แม่คะนิ้ง

แม่คะนิ้ง
แม่คะนิ้งคือ น้ำที่กลายเป็นเกร็ดน้ำแข็งเนื่องจากความเย็นจัดของอุณหภูมิยอดหญ้า อุณหภูมิปกติที่เราอ่านได้จากเทอร์โมมิเตอร์จะสูงกว่าอุณหภูมิยอดหญ้า แม่คะนิ้งจะเกิดได้เมื่ออากาศ...จัดไกล้ 0 องศา และไม่มีลมแรงพัดเพราะหากลแรงจะทำให้น้ำแข็งละลาย วันนี้หมูหิน.คอม พาเที่ยวพาชมแม่คะนิ้ง ต้อนรับหน้าหนาว เพื่อนๆจะได้วางแผนไปเที่ยวยอดดอยชมแม่คะนิ้งช่วงหน้าหนาวนี้
   


สูงสุดแดนสยาม


แม่คะนิ้ง

แม่คะนิ้ง เป็นคำจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาษาพื้นเมืองทางภาคเหนือเรียกว่า เหมยขาบ คือผลึกน้ำแข็งที่เกิดขึ้นเนื่องจาก ไอน้ำในอากาศใกล้ผิวดินลดอุณหภูมิลงถึงอุณหภูมิจุดน้ำค้าง แล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ต่อจากนั้นอุณหภูมิยังคงลดต่อไปอีก จนต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ทำให้น้ำค้างแข็งตัว กลายเป็นน้ำค้างแข็ง

แม่คะนิ้งพบ ได้ในหุบเขา หรือยอดเขาที่อากาศเย็นจัดๆ ส่วนใหญ่จะเกิดที่ยอดหญ้าเป็นเกร็ดน้ำแข็งเกาะขาวโพนเต็มไปหมด หากอากาศหนาวเย็นต่ำลงไปอีก แม่คะนิ้งจะเกิดได้ทุกบริเวณทั้งกิ่งไม้ ดอกไม้ ในช่วงเวลากลางคืนที่อากาศหนาวมีน้ำค้างลงเกาะตามใบไม้ยอดหญ้าและเมื่ออากาศ เย็นไกล้ 0 องศา น้ำค้างก็จะกลายเป็นเกร็ดน้ำแข็งหรือหยดน้ำแข็งที่เราเรียกว่าแม่คะนิ้ง
 




 


แม่คะนิ้ง


แม่คะนิ้ง

สถานที่ที่ท่องเที่ยว ที่พบแม่คะนิ้งในประเทศไทยที่พบได้เป็นประจำทุกปีคือที่ดอยอินทนนท์ เป็นบริเวณยอดดอยเนื่องจากเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย ทำให้อุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์องศาทำให้เกิดแม่คะนิ้งที่ยอดดอยได้ นอกจากดอยอินทนนท์แล้วที่ดอยอ่างขางบริเวณสวน 80 ซึ่ง มีลักษณะเป็นหุบเขาก็เกิดแม่คะนิ้งทุกปี ที่ดอยอ่างขางเป็นหุบเขาไม่มีลม อากาศหนาวจัดในช่วงหน้าหนาวจะเกิดแม่คะนิ้งทุกปี นอกจากนี้ยังมีที่ภูกระดึงและยอดเขาสูงๆหลายแห่ง
 


แม่คะนิ้ง


แม่คะนิ้ง

ช่วงเวลาที่นิยมดูแม่คะนิ้งคือเช้ามืด น้ำค้างจะกลายเป็นน้ำแข็งเกาะที่ยอดหญ้ากลายเป็นแม่คะนิ้ง แม่คะนิ้งจะเกิดขึ้น 100% แม่พลาดแน่นอนคือช่วงวันที่ ปลายปีตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคมของทุกปี ไปจนถึงต้นเดือนธันวาคม เนื่องจากอากาศหนาวจัดที่ยอดดอย ส่วนในบางปี อากาศหนาวมาเร็วก็จะเกิดหม่คะนิ้งตั้งแต่เดือน พ.ย. ได้ เช่นในปี 2551 ที่ผ่านมา
 

 


แม่คะนิ้ง


แม่คะนิ้ง

แม่คะนิ้ง ลูกเห็บ หิมะมีความแตกต่างกัน ดังนี้

แม่คะนิ้ง เป็นคำจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาษาพื้นเมืองทางภาคเหนือเรียกว่า เหมยขาบ คือผลึกน้ำแข็งที่เกิดขึ้นเนื่องจาก ไอน้ำในอากาศใกล้ผิวดินลดอุณหภูมิลงถึงอุณหภูมิจุดน้ำค้าง แล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ต่อจากนั้นอุณหภูมิยังคงลดต่อไปอีก จนต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ทำให้น้ำค้างแข็งตัว กลายเป็นน้ำค้างแข็ง ซึ่งจะทำความเสียหายแก่พืชไร่และผักต่าง ๆ เช่น ข้าวที่กำลังออกรวงก็จะมีเมล็ดลีบ พืชไร่จะชะงักการเจริญเติบโต พืชผักใบจะหงิกงอ ไหม้เกรียม กล้วย มะพร้าวและทุเรียนใบจะแห้งร่วง ถ้าเกิดติดต่อกันหลายวัน ก็จะทำความเสียหายแก่พืชที่ปลูกได้มากขึ้น น้ำค้างแข็ง ในเมืองไทยสามารถพบเห็นได้ตามบริเวณยอดดอยในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีอากาศหนาวจัด ส่วนมากจะเกิดในช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม

"หิมะ คือ ละอองน้ำแข็งที่ตกลงมายังพื้นโลก เนื่องจากอุณหภูมิของอากาศลดลง ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง 0°C (32°F) ทำให้ละอองน้ำในอากาศกลายเป็นละอองน้ำแข็งมีลักษณะเป็นผลึก 5 หรือ 6 แฉก


แม่คะนิ้ง


หญ้าหอมที่ดอยอินทนนท์

"ลูก เห็บ" คือ ก้อนน้ำแข็งที่เกิดจากกระแสอากาศแรงในเมฆจะพาหยดน้ำฝนขึ้นไปแข็งตัวในระดับ สูงเกิดเป็นก้อนน้ำแข็ง ก้อนน้ำแข็งก็จะถูกพอกตัวใหญ่ขึ้น ในที่สุดก็จะตกลงมาเป็นลูกเห็บ บางทีอาจมีขนาดใหญ่เท่าลูกเทนนิส
คนที่ เคยเห็นลูกเห็บตกครั้งแรกมักจะตื่นเต้น รู้สึกสนุกสนานอยากเก็บไว้ในมือ ลูกเห็บเป็นเม็ดน้ำแข็งตกลงมากับฝน เม็ดเล็กขนาดเม็ดข้าวโพดก็มี ขนาดใหญ่เท่าหัวแม่มือก็มี ร่วงจากท้องฟ้าลงมาตกกระทบหลังคาบ้านเสียงดังกราว

ในฤดูร้อน ถ้ามีฝนฟ้าคะนอง มักจะมีลูกเห็บตกลงมาเมื่อฝนเริ่มตก บางครั้งเมื่อฝนตกมากราวใหญ่ ก็มีลูกเห็บตามมาให้เราตกใจ เพราะไม่ได้คาดหวังมาก่อน เม็ดน้ำแข็งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมมันมากับพายุ
ลูกเห็บเกิดจากที่สูงมากจากพื้นโลก กระแสลมแรงพัดพาเม็ดฝนขึ้นไปในกลุ่มเมฆที่ฟ้าคะนอง ในที่สูงอากาศเย็นมากทำให้เม็ดฝนแข็งตัว ยิ่งขึ้นไปสูงยังมีเกร็ดหิมะเข้ามาเกาะเม็ดน้ำแข็ง ครั้นตกลงมาอีกส่วนล่างของกลุ่มเมฆซึ่งเย็นน้อยกว่าด้านบน ความชื้นเข้าไปห่อหุ้มเม็ดน้ำแข็ง แล้วกระแสลมก็พัดเอาเม็ดน้ำแข็งกลับขึ้นไปด้านบนของกลุ่มเมฆอีก ที่อุณหภูมิความชื้นรอบ ๆ เม็ดน้ำแข็งพอกเพิ่มเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง เม็ดน้ำแข็งก็โตขึ้นอีกนิด

เม็ดน้ำแข็งลอยสูงแล้วตกลงมา วนซ้ำไปมาหลายครั้งในกลุ่มเมฆ ในขณะเดียวกันเม็ดน้ำแข็ง สะสมความชื้นที่ด้านล่าง ซึ่งต่อไปจะแข็งตัวในที่สูงเย็น ด้วยกระบวนการเช่นนี้ เม็ดน้ำแข็งก็ใหญ่ขึ้นทุกที เมื่อใดที่มันใหญ่กว่ากระแสลมพายุจะพยุงมันไว้ได้ มันก็จะตกจากอากาศลงยังพื้นดิน เรียกว่า ลูกเห็บ ถ้าเราทุบก้อนลูกเห็บโต ๆ ที่เพิ่งตกถึงพื้นให้แตกครึ่ง เราจะเห็นภายในลักษณะเป็นวงชั้นน้ำแข็ง ซึ่งแสดงถึงการก่อเกิดลูกเห็บ
 


 


แม่คะนิ้ง


แม่คะนิ้งเที่ยบกับเหรีญสิบบาท


มารยาท ในการชมแม่คะนิ้งสำหรับนักท่องเที่ยวคือไม่ควรเหยียบแม่คะนิ้ง เพราะนักท่องเที่ยวคนอื่นๆก็รอที่จะชมแม่คะนิ้งอยู่เช่นกัน บางคนอยากได้มุมกล้องสวยๆ ปีนป่ายไปเก็บรูปงามๆ อาจทำให้แม่คะนิ้งโดนทำลายไปโดยไม่ตั้งใจได้ เพราะแม่คะนิ้งจะอยู่แค่ช่วงเช้าพอแสงแดดมาก็จะละลายหลายไป ก็แบ่งปันกันชม
 


ที่ตลาดม้ง


ชาวชาวม้งขายฝักทอง

หมูหิน.คอม พาชมภาพสวยๆของแม่คะนิ้งแห่งยอดดอยอินทนนท์ บริเวณยอดดอยจะมีเส้นทางเดินไปชมจุดบนสุดของยอดดอย พอเดินลงมาอีกด้านนึงก็จะพบแม่คะนิ้งตามยอดหญ้าเพราะบริเวณนั้นไม่มีลมพัด แรง ถึงแม่ในวันที่อุณหภูมิแค่เพียง 7 องศาที่ วัดได้แต่ก็สามารถเกิดแม่คะนิ้งที่ยอดหญ้าได้เช่นกัน หวังว่าเพื่อนๆหมูหิน.คอม จะมีความสุขกับภาพชุดแม่คะนิ่งชุดนี้ ซึ่งถ่ายในวันที่ 12 พ.ย. 2551 เวลา 06.30 น. ซึ่งอุณหภมิที่วัดได้ 7 องศา


#แม่คะนิ้ง
akkarapon
นักแสดงรับเชิญ
16 พ.ย. 53 เวลา 10:58 3,009 7 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...