ตัน OISHI ! การทำธุงกิจ 100ล้าน-1000ล้าน

 

9 เคล็ดวิชาของตัน โออิชิ จากประสบการณ์



 

1.เลือกธุรกิจอนาคต


    คำถามที่เขามักถามตัวเองก่อนริเริ่มธุรกิจใหม่ๆ ว่า


    “นี่มันเป็นธุรกิจแฟชั่นหรือธุรกิจอนาคต?”


    ตันชอบทำธุรกิจอนาคต เขาไม่ชอบธุรกิจที่วูบวาบตามกระแสแฟชั่น


    แต่สำหรับคำตอบ ใช่ว่าจะนั่งคิดนั่งตอบเอาเอง


    ตันใช้วิธีการหาข้อมูลจากความเป็นจริงทุกครั้ง

ตันคิดใหญ่


    เขาจึงเลือกธุรกิจอนาคต


    และนักธุรกิจที่ดีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมองธุรกิจของตัวเองให้ทะลุ


    แม้ตลอดระยะเวลา 30 ปี ที่ผ่านการทำธุรกิจหลากหลายชนิด


    ตันไม่ได้เขียนแผนธุรกิจตามแบบฉบับที่หลักสูตร


    บริหารธุรกิจเรียนกัน แต่เขามีความคิด มีแผนในหัวที่ต้องมองให้ทะลุ


    ทั้งการเลือกทำเล การผลิต การตลาด


    โดยไม่ได้เขียนออกมาอย่างคนที่เรียนมาหรอก


    จากประสบการณ์ของตัน เขาเคยเห็นบางคนมัวแต่วางแผน


    แล้วทุกอย่างก็อยู่ในกระดาษ

แต่ไม่ได้ทำจริงสักที


    
2. ทำเลที่ดีเหมือนมีชีวิต


    ประสบการณ์เมื่อตอนที่ตัดสินใจลาออกจากการเป็นพนักงานขายสินค้า


    ไปเช่าที่หน้าตึกแถวในสถานีขนส่งของจังหวัดชลบุรี


    เพื่อไปเปิดแผงขายหนังสือและนิตยสาร

ทำเลแบบนั้นคือ


    “ทำเลเป็น” รถโดยสารจะเข้ามารับและส่งผู้โดยสารตลอดทั้งวันตั้งแต่เช้ามืด


    ต่อเนื่องจนถึงหลังเที่ยงคืน


    บริเวณใกล้เคียงยังมีห้องอาหารและสถนบริการอาบอบนวด


    จึงมีผู้คนหมุนเวียนมิได้ขาด ผิดกับสภาพทำเลแบบร้านที่อยู่ใต้ตึกห้องเช่า


    ซึ่งมีคนพักอาศัยจำนวนเท่าเดิมตายตัว ซึ่งก็คือ “ทำเลตาย”


    จากการมองเห็นทำเลทอง และเข้าไปติดต่อของเช่าในราคาเพียงเดือนละพันบาท


    ผลก็คือ แค่ 6 เดือน

จากเคยเป็นผู้เช่า


    ตันก็ยกระดับซื้อตึกที่เช่าอยู่ได้ทั้งตึก


3.


    ใฝ่รู้ – ทุ่มเท – อดทน


    ตันย้ำเสมอว่าเขาโชคดีที่ไม่ได้เกิดมาในครอบครัวร่ำรวย


    นั่นจึงทำให้เขามีในสิ่งที่คนรวยไม่สามารถมีเท่าเขาได้คือ


    ความอดทนต่อการทำงานหนัก

แต่อดทนอย่างเดียวไม่พอ


    ตันเชื่อว่าต้องอดทนอย่างใฝ่รู้ด้วย และการหาความรู้ไม่ใช่เรื่องยาก


    เพียงแต่รู้จักถามผู้รู้เพราะทุกครั้งที่เราถาม เราจะได้กำไร


    ฉะนั้นหากใครมีโอกาสพบคนอย่างตัน ก็จงถาม เพราะ ณ วันนี้


    ตันคงมีเรื่องราวให้เรียนรู้มากมาย


    และเมื่อถามถึงปรัชญาที่ตันใช้ในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ คืออะไร


    เขาตอบว่า...

“คิดดี – ลงมือทำ


    ทำแล้วทำต่อเนื่อง

เจออุปสรรคไม่ทิ้ง


    ได้ดีแล้วอย่าลืมตัว”


4. สร้างความประทับใจลูกค้า


    ตันรู้จักการทำ CRM ตั้งแต่ยังไม่เคยได้ยินคำนี้ด้วยซ้ำ


    แม้จะไม่ได้เรียนถึงขึ้น MBA แต่ตันก็ตระหนักดีว่าสิ่งนี้


    คือสิ่งที่จะนำพาเขาไปสู่ความสำเร็จ


    การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า หรือ Customer Relationship Management


    คือหัวใจในการทำธุรกิจประการหนึ่งนับตั้งแต่การลงหลักปักฐาน


    ธุรกิจแรกในชีวิตด้วยการเช่าที่ทำแผงหนังสือ


    ตันก็ชนะใจลูกค้าของเขาเสียอยู่หมัด


    ประสบการณ์จากการเป็นเซลล์ทำให้เขาเรียนรู้ว่า ต้องจำคนให้เก่ง


    และที่สำคัญคือต้องจำให้ได้ว่าลูกค้ามีพฤติกรรมการซื้ออย่างไรทั้งๆ


    ที่แผงหนังสือของเขา

ไม่ใช่แผงเดียวในย่านนั้น


    ทว่ายอดขายของร้านเขากลับชนะแผงคู่แข่งอย่างถล่มทลาย


    เพราะแค่ลูกล้าเดินมายังไม่ถึงร้านของเขา


    เขาก็เตรียมหนังสือที่ลูกค้าต้องการใส่ถุง


    เตรียมเงินทอนไว้เรียบร้อยเขาจำได้ดีว่าใครชอบอ่านหนังสือเล่มไหน


    นอกจากนั้น เขามักจะเป็นคนที่หอบหนังสือพิมพ์ขึ้นไปขายบนรถทัวร์


    โดยสังเกตตั้งแต่ตอนซื้อตั๋วว่าใครยังไม่ได้ซื้อหนังสือ


    นี่ถือเป็นหลักการเชิงรุก ที่แม้ลูกค้าไม่เดินมาหา


    เขาก็จะเดินขึ้นไปหาลูกค้าเอง


5.


    ใช้ประสบการณ์ให้เป็นประโยชน์


    ย้อนกลับไปมองการทำธุรกิจของตันเมื่อหลายปีก่อน แทบจะทุกธุรกิจเขา


    


    ไม่ได้ประสบความสำเร็จตั้งแต่วันแรกบนเส้นทางความสำเร็จเต็มไปด้วยอุปสรรค


    แต่พอผ่านมันไปได้ ก็ไม่กลัวปัญหาแล้ว


    ปัญหากลายเป็นเพื่อนสนิทเสียอีก


    ให้เพื่อนสนิทเป็นผู้แนะนำไปสู่ทางแห่งความสำเร็จ


    “บทเรียนจากความล้มเหลวสำคัญมาก


    แต่ก็ไม่ได้อยากให้คุณล้มเหลวทุกครั้งนะครับ


    ผมล้มเหลวมาหลายครั้ง แต่ไม่ใช่เพราะความล้มเหลวอย่างเดียวที่ทำให้ผมสำเร็จ


    

แต่ผมรู้จักเรียนรู้ และพูดคุยจากคนอื่นเพิ่มขึ้นต่างหาก”


    
6. ตอนเล็กๆ ต้องคิดใหญ่ ตอนใหญ่ๆ ต้องคิดเล็ก


    ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น!

เพราะตอนที่เรายังมีทุนน้อย


    ถึงเราจะคิดใหญ่ มันก็ไม่ใหญ่เท่าไรหรอก แถมยัง


    ไม่มีใครให้กู้เงินได้มากมาย หากจะคิดใหญ่ก็ยังสามารถทำได้


    เพราะความเสียหายมันมีข้อจำกัด


    ในเมื่อมีทุนอยู่เพียงเท่านี้จะต้องไปกลัวอะไร


    “แต่สมมติวันที่โออิชิมี 6-7 พันล้าน ถ้าผมไปคิดเป็นหมื่นๆ


    ล้านแล้วพลาดมันจะเป็นยังไงรู้ไหม...

เละ!” ตันย้ำ


    ดังนั้นเขาเชื่อว่าเมื่อองค์กรเติมใหญ่กลับต้องคิดเล็ก


    คิดว่าจะทำอย่างไรให้ปลอดภัยมั่นคง แล้วเราจะเอาประสบการณ์ที่เราเคยประสบ


    ในครั้งที่เราล้มเหลวในตอนเล็กๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์หรือ ณ วันนี้


    มีเงินในมือ 300 กว่าล้านบาท

ตันบอกว่า "ถ้าผมโลภมาก


    อยากหาเงินเป็นหมื่นล้านมาขยายธูรกิจ ก็ไม่ยากเลย


    เพราะตอนนี้ทั้งเครดิต ชื่อเสียง จะขอเงินกู้จากธนาคารก็ไม่ใช่เรื่องยาก


    แต่สมควรไหม


    เขาจึงเลือกยุทธศาสตร์ที่จะเข้าร่วมกับค่ายธุรกิจยักษ์ใหญ่อย่างกลุ่มเจริญ


    สิริวัฒนภักดี

เพื่อความมั่นคง


    และยังได้เครือข่ายทั้งการตลาด และโรงงานผลิตที่จะช่วยลดต้นทุนได้ดี


    
7. การสร้างแบรนด์


    ต้องมีการสื่อสารการตลาดและกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับ


    ของตลาด

เพราะเมื่อแบรนด์เป็นที่นิยมยอมรับ จะเป็นสินทรัพย์


    อันมีค่าที่สามารถออกผลิตภัณฑ์

เป็นมูลค่าต่อเนื่องไม่รู้จบ


    
8. ใช้แบรนด์สร้างเงิน


    ในระยะแรกของการทำธุรกิจ ตันบอกว่าคนเราจะต้องเอาเหงื่อไปแลกเงิน


    จากนั้นเมื่อมีเงินแล้ว ก็สามารถเอาเงินไปและเงินที่มากขึ้นได้


    ทว่าในวันนี้ของตัน


    เขาอยู่ในห้วงเวลาที่สามารถเอาแบรนด์ไปสร้างเงินได้



    9. ไม่ยึดติดในกรอบความคิดเก่าๆ


    นับเป็นแนวคิดที่นักการตลาดพยายามกระตุ้น เพื่อให้เกิดนวัตกรรมโดยใช้คำว่า


    "การคิดนอกกรอบ"


    ตันบอกว่าการคิดนอกกรอบที่มีการพูดถึงหลายวงการ "ดูเหมือนยาก แต่ก็ง่าย


    ดูเหมือนง่าย แต่ก็ยาก"

ความสำคัญอยู่ที่ต้องเข้าใจตลาด


    เข้าใจผู้บริโภค และด้วยจุดยืนในการทำธุรกิจของตันที่ต้องการทำเงิน


    ขณะที่ต้องการทำสิ่งท้าทายด้วย


    ดังนั้นเขาจึงใฝ่ใจศึกษาหาสิ่งใหม่ๆ และก็กล้าริเริ่มสร้างสรรค์


    "ผมเป็นคนไม่เชื่อว่าชาเขียวต้องใช้กล่องสีเขียว"


    เพราะตอนที่ตันออกชาเขียวนั้น ในตลาดมีคนครองตลาดแล้ว 5 ราย


    ความพยายามสร้างความแตกต่างตั้งแต่การศึกษาหาแบบกล่องบรรจุ


    และทดลองไปวางในร้ายสะดวกซื้อ เพื่อทดสอบความสนใจของผู้บริโภค


    ก็ทำมาแล้วจนสำเร็จ


ยุทธศาสตร์ของตัน


    แม้วันนี้กลุ่มของเจริญ ได้เข้าถือหุ้นใหญ่ของโออิชิ


    เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้า


    ที่มุ่งไปสู่กลุ่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ตันยืนยันว่า "โออิชิ"


    ไม่เปลี่ยนแนวทางธุรกิจ


    ตามที่เขากำหนดวิสัยทัศน์ธุรกิจไว้ว่า


    "เราจะมุ่งมั่นทำธุรกิจที่เกี่ยวกับร้านอาหารญี่ปุ่น


    และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่เกิดประโยชน์กับสังคมเท่านั้น"


    การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่ครั้งนี้


    จึงเท่ากับกลุ่มเจริญได้ทั้ง

ความเป็นขุนพลใหญ่มืออาชีพของตัน


    และได้แบรนด์ตลาดโออิชิไปด้วย
 
 
 
 
 
ภาพจัด Event และ กิจกรรมส่วนหนึ่ง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
#โออิชิ #ตัน
ENJOYMAN
เด็กกองถ่าย
10 ส.ค. 53 เวลา 18:42 3,176 3 58
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...