เชิญชมปรากฏการณ์ ฝนดาวตกวันแม่


ภาพถ่ายของฝนดาวตกเปอร์เซอิดส์ โดยเกน ลี (Gain Lee) ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 จากสนามหลังบ้าน ที่เมือง ฮัดเดอร์ฟิลด์ (Huddersfield) ประเทศอังกฤษ ใช้ เลนส์ตาปลา(Fisheye) 15-mm f/2.8 ด้วยความโชคดีภาพถ่ายนี้มีองค์ประกอบที่เป็นฉากหน้า และมีกลุ่มดาวค้างคาว (Cassiopeia) เป็นฉากหลังซึ่งอยู่ใกล้กับศูนย์กลางการกระจายของดาวตก ส่วนดาวตกดวงที่อยู่ไกลออกไป ทางด้านซ้ายมือ เป็นดาวตกแคปปาซิกนิดส์ (Kappa cygnids)

 




        เชิญชมปรากฏการณ์ฝนดาวตก "เปอร์เซอิดส์" หรือ "ฝนดาวตกวันแม่" ในคืนวันที่ 12  ส.ค. จนถึงเช้ามืดวันที่ 13 ส.ค. 53 

        คนไทยทั่วประเทศรอชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกเปอร์เซอิดส์ (Perseid Meteor shower) หรือที่คนไทยเรียกว่า "ฝนดาวตกวันแม่" ที่เกิดขึ้นช่วง 12 สิงหาคมของทุกปี แต่ถ้าจะสังเกตการณ์ได้ดีที่สุดทุก ๆ  3 ปี โดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปีพ.ศ.2550 และในปี พ.ศ.2553 นี้

        โดยในปีนี้ถ้าท้องฟ้าไม่ปิด ไม่มีเมฆบดบัง ประเทศไทยก็จะได้เห็นฝนดาวตก ในเวลา 22.30 น. ของคืนวันที่ 12 สิงหาคม แต่ช่วงเวลานี้อาจจะยังมีฝนดาวตกน้อย ถ้าช่วงที่มีฝนดาวตกมากที่สุดคือ เวลา 04.00-05.00 น. ของเช้าวันที่ 13 สิงหาคม ซึ่งคาดว่าอาจจะมีฝนดาวตกมากสุดถึง 100 ดวงต่อชั่วโมงเลยทีเดียว 

        นอกจากนี้ในช่วงเวลาประมาณ 19.30 น. ไทยจะเกิดปรากฏการณ์ดาวล้อมเดือนคือ มีดาวเคราะห์ 4 ดวง ประกอบด้วย พุธ ศุกร์ อังคาร และเสาร์ โคจรล้อมรอบพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งสามารถมองเห็นทางขอบฟ้าทิศตะวันตกอีกด้วย 

        สำหรับการเตรียมตัวดูปรากฏการณ์ฝนดาวตกคือ หาสถานที่ที่มีฟ้าเปิดและไม่มีแสงไฟรบกวน เนื่องจากแสงรบกวนมีผลทำให้มองเห็นฝนดาวตกลดลง เตรียมผ้าห่มหรือถุงนอนให้พร้อม (พกยาทากันแมลงไปด้วยจะดีมาก เพื่อป้องกันแมลงและยุง) สิ่งสำคัญสุดท้ายที่ขาดไม่ได้เลยคือ เก้าอี้นอนแบบเอนได้หรือเสื่อสำหรับปูนอน หลังจากที่เอนตัวลงนอนเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นก็นอนนับดาวตกกันค่ะ

 


จุดศูนย์กลางการกระจายของฝนดาวตกอยู่บริเวณระหว่ากลุ่มดาวค้างคาว(Cassiopeia) และกลุ่มดาวเปอร์เซอิดส์ (Perseus) และขณะที่ชมปรากฏการณ์ ยังมี กระจุกดาวคู่ (Double Cluster) และกาแล็กซีแอนโดรเมดา (Andromeda Galaxy) ที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้อีกด้วย




กราฟแสดงจำนวนฝนดาวตกเปอร์เซอิดส์ ในช่วงเวลา 36 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 12-13 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (แสดงตามเวลาสากล) โดยบันทึกจากผู้สังเกต 144 คนจากทั่วโลก ข้อมูลจาก Geert Barentsen / IMO

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

 

11 ส.ค. 53 เวลา 09:19 2,502 6 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...