"เส้นทางรถไฟสายมรณะ" !! หนึ่งไม้หมอนรถไฟ ต่อหนึ่งชีวิต !!

                                     

“หากนับหมอนหนุนรางรถไฟมีเท่าไหร่ จำนวนผู้คน-เชลยศึกที่ถูกเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟสายนี้ก็ตายไปเท่านั้น”
          
นี่ คือคำเล่าขานถึงเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ ไทย-พม่า ระยะทางกว่า 415 กิโลเมตรนี้ คือ ความหฤโหด ทารุณ และยากลำบาก ของสิ่งที่เชลยศึกได้รับ จนได้รับการขนานนามว่า “เส้นทางรถไฟสายมรณะ”
            
ย้อน กลับไปเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2484 สงครามแปซิฟิกเริ่มก่อตัวขึ้น กองทัพญี่ปุ่นบุกโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์ เกาะฮาวาย และบุกเข้ามาเลเซีย ตอนกลางปี 2485 จากนั้นกองทัพญี่ปุ่นต่อสู้กับกองทัพอังกฤษในพม่า แต่เป้าหมายหลักคือรุกรานเข้าอินเดีย
             
แต่ญี่ปุ่น รู้ดีว่าถ้าใช้เส้นทางเดินเรือขนอาวุธยุทโธปรณ์นั้น เสี่ยงต่อการถูกโจมตีทางอากาศ จึงตัดสินใจสร้างทางรถไฟตัดผ่านประเทศไทย ที่ในขณะนั้นเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น เริ่มต้นจากบ้านหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผ่าน จังหวัดกาญจนบุรีไปสู่ชายแดนไทยพม่าตรง “ด่านพระเจดีย์สามองค์” ไปเมืองตันบีอูซายัดในพม่า

                                        

โดยเริ่มแรกในการก่อสร้างนั้น ใช้แรงงานของกรรมกรชาวแขก พม่า มาเลเซีย อินโดนิเซีย จีน และคนไทย แต่ก็ต้องเจอปัญหามากมาย เช่น ฝนตกหนักจนสะพานพังลง โรคภัยไข้เจ็บของคนงาน การขาดอาหาร และฝ่ายพันธมิตรในสงคราม ทิ้งระเบิดใส่ แล้วกรรมกรเสียชีวิตจำนวนมาก รวมถึงทางรถไฟก็ถูกทำลาย กองทัพญี่ปุ่นจึงเปลี่ยนการทำงานใหม่ โดยการเกณฑ์แรงงานของเชลยศึกชาวอังกฤษ ออสเตรเลีย อเมริกัน ฮอลันดา และไอร์แลนด์ ประมาณ 50,000 คน และรวมกับกรรมกรอีกกว่า 275,000 คน มาทำการก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า ซึ่งในส่วนหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่ การสร้างในครั้งนี้ เต็มไปด้วยความยากลำบาก การวางรางรถไฟดำเนิน ไปจนถึงจุดที่ต้องสร้างสะพานข้ามแม่นำ้แควใหญ่ จึงมีการสร้างเป็นสะพานไม้ชั่วคราว การสร้างเป็นไปอย่างเร่งรีบ ไม่มีวันหยุด ใช้เชลยศึกผลัดกัน ตลอด 24 ชั่วโมง และมีทหารควบคุมอย่างใกล้ชิด 
        
สะพานข้ามแม่น้ำแควชั่ว คราวนี้ใช้ ระยะเวลาประมาณ 3 เดือนจึงเสร็จ แล้วเริ่มสร้างสะพานถาวร (ที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน) โดยที่เชลยศึกจะต้องยืนในน้ำ เป็นเวลานานๆ ทำให้เจ็บป่วยล้มตายเป็นจำนวนมาก โดยสะพานข้ามแม่น้ำแควนี้ ทำเป็นสะพานเหล็ก 11 ช่วง มีความยาว 300 เมตร เมื่อสร้างสะพานถาวรเสร็จ จึงมีการรื้อถอนสะพานชั่วคราวออก ในระหว่างที่ก่อสร้าง ถูกสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดโจมตีอยู่หลายครั้ง จนต้องสูญเสียชีวิตมนุษย์ไป 21,399 คน        สาเหตุที่ทำให้คนตายเยอะขนาดนี้ เห็นจะมาจากการขาดแคลนอาหารที่เชลยจะได้กินเพียงข้าวกับปลาแห้งเพียงเล็ก น้อย แพทย์ก็ไม่พอเพียง และยังได้รับการปฏิบัติอย่างป่าเถื่อนโหดร้ายจากผู้คุมเชลยศึกและผู้ควบคุม ทางรถไฟ
         
จนกระทั่งก่อสร้างเสร็จใช้ระยะเวลาก่อสร้างทั้งหมด 17 เดือน ซึ่งต่อมาเรียกสะพานนี้ว่า "สะพานข้ามแม่น้ำแคว" สร้างความยินดีให้กับทหารญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก แต่ก็ต้องสูญเสียชีวิตคน ไปเป็นจำนวนมากในการสร้างสายรถไฟประวัติศาสตร์สายนี้ จนเรียกกันว่า "ทางรถไฟสายมรณะ" ที่ต่างเปรียบเทียบชีวิตคนที่เสียชีวิต จากการสร้างว่า "หนึ่งหมอนรถไฟต่อหนึ่งชีวิต"

                                                   

ทางรถไฟที่สร้างลำบากที่สุดตอนหนึ่ง คือ บริเวณสะพานถ้ำกระแซ การก่อสร้างทางรถไฟ ในช่วงนี้ มีเทือกเขาสูงชันติดกับลำน้ำแควน้อย วิศวกรญี่ปุ่นจำเป็นต้องสร้างเลียบลำน้ำ ทางรถไฟจะลัดเลาะ ไปตามภูเขายาว 400 เมตร ซึ่งเป็นช่วงที่เชลยศึกต้องเสียชีวิตมากที่สุด ประมาณ 1,000 กว่าคน เป็นสะพานที่ข้ามเหวลึกที่ยาวที่สุดของเส้นทางรถไฟสายนี้ สร้างเสร็จในเวลาอันรวดเร็วมาก นักโทษเชลยศึกสงครามได้ทำงานกันอย่างบ้าคลั่ง จากคำสั่งของผู้คุมนักโทษชาวญี่ปุ่น ที่รู้จักดีในคำที่เรียกว่า "สปีดโด" (Speedo) หรือ "ทำไปอย่าหยุด"
         
จากเดือนเมษายน 2486 การก่อสร้างดำเนินการรุดหน้าไปเร็วมาก เนื่องด้วยฝ่ายญี่ปุ่นต้องการให้การก่อสร้างแล้วเสร็จตามความคาดหมายคือ เดือนสิงหาคม ซึ่งถูกกำหนดเป็นเส้นตายของการก่อสร้าง ห้วงเวลาดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นที่รู้จักกันในนามของห้วงเวลาแห่งความเร่ง ด่วน (Speedo) เชลยศึกและคนงานชาวเอเชียถูกลงโทษให้ทำงานจนค่ำ ที่บริเวณซึ่งทำการตัดช่องเขาขาดนั้น แสงแวบๆ จากกองไฟส่องกระทบเรือนร่างที่ผอมโซของคนงาน จึงเป็นที่มาของชื่อ “ช่องไฟนรก” (Hellfire Pass) หรือ “ช่องเขาขาด”
 

                                                   

การก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะ เริ่มสถานีจากหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัด ราชบุรี ผ่านเข้าไปยังจังหวัดกาญจนบุรี ข้ามแม่น้ำแควใหญ่ ไปทางทิศตะวันตก ผ่านเจดีย์สามองค์ จนถึงปลายทางที่ เมืองตันบีอุซายัต ประเทศพม่า โดยมีระยะทางยาวประมาณ 415 กิโลเมตร 37 สถานี สร้างเสร็จในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2486
        
เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ สถานีรถไฟสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มต้นจาก สถานีท้องช้าง, ถ้ำผี, หินตก, แคนนิว, ไทรโยค, กิ่งไทรโยค, ริ่นถิ่น, กุย, หินดาด, ปรางกาสี, ท่าขนุน, น้ำโจนใหญ่, ท่ามะยอ, ตำรองผาโท้, บ้านเกรียงไกร, คุริคอนตะ, กองกุยตะ, ทิมองตะ, นิเกะ, ซองกาเลีย, และด่านเจดีย์สามองค์


                                             

ในช่วงเดือนธันวาคม 2486 ถึงเดือนสิงหาคม 2488 นั้น ได้มีการขนสิ่งอุปกรณ์ทางทหารประมาณ 220,000 ตัน ผ่านเส้นทางรถไฟสายนี้ ทั้งๆ ที่ฝ่ายพันธมิตรได้ใช้ในการโจมตีทางอากาศต่อเส้นทางรถไฟ แต่ญี่ปุ่นก็ยังสามารถดำเนินการขนย้ายสิ่งอุปกรณ์ต่างๆ ตามเส้นทางสายนี้ได้อย่างต่อเนื่อง ต้องยอมจำนนต่อสงครามที่พ่ายแพ้ เพราะระเบิดปรมาณูของฝ่ายพันธมิตรได้ทำลายเมือง ฮิโรชิมา และ นางาซากิ อย่างย่อยยับ จึงต้องยอมเซ็นสัญญาสงบศึก ในวันที่ 11 สิงหาคม 2488
         
                                  

แผนที่แสดงเส้นทางรถไฟสายมรณะ ของ W.Duncan  ซึ่งบันทึกเรื่องราวของทหารอังกฤษ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

เมื่อ ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงคราม กองทหารอังกฤษจึงได้ทำการรื้อถอนทางรถไฟ ในเขตพม่าออก 30 กิโลเมตร และรื้อทางรถไฟในเขตประเทศไทยออก 6 กิโลเมตร ทำให้ทางรถไฟสาย นี้หมดสภาพการใช้งานต่อไป โดยต่อมารัฐบาลไทยได้ขอซื้อทางรถไฟสายนี้ และวัสดุอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องในราคา 1,250,000 ปอนด์ หรือ 50 ล้านบาท แล้วบูรณะจนสามารถเดินรถได้ และได้ทำ การรื้อรางออกไปบางส่วน คือ บริเวณรอยต่อชายแดนไทยพม่า ซึ่งรัฐบาลไทยสามารถบูรณะซ่อมแซม ทางรถไฟจนถึงสถานีน้ำตกเท่านั้น เพราะเส้นทางที่เหลือรัฐบาลไทยไม่มีงบประมาณเพียงพอ ที่จะทำการซ่อมแซม ทำให้เส้นทางที่เหลือต้องทรุดโทรมอย่างหนัก จนปัจจุบันทางรถไฟที่เหลือก็กลายเป็นป่าปกคลุมตลอดทาง 
 
        
เมื่อ สงครามสงบลงสิ่งต่างๆ ที่เหลือเป็นอนุสรณ์ของสงคราม คือ สุสานบ้านดอนรัก สุสานที่ช่องไก่ หรือเขาปูนสะพานข้ามแม่น้ำแคว และทางรถไฟสายมรณะ รวมถึงภาพความทรงจำของ สงครามที่โหดร้าย ยังฝังแน่นอยู่ในจิตใจของชาวไทย ที่ยากจะลืมเลือน ซึ่งในทุกปีชาวจังหวัดกาญจนบุรี จะมีการจัดงานแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อย่างตระการตา มีการจำลองเหตุการณ์ระเบิด ทำลายสะพานหรือภาพระเบิดปรมาณู ที่เรียกกันว่าการแสดง แสงสีเสียง มีการแสดงนิทรรศการ ทางประวัติศาสตร์ทางด้านภาพถ่ายและวัตถุ นอกจากนี้ ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยได้นำหัวรถจักร ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มาลากขบวนรถไฟเที่ยวพิเศษ นำนักท่องเที่ยวข้ามสะพานแม่นำ้แคว ไปตามทางรถไฟสายมรณะ ให้กับคนรุ่นหลังได้ย้อนรอยไปสู่บรรยากาศแห่งสงครามครั้งที่ 2 อีกครั้ง

                                                               
สุสานบ้านดอกรัก
       
นายแพทย์เควิน เฟกัน (Kevin Fagan) เชลยศึกผู้รับหน้าที่เป็นแพทย์ประจำทางรถไฟสายไทย-พม่า ในปี 2486 กล่าวว่า “ประสบการณ์ ที่นี้ ทำให้ข้าพเจ้ามีความเข้าใจมนุษย์และตระหนักถึงธรรมชาติของชีวิต และค่าของความสัมพันธ์ของมนุษย์ ท่านคงพบแล้วว่า เมื่อถึงวาระสุดท้ายจะมีสิ่งเดียวเท่านั้นทีท่านรำลึกถึงคือ คนที่ท่านรักและคนที่รักท่าน” “The Only Thang That Really Matters Are The People Whom You Love And Who Love You”
          
เส้น ทางรถไฟสายนี้เป็นอนุสรณ์ของโลกที่จารึกความโหดร้ายทารุณของ สงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นอนุสรณ์แก่ผู้เสียชีวิตในสงครามด้วย โดยมีสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับทางรถไฟสายมรณะ ประกอบด้วย
 
• สะพานข้ามแม่น้ำแคว
• สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก
• พิพิธภัณฑ์สงครามอักษะและเชลยศึก
• หอศิลป์และพิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2
• สุสานทหารสัมพันธมิตรช่องไก่
• อนุสรณ์สถานช่องเขาขาด

                                                                

มาวันนี้ทางรถไฟสายมรณะผ่านร้อนผ่านหนาวมาจนอายุครบ  66 ปี สภาพของเส้นทางก็ย่อมก็เปลี่ยนแปรไปตามกาลเวลา แต่ว่าสิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงก็คือ
            
สงครามไม่เคยให้อะไรนอกจากความสูญเสียเท่านั้น!!!

เรื่องราวเกี่ยวกับสะพานข้ามแม่น้ำแคว ได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี 1957 หรือ พ.ศ. 2500 โดยบริษัทโคลัมเบียพิคเจอร์ ผู้อำนวยการสร้าง Sam Spiegel และผู้กำกับฯ David Lean  สร้างจากนวนิยายของนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส คือ Pierre Boulle และมีการเสริมแต่งใส่สีสันให้ฝ่ายชนะสงครามเป็นฮีโร่

                                                         

นักแสดงนำฝ่ายชายคือ William Holden และ Alec Guinness การถ่ายทำส่วนใหญ่ อาศัยฉากใน ศรีลังกา

ภาพยนตร์ The Bridge on the River Kwai  ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ประจำปี 1957 จำนวน 8 สาขา

ได้ รับ 7 รางวัลจากสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม นักแสดงนำชาย (Alec Guinness)กำกับภาพ ตัดต่อ บทภาพยนตร์ดัดแปลง ดนตรีประกอบ และภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

                                                        

จากภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ชาวต่างชาติรู้จักสะพานข้ามแม่น้ำแคว และรู้จักประเทศไทยมากขึ้น และมีดาราภาพยนตร์ไทยร่วมแสดงด้วย ได้แก่ หม่อม ราชวงศ์พงษพรหม จักรพันธุ์ รับบทนายพราน  วิไลวรรณ วัฒนพานิช,  งามตา ศุภพงษ์ , เยาวนารถ ปัญญโชติ, กรรณิการ์  ดาวคลี่ รับบทเป็นสาวชาวบ้านที่สวย คมขำกันทุกคน





     





 

12 พ.ย. 53 เวลา 16:18 3,744 8 136
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...