กระทิงป่า-ดอด ผสม"วัว" พิสูจน์-ลูกตัวล่ำสัน

ปศุสัตว์บุกตรวจถึงไร่ ขนสีแดงสูงท่วมหัวคน นักวิชาการรับเป็นไปได้ เคยทดลองกันมาแล้ว รูปร่างเปรียวคล้ายพ่อ

กระทิงดอดจากป่าผสมวัวบ้าน ทิ้งผลงานไว้ 3 ตัว สัตวแพทย์-นักวิชา การบุกสามร้อยยอดตรวจลูกพบตัวสีแดง-สูงท่วมหัว นักวิชาการเผยผสมพันธุ์กันได้จริง กรมวิชาการ-ปศุสัตว์เคยทดลองแล้ว โอกาสตั้งท้องร้อยละ 30 ลูกตัวเมียจะคล้ายแม่วัว ลูกตัวผู้รูปร่างคล้ายพ่อกระทิงแต่เป็นหมัน ชี้น่าเป็นห่วงสัตว์ป่าออกมาผสมพันธุ์กับสัตว์บ้าน จะทำให้เกิดโรคติดต่อลามไปติดสัตว์ป่ายกฝูง ติดเชื้อได้ทั้งฝูง 



เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 9 ต.ค. นายพงษ์พันธุ์ วิเชียรสมุทร นายอำเภอกุยบุรี พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์ (น.สพ.) สาโรช จันทร์ลาด นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาสุขภาพสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายบุญลือ พูลนิล รองประธานมูลนิธิช้างป่าบ้านพ่อ นายชยพล ศรศิลป์ ผจก.ฝ่ายประสานงาน บริษัท สยาม ไวเนอรี่ เทรดดิ้งพลัส จำกัด เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี และเจ้าหน้าที่องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ประเทศไทย เดินทางเข้าตรวจสอบฝูงวัวของชาวบ้าน ม.6 ต ไร่ใหม่ อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบ คีรีขันธ์ ว่า วัวที่เลี้ยงไว้ถูกกระทิงป่าออกมาผสมพันธุ์ทำให้ลูกคล้ายกระทิง 3 ตัว 



โดยนายสมชาย แซ่ลิ้ม เจ้าของวัว ยืนยันว่า ฝูงวัวกระทิงป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติป่ากุยบุรี ได้ออกมาผสมพันธุ์กับวัวที่ตนเลี้ยงไว้ และออกลูกออกมาแล้วถึง 3 ตัว จากการตรวจสอบพบว่า วัวบางตัวมีสีแดงเข้ม คล้ายสีของวัวกระทิงป่า ลักษณะปราดเปรียวและตื่นคน ไม่สามารถเข้าไปใกล้ได้ 



น.สพ.สาโรชกล่าวภายหลังการตรวจสอบว่า ในอดีตกรมวิชาการร่วมกับกรมปศุสัตว์เคยร่วมกันผลิตน้ำเชื้อของกระทิงไปผสมวัวบ้านสามารถตั้งท้องได้ 30 เปอร์เซ็นต์ ได้ลูกผสมออกมาลักษณะกายภาพตัวผู้ค่อนข้างจะไปทางวัวกระทิง มีโครงสร้างใหญ่แต่ตัวเมียจะมีร่างเล็กคล้ายวัวบ้าน พอเจริญพันธุ์ตัวผู้กลับไม่มีน้ำเชื้อ แต่ตัวเมียสามารถผสมพันธุ์ได้ อีกทั้งสัญชาตญาณมีความดุร้ายที่ติดมากับสัตว์ป่าไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยง อีกทั้งเป็นห่วงหากให้สัตว์ป่าออกมาผสมกับสัตว์บ้าน จะเกิดโรคติดไปกับสัตว์ป่า เช่น โรคแท้ง และโรคปากเท้าเปื่อย จะนำไปติดเชื้อได้ทั้งฝูง 



น.สพ.สาโรชกล่าวอีกว่า อีกทั้งหากกระทิงเข้ามาหาวัวบ้านหากเจอกับคนอาจเกิดอันตรายขึ้นได้และหากเกิดการแย่งชิงกับพ่อวัวบ้าน พ่อวัวบ้านอาจตายได้ ซึ่งเมื่อกระทิงเข้ามาในหมู่บ้าน ก็จะมีเสือ มีช้าง มีสัตว์ใหญ่ตามมา ก็จะยิ่งเป็นอันตราย จึงไม่เหมาะสม



น.สพ.สาโรชกล่าวด้วยว่า จากการที่ได้เข้าสังเกตดูลูกวัวที่เกษตรกรแจ้งว่าอาจเป็นลูกของกระทิงนั้น พบว่าโครงสร้างทางกายภาพไม่น่าจะเป็นลูกผสมวัวกระทิงหรือวัวแดง เช่น กะโหลก ไหล่ และลำตัว ไม่ใช่ อย่างไรก็ดีหากจะพิสูจน์กันทางด้านวิทยาศาสตร์จะต้องเก็บตัวอย่างเลือดไปตรวจโครโมโซม เพราะวัวบ้านมี 30 คู่เท่ากับ 60 แท่ง กระทิง 28 คู่ หรือ 56 แท่ง ถ้าเป็นลูกผสมอาจอยู่ที่ 58-59 แท่ง 



นายพงษ์พันธุ์กล่าวว่า จากการเดินทางมาตรวจสอบจึงเป็นเรื่องน่าห่วงว่าสัตว์ป่าของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี เช่น ช้าง กระทิง วัวแดง ได้ออกมาหากินถึงอ.สามร้อยยอด เมื่อมาผสมวัวบ้านอาจเกิดโรคภัยต่างๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ และการออกมาของสัตว์ป่าอาจจะเกิดผลกระทบระหว่างชาวบ้านกับสัตว์ป่าได้ จึงต้องหาวิธีควบคุมดูแล คุ้มครอง อนุรักษ์สัตว์ป่าที่แพร่กระจายออกมาให้มากขึ้น โดยจะขอสนับสนุนกำลังจากกรมทหารพรานที่ 14 ตำรวจตระเวนชายแดน ร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ และฝ่ายปกครอง ออกลาดตระเวนให้มากขึ้น หากพบสัตว์ป่าออกมาให้มีการผลักดันกลับ แต่หากพบสัตว์เลี้ยงของชาวบ้าน ต้องขอร้องอย่านำไปเลี้ยงในป่า เพราะจะทำให้เกิดผลกระทบหลายอย่างตามมา 



ด้านนายธีรภัทร ประยูรสิทธิ์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่จะผสมพันธุ์กัน เพราะอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ปกติตามหลักการและธรรมชาติ วัวกระทิงกับวัวบ้านมักจะไม่ค่อยผสมข้ามสายพันธุ์กัน แต่วัวกระทิงอาจออกมาหากินติดแนวเขตที่เลี้ยงวัวบ้าน จนเกิดผสมพันธุ์กัน จากการที่เคยมีคนทดลองพบว่า ลูกที่ออกมาส่วนใหญ่จะเป็นหมัน ไม่สามารถขยายพันธุ์ต่อได้ แต่ถ้ามีตัวที่สามารถขยายพันธุ์ต่อได้หลุดเข้าไปในป่า ก็จะมีผลต่อพันธุกรรมแท้ของวัวกระทิง เจ้าของจึงควรเก็บรักษาลูกวัวไว้ให้ได้ ควรเลี้ยงในระบบปิด อย่าให้แพร่เข้าไปในป่า เพราะจะส่งผลให้สายพันธุ์แท้ของวัวกระทิงสูญพันธุ์ได้



นายธีรภัทรกล่าวว่า โดยลักษณะของลูกวัวที่ออกมาจะเด่นชัดไปทางวัวกระทิงมากกว่า ตอนเด็กจะเป็นขนสีแดง แต่พอโตจะเป็นสีดำ มีความแข็งแรง และตัวใหญ่กว่าวัวบ้าน ส่วนลักษณะนิสัยก็ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู หากเลี้ยงอยู่กับวัวบ้านและมีความใกล้ชิดกันจะไม่ดุร้าย ถ้าเลี้ยงแบบปล่อยให้หากินเอง อาจจะไม่ค่อยเชื่อง สำหรับโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากการผสมพันธุ์ข้ามชนิดนั้น ตนไม่ทราบว่ามีการศึกษาเรื่องนี้หรือไม่ แต่ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับว่า วัวกระทิงที่มาผสมนั้นมีความแข็งแรงหรืออ่อนแอ ลูกที่ออกมาก็จะมีพันธุกรรมใกล้เคียงกัน 



ด้านน.สพ.วันชัย ตันวัฒนะ ผอ.ศูนย์คชอาณาจักร องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า การผสมข้ามสายพันธุ์สามารถเป็นไปได้ ถึงแม้จะเป็นคนละชนิดกัน แต่มีโครโมโซมที่ใกล้เคียงกัน เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว ตนเคยทำโครงการศึกษาวิจัยเพื่อการอนุรักษ์วัวกระทิงป่าของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว โดยการนำมาผสมกับวัวบ้านพันธุ์พื้นเมือง ผลปรากฏว่าลูกที่ออกมาก็เติบโตดี รูปร่างใหญ่กว่าวัวบ้าน และมีความปราดเปรียวกว่า ลักษณะนิสัยจะคล้ายกับวัวกระทิง ซึ่งไม่คุ้นกับคนและจะระมัดระวังตัว แต่ไม่ดุร้าย หากเลี้ยงล้อมคอกกับวัวบ้าน ก็สามารถกระโดดเตลิดออกไปได้



น.สพ.วันชัยกล่าวว่า จากการศึกษาทั่วไปพบว่า การผสมข้ามสายพ
10 ต.ค. 55 เวลา 11:31 12,945 3 70
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...