10 ปรสิตควบคุมจิตใจสยองโลก!!

แบ่งปัน  

อันดับ 10 .แมลงวันนักเชิดหุ่น Pseudodacteon (Phorid flies)

 

แมลง วันในจีนัส Pseudodacteon มีอยู่ราวๆ 110 สปี ชี่ส์ ดำรงชีวิตเป็นปรสิตในมดแถบแอฟริกาใต้ เจ้าแมลงวันนักเชิดหุ่นจะบินไปวางไข่ในช่องอกของตัวมดงานอย่างรวดเร็ว ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่จะเดินทางไปยังส่วนหัว ฝังตัวอยู่ที่นั่นและกิน hemolymph (ของ เหลวในร่างกายแมลงที่ทำหน้าที่เสมือนเลือด) เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อระบบประสาทเป็นอาหาร สุดท้ายสมอง (ปมประสาท) ของมดจะถูกกินเรียบครับ ทำให้มดที่ไร้สมองนั้นขาดจุดมุ่งหมายในการดำรงชีวิตโดยสิ้นเชิง มันจะเดินสะเปะสะปะออกจากฝูงเป็นเวลากว่า 2 สัปดาห์ จากตัวอ่อนก็จะละลายส่วนหัวของมดออกมาเป็นดักแด้ รอเวลาโตเต็มวัยต่อไป…อย่างไรก็ตาม อัตราการประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิตแบบปรสิตของเจ้าแมลงวันนักเชิดหุ่น ถือว่าค่อนข้างต่ำครับ (น้อยกว่า 3%)

วีดีโออ้างอิง Flies own ants (http://www.youtube.com/watch?v=6UThaL-D6U8#)

 

อันดับ 9 ปรสิตสั่งหนูไม่กลัวตาย Toxoplasma gondii

 

Toxoplasma gondii เป็น ปรสิตในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด รวมทั้งแมว หนู หรือแม้แต่มนุษย์ ภาวะปรสิตที่น่าสนใจของมันเกิดขึ้นเมื่อมันดำรงชีวิตอยู่ในตัวหนู (rats หรือ mice เป็น intermediate host) มัน จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของหนูอย่างเฉพาะเจาะจง ทำให้หนูไม่กลัวแมว ในบางงานวิจัยยังพบว่า นอกจากจะไม่กลัวแล้วยังวิ่งเข้าหาด้วยความชอบ (preference) ด้วยซ้ำครับ! ได้กลิ่นแมว ได้ยินเสียงแมวก็ไม่วิ่งหนี ในที่สุดหนูก็จะถูกแมวจับกินโดยง่าย และปรสิตก็จะถูกแพร่พันธุ์ในตัวแมวเป็น host ลำดับต่อไป อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่า T.gondii ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความกลัวของหนูต่อสิ่งอื่นๆอย่างเช่น ความกลัวต่อที่เปิดกว้าง หรือความกลัวต่อกลิ่นบางอย่างที่ไม่คุ้นเคยครับ


 

อันดับ 8 ปลาเอ๋ยจงว่ายเหนือน้ำ Euphaplorchis californiensis

 

E. californiensis เป็น พยาธิที่สืบพันธุ์และวางไข่ในระบบทางเดินอาหารของนกชายฝั่งทะเล อุจจาระของนกจะถูกถ่ายลงไปในทะเลและกลายเป็นอาหารของหอยทะเล ตัวอ่อนจะถูกฟักภายในร่างกายของหอย และถูกปลดปล่อยออกไปอย่างอิสระในท้องทะเล โดยเป้าหมายของ E. californiensis คือปลาทะเลสายพันธุ์ที่เรียกว่า killifish ครับ ซึ่งเมื่อมันเจอ killifish แล้ว มันก็จะแทรกตัวเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเหงือกปลา จุดมุ่งหมายสุดท้ายคือสมอง ที่สมอง E. californiensis จะทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของสารสื่อประสาทในสมองอย่างเฉพาะเจาะจง เป็นผลทำให้ killifish เปลี่ยน แปลงพฤติกรรม จากเดิมอยู่ใต้ทะเลลึกดีๆไม่ชอบ ก็โผล่หัวขึ้นมายังผิวน้ำทะเล เป็นผลทำให้ถูกจับกินโดยนกชายฝั่งทะเลได้ง่าย และปรสิตก็ได้อาศัยในทางเดินอาหารของนกต่อไป

 

อันดับ7 แมลงสาบเป็นสัตว์เลี้ยง Ampulex compressa (Jewel wasp)

 

ตัว ต่อ jewel wasp ทำ ให้แมลงสาบกลายเป็นสัตว์เลี้ยงได้โดยการฝังเหล็กในหนึ่งคู่ลงไป เหล็กในอันแรกจะต่อยเข้าที่อกของแมลงสาบเป็นผลให้มันกลายเป็นอัมพาตแต่บาง ส่วน เหล็กในอันที่สองที่ถูกต่อยเข้าไปยังสมองโดยตรง และเป็นผลให้แมลงสาบสูญเสียกลไกหนีเอาตัวรอด (fail to escape aversive stimuli) และเกิดภาวะสูญเสียการเคลื่อนไหว (long term-hypokinesia) ทั้งนี้ มีการศึกษาพบว่า พิษของตัวต่อ jewel wasp มีผลยับยั้งการทำงานของสารสื่อประสาท Octopamine ซึ่งเกี่ยวข้องกับ เคลื่อนไหวที่ซับซ้อนอย่างการเดิน เมื่อสารสื่อประสาทดังกล่าวถูกยับยั้งก็ทำให้แมลงสาบไม่สามารถเริ่มเดินได้

จาก ภาวะดังกล่าว jewel wasp ซึ่งมีขนาดตัวเล็กกว่ามากจะควบคุมแมลงสาบได้โดยสิ้นเชิง jewel wasp จะ งับเอาหนวดข้างหนึ่งของแมลงสาบและลากไปยังรังของมันราวกับจูงสุนัขที่สวม ปลอกคอ ที่รังของมัน แมลงสาบจะถูกวางไข่ไว้ในท้อง สุดท้ายเมื่อตัวอ่อนถูกฟักขึ้นภายในช่องท้องของแมลงสาบ แมลงสาบก็ยังคงมีชีวิตอยู่และถูกตัวอ่อนกัดกินอวัยวะภายในไปอย่างช้าๆ

วีดีโออ้างอิง jewel wasps (http://www.youtube.com/watch?v=qN2XMyxAs5o#)

 

อันดับ 6 วานแมงมุมสร้างรัง Hymenoepimecis argyraphaga

 

H. argyraphaga เป็นตัวต่ออีกชนิดหนึ่งที่มีภาวะปรสิตในแมงมุม Plesiometa argyra การ สืบพันธุ์ของมันเริ่มต้นโดยการใช้เหล็ดในต่อยให้แมงมุมเป็นอัมพาตชั่วขณะ และวางไข่ลงในช่องท้อง ไข่จะถูกฟักในตัวของแมงมุมกลายเป็นตัวอ่อนและดูดกินhemolymph ของแมงมุมเป็นอาหาร ในขณะที่แมงมุมก็ยังดำรงชีวิตอยู่ตามปกติ เมื่อเวลาผ่านไปราว 1-2 สัปดาห์ แมงมุมจะเริ่มเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการชักใย จากใยแมงมุมรูปแบบปกติจะเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิงเป็นรูปแบบที่เฉพาะเจาะจง อย่างน่าอัศจรรย์ รังดักแด้ขนาดเล็ก (Cocoon) ทรงรี จะถูกห้อยด้วยใยแมงมุมรูปสี่เหลี่ยมซึ่งออกแบบเตรียมพร้อมสำหรับเป็น ที่อยู่อาศัยของตัวอ่อนต่อไป แมงมุมจะชักใยรูปแบบพิเศษต่อไปเรื่อยๆ จนในที่สุดตัวอ่อนจะฆ่าแมงมุมด้วยพิษ จากนั้นมันจะเข้าไปอยู่ใน Cocoon ในระยะดักแด้รอเวลาโตเต็มวัย

 

อันดับ5 เชื้อราระเบิดหัวมด Cordyceps unilateralis


          C. unilateralis เป็นเชื้อราชนิดหนึ่งซึ่งพบในประเทศไทย เชื้อราชนิดนี้ infect มดงานแล้วเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมดเพื่อการขยายพันธุ์ของมัน C. unilateralis เข้า ไปในร่างกายมดผ่านทางระบบหายใจ และดูดซึมอาหารจากเนื้อเยื่อภายในร่างกายมดอย่างช้าๆ เมื่อเชื้อราพร้อมจะขยายพันธุ์โดยสปอร์ มันก็จะงอกเส้นใย mycelia ปกคลุมสมอง (ปม ประสาท) ของมดและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับรู้สารฟีโรโมนบางประการ มดงานจะปีนขึ้นไปบนยอดไม้สูงๆ เอากรามเกี่ยวงับกับใบไม้เพื่อตรึงตัวเองอยู่อย่างนั้น เชื้อราจะฆ่ามดและสร้างโครงสร้างที่คล้ายถุงสปอร์กับก้านชูขึ้นบนหัวของมด จากนั้นถุงบรรจุสปอร์จะระเบิดออกและปลดปล่อยสปอร์ล่องลอยไปในอากาศ

 จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ พบว่าเชื้อรา C. unilateralis มี คุณค่าในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เนื่องจาก pigment ที่ได้จากเชื้อราชนิดนี้มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นสีย้อมผ้า นอกจากนี้ยังมีการค้นพบสารต้านมาลาเรียจากเชื้อราชนิดนี้อีกด้วยครับ

วีดีโออ้างอิง Cordyceps Fungus (http://www.youtube.com/watch?v=CCOQ0VU24xw#)

 

อันดับ4 หนอนบอดี้การ์ด Glyptapanteles sp.

 

Glyptapanteles sp. เป็นตัวต่อชนิดหนึ่งที่พบในอเมริกากลางและอเมริกาเหนือ ตัวต่อชนิดนี้จะวางไข่ในหนอนผีเสื้อThyrinteina leucocerae ที่ ยังไม่โตเต็มที่ ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่จะกินน้ำและเนื้อเยื่อในร่างกายหนอนผีเสื้อเป็นอาหาร เมื่อเจริญเต็มที่แล้วก็จะออกจากร่างหนอนผีเสื้อ เกาะติดกับใบไม้และสร้างรังดักแด้ของตนเอง ส่วนหนอนผีเสื้อก็จะไม่ห่างจากรังดักแด้ไปไหน หยุดหาอาหาร และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมกลายเป็น “ยาม” เฝ้ารังดักแด้ เมื่อใดก็ตามที่มีวัตถุเข้ามาใกล้รังดักแด้ หนอนยามจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว (ยกหัวขึ้นโจมตี) เพื่อปกป้องรังจากผู้บุกรุก หน้าที่ยามของหนอนผีเสื้อจะสิ้นสุดลงด้วยความตาย เมื่อตัวต่อเต็มวัยออกจากดักแด้

 

อันดับ3 .มดผีดิบ Dicrocoelium dendriticum

 

D. dendriticum เป็นพยาธิในตับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพวกเคี้ยวเอื้อง โดยมี primary และ secondary intermediate host เป็น หอยทากและมดตามลำดับ เมื่อไข่พยาธิถูกขับออกมาทางอุจจาระ หอยทากจะกินไข่พยาธิเข้าไป ไข่พยาธิถูกฟักภายในทางเดินอาหารของหอยทาก ซึ่งหอยทากจะมีกลไกป้องกันตัวเองโดยการสร้าง cyst ขึ้นห่อหุ้มพยาธิเอาไว้ จากนั้น cyst จะถูกขับถ่ายออกมาพร้อมอุจจาระ มดงานที่กลืน cyst เข้าไปก็กลายเป็น secondary intermediate host พยาธิออกจาก cyst และอาศัยอยู่ในช่อง haemocoel และเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยในระยะถัดไป เคลื่อนที่ไปตามปมประสาทของมดและควบคุมพฤติกรรมของมัน (อีกแล้ว)

ใน ช่วงเวลากลางวัน มดงานที่ถูกสิงสู่ก็ยังคงดำรงชีวิตเหมือนกับมดงานตัวอื่นๆ แต่เมื่อถึงเวลากลางคืน ดวงอาทิตย์ตกดิน อุณหภูมิต่ำลง มดงานตัวดังกล่าวจะแยกตัวออกจากฝูง (พฤติกรรมคล้ายผีดิบชอบกล) ไม่กลับรัง ปีนขึ้นไปบนยอดหญ้าแล้วเอากรามงับเกี่ยวเอาไว้ตรึงตัวเองไม่ไปไหนอยู่อย่าง นั้น รอเวลาให้สัตว์กินหญ้ากลืนมดเข้าไปถูกย่อยในทางเดินอาหารและพยาธิก็จะได้ออก มาเจริญเติบโต สืบพันธุ์ในร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่อไป แต่หากมดไม่ถูกกินและตะวันขึ้น รุ่งเช้ามาเยือน อุณหภูมิสูงขึ้น มดงานตัวดังกล่าวก็จะปล่อยกรามออก และเดินทางกลับเข้าฝูง ดำรงกิจกรรมต่างๆตามปกติ (ผีดิบจริงๆเห็นมั้ย) เนื่องจากหากยังแขวนตัวอยู่อย่างนั้นก็มิวายจะถูกแดดเผาตายทั้งมดทั้งพยาธิ พอราตรีมาเยือนก็กลับไปปีนยอดหญ้าอีก

วีดีโออ้างอิงParasitic Mind Control (http://www.youtube.com/watch?v=lGSUU3E9ZoM#)

 

อันดับ2 เพรียงเปลี่ยนปูเป็นกะเทย Sacculina

 

Sacculina คือชื่อจีนัสของเพรียงปรสิตปูชนิดหนึ่ง Sacculina ตัวอ่อนเพศเมียจะว่ายน้ำจนเจอกับปูตัวผู้ซึ่งเป็น host (ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมต้องเจาะจงปูตัวผู้) เมื่อ Sacculina พบ host ก็จะคืบคลานบนแผ่นกระดองของปูจนถึงส่วนข้อต่อกับตามขาหรือลำตัว ปูที่โชคร้ายจะพยายามสะบัดปรสิตออกแต่ก็ยากที่จะสำเร็จ Sacculina ตัว เมียจะแทรกตัวเข้าไปตามเนื้อปู ในที่สุดปูก็จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หาอาหารเพื่อป้อนให้กับปรสิต และเลิกสนใจสืบพันธุ์กับเพศตรงข้าม บริเวณท้องปูมีขนาดขยายใหญ่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเพื่อเป็นที่อยู่ของปรสิต Sacculina จะปล่อยเส้นด้ายจากบริเวณท้องไปทั่วร่างกายเหยื่อเพื่อดูดซึมอาหารและปล่อย สารเคมีบางอย่างเพื่อเปลี่ยน hormonal balance ของ host

Sacculina เพศ ผู้ก็ล่องลอยมาตามน้ำเพื่อมาผสมพันธุ์กับตัวเมียบนท้องปู เมื่อการผสมพันธุ์เสร็จสิ้นลง ปูตัวผู้นี้ก็จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นเพศเมีย ปูกะเทยจะมีพฤติกรรมปกป้องดูแลหวงแหนไข่ปรสิตบริเวณท้องราวกับเป็นไข่ของตน เอง และเมื่อปรสิตฟักออกจากไข่แล้วยังเอาก้ามปูช่วยพุ้ยน้ำเพื่อให้ตัวอ่อนปรสิต กระจายสู่แหล่งน้ำต่อไปอีกด้วย


 

อันดับ1 หนอนหนวดหอยทาก Leucochloridium paradoxum

 

L. paradoxum เป็นพยาธิตัวแบนที่เป็นปรสิตในนก แต่มี intermediate host เป็นหอยทาก เมื่อตัวอ่อน L. paradoxum เข้าสู่ร่างกายของหอยทาก มันจะเจริญเติบโตในทางเดินอาหารของหอยทาก เมื่อโตขึ้นก็อาศัยอยู่ในโครงสร้างคล้ายท่อที่เรียกว่า broodsacsภายในบรรจุพยาธิ 10-100 ตัว ท่อ broodsacs ดัง กล่าวจะเคลื่อนที่ไปยังก้านตาของหอยทาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันน่าสะพรึง ก้านตาหอยทากจะบวมเป่งขึ้น มีการสั่นไหวเป็นจังหวะและมีสีสันฉูดฉาดตา การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังไปรบกวนการรับรู้แสงของหอยทากอีกด้วย ทำให้จากเดิมนิสัยหอยทากนั้นชอบอยู่ที่มืดก็กลายเป็นไม่เกรงกลัวต่อแสงสว่าง หอยทากจะปรากฏตัวในที่โล่ง ลักษณะก้านตาที่บวมเป่งมองไกลๆก็คล้ายตัวหนอนจะล่อให้นกบินมาจิกกิน นกที่กินหอยทากเข้าไปก็จะได้รับพยาธิจำนวนมากเข้าสู่ร่างกาย


23 พ.ค. 54 เวลา 15:59 8,880 19 130
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...