เรืองไกร อ้างแนวฎีกา ฟัน"อภิสิทธิ์" สิ้นสุด สถานะส.ส. ยื่นกกต. ส่งศาลรธน.วินิจฉัย

 

มติชนออนไลน์ รายงานว่า วันที่ ๑๒ พ.ย. นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตส.ว. จะยื่นเรื่อง  ขอให้ส่งเรื่องสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่มี เหตุสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๖ (๕) ประกอบมาตรา ๑๐๒ (๖) จากกรณีถูก ปลดออกจากราชการตามคำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ ๑๑๖๓/๒๕๕๕  ไปยังประธานสภา ผู้แทนราษฎร ตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๑ วรรคสาม  ต่อ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง

 

 

 
 

 

 

          

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ระบุว่า ต้องการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนุญ มาตรา ๖๒ ร้องขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๑ วรรคสาม ด้วยการส่งเรื่องให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่า  สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๖ (๕) ประกอบมาตรา ๑๐๒ (๖) จากกรณีถูกปลดออกจากราชการตามคำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ ๑๑๖๓/๒๕๕๕  หรือไม่  ดังต่อไปนี้

 

            

 

ข้อ ๑. ตามสำเนาคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ ๑๑๖๓/๒๕๕๕  เรื่อง ให้นายทหารสัญญาบัตรออกจากราชการ สั่ง ณ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ โดย พล.อ.อ. สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑.)  มีเนื้อหาใจความ ดังนี้

 

            

 

 “โดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่า เมื่อวันที่ ๒ มิ.ย. ๓๑ ว่าที่ ร.ต. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  รรก.อจ. ส่วนการศึกษา รร.จปร. ได้ใช้เอกสารใบสำคัญ สด.๙ แทนฉบับที่ชำรุดสูญหาย ลง ๘ เม.ย. ๓๑ อันมีข้อความสาระสำคัญเป็นเท็จ (ถือว่าเป็นเอกสารเท็จ) ไปประกอบการขึ้นทะเบียนกองประจำการ ณ จว.นย. จนทำให้เจ้าหน้าที่สัสดีผิดหลง ออกใบสำคัญ สด.๓ ลง ๒ มิ.ย. ๓๑ ขึ้นทะเบียนกองประจำการ ว่าที่ ร.ต. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หมายเลขทะเบียน ท.บ. ๒๕๓๑ ก.ท. ๑๐๘๐๓ การกระทำดังกล่าวของว่าที่ ร.ต. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นการกระทำไม่สุจริตเพื่อประโยชน์แห่งตน เป็นการทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการ ผิดวินัยทหารอย่างร้ายแรง ไม่สมควรให้อยู่ในราชการต่อไป นับแต่วันกระทำผิด และคณะกรรมการของ กห.ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า มีเหตุอันสมควรให้ลงโทษเนื่องจากกระทำผิดทางวินัย ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๖ โดยปลดออกจากราชการ เพื่อมิให้เสียหายหรือเสื่อมเสียต่องานราชการหรือต่อสถาบัน รร.จปร. ต่อไป  รมว.กห.ได้พิจารณาและได้ใช้ดุลพินิจแล้วเห็น ชอบตามการพิจารณาและข้อเสนอของคณะกรรมการ ฯ ตามคำสั่งที่ ๔๔๔/๕๕ ลง ๘ ต.ค. ๕๕

 

            

 

อาศัยอำนาจตามข้อบังคับ กห.ว่าด้วยการบรรจุ ปลด ย้าย เลื่อนและลดตำแหน่งข้าราชการกลาโหม พ.ศ. ๒๕๐๒ หมวด ๑ ข้อ ๔ (๒) กับข้อบังคับทหารที ๑๑/๑๖๕๓๖ ลง ๑๔ พ.ย. ๘๒ ว่าด้วยการแบ่งแยกประเภทนายทหารสัญญาบัตร มาตรา ๔ ข้อ ๒ และข้อ ๑๒

 

            

 

ฉะนั้น จึงให้ปลด ร.ต.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หมายเลขประจำตัว ๑๓๑๓๓๑๐๘๐๓ (เหล่า สบ.) รรก. อจ.ส่วนการศึกษา รร.จปร.  ออกจากราชการ เป็น นายทหารกองหนุน รับเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ สังกัด บก.จทบ.ก.ท.

 

ทั้งนี้ ตั้งแต่ ๒ มิ.ย. ๓๑ เป็นต้นไป”

 

            

 

ข้อ ๒. จากคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ ๑๑๖๓/๒๕๕๕  ดังกล่าว เห็นได้ชัดว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลายเป็นผู้เคยถูกปลดออกจากราชการ ตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๖ (๕) ประกอบมาตรา ๑๐๒ (๖) แล้ว โดยคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ ๑๑๖๓/๒๕๕๕  เรื่อง ให้นายทหารสัญญาบัตรออกจากราชการ  มีผลตั้งแต่วันที่ ๒ มิ.ย. ๓๑  จึงเป็นกรณีที่เข้ากับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๑ วรรคสาม ซึ่งบัญญัติว่า

 

             

 

“ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาคนใดคนหนึ่งมีเหตุสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่งให้ส่งเรื่องไปยังประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก และให้ประธานแห่งสภานั้นส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง”

 

              

 

ข้อ ๓. การที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตั้งประเด็น ว่า “รายละเอียดที่รมว.กลาโหม เซ็นไปผมมั่นใจว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเนื้อหา สาระ กระบวนการซึ่งเป็นที่มาของคำสั่งฉบับนี้ ผมจึงมอบให้ฝ่ายกฎหมายร่างการโต้แย้ง ส่งให้ศาลปกครองได้วินิจฉัย เพราะเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย”  

 

            

 

แต่เนื่องจากคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ ๑๑๖๓/๒๕๕๕  เรื่อง ให้นายทหารสัญญาบัตรออกจากราชการ ดังกล่าวเป็นการดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคสอง (๑) ซึ่งบัญญัติว่า “เรื่องดังต่อไปนี้ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร”

 

            

 

ดังนั้น การที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชวะ ได้มอบให้ฝ่ายกฎหมาย(หมายถึงฝ่ายกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์) ร่างการโต้แย้ง ส่งให้ศาลปกครองได้วินิจฉัยนั้น ศาลปกครองย่อมไม่มีอำนาจที่จะรับไว้พิจารณา 

 

            

 

ทั้งนี้ ตามคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๘/๒๕๔๙ ของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๔๙ (สิ่งที่ส่งมาด้วย ๓.) ซึ่งมีคำวินิจฉัยไว้ว่า

 

             

 

“คณะกรรมการพิจารณาแล้ว คดีนี้ โจทก์เป็นอดีตข้าราชการทหารยื่นฟ้องกระทรวงกลาโหม ที่ ๑ กองทัพเรือ ที่ ๒ จำเลย ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องคำให้การสรุปได้ว่า ขณะโจทก์รับราชการที่กรมช่างโยธาทหารเรือซึ่งเป็นส่วนราชการสังกัดจำเลยที่ ๒ ได้รับคำสั่งจากจำเลยที่ ๑ ให้ไปปฏิบัติงานที่คณะกรรมาธิการทหารสภาผู้แทนราษฎรเป็นเวลา ๑ ปี นับแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๕ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๖เมื่อครบกำหนดประธานคณะกรรมาธิการทหารขอให้ช่วยปฏิบัติงานต่อและแจ้งว่าปลัดกระทรวงกลาโหมจะทำหนังสือแจ้งจำเลยที่ ๒ ว่าอนุญาตให้โจทก์อยู่ปฏิบัติราชการชั่วคราวที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมจนถึงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖

 

 โจทก์กลับไปรายงานตัวในวันที่ ๑ ตุลาคม๒๕๔๖ แต่ถูกจำเลยที่ ๒ ตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและพิจารณาลงทัณฑ์ กรณีกระทำความผิดฐานหนีราชการทหารในเวลาประจำการเกินกว่า ๑๕ วัน และจำเลยที่ ๑ มีคำสั่งให้ปลดโจทก์ออกจากราชการทหารพร้อมกับถอดยศโจทก์ตามที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเสนอ

 

 

 โจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบเพราะโจทก์มิได้เจตนาหนีราชการทหาร อันเป็นองค์ประกอบความผิดที่สำคัญตามประมวลกฎหมายอาญาทหารมาตรา ๔๕ รายงานผลการสอบสวนข้อเท็จจริงก็ไม่ได้สอบปากคำของบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย คำสั่งปลดออกจากราชการและถอดยศอาศัยตามมติสภากลาโหมครั้งที่ ๓/๐๗ ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๐๗ และระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยผู้ไม่สมควรดำรงอยู่ในยศทหารและบรรดาศักดิ์ พ.ศ. ๒๕๐๗ ข้อ ๒ นั้นมิใช่คำสั่ง กฎ หรือข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่๑ เพิกถอนคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการและประกาศถอดยศ และให้จำเลยทั้งสองบรรจุโจทก์กลับเข้ารับราชการทหารตามเดิม จำเลยทั้งสองให้การว่า เมื่อจำเลยที่ ๒ มีคำสั่งงดให้โจทก์ไปช่วยราชการและให้กลับเข้ารับราชการในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๖ แต่โจทก์มิได้รายงานตัวกลับเข้ารับราชการนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดช่วยปฏิบัติราชการเกินกว่า ๑๕ วัน จึงเป็นความผิดฐานหนีราชการทหารตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา ๔๕ จำเลยที่ ๒ จึงตั้งคณะกรรมการสอบสวนซึ่งมีมติว่า

 

 

การกระทำของโจทก์เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยชอบด้วยกฎหมาย หนีราชการในเวลาประจำการและขาดราชการทหารหรือละทิ้งหน้าที่ จำเลยที่ ๑ จึงมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการและถอดยศ โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๐๓ และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. ๒๕๒๑ การดำเนินการของจำเลยทั้งสองชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง

 

            

 คดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งของจำเลยที่ ๑ ที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการพร้อมกับดำเนินการถอดยศของโจทก์นั้น เป็นการดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหารหรือไม่เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๖ มาตรา ๔ บัญญัติว่า“วินัยทหาร คือการที่ทหารต้องประพฤติตามแบบธรรมเนียมของทหาร” และมาตรา ๗ บัญญัติว่า“ทหารผู้ใดกระทำผิดต่อวินัยทหาร จักต้องรับทัณฑ์ตามวิธีที่ปรากฏในหมวด ๓ แห่งพระราชบัญญัตินี้ และอาจต้องถูกปลดจากประจำการหรือถูกถอดจากยศทหาร”

 

 

ดังนั้น การที่จำเลยที่ ๒ มีคำสั่งงดให้โจทก์ไปช่วยราชการและ ให้กลับเข้ารับราชการในวันที่ ๑ กรกฎาคม๒๕๔๖ แต่โจทก์มิได้รายงานตัวกลับเข้ารับราชการนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดช่วยปฏิบัติราชการเกินกว่า ๑๕ วัน กรณีจึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และหนีราชการทหารหรือละทิ้งหน้าที่อันเป็นการไม่ประพฤติตามแบบธรรมเนียมของทหารและถือเป็นความผิดต่อวินัยทหาร ต้องรับทัณฑ์อาจต้องถูกปลดจากประจำการหรือถูกถอดจาก ยศทหาร เมื่อจำเลยที่ ๒ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและพิจารณาลงทัณฑ์โจทก์กรณีกระทำความผิดฐานหนีราชการทหารในเวลาประจำการ และจำเลยที่ ๑ มีคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่๗๘๙/๒๕๔๖ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๖ ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการเนื่องจากกระทำผิดฐานหนีราชการทหารในเวลาประจำการ กรณีจึงเป็นการดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร ซึ่งศาลปกครองไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ตามมาตรา ๙ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมตามมาตรา ๒๗๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

 

             

 

จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง นายป. โจทก์ กระทรวงกลาโหมที่ ๑ กองทัพเรือ ที่ ๒ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม”

 

            

 

ข้อ ๔. สาระสำคัญในคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ ๑๑๖๓/๒๕๕๕  ทั้งในประเด็นข้อเท็จจริงและประเด็นข้อกฎหมาย ทำให้เชื่อได้ว่า คำสั่งดังกล่าวมีความชัดเจนว่า เป็นคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย ที่ชอบแล้ว จึงมีผลบังคับโดยสมบูรณ์ ที่ตีความต่อได้ว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นผู้เคยถูกปลดออกจากราชการเพราะการทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการ ตั้งแต่วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๓๑  อันจะทำให้เป็นประเด็นพิจารณาตามมาว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีเหตุสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๖ (๕) ประกอบมาตรา ๑๐๒ (๖)   หรือไม่ ซึ่งเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ตามคำร้องของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบ (รัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๑ วรรคหนึ่ง) หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่า มีกรณีดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๖ (๕) ประกอบมาตรา ๑๐๒ (๖)   เกิดขึ้นจากผลของคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ ๑๑๖๓/๒๕๕๕  แล้ว  คณะกรรมการการเลือกตั้งก็ต้องทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๑ วรรคสาม ต่อไป            

 

            

 

 

ดังนั้น คำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ ๑๑๖๓/๒๕๕๕  เรื่อง ให้นายทหารสัญญาบัตรออกจากราชการ สั่ง ณ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ โดย พล.อ.อ. สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จึงถือว่ามีผลทางกฎหมายอย่างเป็นทางการแล้ว และมีข้อเท็จจริงที่ปรากฏชัดอยู่ในคำสั่งดังกล่าว  ซึ่งได้ส่งสำเนามาให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อให้เห็นว่า มีกรณีที่สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีเหตุสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๖ (๕) ประกอบมาตรา ๑๐๒ (๖) เกิดขึ้นแล้ว และคณะกรรมการการเลือกตั้งมีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๑ วรรคสาม ที่จะต้องส่งเรื่องไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามมาตรา ๙๑ วรรคหนึ่งและวรรคสองต่อไป

 

            

 

ข้อ ๕. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๒๑๑/๒๕๔๓ (สิ่งที่ส่งมาด้วย ๔.) สามารถนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินการของคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ โดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า

 

            

 

 

 "ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๒๙ บัญญัติว่า "บุคคลซึ่งจะมีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งหรือจะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ" และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๑๐๙ บัญญัติว่า"บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือ

 

            

 (๑) ...

 

            

(๖) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ" ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าขณะที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ผู้ร้องได้ถูกลงโทษไล่ออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ แม้ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจอันเป็นเหตุให้คำสั่งลงโทษยังไม่ถึงที่สุดก็ตาม แต่เมื่ออุทธรณ์ของผู้ร้องยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ และคณะกรรมการชุดดังกล่าวยังมิได้มีมติเปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษทางวินัยแก่ผู้ร้องก็ต้องถือว่าคำสั่งจังหวัดสตูลที่ลงโทษไล่ผู้ร้องออกจากราชการยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ร้องจึงได้ชื่อว่าเป็นบุคคลผู้เคยถูกไล่ออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ และเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๑๐๙ (๖) การที่ผู้คัดค้านไม่ประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งนั้นชอบแล้ว"

 

            

จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง

 

   ( กำพล ภู่สุดแสวง - สกนธ์ กฤติยาวงศ์ - อภิชาต สุขัคคานนท์ )

 

            

 

 

 จากแนวทางในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๒๑๑/๒๕๔๓ ที่มีนายอภิชาต สุขัคคานนท์เป็นองค์คณะอยู่ด้วย นั้น กรณีที่กระทรวงกลาโหมมีคำสั่งปลด ร.ต. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกจากราชการ ก็ต้องถือว่าคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ ๑๑๖๓/๒๕๕๕  ที่เป็นการลงโทษทางวินัยทหาร โดยการสั่งปลด ร.ต. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกจากราชการจึงยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนี้  ดังนั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ จึงได้ชื่อว่าเป็นบุคคลผู้เคยถูกไล่ออกจากราชการเพราะทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการ และเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มาตรา ๑๐๒ (๖) และมีผลทำให้สมาชิกภาพของส

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...