ผลกระทบจากอารมณ์ทั้ง 7

 

Labels: Mentally , สุขภาพใจ , แพทย์แผนจีน , แพทย์แผนตะวันออก
การแพทย์แผนตะวันออกเชื่อว่า ร่างกายและจิตใจของคนเรา มืความสัมพันธ์กันอย่างแยกกันไม่ออก เวลาที่จิตใจ ของเรามีความเครียด ความโกรธ หรือ อารมณ์ในทางลบก็จะมีผลต่อร่างกายของเรา ความผิดปกติทางอารมณ์และจิตใจเป็นเหตุของการเจ็บป่วย โดยการแพทย์แผนตะวันออกให้ความสำคัญไปที่ความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ที่เป็นสาเหตุของโรคมี 7 อย่าง คือ โกรธ, ดีใจ, เศร้าโศกเสียใจ, ซึมเศร้าวิตกกังวล , ครุ่นคิด, หวาดกลัว และ ตกใจ 
อย่าพึ่งตกใจไปครับ อารมณ์ทั้ง 7 เหล่านี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของทุกคนอยู่แล้ว อารมณ์ที่เกิดขึ้นในระดับปกติ จะไม่ส่งผลกระทบอะไรต่อร่างกาย ของเรา แต่อารมณ์ที่ผิดปกติเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน รุนแรงและติดต่อกันเป็นเวลานาน จนร่างกายปรับตัวไม่ได้ จะส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือดลม จนขาดความสมดุล จึงจะทำให้เราเจ็บป่วยได้ เช่น อารมณ์ โกรธ หงุดหงิดง่าย ตลอดเวลา จึงจะเป็นผลร้ายต่อร่างกาย 

อารมณ์ทั้ง 7 ทีเกิดขึ้นจะส่งผลต่ออวัยวะภายในต่างๆกันไป คือ 

อารมณดีใจ - ส่งผลกระทบกับหัวใจ ทำให้เลือดและลมปราณหัวใจไหลเวียนช้าลง ช่วยผ่อนคลาย สบายใจ เลือดลมไหลเวียนดี 
* แต่ถ้าดีใจมากเกินไป เลือดและลมปราณจะกระจัดกระจาย ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย เกียจคร้าน ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับ 
* และถ้าอาการดังกล่าวเป็นมาก ก็จะเกิดภาวะใจสั่น กระวนกระวาย อาละวาด 

อารมณ์โกรธ - ส่งผลกระทบต่อตับ ทำให้เลือดและลมปราณ(ชี่)ปั่นป่วนแล่นขึ้นสูง เกิดอาการ เวียนศีรษะ หน้าแดง หูมีเสียง อาเจียนเป็นเลือด หมดสติ 
* ชี่ตับกระทบม้าม เกิดท้องอืด ท้องเดิน 
* ชี่ตับกระทบกระเพาะอาหาร เกิดคลื่นไส้ อาเจียน 
* ชี่ตับกระทบไต ทำให้รู้สึกหวาดกลัว ความจำเสื่อม ปวดเมื่อย อ่อนแรงที่เอว 

อารมณ์เศร้าโศกเสียใจ - ส่งผลกระทบต่อชี่ของปอด ทำให้ชี่แล่นลงต่ำ ส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ 
* ชี่ของปอดถูกบั่นทอน ชี่ปอดพร่องจะทำให้แน่นหน้าอก หายใจขัด เชื่อมซึม ไม่มีแรง 
* กระทบต่อชี่หัวใจ เกิดอาการใจสั่น ใจลอย 
* กระทบต่อชี่ม้าม ชี่ในจงเจียวติดขัด จะทำให้อาหารไม่ย่อย ท้องอืด แขนขาอ่อนแรง 

อารมณ์ครุ่นคิด - ส่งผลกระทบต่อชี่ของม้าม 
* ชี่ม้ามติดขัด จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของม้าม และกระเพาะอาหาร ทำให้เบื่ออาหาร ท้องอืด ท้องเดิน 
* ม้ามทำหน้าที่ลำเลียงชี่และเลือดไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อ เมื่อเกิดการติดขัด กล้ามเนื้อจะลีบเล็กลง 
* ถ้าครุ่นคิดมาก ทำให้เลือดของหัวใจถูกใช้ไปโดยไม่รู้ตัว ทำให้เลือดหัวใจพร่อง มีอาการใจสั่น นอนไม่หลับ ฝัน ความจำเสื่อม ขี้หลงขี้ลืม 

อารมณ์ซึมเศร้าวิตกกังวล - ส่งผลกระทบปอด 
* หากวิตกกังวลมากเกินไป ชี่ปอดจะติดขัด เกิดอาการหายใจเบา พูดเสียงต่ำ แน่นหน้าอก แล้วยังมีผลกระทบชี่หัวใจ รวมทั้งตับและม้ามได้ 

อารมณ์หวาดกลัว - ส่งผลกระทบต่อไต 
* ทำให้ชี่ไตตก ไม่มีแรงดูดรั้ง ทำให้ผู้นั้นกลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่ได้ ฝันเปียก แขนขาไม่มีแรง ปวดเอว 
* ทำให้ไตไม่สามารถส่งสารจำเป็นและชี่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจและปอด เรียกว่า ไฟกับน้ำไม่ปรองดองกัน จะเกิดอาการแน่นหน้าอกและท้องหงุดหงิด นอนไม่หลับ 

อารมณ์ตกใจ - ทำให้ชี่หัวใจสับสน 
* ชี่และเลือดไม่สมดุล ทำให้เกิดอาการใจสั่น กระวนกระวาย นอนไม่หลับ หายใจขัด 
* ถ้าเป็นมาก จะมีอาการของโรคจิตประสาท 

ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า อารมณ์มีผลต่อการเกิดโรค ถ้าอารมณ์ทั้งเจ็ดเกิดขึ้นอย่างฉับพลันรุนแรงหรือติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ย่อมส่งผลต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ถ้าเราไม่อยากป่วยก็ควรมี สติ รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง อยู่เสมอ 
 
 
Credit : ข้อมูลบางส่วนจาก หนังสือจีนบำบัด

 

 

ที่มา: http://www.fwdder.com/topic/372703
11 ธ.ค. 55 เวลา 23:47 2,171 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...