สุดยอด 15 แผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุด.!!

        ใน ทุกๆ ปี แผ่นดินไหวเป็นสาเหตุของการสูญเสียชีวิตนับพัน ทั้งทางตรงและทางอ้อมจาก เหตุการณ์ที่เกิดตามมาอันได้แก่ คลื่นสึนามิ แผ่นดินถล่ม เพลิงไหม้ และความอดอยาก การสั่นสะเทือนนี้เกิดจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน โดยเฉพาะรอยเลื่อนขนาดใหญ่ที่อยู่ระหว่างแผ่นเปลือกโลก ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นไหวสะเทือนสู่พื้นดิน ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นสุดยอดแผ่นดินไหวที่สร้างความเสียหายที่สุดที่เคย บันทึกได้ในประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน

 

1. มิสซูรี (Missouri) : 16 ธันวาคม ค.ศ.1811
รอย เลื่อนนิวแมดริด (New Madrid fault) อยู่ใกล้กับเขตติดต่อของรัฐมิสซูรี เคนทักกี อาร์คันซอ และเทนเนสซี ได้ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.0 ริกเตอร์หรือมากกว่านั้น โดยแรงสั่นสะเทือนทำให้ระฆังของโบสถ์ในบอสตันที่อยู่ห่างออกไปถึง 1,500 ไมล์แกว่งและส่งเสียงดัง นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้สภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างฉับพลัน คือพื้นดินถูกยกขึ้นจนแม่น้ำมิสซิสซิปปีไหลย้อนขึ้นทางต้นน้ำ โชคดีที่บริเวณนั้นมีประชากรเบาบางจึงมีคนเสียชีวิตเพียงคนเดียวและ ทรัพย์สินเสียหายอีกเล็กน้อย
ข้อมูลเพิ่มเติม http://earthquake.usgs.gov/regional/states/events/1811-1812.php

 

2. ซานฟรานซิสโก (San Francisco): 18 เมษายน 1906

แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ริกเตอร์จากการขยับตัวของรอยเลื่อนซานแอนเดรียส (San Andres fault) ได้ถล่มโครงสร้างอาคารบ้านเรือนในเขตพื้นทีเบย์แอเรีย (Bay Area) ระบบน้ำหลักพังทลาย และบิดรางรถไฟฟ้าจนกลายเป็นแค่เศษเหล็ก แต่สาเหตุหลักของความเสียหาย 524 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และผู้คนเสียชีวิตถึง 3,000 รายนั้นมาจากเพลิงไหม้ที่เกิดตามมาและลุกลามไปทั่วเมืองอย่างรวดเร็วเนื่อง จากขาดน้ำสำหรับดับไฟ ประชาชนที่อาศัยห่างออกมาถึงโอเรกอน และทางตะวันตกของเนวาดายังรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนเป็นเวลาเกือบ 1 นาที
ข้อมูลเพิ่มเติม http://earthquake.usgs.gov/regional/nca/1906/18april/index.php

 

3. ตอนใต้ของรัสเซีย (Southern USSR) : 5 ตุลาคม 1948
แผ่น ดินไหวครั้งนี้เกิดที่เมืองอาชคาบัด ประเทศเติร์กเมนิสถาน ทำให้ประชาชนจำนวน 110,000 คน ซึ่งถือเป็นประชากรที่มากกว่าสองในสามในขณะนั้นเสียชีวิต  นอกจากแรงสั่นสะเทือนจะทำให้โครงสร้างเกือบทั้งเมืองกลายเป็นชิ้นเล็กชิ้น น้อยแล้วยังสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้เอเชียกลางอีกด้วย ในปี 2002 รัฐบาลเติร์กเมนิสถานได้ประกาศระลึกถึงเหตุการณ์ โดยกล่าวไว้อาลัยถึงประธานาธิบดี ซูปามูรัด ไนยาซอฟและครอบครัวซึ่งได้สังเวยชีวิตในแผ่นดินไหวครั้งนี้ทั้งหมด
ข้อมูลเพิ่มเติม http://earthquake.usgs.gov/regional/world/most_destructive.php

 

4. ชิลีตอนใต้ (Southern Chile) : 22 พฤษภาคม 1960

แผ่นดินไหวครั้งนี้มีความรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ถึง 9.5 ริกเตอร์  ซึ่งความจริงแล้วมันเป็นชุดของแผ่นดินไหวที่เกิดต่อเนื่องกันหลายชั่งโมง คลื่นสึนามิกวาดล้างทุกสิ่งทุกอย่างบนชายฝั่งชิลีก่อนที่จะเคลื่อนตัวข้าม มหาสมุทรแปซิฟิกไปบดขยี้ฮาวายต่อ  แผ่นดินถล่ม น้ำท่วมและการระเบิดของภูเขาไฟ Puyehue ในชิลีได้เกิดตามมาหลังจากแผ่นดินไหว 2 วัน จากรายงานพบว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 5,700 คน ทรัพย์สินเสียหายมูลค่า 675 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ทั้งในชิลี อะแลสกา ฮาวาย ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์
ข้อมูลเพิ่มเติม http://pubs.usgs.gov/circ/c1187/
http://earthquake.usgs.gov/regional/world/events/1960_05_22.php

ในบางครั้งตัวแผ่นดินไหวเองไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายเสมอไปแต่อาจเป็น ผลที่เกิดขึ้นตามมาดังเช่น คลื่นสึนามิ เป็นต้น ที่ก่อให้เกิดความเสียดายอย่างมหาศาล ดังตัวอย่างต่อไปจากนี้

 

5. อะแลสกา (Alaska) : 28 มีนาคม 1964

แผ่นดินไหวกู๊ดฟรายเดย์ (Good Friday Earthquake) นับเป็นการสั่นสะเทือนที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา  แผ่นดินไหวนานกว่า 3 นาทีวัดได้ 9.2 ริกเตอร์ในพื้นที่ปรินซ์ วิลเลี่ยม ซาวด์ (Prince William Sound) แม้ว่าจะมีการเสียชีวิตเพียง 15 รายจากแผ่นดินไหว แต่คลื่นสึนามิที่สูงร่วม 200 ฟุตที่ปากทางน้ำวาลเดซ (Valdez inlet) ได้คร่าชีวิตผู้คนไปถึง 110 ราย และความเสียหาย 311 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ โดยเมืองแองเคอเรจ (Anchorage) เป็นพื้นที่ที่เสียหายมากที่สุด
ข้อมูลเพิ่มเติม http://en.wikipedia.org/wiki/Good_Friday_Earthquake
http://earthquake.usgs.gov/regional/states/events/1964_03_28.php

 

6. เปรู (Peru) : 31 พฤษภาคม 1970
แผ่น ดินไหวขนาด 7.9 ริกเตอร์เกิดขึ้นบริเวณชายฝั่งตะวันตกของอเมริกาใต้ ทำให้ทรัพย์สินเสียหายกว่า 500 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และ ชาวเปรูเสียชีวิต 66,000 คน ซึ่งส่วนมาเป็นผลมาจากตึกถล่ม นักธรณีวิทยากล่าวว่าแผ่นเปลือกโลกอเมริกาใต้ยังคงเคลื่อนที่ไปทางตะวันตก สู่แผ่นมหาสมุทรแปซิฟิก ดังนั้นแผ่นดินไหวรุนแรงตามแนวชายฝั่งจึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้อีก
ข้อมูลเพิ่มเติม http://en.wikipedia.org/wiki/1970_Ancash_earthquake
http://earthquake.usgs.gov/regional/world/events/1970_05_31.php

 

7. จีน (China) : 27 กรกฎาคม 1976

แผ่นดินไหวขนาด 7.5 ริกเตอร์นี้เป็นหนึ่งในแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เกิดตามแนวของ “วงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire)” ซึ่งเป็นขอบที่มีการไหวสะเทือนเกิดขึ้นมากที่สุดของมหาสมุทรแปซิฟิก มันโจมตีเมืองตังชาน แล้วตามด้วยเมืองทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของจีนที่มีผู้อยู่อาศัยถึง 1 ล้านคน ทางการจีนแจ้งว่ามียอดผู้เสียชีวิตประมาณ 250,000 คน แต่บางแหล่งข่าวประเมินว่าตัวเลขน่าจะสูงถึง 655,000 คน
ข้อมูลเพิ่มเติม http://en.wikipedia.org/wiki/1976_Tangshan_earthquake
http://earthquake.usgs.gov/regional/world/events/1976_07_27.php

 

8. แคลิฟอร์เนียตอนกลาง (Central California) : 18 ตุลาคม 1989
แผ่นดินไหว “Loma Prieta” เริ่มเกิดขึ้นจากสวนสาธารณะแคนเดิลสติก (Candlestick Park) ในซานฟรานซิสโก ขณะที่มีกำลังการแข่งขันเบสบอล “1989 World Series” ในเกมที่สาม ทำให้ได้ชื่อว่า World Series Quake หรือ Quake of ’89 เป็นสาเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 63 คน และทรัพย์สินเสียหายประมาณ 6 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ด้วยความรุนแรงขนาด 6.9 ริกเตอร์ ถือว่าเป็นแผ่นดินไหวครั้งที่รุนแรงที่สุดที่เคยเกิดขึ้นในบริเวณเบย์แอเรีย “Bay Area” นับตั้งแต่ปี 1906  ต่อมา อัล มิคาเอล ผู้รายงานข่าวของ เอบีซี ที่อยู่ในสนามเบสบอลได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเอมมี จากการรายงานสดสถานการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนี้
ข้อมูลเพิ่มเติม http://en.wikipedia.org/wiki/Loma_Prieta_earthquake
http://pubs.usgs.gov/dds/dds-29/web_pages/P1550-1553_TOC.pdf

 

9. แคลิฟอร์เนียตอนใต้ (Southern California) : 17 มกราคม 1994
แผ่นดินไหวขนาด 6.7 ริกเตอร์ ในนอร์ทตริจด์ (Northridge) ทำให้มีผู้เสียชีวิต 60 คน และความเสียหายมูลค่าประมาณ 44 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ แรงสั่นสะเทือนทำลายอาคารมากว่า 40,000 หลังในเมืองเศรษฐกิจที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ได้แก่ ลอสแองเจอลิส ออเรนจ์ เว็นทูรา และซาน เบอร์นาดิโน ถือว่าเป็นโชคดีที่แผ่นดินไหวที่รู้สึกได้ไกลถึงรัฐยูทาห์และตอนเหนือของ เม็กซิโกนี้เกิดในเวลา 4.30 น. ซึ่งผู้คนยังไม่พลุกพล่านบนท้องถนน ตึกที่ทำงาน และอาคารจอดรถ ซึ่งเกิดการถล่มเป็นส่วนใหญ่
ข้อมูลเพิ่มเติม http://en.wikipedia.org/wiki/Northridge_earthquake

 

10. ญี่ปุ่น (Japan) : 17 มกราคม 1995
แผ่นดินไหวขนาด 6.9 ริกเตอร์ในโกเบ คร่าชีวิตผู้คนกว่า 5,000 รายและสร้างความเสียหายมากกว่า “100 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ” ซึ่งถือว่ามีมูลค่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ เนื่องจากอาคารมากกว่า 200,000 แห่งที่ถล่มและเสียหายนั้นอยู่ในพื้นที่ที่มีค่าครองชีพสูง นอกจากนี้ช่างเป็นเรื่องบังเอิญอย่างยิ่งที่แผ่นดินไหวในโกเบครั้งนี้ (ชาวญี่ปุ่นรู้จักทั่วไปในชื่อ “แผ่นดินไหวฮานชิน”) เกิดขึ้นพร้อมกับการครบรอบหนึ่งปีของแผ่นดินไหวในนอร์ทตริจด์พอดี
ข้อมูลเพิ่มเติม http://en.wikipedia.org/wiki/Great_Hanshin_earthquake
http://quake.wr.usgs.gov/recent/reports/kobe/

 

11. อินโดนีเซีย (Indonesia) : 26 ธันวาคม 2004


(ภาพ: telegraph.co.uk)

แผ่นดินไหวขนาดใหญ่นี้เกิดขึ้นทางฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตราวัดความ รุนแรงได้ 9.1 ริกเตอร์และคลื่นสึนามิที่เกิดตามมาก็ได้คร่าชีวิตผู้คนใน 12 ประเทศอย่างน้อย 230,000 ราย (และอาจสูงถึง 290,000 ราย) ซึ่งเป็นชาวอินโดนีเซียประมาณ 168,000 คน  นักวิทยาศาสตร์อ้างว่าการสั่นสะเทือนครั้งนี้รุนแรงถึงขนาดทำให้การหมุนของ โลกเบนออกจากแกนเดิมเกือบหนึ่งนิ้วเลยทีเดียว เหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนี้จะเป็นที่จดจำไปอีกนานเท่านานเพราะคลื่นยักษ์ ได้นำความวิบัติไปมาสู่ทุกประเทศรอบมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงประเทศไทยด้วย จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้มีการตื่นตัวเกี่ยวกับพิบัติภัยแผ่นดินไหวกัน อย่างกว้างขวาง
ข้อมูลเพิ่มเติม http://en.wikipedia.org/wiki/2004_Indian_Ocean_earthquake
http://earthquake.usgs.gov/eqcenter/eqinthenews/2004/usslav/

 

12. ปากีสถาน (Pakistan) : 8 ตุลาคม 2005
แผ่นดินไหวขนาด 7.6  ริกเตอร์สามารถรู้สึกได้เกือบทั่วทั้งปากีสถานและตอนเหนือของอินเดีย ทำให้มีผู้เสียชีวิต 80,000 ราย บาดเจ็บเกือบ 70,000 คน และทำลายอาคารบ้านเรือนกว่าพันหลัง ดินถล่ม หินถล่ม และอาคารที่พังเสียหายเป็นสาเหตุให้ผู้คนไร้ที่อยู่อาศัย และพื้นที่บางแห่งถูกตัดขาดจากการช่วยเหลือหลายวัน
ข้อมูลเพิ่มเติม http://en.wikipedia.org/wiki/2005_Kashmir_earthquake
http://earthquake.usgs.gov/eqcenter/eqinthenews/2005/usdyae/

 

13. มณฑลเสฉวน ประเทศจีน : 13 พฤษภาคม 2008
ใน ขณะที่ประเทศจีนกำลังเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกในเดือน สิงหาคม 2008 ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.9 ริกเตอร์ ทางตะวันออกของมณฑลเสฉวน ประเทศจีน ศูนย์กลางอยู่ที่ความลึก 19 กิโลเมตรจากผิวดิน และมีแผ่นดินไหวตาม  5.0-6.0 ริกเตอร์ ตามมาอีกหลายครั้ง สิ่งก่อสร้างพังทลายหลายแห่ง มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 50,000 คน ความเสียหายประมาณ 115 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ สำรับประเทศไทยรู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือนเฉพาะอาคารสูง  สาเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดจากการขยับตัวแบบย้อนกลับ (Reverse Fault) ของรอยเลื่อน “ลองเมนฉาน” (Longmenshan) ซึ่งวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ จากการขยับตัวครั้งนี้ส่งผลทำเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิวภูมิประเทศสูงก ว่า 3 เมตร และเพิ่มความเค้น (stress) ให้กับส่วนปลายทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ของรอยเลื่อน ที่ซึ่งอาจจะปลดปล่อยพลังงานได้อีกในอนาคต
ข้อมูลเพิ่มเติม http://en.wikipedia.org/wiki/2008_Sichuan_earthquake

 

14 สาธารณรัฐเฮติ (Republic of Haiti) : 12 มกราคม 2010


ก้าวเข้าสู่ปีใหม่ (2010) ได้ไม่นาน ก็เกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงขึ้นที่สาธารณรัฐเฮติ ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของเกาะฮิสปันโยลา ในทะเลแคริบเบียน ส่วนหนึ่งของทวีปอเมริกา เมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. ของวันที่ 12 มกราคม ตามเวลาท้องถิ่น โดยวัดแรงสั่นสะเทือนได้ถึง 7 ริกเตอร์ โดยมีศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของเฮติ ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ราว 16 กิโลเมตร และลึกลงไปใต้ดินราว 10 กิโลเมตร

แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ส่งผลให้ทำเนียบประธานาธิบดี ที่ทำการกระทรวงต่าง ๆ ตลอดจนที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ในกรุงปอร์โตแปรงซ์ พังถล่ม รวมทั้งอาคารบ้านเรือนได้รับความเสียหายจำนวนมาก และยังไม่ทราบชะตากรรมของเจ้าหน้าที่ ที่เชื่อว่าติดอยู่ภายใต้ซากอาคารเหล่านี้ โดยคาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตหลายหมื่นคน และอาจจะมีผู้เสียชีวิตมากถึงแสนคน

ทั้งนี้แผ่นดินไหวครั้งนี้ ถือเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 200 กว่าปีของเฮติ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2313 และยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกอย่างรุนแรงตามมาอีกถึง 24 ครั้ง วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.9, 5.5 และ 5.1 ริกเตอร์

ข้อมูลเพิ่มเติม http://earthquake.usgs.gov/earthquakes/recenteqsww/Quakes/us2010rja6.php
http://en.wikipedia.org/wiki/2010_Haiti_earthquake

 

15 ญี่ปุ่น (Japan) : 11 มีนาคม 2011

 

ภาพจากสำนักข่าว AP

 

วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 เวลา 05:46:23 UTC (14:46 ท้องถิ่น) โดยวัดแรงสั่นสะเทือนได้ถึง 9 ริกเตอร์ศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่นอกชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรโอชิกะ โทโฮะกุ โดยลึกลงไปใต้พื้นดิน 32 กิโลเมตร จากแรงสั่นสะเทือนที่วัดได้ จึงนับได้ว่าเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น และเป็นเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงเป็นอันดับสี่ของโลกเท่าที่มีการ บันทึกสมัยใหม่มาตั้งแต่ พ.ศ. 2443

โดยเหตุแผ่นดินไหวดังกล่าวได้เคลื่อนเกาะ ฮอนชูไปทางตะวันออก 2.4 เมตร และเคลื่อนแกนหมุนของโลกไปเกือบ 10 เซนติเมตร ตามข้อมูลของสถาบันธรณีฟิสิกส์และวิทยาภูเขาไฟแห่งชาติของอิตาลี แผ่นดินไหวดังกล่าวได้ย้ายตำแหน่งแกนโลกไป 25 เซนติเมตร การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลกเล็กน้อยหลายอย่าง รวมไปถึงความยาวของวันและความเอียงของโลก อัตราเร็วในการหมุนรอบตัวเองของโลกเพิ่มมากขึ้น ทำให้วันหนึ่งสั้นลง 1.8 ไมโครวินาทีเนื่องจากการกระจายมวลของโลกใหม่

แผ่นดินไหวดังกล่าวทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงตามแนวชายฝั่งแปซิฟิกของหมู่เกาะตอนเหนือของญี่ปุ่น

เหตุการณ์นี้ทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ 1 และ 2 คลื่นสึนามิซัดข้ามกำแพงและทำลายระบบกำเนิดไฟฟ้าดีเซลสำรอง จึงเกิดปัญหาในการลดความร้อน และทำให้เกิดระเบิด 2 ครั้งที่โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ 1 และทำให้กัมมันตภาพรังสีในบริเวณรอบข้างมีระดังสูงขึ้น ประชาชนกว่า 200,000 คนในบริเวณใกล้เคียงต้องอพยพหนี

จากเหตุการณ์นี้ ธนาคารโลกประมาณการความเสียหายระหว่าง 122,000 ถึง 235,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศว่ามูลค่าความเสียหายจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวและคลื่นสึ นามิอาจมีมูลค่าสูงถึง 309,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งทำให้มันเป็นภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายมากที่สุดเท่าที่มีการ บันทึกมา จากเหตุการณ์นี้ทำให้มีผู้เสียชีวีตไม่ต่ำกว่า 9,408 ราย สูญหาย 14,716 คน ได้รับบาดเจ็บ 2,746 คน นอกจากนี้ยังมีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยอีกจำนวนมาก

ข้อมูลเพิ่มเติม http://th.wikipedia.org/wiki/แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ_พ.ศ._2554

 

นักวิทยาศาสตร์วัดค่าความรุนแรงของการสั่นสะเทือนออกมาในมาตราริกเตอร์ แสดงขนาดเป็นตัวเลข เช่น 6.0 หรือ 7.2 การสั่นสะเทือนขนาด 5.0 ริกเตอร์มีความรุนแรงเทียบเท่ากับระเบิดขนาด 32 กิโลตัน  ซึ่งใกล้เคียงกับอานุภาพของระเบิดปรมาณูที่ทิ้งลงเมืองนางาซากิเมื่อปี ค.ศ. 1945! และการที่ตัวเลขตามมาตราริกเตอร์นี้เพิ่มขึ้นหนึ่งค่า เช่นจาก 5.0 เป็น 6.0 หมายความว่าแอมพลิจูดของคลื่นแผ่นดินไหวมีขนาดเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า

แผ่นดินไหวเกิดขึ้นทุกวันทั่วโลก ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกว่าโลกเรานั้นไม่หยุดนิ่ง แม้จะมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแผ่นดินไหวอย่างมากมาย แต่แผ่นดินไหวก็ยังเป็นธรณีพิบัติภัยที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้อย่าง แม่นยำ ดังนั้นจงเตรียมตัวเองให้พร้อมรับมืออยู่เสมอ  อย่างไรก็ตามขออย่าให้เกิดรุนแรงเหมือนดังอดีตเหล่านี้เลย

"รอยเลื่อนที่เงียบมานาน อาจเป็นตัวการของแผ่นดินไหวที่น่ากลัว!"

11 พ.ค. 54 เวลา 16:11 71,562 3 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...