เบื้องหลังของหูฉลาม

เบื้องหลังของหูฉลาม   สัตว์ที่ได้ฉายานามว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่ใต้ทะเล – ปลาฉลาม คงไม่นึกไม่ถึงว่า ครีบของตัวเองจะนำพาภัยพิบัติสู่ตน

ครีบปลาฉลาม หรือที่คนเรารู้จักและนิยมกันดีในนามหูฉลาม ที่ตั้งอยู่บนโต๊ะอาหาร ซึ่งครีบที่ว่ารวมด้วยครีบหลัง สองข้างตัว และครีบหางปลา เป็นต้น


ชาวประมงนำปลาฉลามที่พึ่งจับมาย้ายจากเรือประมงมาที่ชายหาด และตัดครีบของมัน ขายให้ลูกค้าในทันที

อันที่จริงแล้วหูฉลามไม่ได้มีรสชาดอะไรเลย หูฉลามที่เรากินกันอยู่ประจำ ที่มีรสชาดเลิศลิ้น นั้นล้วนมาจากเครื่องปรุงที่เสริมเข้าไป จากการวิจัย ครีบปลาฉลามเหล่านี้ไม่ได้มีคุณค่าทางสารอาหารมากไปกว่าอาหารอื่นๆ เลย อาจจะน้อยกว่าแบรนด์ซุปไก่หนึ่งกระปุกด้วยซ้ำ (ถึงกระนั้นก็ไม่ควรกินเช่นกัน) แถมยังจืดชืด แต่สิ่งที่ดึงดูดความสนใจ ไม่พ้นไปจากจำนวนที่มีน้อย และราคาอันสูงของหูฉลาม เป็นอาหารที่หาได้ยาก และยังเป็นตราประทับของความสูงส่งในยศถาบรรดาศักดิ์

เนื่องจากหูฉลามนั้นมีราคาสูง การตลาดก็กว้างใหญ่ การล่าปลาฉลามยิ่งหนักขึ้นทุกวันๆ ปลาฉลามถูกฆ่าจำนวนมาก ทำให้จำนวนปลาฉลามทั้งโลกนั้นลดฮวบลงอย่างรวดเร็ว บวกกับการแพร่พันธุ์ของปลาฉลามนั้นไม่มากเท่าไหร่นัก กว่าปลาฉลามจะโตถึงวัยผสมพันธุ์ ต้องใช้เวลา 10-15 ปี ส่วนใหญ่ก็จะผสมพันธุ์วางไข่กันหนึ่งครั้งต่อสองปี ด้วยเหตุนี้เอง ปลาฉลามจึงต้องเผชิญกับปัญหาสูญพันธุ์ที่กำลังคืบคลานเข้ามา

องค์การอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งโลกได้ทำการคาดประมาณเอาไว้ในปีหนึ่งว่า การค้าขายปลาฉลามทั่วโลกนั้นมีมากถึง 1 แสนตัน ทุกๆ ปีปลาฉลามที่ต้องถูกฆ่ามีมากถึง 38-70 ล้านตัว !

ปลาฉลามนั้นเป็นสิ่งสำคัญในวงจรปิรามิดในทะเล การลดจำนวนของปลาฉลามจะนำมาซึ่งปัญหาคุกคามของระบบความสัมพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต (ecosystem) ในทะเล เป็นเหตุให้ปลาฉลามต้องสูญพันธุ์ และยังก่อปัญหาต่างๆ ต่อ ecosystem ของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกด้วย ยกสัตว์บกเป็นตัวอย่าง สิงโตที่ต้องล่าสัตว์กินพืชมาเป็นอาหาร ถึงแม้จะดูโหดร้าย แต่มันก็เป็นการกำจัดสัตว์ที่มีสายพันธุ์(gene) ที่ไม่ดีออกไป กวาดล้างสัตว์ที่อ่อนแอ มีโรค ให้ตัวที่มีกำลังกายแข็งแรง มี gene ที่ดีๆ ดำรงชีวิตสืบทอดต่อไป เช่นกัน ปลาฉลามนั้นก็มีบทบาทเดียวกัน

ถ้าดูจากมุมมองของชีววิทยา ปลาฉลามนับเป็นสิ่งมีชีวิตที่น่าพิสมัยยิ่งนัก ประเด็นแรก ปลาฉลามนั้นกำเนิดมาก่อนไดโนเสาเสียอีก คาดประมาณว่าได้มีปลาฉลามอยู่แล้วเมื่อ 250 ล้านปีก่อน สิ่งมีชีวิตชนิดนี้มีลักษณะเฉพาะหลายอย่าง มีประสาทการฟังและการดมกลิ่นที่เฉียบแหลมมาก ปลาฉลามหลายสายพันธุ์สามารถได้ยินเสียงปลาที่ว่ายน้ำอยู่ไกลถึง 2 กิโลเมตรออกไป และยังสามารถดมกลิ่นคาวเลือดอ่อนๆ ที่อยู่ไกลตัวได้อีกด้วย


ชาวประมงใช้มีดกรีดครีบปลาฉลาม
เมื่อถูกตัดครีบออกแล้ว ซากศพปลาฉลามก็ถูกวางไว้ด้วยกัน เพื่อรอจำหน่าย
ถึงแม้สายตาของปลาฉลามจะอ่อน แต่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ในน้ำทะเลที่มืดมิดได้ จำนวนสายพันธุ์ปลาฉลามที่พอรู้กัน ก็มีมากถึง 350 พันธุ์ แถมยังมีสติปัญญาเป็นเลิศอีกด้วย



ชาวประมงนำปลาฉลามย้ายขึ้นรถเพื่อทำการบรรทุกออกไป
ชาวประมงวัดความยาวของหูฉลาม
ชาวประมงคนหนึ่งที่กำลังนั่งรอคนมาซื้อหูฉลาม

ปลาฉลามหลั่งโลหิต ตายอย่างทรมาน ...

ชาวประมงเมื่อจับปลาฉลามมาได้แล้ว ก็จะกรีดสมบัติของมัน – ครีบบนลำตัวทั้งหมด ออกมาทั้งเป็นๆ แล้วก็นำปลาฉลามไร้ครีบที่ยังมีชีวิตอยู่ ที่เต็มไปด้วยบาดแผล ทิ้งกลับลงไปในทะเล เนื่องจากว่าครีบทั้งหมดของมันได้ถูกตัดออกไปแล้ว มันจึงไม่สามารถว่ายน้ำ ไม่สามารถขยับเขยื้อนไปไหนได้เลย ได้แต่จมอยู่ใต้ทะเล รอความตายที่จะมาเยือน และโดยส่วนใหญ่พวกมันจะต้องทนทุกข์ทรมานอยู่หลายวัน จึงจะตายด้วยความหิว !






นักค้าหูฉลามนำหูฉลามสดๆ เหล่านี้ส่งไปยังโรงงาน ณ อีกเมืองหนึ่ง เพื่อทำการตากแห้งและแปรรูป แล้วจึงส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก สุดท้ายครีบปลาเหล่านี้ ก็จะกลายเป็นอาหารจานเด็ดมื้อหนึ่ง บนโต๊ะอาหาร

     

เนื่องจากการพัฒนาของเศรษฐกิจ นับวันยิ่งมีคนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ มีกำลังเงินที่จะกินหูฉลามราคาแพง เพราะฉะนั้นจึงเป็นเหตุให้ปลาฉลามลดจำนวนลงอย่างฉับพลัน ทำให้ปลาฉลามเผชิญปัญหาสูญพันธุ์



เนื่องจากว่า ส่วนที่มีค่าที่สุดบนตัวปลาฉลาม ก็คือหูฉลามที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้ และด้วยเหตุที่ว่าร่างกายปลาฉลามนั้นใหญ่ การบรรทุกปลาฉลามหนึ่งตัว พื้นที่ที่ใช้ สามารถนำมาบรรจุหูฉลามของปลาสิบกว่าตัว เมื่อคำนึงถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สุดท้ายพวกเรานั้นก็ได้แต่ตักหูฉลามใส่ปากเพื่อความเห่อเหิมในชื่อเสียงยศศักดิ์ และความมั่งมี

อันที่จริงสิ่งที่เรากินกันอยู่ ไม่ใช่หูฉลาม แต่เป็นความต้องการของสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความมั่งมี ในงานแต่งงาน หากไม่มีหูฉลามในเมนู ก็จะโดนผู้คนว่าลับหลังเอาได้ ว่าเป็นคนตระหนี่ขี้เหนียว ในสังคมปัจจุบันนี้ ปลาฉลามได้กลายเป็นเครื่องหมายของความมั่งมีไปเสียแล้ว
มีชาวประมงคนหนึ่งเคยแถลงว่า อันที่จริงตัวปลานั้นก็มีราคาพอสมควร มีกรณีเดียวเท่านั้นที่ชาวประมงทั้งหลายจะทำอย่างนี้ คือปลา Frilled Shark หรือที่รู้จักกันในฉายานามว่า “ปลาเน่า” เพราะว่าปลาฉลามพันธุ์นี้ ช่วงลำตัวจะเป็นน้ำ(ส่วนของเหลว)เสียส่วนใหญ่ จึงไม่มีค่าในตลาดเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้น ชาวประมงจะตัดครีบปลาออก แล้วใช้ตัวปลาเป็นเหยื่อ เมื่อเหยื่อปลามีมากพอแล้ว แต่ยังคงจับได้ปลาพันธุ์นี้อีก จึงเป็นเหตุให้ชาวประมงต้องปล่อยปลาลงทะเล


ทุกวันนี้ เพื่อหูฉลาม เพื่อปลาฉลาม มนุษย์เรานั้นออกล่าปลาอย่างไร้ขอบขีด และยังปัญหาน้ำทะเลเป็นพิษ ตัวปลาฉลามเองนั้นจะมีสารพิษสั่งสมอยู่ซักเท่าไหร่ .. ก็ยากที่จะกล่าว เมื่อชาวประมงจับปลาฉลามมาได้ ก็จะทำการกรีดครีบปลาฉลามทั้งหมดทั้งเป็น แล้วปล่อยปลาฉลามกลับลงทะเล จากนั้นปลาฉลามก็ได้แต่นอนรอความตายอยู่ใต้ทะเลลึก ในช่วงเวลานี้ ปลาฉลามจะพยายามพลิกตัว แต่ก็ไม่สามารถขยับไปไหนได้ เพราะว่าครีบทั้งหมดของมันได้ถูกตัดไปแล้ว ทั้งครีบหาง หน้าอก และบนหลัง จนเวลาล่วงไปไม่รู้กี่วัน มันจึงจะตายไปด้วยความหิวกระหายและสูญเสียเลือดจำนวนมาก หรือว่าคนที่ตายไปนั้นก็คือตายไป แต่ปลาฉลามที่ตายไปนั้น สมควรตาย!
ในภาพยนต์เรื่อง The Matrix มีบทสนทนาตอนหนึ่ง มีโรบอทตนหนึ่งได้พูดว่า ขณะที่เขากำลังทำวิจัยเกี่ยวกับการแยกแยะหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต เขาค้นพบว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั้นมีคุณูปการต่อโลกนี้อย่างมากมาย แต่ทว่ามนุษย์ ถึงแม้จะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนกัน กลับมีแต่จะทำลายโลกนี้

ทุกที่ที่มนุษย์ไปถึง จะใช้ทรัพยากร ณ ที่นั้นจนหมดสิ้น และการกระทำนี้ มันช่างคล้ายคลึงกับสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า ไวรัส !

ยกดิสนี่แลนด์ของเมืองฮ่องกงมาเป็นตัวอย่าง กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติหลายต่อหลายกลุ่ม ต่างก็ประท้วงดิสนี่แลนด์ ที่ด้านหนึ่งพูดว่าสนับสนุนการอนุรักษ์สัตว์ที่จะสูญพันธุ์ แต่อีกด้านหนึ่งยังคงขายหูฉลาม ถึงอย่างไรก็ตาม ทางดิสนี่แลนด์ยังคงยืนกรานที่จะขายหูฉลามต่อไป เพราะว่า ในฮ่องกง คงจะหาร้านอาหารระดับ 5 ดาวที่ไหนไม่ได้ ที่ไม่มีขายหูฉลาม ! และที่สำคัญที่สุดก็คือ “ต้องให้เกียริตวัฒนธรรมโบราณของคนจีน”
ถ้ามองจากมุมมองการแพทย์ นอกจากหูฉลามที่สามารถนำมารับประทานได้ ตัวปลาฉลามยังมีคุณสมบัติอื่นๆ อีกมากมาย :
- สารที่คัดออกมาจากกระดูกอ่อนของปลาฉลาม สามารถรักษาคนป่วยที่ผิวหนังถูกลวก (ไฟ/น้ำร้อน) อย่างสาหัสได้
- เยื่อตาของปลาฉลาม สามารถนำมาใช้กับคนได้
- เนื่องจากว่าปลาฉลามนั้นไม่ค่อยจะมีเนื้องอก นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาค้นคว้าระบบภูมิต้านทานในตัวปลาฉลาม เพื่อที่จะนำผลวิจัยที่ได้มา มาทำตัวยาต้านโรคมะเร็ง
ส่วนประเด็นที่ปลาฉลามกินปลาที่เป็นโรคหรือได้รับบาดเจ็บ นับว่ามันเป็นผู้กวาดล้างใต้ทะเลก็ว่าได้ สร้างคุณประโยชน์ต่อ ecosystem ในท้องทะเลยิ่งนัก แต่ที่น่าเสียดายก็คือ ปลาฉลามที่มีหูฉลามชั้นดี เนื้อปลามักจะไม่ค่อยอร่อย ส่วนปลาฉลามที่มีเนื้ออร่อย ก็จะมีหูฉลามที่รสชาดไม่น่ารับประทาน สุดท้าย ก็ไม่อาจใช้ประโยชน์สองทางได้ในปลาตัวเดียวกัน จึงทำให้การล่าปลาฉลามยิ่งมากขึ้น


  ล้อมจับ   ตัดหูฉลามทั้งเป็น   ตัวปลาฉลามที่เต็มไปด้วยบาดแผล   ครีบแล้วครีบเล่า .. ชิ้นแล้วชิ้นเล่า ..   ปลาฉลามไร้ครีบถูกปล่อยกลับลงไปในทะเล   ปลาฉลามตายทั้งเป็นด้วยความหิวและเสียเลือดจำนวนมาก
แต่ก็ยังคงมีคนที่มีความคิดอีกแนวหนึ่ง เขาเหล่านั้นจะคิดว่า “ทุกครั้งที่เขากินหูฉลามนั้น เป็นเพราะความจำเป็น เป็นเพราะถูกบังคับ ! เพราะว่าในงานเลี้ยง หูฉลามนั้นได้ถูกปรุงแล้วนำมาวางอยู่บนโต๊ะอยู่แล้ว ถึงแม้จะรู้สึกผิดบาป แต่ถ้าไม่กิน ก็จะเป็นการเสียของ เป็นการสิ้นเปลือง”

หากแม้นท่านก็มีความคิดเช่นนี้ .. อยากให้ท่านลองคิดดูใหม่ ..

ถ้าไม่กินหูฉลามแล้ว ท่านจะตายไหม ?  หากไม่ .. หยุดปากเถอะ .. หยุดกินหูฉลาม


ที่มาข้อมูล :
http://big5.xinhuanet.com/gate/big5/news.xinhuanet.com/photo/2007-01/10/content_5587599.htm
http://www.producegreen.org.hk/greengourmet/main_04_02.htm
http://hkdiver.com/viewtopic.php?t=636&postdays=0&postorder=asc&start=0&sid=a513d558aae878c263ff9bf2c70a4d43
http://www.inmediahk.net/public/article?item_id=37294&group_id=34
http://www.ettoday.com/2004/02/16/10848-1587267.htm
http://fishing.dinball.com/news/197.html
เรียบเรียงและแปล โดย LittleCat
3 ต.ค. 54 เวลา 16:47 23,054 48 480
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...