งาน อัญเชิญพระคัมภีร์พุทธศาสนาโบราณ 2000 ปี เก่าแก่ที่สุดในโลก

 

.......อัญเชิญคัมภีร์พุทธศาสนา 2 พันปี มาไทย ร่วมเฉลิมพระเกียรติในหลวง 83 พรรษา โดยการ อัญเชิญ พระคัมภีร์พระพุทธศาสนา อัน เก่าแก่ที่สุดในโลก ที่รัฐบาลประเทศนอร์เวย์ ได้มอบให้แก่ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ออกนำจัดแสดงนิทรรศการเป็นเวลา 90 วัน ตั้งแต่ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2553 ที่ อาคารหอประชุม พุทธมนฑล จ.นครปฐม

......ข่าวดีสำหรับพุทธศาสนิกชนชาวไทย พศ.เตรียมเสนอรัฐบาล ทำเรื่องขออัญเชิญ "ธรรมเจดีย์" คัมภีร์พุทธศาสนาโบราณอายุกว่า 2,500 ปี มาประดิษฐานชั่วคราวที่พุทธมณฑล จ.นครปฐม เปิดโอกาสให้คนไทยได้ร่วมสักการบูชานานถึง 4 เดือนเต็ม…

ข่าวดีสำหรับพุทธศาสนิกชนชาวไทย โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เตรียมเสนอรัฐบาล ทำเรื่องขออัญเชิญ "ธรรมเจดีย์" คัมภีร์พุทธศาสนาโบราณอายุกว่า 2,500 ปี ต้นกำเนิดแห่งพระไตรปิฎก ซึ่งค้นพบภายในถ้ำประเทศอัฟกานิสถาน และถูกนำไปเก็บรักษาไว้ที่ประเทศนอร์เวย์ มาประดิษฐานชั่วคราวที่พุทธมณฑล จ.นครปฐม เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ;ทรงเจริญพระ ชนมพรรษา 83 พรรษา วันที่ 5 ธ.ค.นี้ พร้อมเปิดโอกาสให้คนไทยได้ร่วมสักการบูชานานถึง 4 เดือนเต็ม ระหว่างเดือน ; พ.ย. 53 - ก.พ.54

ข่าวดีและเป็นเรื่องมหามงคลของพุทธศาสนิกชนชาวไทยที่จะได้มีโอกาสสักการบูชา "คัมภีร์พุทธศาสนาโบราณ" อายุกว่า 2,500 ปีครั้งนี้ เปิดเผยขึ้นเมื่อวันที่ 14 ต.ค. นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 83 พรรษา วันที่ 5 ธ.ค.2553 สำนักงานพระพุทธศาสนาฯเตรียมทำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)

เพื่อให้ดำเนินการในนามของรัฐบาล ในการอัญเชิญ "ธรรมเจดีย์" คัมภีร์พุทธศาสนาโบราณ อายุกว่า 2,500 ปี จากสถาบันอนุรักษ์ สเคอร์เยน ประเทศนอร์เวย์ มาประดิษฐานที่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะ และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจะนำไปประดิษฐานที่พุทธมณฑล จ.นครปฐม ช่วงเดือน พ.ย.2553 ถึงเดือน ก.พ.2554

นายนพรัตน์กล่าวต่อไปว่า ในบรรดาเจดีย์นั้นจะมี ด้วยกัน 4 ประเภท ประกอบด้วย 1. ธาตุเจดีย์ 2. บริโภคเจดีย์ 3. ธรรมเจดีย์ และ 4. อุทเทสิกเจดีย์ โดยทั้ง 4 ประเภท เป็นสิ่งที่พุทธศาสนิกชนควรให้การเคารพบูชา สำหรับ "ธรรมเจดีย์" คัมภีร์พุทธศาสนาที่สถาบันอนุรักษ์สเคอร์เยนนั้น เป็นที่ยอมรับกันในวงการนักโบราณคดีและภาษา ศาสตร์นานาชาติว่าเป็น "คัมภีร์พุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุด ในโลก"

ถูกค้นพบในถ้ำบริเวณเทือกเขาบาบิยน ประเทศอัฟกานิสถาน และอยู่ห่างประมาณ 2 กม. จากพระพุทธรูปหินบาบิยนบนหน้าผา ซึ่งถูกทำลายโดยกลุ่มทหารรัฐบาลตาลีบันเมื่อปี พ.ศ.2544 โดยนักโบราณคดีและภาษาศาสตร์ นานาชาติต้องใช้เวลาถึง 12 ปี ในการชำระคัมภีร์ดังกล่าว คาดว่าเป็นผลงานของพระอรหันต์ที่ได้จารึกพระธรรมวินัยเป็นตัวอักษร ในช่วงพุทธศักราชที่ 6

ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาฯกล่าวด้วยว่า การอัญเชิญคัมภีร์ดังกล่าวนอกจากจะเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังถือเป็นการกระชับสายสัมพันธ์ระหว่างไทยกับนอร์เวย์ ซึ่งสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งทวีปเอเชียพระองค์แรกที่เสด็จไปยังแหลมเหนือนอร์ทเคปของนอร์เวย์ ซึ่งชาวนอร์เวย์ต่างชื่นชมในพระปรีชาชาญในด้านต่างๆของพระองค์ และรู้จักพระองค์ในนาม "King Chulalongkorn Of Siam"

ดังนั้น โอกาสนี้จึงถือว่าเป็นโอกาสพิเศษอย่างยิ่งที่สำนักงานพระพุทธศาสนาฯร่วมกับรัฐบาลไทย และรัฐบาลนอร์เวย์จะอัญเชิญ "ธรรมเจดีย์" คัมภีร์พุทธศาสนาโบราณมาประดิษฐานชั่วคราวที่พุทธมณฑล จ.นครปฐม เพื่อให้ พุทธศาสนิกชนชาวไทยและชาวต่างชาติได้ร่วมสักการะคัมภีร์โบราณ ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดแห่งพระไตรปิฎกอย่างใกล้ชิด

ข้อมูล - http://www.thairath.co.th/content/edu/118926
ภาพ - http://www.libraryhub.info/archives/6599




พระพุทธรูปที่หน้าผา "บามิยัน" ในอัฟกานิสถาน

.....ตัวอย่างพระธรรมวินัย ที่ค้นพบอยุ่ในถ้ำพระบามิยัน ซึ่งก่อนหน้านี้ มีการลักลอบค้าขายศิลปะวัตถุประเภทนี้กันอย่างกว้างขวาง ทั้งหมดต่างก็ถูกชาติมหาอำนาจซื้อไปเก็บในห้องสมุด แต่ก็ช่วยให้รอดพ้นจากการทำลายมาได้



นี่ก็ค้นพบเช่นกัน



ลักษณะม้วนที่ค้นพบ เป็นแบบนี้




ประวัติพระพุทธศาสนาในอัฟกานิสถาน

คลิกอ่านรายละเอียดได้ที่นี่
.......หุบเขาบามิยันนี้ตั้งอยู่บนเส้นทางสายไหมระหว่างจีน อินเดีย ตะวันออกกลาง และ ยุโรป มีการค้นพบศาสนสถานทางศาสนาพุทธ และฮินดูเป็นจำนวนมากกว่า 1,000 แห่ง เป็นหนึ่งในจุดศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาในบริเวณนั้นมาก่อนที่จะมีการมาของศาสนาอิสลามในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13

ศาสนสถานที่สำคัญที่สุดในบริเวณนี้คือพระพุทธรูปองค์ใหญ่ 3 องค์ 2 องค์แรกสร้างในช่วงปี พ.ศ. 1050 (ค.ศ. 507) มีความสูง 37 เมตร และองค์ที่ 3 สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1097(ค.ศ. 554) สูง 55 เมตร เป็น "พระพุทธรูปแกะสลักฝาผนังที่ใหญ่ที่สุดในโลก" ซึ่งทั้งหมดนี้คาดกันว่าสร้างโดยพระเถระและราชวงศ์แห่งราชวงศ์คุปตะแห่งอินเดีย

ตามฝาถ้ำที่ได้ขุดเจาะกันไว้นั้น มีการวาดภาพ ซึ่งบ่งบอกถึงการผสมผสานของศิลปะคุปตะ ศิลปะคันธาระ และศิลปะเปอร์เซียได้อย่างชัดเจน และเมื่อ พระถังซำจั๋ง ได้เดินทางไปชมพูทวีปในปี พ.ศ. 1173 (ค.ศ. 650) ท่านได้เล่าว่าพระพุทธรูปได้เหลืองอร่ามไปด้วยทองคำ และมีพระกว่า 1,000 รูปจำวัดอยู่

ที่นี่มีอารามมากกว่า 10 แห่ง มีพระสงฆ์หลายพันรูป ล้วนเป็นฝ่ายโลกุตตรยาน (โลกุตตรวาทิน) สังกัด นิกายหินยาน พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงของเมืองนี้ คือ พระอารยทูต (Aryaduta) และ พระอารยเสน (Aryasena) มีความรู้ในพระธรรมวินัยเป็นอย่างดี ที่เนินเขาของนครหลวง มีพระพุทธรูปยืนซึ่งจำหลักด้วยศิลา สูง 150 เฉี๊ยะ (มาตราวัดจีน)

ถัดจากนี้ไปเป็นอาราม และพระปฏิมาจำหลักด้วนแก้วกาจ สูง 100 เฉี๊ยะ อารามนี้ มีพระพุทธไสยาสน์ความยาว 1,000 เฉี๊ยะ บรรดาพระพุทธรูปเหล่านี้ล้วนเป็นฝีมือที่ปราณีต สวยงาม นอกจากนี้ยังมีอารามประดิษฐานพระเขี้ยวแก้ว พระทันตธาตุของพระปัจเจกพุทธะในอดีต

ระหว่างช่วงประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 1,600 ปี ของพระพุทธรูปแห่งนี้ ได้พบเจอกับสงครามและการจู่โจมมาโดยตลอด ถึงแม้จะมีชนพื้นเมืองชาวมุสลิมกลุ่มหนึ่งคือชาวฮาซารัส ได้ปกป้องศาสนาสถานแห่งนี้มาก็ตาม เริ่มต้นด้วยการเสื่อมถอยของศาสนาพุทธในบริเวณนี้และการมาของศาสนาอิสลาม การทำลายและการบุกรุกโจรกรรมวัตถุต่างๆ จากถ้ำภายในตั้งแต่ 900 ปีที่แล้ว

จนมาถึงปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) เมื่อสหภาพโซเวียต นำหารเข้าบุกเข้าโจมตีอัฟกานิสถาน ตามมาด้วยสงครามอัฟกัน และสิ้นสุดลงด้วยการระเบิดของกลุ่มตาลีบันในปี พ.ศ. 2544 จากการสำรวจ ได้มีรายงานว่ากว่า 80% ของภาพตามฝาผนังถ้ำได้ถูกทำลายลงไปแล้ว

คำให้การของนายชีค มีร์ซา ฮุสเซน มือระเบิดทำลายพระพุทธรูปบามิยัน ตามคำสั่งของอำนาจของตาลีบัน กล่าวว่าถ้าเขาไม่ระเบิดพระพุทธรูป ตาลีบันจะฆ่าเขาทิ้ง เพราะก่อนหน้านั้นตาลีบันฆ่าลูกชายสองคนของเขาเหมือนสุนัขข้างถนน เขาจึงต้องทำเพื่อการอยู่รอด เขามีความเชื่อว่าด้านหน้าของพระพุทธรูปที่ถูกทำลายลง มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์หนึ่ง เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่มีพระพักตร์อมยิ้ม ฝังอยู่ใต้ดิน

ซึ่งเป็นความเชื่อที่ได้ยินมาจากบรรพบุรุษสืบขานกันต่อหลายชั่วอายุคน สอดคล้องกับคำบอกกล่าวของพระถังซัมจั๋ง ที่ได้เห็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์นี้เช่นกัน ซึ่งนักโบราณคดีได้ขุดพบ ส่วนพระบาทของของพระนอน เมื่อ พ.ศ. 2548

ที่มา - http://www.oknation.net/blog/Kati1789/2007/10/09/entry-4

 
webmaster
Super Administrator

 
Posts: 1058
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
 
  posted on 8/11/10 at 20:33  
เตรียมขอขยายเวลา “ธรรมเจดีย์”
ประดิษฐานในไทยจนถึง "วันวิสาขบูชา" ปีหน้า


เชิญชม "คลิปวีดีโอ" พิธีรับ "ธรรรมเจดีย์" ณ พุทธมณฑล วันที่ 8 พ.ย. 53
.....เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553 เวลา 09.09 น. ที่ห้องรับรองบุคคลทั่วไป CIP (Miracle Lounge) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นผู้แทนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ร่วมประกอบพิธีเจริญชัยมงคลคาถาและอัญเชิญธรรมเจดีย์คัมภีร์ หรือพระไตรปิฎกโบราณอายุกว่า 2,000 ปีจากประเทศนอร์เวย์ โดยมีบุคคลสำคัญ คณะสงฆ์ ประชาชนเข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก

โดยในพิธีอัญเชิญธรรมเจดีย์เริ่มในเวลา 09.19 น. นายนิพิฏฐ์ และนางคัทยา คริสทีนา โนร์ดการ์ด เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรนอร์เวย์ประจำประเทศไทย ถวายนมัสการธรรมเจดีย์ จากนั้นนางคัทยาได้กล่าวถึงการค้นพบและกล่าวมอบ ธรรมเจดีย์มาประดิษฐานที่ประเทศไทย นายนิพิฏฐ์ กล่าวต้อนรับโดยมีใจความว่า


วันนี้นับเป็นวันมหามงคล และเป็นวันที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของโลก กล่าวคือ เป็นวันจัดพิธีรับธรรมเจดีย์พระคัมภีร์พุทธศาสนาโบราณอันศักดิ์สิทธิ์ อายุเก่าแก่กว่า 2,000 ปี จากประเทศนอร์เวย์มาประดิษฐานและจัดแสดง ณ อาคารพิพิธภัณฑ์ทางพุทธศาสนา พุทธมณฑล อ.ศาลายา จ.นครปฐม เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554

อีกทั้งยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ไทย-นอร์เวย์ ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นมากกว่า 100 ปี นับแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเยือนนอร์เวย์เป็นครั้งแรก

“การอัญเชิญธรรมเจดีย์มาสู่ประเทศไทยในครั้งนี้ จึงถือว่ามีความสำคัญยิ่งต่อประเทศไทยและพุทธศาสนิกชนทั่วไป ที่จะได้สักการะธรรมเจดีย์ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และจะได้ศึกษาเรื่องราวแห่งพระธรรมคำสั่งสอนจากนิทรรศการที่จะได้จัดให้มีขึ้นต่อไป” รมว.วัฒนธรรม กล่าว


จากนั้น พระพรหมเมธี เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม ปฎิบัติหน้าที่คณะผู้ปฎิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ประธานฝ่ายสงฆ์นำคณะสงฆ์สวดเจริญพุทธมนต์ นายนิพิฐฎ์ รับมอบธรรมเจดีย์จากเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรนอร์เวย์ประจำประเทศไทย เพื่อถวายแด่พระธรรมสิทธินายก ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ เป็นผู้อัญเชิญธรรมเจดีย์เข้าสู่ขบวนแห่ซึ่งทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ได้จัดเตรียมต้อนรับไว้อย่างสมเกียรติ

จากนั้นอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนรถบุษบกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิมุ่งหน้าสู่พุทธมณฑล จ.นครปฐม ซึ่งธรรมเจดีย์จะตั้งประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ระหว่างวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553 ถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 โดยจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมและสักการบูชาเพื่อเป็นสิริมงคล และเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา

ทั้งนี้ ธรรมเจดีย์ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรีและนายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ได้เดินทางไปรับมอบจากสถาบันอนุรักษ์สเคอร์เยน มหาวิทยาลัยออสโล ประเทศนอร์เวย์ มาถึงในช่วงเช้าวันเดียวกันด้วย

สำหรับธรรมเจดีย์ พระคัมภีรค์พุทธศาสนาโบราณ เป็นพระคัมภีร์พุทธศาสนาเก่าแก่ที่สุดในโลก ที่ได้ถูกค้นพบก่อนสงครามจะเกิดขึ้น ในถ้ำบริเวณเทือกเขาบามิยัน ตั้งอยู่ห่างประมาณ 2 ก.ม. จากพระพุทธรูปหินบามิยันสูง 53 เมตร ที่ถูกทำลายในปี พ.ศ. 2544 ในอดีตดินแดนแถบนี้ชื่อว่าคันธารราฐ อยู่บนเส้นทางสายไหม เคยเจริญรุ่งเรืองด้วยพุทธศาสนา และปัจจุบันดินแดนแถบนี้เรียกว่าประเทศอัฟกานิสถาน

สถาบันอนุรักษ์สเคอเยน ประเทศนอร์เวย์ ได้คัมภีร์โบราณชุดแรก ในปี พ.ศ. 2539 จากพ่อค้าของเก่าซัมฟ๊อก กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้วางแผนการขนย้ายคัมภีร์ทุกวิถีทาง ในช่วงปี พ.ศ. 2540 - 2543 (ในปีพ.ศ. 2544 ถ้ำแถบเทือกเขาบามิยันได้ถูกระเบิดทำลายจนหมดสิ้นรวมทั้งองค์หลวงพ่อบามิยันสูง 50 เมตร) ปัจจุบันสถาบัน ฯ สามารถอนุรักษ์คัมภีร์โบราณไว้ได้ประมาณ 5,000 ชิ้น ที่ยังเป็นชิ้นส่วนสมบูรณ์และแตกหักเล็กน้อย และส่วนที่เศษชิ้นเล็กๆ อีกประมาณ 8000 ชิ้น ทั้งหมดมีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 6 - 12


การจารึกทำไว้ในใบลาน เปลือกไม้ หนังสัตว์และแผ่นทองเหลือง นักโบราณคดีและภาษาศาสตร์นานาชาติใช้เวลา 12 ปี ทำการชำระคัมภีร์โบราณโดยสันนิษฐานสรุปว่า เป็นผลงานของพระอรหันต์ที่ได้จารึกพระธรรมวินัยเป็นตัวอักษร ในราวพุทธศตวรรษที่ 6 หรือประมาณร่วม 2,000 ปีล่วงมาแล้ว

มส.ขอขยายแสดงพระไตรปิฏกเก่าถึงวิสาขะ 54
..... ต่อมาเวลา 15.30 น. พล.ต.สนั่นเป็นประธานการแถลงข่าวว่า นับเป็นวันมหามงคลยิ่งที่ตนและคณะสงฆ์ ได้เดินทางไปนอร์เวย์ ทำพิธีรับมอบพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่ที่สุดในโลก มาประดิษฐานให้ชาวไทยและชาวพุทธทั่วโลกได้มาสักการบูชาและศึกษาพระคัมภีร์ ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ในพระคัมภีร์ฉบับนี้

ทั้งนี้ มส.ได้แจ้งมาว่าเมื่อครบกำหนดคืนธรรมเจดีย์ในเดือนกุมภาพันธ์ มส.ประสงค์ยืมต่อจนถึงวันวิสาขบูชา ประมาณเดือนพฤษภาคม 2554 ตนจึงได้หารือกับทูตไทยประจำนอร์เวย์ให้ประสานเพื่อขอยืมต่อ เพราะไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิสาขบูชาโลก

นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า ธรรมเจดีย์ที่ค้นพบมีความสมบูรณ์ประมาณ 8,000 ชิ้นและที่แตกหักเป็นชิ้นส่วนอีก 5,000 ชิ้นแต่ที่อัญเชิญมาประดิษฐานครั้งนี้ เพียง 3 ชิ้น โดยจารึกบนใบลาน 1 ชิ้นและจารึกบนหนังสัตว์ 2 ชิ้น

ส่วนเนื้อหาของธรรมเจดีย์จาการถอดและแปลจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ พบว่าสิ่งที่จารึกนั้นเป็นหลักของพระไตรปิฎกคือมีทั้งพระสูตร คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระวินัย ซึ่งเป็นข้อควรปฎิบัติ และพระอภิธรรม คือธรรมะชั้นสูง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการจารึก 21,000 พระธรรมขันธ์ไว้ในธรรมเจดีย์ดังกล่าวก็ว่าได้


ส่วนการดูแลรักษาความปลอดภัย พศ. ได้ทำประกันภัยความเสียหายวงเงินกว่า 1 ล้านบาทและมีการเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด 24 ชั่วโมง และสภาบันอนุรักษ์สเคอเยนมีเงื่อนไขว่าห้ามให้ประเทศไทยนำไปให้ประเทศอื่นยืมหรือว่ามีการอ้างสิทธิโดยเด็ดขาด รวมทั้งได้มีกำหนดระยะเวลาการส่งคืนไว้ว่าต้องส่งคืนภายในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554

นายนพรัตน์ กล่าวว่า นอกจากการเปิดให้ประชาชนเข้าสักการะธรรมเจดีย์แล้ว ยังจัดนิทรรศการ แบ่งเป็น 8 หมวดหมู่ อาทิ สถานที่ริเริ่มของพระพุทธศาสนา การค้นพบพระคัมภีร์ในประเทศอัฟกานิสถาน พระคัมภีร์ที่ว่าด้วยพระสูตร พระคัมภีร์ที่ว่าด้วยพระวินัย พระคัมภีร์ที่ว่าด้วยพระอภิธรรม และภาชนะที่ค้นพบที่บรรจุพระคัมภีร์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมประจำวัน คือการเจริญพระพุทธมนต์ การสาธยายพระไตรปิฎก และการเทศน์ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมกิจกรรมได้ทุกวันเวลา 08.30-18.00 น.

จากนั้นเวลา 16.19 น.สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ กรรมการ มส. และคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และพล.ต.สนั่น เป็นประธานฝ่ายฆราวาส อัญเชิญธรรมเจดีย์จากรถบุษบกขึ้นประดิษฐานบนบุษบก ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ทางพระพุทธศาสนา

โดยมีคณะสงฆ์ คณะทูตานุทูตประเทศที่มีประชากรนับถือพระพุทธศาสนา 13 ประเทศ อาทิ เนปาล ศรีลังกา ลาว คณะกรรมการจัดงานอัญเชิญธรรมเจดีย์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ผู้อำนวยการ พศ.จังหวัดทุกจังหวัด ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักเรียน นิสิต นักศึกษา พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก เข้าร่วมพิธี

ภาพข่าว - komchadluek.net
 

พระพุทธรูป

 

 

แห่งบามิยัน และพระคัมภีร์พุทธเก่าแก่ที่สุด
 

จังหวัดบามียัน(เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศอัฟกานิสถาน)ตั้งอยู่ในหุบเขาบามียัน ซึ่งมีแม่น้ำหล่อเลี้ยงประชาชน ด้านหนึ่งเป็นเขา ด้านหนึ่งเป็นหน้าผาสูงชันสลักเป็นพระยืน สภาพแวดล้อมของหุบเขา รายล้อมไปด้วยความแห้งแล้ง แต่ที่แห่งนี้อุดมไปด้วยทุ่งหญ้าและน้ำ

 

พระพุทธรูปแห่งบามิยัน เป็นกลุ่มพระพุทธรูปหลายองค์(โดยเฉพาะองค์ใหญ่ 3 องค์) ที่ตั้งอยู่ตามหน้าผาและถ้ำของหุบเขาบามิยัน ทางตอนกลางประเทศอัฟกานิสถาน ห่างจากกรุงคาบูลประมาณ 230 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ บนความสูงกว่า 2,500 เมตร ซึ่งพระพุทธรูปทั้งหลายนี้สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10(คริสต์ศตวรรษที่ 6) ศิลปะเกรโก ศิลปะพระพุทธรูปยุคแรกที่เผยแพร่มาจากอารายธรรมกรีกโบราณ ใน

เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2544 พระพุทธรูปแห่งบามิยันได้ถูกรัฐบาลตาลีบันระเบิดทำลายลง ด้วยอ้างเหตุผลว่าการเคารพรูปเคารพนั้นผิดหลักศาสนาอิสลาม ซึ่งการระเบิดครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจคนทั่วโลกอย่างมาก

 

หลวงพ่อโตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่หน้าผาบามิยัน ก่อนถูกระเบิด

ประวัติ

 

หุบเขาบามิยันนี้ตั้งอยู่บนเส้นทางสายไหมระหว่างจีน อินเดีย ตะวันออกกลาง และ ยุโรป มีการค้นพบศาสนสถานทางศาสนาพุทธ และฮินดูเป็นจำนวนมากกว่า 1,000 แห่ง เป็นหนึ่งในจุดศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาในบริเวณนั้นมาก่อนที่จะมีการมาของศาสนาอิสลามในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13

ศาสนสถานที่สำคัญที่สุดในบริเวณนี้คือพระพุทธรูปองค์ใหญ่ 3 องค์ 2 องค์แรกสร้างในช่วงปี พ.ศ. 1050 (ค.ศ. 507) มีความสูง 37 เมตร และองค์ที่ 3 สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1097(ค.ศ. 554) สูง 55 เมตร เป็น "พระพุทธรูปแกะสลักฝาผนังที่ใหญ่ที่สุดในโลก" ซึ่งทั้งหมดนี้คาดกันว่าสร้างโดยพระเถระและราชวงศ์แห่งราชวงศ์คุปตะแห่งอินเดีย ตามฝาถ้ำที่ได้ขุดเจาะกันไว้นั้น มีการวาดภาพ ซึ่งบ่งบอกถึงการผสมผสานของศิลปะคุปตะ ศิลปะคันธาระ และศิลปะเปอร์เซียได้อย่างชัดเจน และเมื่อพระถังซำจั๋งได้เดินทางไปชมพูทวีปในปี พ.ศ. 1173 (ค.ศ. 650) ท่านได้เล่าว่าพระพุทธรูปได้เหลืองอร่ามไปด้วยทองคำ และมีพระกว่า 1,000 รูปจำวัดอยู่

ที่นี่มีอารามมากกว่า 10 แห่ง มีพระสงฆ์หลายพันรูป ล้วนเป็นฝ่ายโลกุตตรยาน (โลกุตตรวาทิน) สังกัด นิกายหินยาน พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงของเมืองนี้ คือ พระอารยทูต (Aryaduta) และพระอารยเสน (Aryasena) มีความรู้ในพระธรรมวินัยเป็นอย่างดี ที่เนินเขาของนครหลวง มีพระพุทธรูปยืนซึ่งจำหลักด้วยศิลา สูง 150 เฉี๊ยะ (มาตราวัดจีน) ถัดจากนี้ไปเป็นอาราม และพระปฏิมาจำหลักด้วนแก้วกาจ สูง 100 เฉี๊ยะ อารามนี้ มีพระพุทธไสยาสน์ความยาว 1,000 เฉี๊ยะ บรรดาพระพุทธรูปเหล่านี้ล้วนเป็นฝีมือที่ปราณีต สวยงาม นอกจากนี้ยังมีอารามประดิษฐานพระเขี้ยวแก้ว พระทันตธาตุของพระปัจเจกพุทธะในอดีต

 

หลวงพ่อโตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่หน้าผาบามิยัน ก่อนถูกระเบิด

 

ระหว่างช่วงประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 1,600 ปี ของพระพุทธรูปแห่งนี้ ได้พบเจอกับสงครามและการจู่โจมมาโดยตลอด ถึงแม้จะมีชนพื้นเมืองชาวมุสลิมกลุ่มหนึ่งคือชาวฮาซารัส ได้ปกป้องศาสนาสถานแห่งนี้มาก็ตาม เริ่มต้นด้วยการเสื่อมถอยของศาสนาพุทธในบริเวณนี้และการมาของศาสนาอิสลาม การทำลายและการบุกรุกโจรกรรมวัตถุต่างๆจากถ้ำภายในตั้งแต่ 900 ปีที่แล้ว จนมาถึงปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) เมื่อสหภาพโซเวียต นำทหารเข้าบุกเข้าโจมตีอัฟกานิสถาน ตามมาด้วยสงครามอัฟกัน และสิ้นสุดลงด้วยการระเบิดของกลุ่มตาลีบันในปี พ.ศ. 2544 จากการสำรวจ ได้มีรายงานว่ากว่า 80% ของภาพตามฝาผนังถ้ำได้ถูกทำลายลงไปแล้ว

คำให้การของนายชีค มีร์ซา ฮุสเซน มือระเบิดทำลายพระพุทธรูปบามิยัน ตามคำสั่งของอำนาจของตาลีบัน กล่าวว่าถ้าเขาไม่ระเบิดพระพุทธรูป ตาลีบันจะฆ่าเขาทิ้ง เพราะก่อนหน้านั้นตาลีบันฆ่าลูกชายสองคนของเขาเหมือนสุนัขข้างถนน เขาจึงต้องทำเพื่อการอยู่รอด เขามีความเชื่อว่าด้านหน้าของพระพุทธรูปที่ถูกทำลายลง มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์หนึ่ง เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่มีพระพักตร์อมยิ้ม ฝังอยู่ใต้ดิน ซึ่งเป็นความเชื่อที่ได้ยินมาจากบรรพบุรุษสืบขานกันต่อหลายชั่วอายุคนสอดคลึงกับ คำบอกกล่าวของพระถังซัมจั๋ง ที่ได้เห็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์นี้เช่นกัน ซึ่งนักโบราณคดีได้ขุดพบ ส่วนพระบาทของของพระนอน เมื่อ ค.ศ. 2005

 

เหตุการณ์ ระเบิดพระพุทธรูปแห่งบามิยันเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2544

พุทธศาสนาในประเทศอัฟกานิสถาน

 

พุทธศาสนาได้เผยแพร่เข้ามาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยกลุ่มชาวศากยะที่หนีตายจากพระเจ้าวิฑฑูภะมีเจ้าชายองค์หนึ่งได้สมรสกับกับพระเทพธิดาพญานาค แล้วตั้งรกรากอยู่ที่แคว้นอุทยาน (Udyana) ทางตอนเหนือของอัฟกานิสถานในปัจจุบัน และต่อมาก็หลังทุติยสังคายนาก็มี พระกลุ่มมหาสังฆิกะได้เผยแพร่ในบริเวณแคว้นนครหาร (Nagarahara) ซึ่งใกล้แคว้นคันธาระทางทิศเหนือ แต่สองยุคนี้ ไม่ปรากฏแน่ชัดทางประวัติศาสตร์

หลายพันปีต่อมา ชาวมุสลิมรุกราน พระพุทธศาสนาจึงเสื่อมลงเรื่อยๆ และมีการทำลายพระพักตร์ของพระพุทธรูปบามิยันทั้งสององค์ แต่ในสมัยนั้นก็ยังมีผู้นับถือพระพุทธศาสนาอยู่หลักหมื่น สิทธิการแสดงออกของเขาทำได้แค่ ใช้ผ้าสีเหลืองเล็กๆ ผูกหางเปียสั้นๆเท่านั้น

ต่อมาในยุคตอลีบันเข้าปกครองประเทศนี้ เป็นเวลา 5 ปี ชาวพุทธจะต้องผ่านเหตุการณ์อันเลวร้าย รอดเพียงไม่กี่ราย และมีความหวังที่จะไปสัมผัสหุบเขาบามิยันสักครั้งในชีวิต แต่พระพุทธรูปแห่งบามิยันก็ถูกทำลายอย่างย่อยยับ โดยกลุ่มตอลีบัน และชาวพุทธในอัฟกานิสถานที่รอดชีวิตมาได้ ก็อพยพไปประเทศเพื่อนบ้านของอัฟกานิสถาน

 

พระพุทธรูปแห่งบามิยัน

พบพระคัมภีร์พุทธเก่าแก่ที่สุด...ในถ้ำอัฟกานิสถาน!

 

เดือนธันวาคม 2539 เจนส์ บราร์วิก ศาสตราจารย์ด้านโบราณคดีแห่ง ศูนย์การศึกษาก้าวหน้า, นอร์เวย์ ได้ไปร่วมประชุมวิชาการที่เมืองไลเดน ผู้ร่วมประชุมคนหนึ่งได้เล่าให้เขาฟังว่า แซม ฟ็อกก์ พ่อค้าของเก่าแห่งนครลอนดอน ได้ขายชิ้นส่วนเอกสารโบราณของพุทธศาสนาจำนวน 108 ชิ้น แก่นักสะสมชาวนอร์เวย์ชื่อ มาร์ติน สเคอร์ยัน (Martin Schoyen) ผู้เป็นเจ้าของพิพิธภัณฑ์เอกสารโบราณที่ใหญ่ที่สุดของโลก พอได้ยินดังนั้น บราร์วิกเกิดความสนใจอย่างแรงกล้า จึงได้ไปพบกับสเคอร์ยันเพื่อขอศึกษาเอกสารดังกล่าว ซึ่งสเคอร์ยันก็ยินดีให้ความร่วมมือ และยังบอกเล่าให้ฟังเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้าที่ฟ็อกก์จะขายเอกสารให้เขานั้น ฟ็อกก์ได้ ติดต่อนักโบราณคดีชื่อ ลอเร แซนเดอร์ ให้ช่วย เขียนอธิบายความเป็นมาของเอกสารนี้ ซึ่งเมื่อแซนเดอร์นำไปวิเคราะห์ก็พบว่า มันถูกจารึกขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต ในช่วงราว พ.ศ. 540-940 เป็นพระคัมภีร์ในพุทธศาสนา ที่ว่าถึงพระสูตร พระวินัย ตลอดจนจารึกเหตุการณ์ต่างๆ หลากหลาย บางเรื่องก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว แต่เอกสารอีกหลายชิ้นมีเรื่องราวที่ไม่เคยปรากฏให้โลกรู้มาก่อน และเรียกได้ว่าเป็นเอกสารสำคัญ ที่เก่าแก่ที่สุดของพุทธศาสนา (ที่มีหลักฐานเหลืออยู่)

พระคัมภีร์พุทธศาสนาเหล่านี้จารึกอยู่บนแผ่นวัสดุต่างๆ ได้แก่ ใบลาน เปลือกไม้ และหนังแกะ เจาะรูแล้วร้อยด้ายรวมไว้เป็นเล่ม บางเล่มอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ แต่ที่เป็นเศษเล็กเศษน้อยนั้นมีจำนวนมาก และเมื่อสืบหาข้อมูลต่อไป บราร์วิกก็พบว่า แหล่งที่มาของเอกสารสำคัญลํ้าค่านี้มิใช่อื่นไกล แต่ เป็นถํ้าต่างๆ แห่งเขาบามิยัน ในอัฟกานิสถานนั่นเอง! ก็ต้องเล่าย้อนถึงอดีตกาล ณ สถานที่แห่งนี้กันหน่อยละครับ

สมัยนับพันปีก่อนโน้น อัฟกานิสถานเป็นดินแดนอยู่บนเส้นทางสายไหม อันลือลั่นเชื่อมทอดระหว่างยุโรปกับจีน และยังเป็นทางผ่านจากจีนไปสู่อินเดียด้วย ภิกษุในพุทธศาสนาได้จาริกจากอินเดียไปเผยแผ่ธรรมะยังเมืองจีนด้วยเส้นทางนี้ และเนื่องจากเป็นหนทางอันยาวไ

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...