามเป้าหมาย ไม่ใช่เพื่อ เงิน หรือการยอมรับของสังคม แต่เพื่อทำตามความชอบหรือความหลงใหลของตนเอง ลักษณะการใช้ชีวิตของเด็กเนิร์ด จึงแตกต่างจากคนอื่นที่ใช้ชีวิตตามกรอบของสังคม ฉลาดหลักแหลมกว่าคนธรรมดาอื่นๆ เป็นคนที่มุ่งทำตามความสนใจของตนเอง โดยส่วนใหญ่มักเป็นความชอบส่วนตัวในเฉพาะด้าน เป็นคนที่มีจินตนาการสูง เห็นว่าเรื่องที่ตนเองสนใจเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด โดยไม่สนใจการยอมรับจากสังคมส่วนใหญ่ มักชอบความแปลกใหม่ และของใหม่ๆ ดังนั้นพวกเขาจึงมีความคล่องในโลกของอินเตอร์เนตเป็นอย่างมาก และเป็นคนที่ทุ่มเทให้กับสิ่งที่สนใจ โดยไม่แคร์สังคม

โลกของเนิร์ดกับโลกของคนส่วนที่เหลือนั้น อาจแบ่งแยกกันได้อย่างสิ้นเชิงราวกับซ้ายกับขวา สมัยก่อนการเป็นเด็กเนิร์ดอาจจะอับอายและโดนล้อเลียน แต่ในยุคที่ เทคโนโลยี ก้าวล้ำไปมากวัฒนธรรมก็เปลี่ยนไป ใครๆ ก็หันมาพิงเด็กเนิร์ดทั้งนั้น ตั้งแต่ลอกการบ้าน จนถึงผลิตเทคโนโลยีใหม่ๆ เด็กเนิร์ดทั้งหลายจึงมีความภูมิใจในความเป็นเนิร์ด ไม่เช่นนั้นคงไม่กล้าเรียกตัวเองอย่างเต็มปากเช่นทุกวันนี้

11 ธ.ค. 55 เวลา 23:47 3,676 1 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...