the killing fields:การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เลวร้ายที่สุดของศตวรรษที่ 20

เห็นมีกระทู้การสังหารหมู่ที่นานกิง ก็เลยได้พูดคุยกับผู้ช่ำชองประวัติศาสตร์ท่านหนึ่ง ได้กล่าวกับผมว่า จริงๆแล้ว การสังหารหมู่ที่เขมรแดงนั้นดูจะน่าเลวร้ายมากกว่า นัยยะในที่นี้ก็คือ การสังหารหมู่ที่นานกิงนั้นเป็นการกระทำระหว่างรัฐต่อรัฐ หมายถึงญี่ปุ่นกระทำต่อจีนอย่างโหด***ม แต่การสังหารหมู่ของเขมรแดง ที่ทุ่งสังหาร (Killing Field) นั้น เป็นการกระทำของชนชาติเดียวกันเองเป็นหลัก ผมก็ไม่ได้มานำเสนอว่าที่ไหนจะโหดร้ายกว่าที่ไหนนะครับ แต่นำความจริงที่หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้กันมากเท่าไหร่ ต้องบอกว่าผมก็ไม่รู้มากนะครับ ก๊อปเขามาอีกที แต่อย่างน้อยก็จะได้รู้ว่าสงครามไม่เคยให้สิ่งดีกับใคร
***********************************************************************************************************************************************************************************************************





ตำนานสังหารที่โลกไม่เคยลืม
บทบันทึกความเลวร้ายที่ปรากฎในประวัติศาสตร์
ที่มนุษย์กระทำต่อมนุษย์ด้วยกันอย่างป่าเถื่อนทารุณ

โศกนาฏกรรม "กัมพูชา" ช่วงเขมรแดงเรืองอำนาจหลังจากยึดกรุงพนมเปญได้ในปี 2518
ทั่วทั้งแผ่นดินแดงฉานด้วยเลือดประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ตกเป็นเหยื่อความโหด***ม

ย้อนอดีต (หลายศตวรรษให้หลังมหาอาณาจักรอันเกรียงไกร)
ประวัติศาสตร์กัมพูชายุคใหม่เริ่มต้นเมื่อได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์
ตามข้อตกลงเจนีวาระหว่างเวียดนามกับฝรั่งเศสเมื่อพ.ศ.2497
สมเด็จเจ้านโรดมสีหนุปกครองประเทศมาอย่างต่อเนื่อง
กระทั่งผลกระทบของสงครามเย็นทำให้กัมพูชาในช่วงปี 2508
สภาพเศรษฐกิจและสังคมตกต่ำเสื่อมโทรมถึงขีดสุด
เกิดความวุ่นวายทางการเมืองและการเดินขบวนประท้วงรัฐของนักศึกษาประชาชน

เดือนเมษายน 2510 ชาวบ้านและชาวนาในอำเภอซัมลูด จังหวัดพระตะบอง
ก่อการจลาจล รัฐบาลส่งทหารเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง
ทำให้ประชาชนซึ่งถูกรวมเรียกเป็นฝ่ายซ้ายหลบหนีเข้าร่วมกับฝ่ายคอมมิวนิสต์กัมพูชา
ที่ตั้งฐานที่มั่นอยู่ในพื้นที่ป่าเขา

ต่อมาเดือนมีนาคม 2513 นายพลลอน นอล ทำการรัฐประหาร
ก่อนกองกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์กัมพูชา หรือเขมรแดง (Khmer Rouge) มีเวียดกงเป็นพันธมิตร
เข้ายึดอำนาจปกครองกัมพูชาได้เบ็ดเสร็จเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2518



จากนั้นมากัมพูชาอยู่ภายใต้อำนาจของนายพล พต ผู้นำกลุ่มเขมรแดง
ผู้โค่นล้มรัฐบาลลอน นอล ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา
กัมพูชาในกำมือพล พต ระหว่างปี 2518-2522 ตกอยู่ในความรุนแรงสุดขั้ว
เพื่อปรับปรุงระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมพึ่งตนเอง
ไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากภายนอกประเทศ
และไม่ยอมเป็นพันธมิตรกับชาติใดๆ
โดดเดี่ยวประเทศออกจากอิทธิพลของต่างชาติ
ปิดโรงเรียน โรงพยาบาล โรงงาน ยกเลิกระบบธนาคาร ระบบเงินตรา
ยึดทรัพย์สินจากเอกชนทั้งหมด

พล พต คลั่งลัทธิซ้ายสุดๆ เขาเชื่อว่าระบบสังคมนิยมจะนำกัมพูชา
สู่ความเจริญรุ่งเรืองเหมือนในอดีตได้ โดยประเทศควรจะอยู่อย่างสันโดษ
ไม่ต้องเพิ่งวิทยาการเทคโนโลยีใดๆ ขอให้มีข้าวกินก็อยู่ได้
เขาจึงกวาดล้างผู้ที่เป็นปฏิปักษ์ทางความคิด นักศึกษาปัญญาชน
แพทย์ วิศวกร นักปราชญ์ ศิลปิน

เล่ากันว่าคนใส่แว่นสายตาที่ดูเหมือนมีความรู้ เป็นภัยต่อความมั่นคง ปกครองยาก
จะถูกฆ่าอย่างไร้เหตุผล
เขาต้องการให้กัมพูชามีแต่ชนชั้นกรรมาชีพ

นี่ไม่ใช่บทหนังหรือละคร แต่เป็นความจริงที่มนุษย์กระทำต่อมนุษย์ด้วยกันอย่างป่าเถื่อนทารุณ


ภาพจากทุ่งสังหาร

เมื่อเขมรแดงยึดกรุงพนมเปญ
ประชาชนพลเมืองถูกหลอกออกจากเมืองไปยังชนบทกันดาร
พล พตต้องการเปลี่ยนให้ชาวกัมพูชากลับไปเป็นชนดั้งเดิม ใช้แรงงานเพื่อการเกษตร
ทุกคนต้องเป็นชาวนาชาวไร่ อาศัยอยู่ในค่ายแรงงาน
ทำงานวันละ 12 ชั่วโมงโดยไม่หยุดพัก และไม่มีอาหารเพียงพอ

4 ปีที่พล พตอยู่ในอำนาจผู้คนล้มตายนับล้านชีวิต ทั้งอดอยาก ทั้งถูกทารุณกรรม
ถูกฆ่ายิ่งมหาศาล "ทุ่งสังหาร" อุบัติขึ้นเวลานั้น


กระดูก - กระโหลกศีรษะทับถมเป็นกองภูเขาเลากา

นโยบายหนึ่งที่ทำให้ผู้บริสุทธิ์ถูกฆ่าป็นผักปลา
คือเขมรแดงต้องการให้กัมพูชาเป็นประเทศที่มีคนแค่เชื้อสายเดียว
คือเชื้อสายกัมพูชา ชนกลุ่มน้อยอย่างชาวเวียดนาม และชาวจีน
จึงถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ รวมถึงคนเขมรด้วยกันเอง
ประเมินว่ามีผู้เสียชีวิตประมาณ 1.5-2 ล้านคน
เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เลวร้ายที่สุดของศตวรรษที่ 20


 เจ้านโรดม สีหนุ

ต่อมา พ.ศ.2525 พล พตร่วมกับเจ้าสีหนุจัดตั้งรัฐบาลผสมกัมพูชาธิปไตย
นายเขียว สัมพัน ขึ้นเป็นผู้นำในปี 2528 แต่เชื่อกันว่าพล พตกุมอำนาจที่แท้จริง

ถึง พ.ศ.2534 กลุ่มต่างๆ ในเขมรลงนามสันติภาพให้มีการเลือกตั้งที่กำกับโดยสหประชาชาติ
แต่แล้วเขมรแดงกลับปฏิเสธผลการเลือกตั้งที่จะได้รัฐบาลผสมในปี 2535
แม้ว่าจะเสียกำลังพลไปจำนวนมากแล้วก็ตาม
การต่อสู้แย่งชิงอำนาจเกิดขึ้นภายในกลุ่มเอง

ปี 2536 สหประชาชาติสนับสนุนให้มีการจัดเลือกตั้งใหญ่
เพื่อนำประเทศกลับสู่สภาพปกติ ตอนนั้นเองที่เขมรแดงหมดอำนาจลงอย่างรวดเร็ว


รัฐบาลที่ได้ครองอำนาจในระยะนั้นเป็นรัฐบาลผสม
และหลังจากการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศในปี 2541
ทำให้การเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น นำไปสู่การยอมจำนนของกองกำลังเขมรแดง
พล พตถูกขับก่อนเสียชีวิตวันที่ 15 เมษายน 2541
สมาชิกของเขมรแดงแตกกระจาย บางส่วนยอมจำนนและถูกจับ
บางส่วนโดยเฉพาะระดับแกนนำหนีหัวซุกหัวซุน

"เขมรแดง" หรือ Khmer Rouge เป็นคำประฌามที่เจ้านโรดมสีหนุ ผู้เป็นประมุขรัฐ
ใช้เรียกขบวนการคอมมิวนิสต์ของประเทศช่วง พ.ศ.2503
เพื่อให้แตกต่างจากฝ่ายขวา เขมรสีน้ำเงิน คือเขมรที่นิยมกษัตริย์

ทุกวันนี้หลักฐานความ***มโหดของเขมรแดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์กลางกรุงพนมเปญ
คือ "พิพิธภัณฑ์ตวล ชเลง" หรือ Genocide Museum
แต่เดิมเป็นโรงเรียนมัธยมซึ่งตั้งชื่อตามบรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์กัมพูชา
มีตึกเรียน 4 ชั้น 4 อาคาร
พ.ศ.2519 เขมรแดงเปลี่ยนโรงเรียนแห่งนี้เป็น S-21 ย่อจาก Security Office 21
สถานจองจำและทรมานผู้คนที่เห็นว่าเป็นศัตรูก่อนเอาตัวไปฆ่า


.......ทุ่งสังหาร(the killing fields)....ถูกจารึกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
ประชาชนกว่าหนึ่งล้านเจ็ดแสนคนต้องสังเวยชีวิต ณ.ที่แห่งนี้

พร้อมๆกับบันทึกชื่อของ “พอลพต ฮิตเลอร์แห่งกัมพูชา”............


บั้นปลายของพอลพตถูกจับกุม
และสิ้นใจตายเยี่ยงคนสิ้นไร้ไม้ตอกในกระท่อมเล็กๆที่เป็นที่คุมขัง



******
คำพูดของ พอล พต
“I came to carry out the struggle, not to kill people. Even now, and you can look
at me, am I a savage person?”
“ผมมาเพื่อต่อสู้สำหรับชนชั้นกรรมาชีพ (ชาวนา) ไม่ใช่มาฆ่าคน แม้บัดนี้ คุณสามารถมองมาที่ผมได้ ผมเป็นคนเลวร้ายขนาดนั้นหรือ ?”
*ผมไม่เหลืออะไรอีกแล้วทั้งเงิน อำนาจ ทหาร หากทั้งนี้แล้ว ปล่อยให้ผมมีชีวิตรอดจนช่วงสุดท้ายเถิด*

ผลกรรม
-ถูกจับเข้าคุก ถูกคุมขัง
-ถูกยึดอำนาจ
-ลี้ภัยต่างประเทศ ถูกขับออกนอกประเทศ
-ถูกประนาม
-ตายอย่างเดียวดาย และถูกเผาโดยใช้ยางรถยนต์

Credit

http://www.pattayadailynews.com/th/2010/05/12/%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3-the-killing-fields/

http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=2294.msg47607

 

8 ก.ย. 53 เวลา 18:50 11,209 9 118
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...