Jim Reed นักล่าพายุมืออาชีพ ผู้กล้าท้าทายธรรมชาติ

read:http://www.wtfintheworld.com/2016/07/29/jim-reed-%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0

นักล่าพายุ คือ ฉายาของบุคคลที่คอยเฝ้าสังเกตภูมิอากาศ ดูว่ามีกำลังเท่าไหร่ โอกาศจะเกิดพายุมีแค่ไหน เพื่อติดตามเก็บภาพพายุ สำหรับคนธรรมดาทั่วไป การวิ่งเข้าหาพายุหมุนที่มีพลังในการทำลายล้างสูง ดูจะเป็นเรื่องเสียสติ แต่สำหรับนักล่าพายุอย่าง จิม รีด (Jim Reed) ที่รอดตายอย่างหวุดหวิดมาสองครั้งสองครา กลับถือว่าการวิ่งเข้าหาพายุเป็นหน้าที่ ยิ่งพายุก่อตัวใกล้ๆ และมีขนาดใหญ่เท่าไหร่ยิ่งดี เพราะจะทำให้ภาพถ่ายของเขามีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

จิม รีด (Jim Reed)

เขาคอยเฝ้าสังเกตภูมิอากาศ ดูว่ามีกำลังเท่าไหร่ โอกาศจะเกิดพายุมีแค่ไหน

ตลอด 17 ปีที่ผ่านมา เขาออกตระเวนไล่ล่าพายุในกว่า 2,000 พื้นที่ทั่วสหรัฐอเมริกา เพื่อให้ได้ภาพพายุที่อันตรายและน่ากลัวที่สุด และได้รวบรวมเป็นหนังสือชื่อ ‘Storm Chaser: A Photographer’s Journey’

หนังสือชื่อ ‘Storm Chaser: A Photographer’s Journey’

เขายืนยันว่าสิ่งที่ทำไม่ได้เป็นผลมาจากความใจกล้า บ้าบิ่น หรือต้องการเสี่ยงตาย เพราะทุกครั้งที่ทำงานจะต้องมีการศึกษา เตรียมตัวอย่างดี ทั้งยังต้องคอยประเมินสถานการณ์ตลอดเวลา

“แม้สิ่งที่อยู่ตรงหน้าจะเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่อาจก่อให้เกิดหายนะ แต่ทุกครั้งที่ต้องเผชิญหน้ากับพายุ สมองผมจะคิดแค่ว่าต้องใช้กล้องและเลนส์อะไร มีเวลามากพอที่จะใช้ขาตั้งไหม ต้องใช้ถุงทรายรึเปล่า และจะต้องเข้าใกล้พายุมากแค่ไหนเพื่อให้ภาพออกมาสมบูรณ์ ซึ่งทั้งหมดนี้มีเวลาให้ตัดสินใจแค่ไม่กี่วินาที” และนี่คือผลงาน และภาพถ่ายพายุบางส่วนของเขา

ภาพสังเกตุการณ์พายุ “ทอร์นาโด” ทางทิศตะวันตกของรัฐแคนซัส เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2008

พายุฝนฟ้าคะนองยามพระอาทิตย์ตก ที่รัฐโอคลาโฮมา เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2002

พายุ “เฮอร์ริเคน” หอบคลื่นซัดถล่มรัฐเท็กซัส เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2008

พายุ “ทอร์นาโด” จากพื้นที่เกษตรกรรม ในรัฐแคนซัส เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2008

นี่คือ “ลูกเห็บ” ที่เก็บได้ในรัฐแคนซัส หล่นลงมาถูกหัวคนโอกาสรอดชีวิตแถบไม่มี

เบื้องหลังการทำงาน

สุดยอดแห่งความอันตราย…พายุซูเปอร์เซลล์ (พายุฝนฟ้าคะนอง ที่ทำให้เกิดกระแสลมหมุน ต้นเหตุของการเกิดซูเปอร์ทอร์นาโด) ยามพระอาทิตย์ตกที่รัฐแคนซัส

พายุทอร์นาโดลูกยักษ์ในรัฐแคนซัส อยู่ห่างจากรถคันที่เห็นในภาพไม่ถึง 500 ฟุต

พายุฝนฟ้าคะนอง เหนือท้องฟ้าที่รัฐไวโอมิ่ง เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2003

พายุซูเปอร์เซลล์ บนท้องฟ้ายามพระอาทิตย์ตก ที่รัฐโอคลาโฮมา เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2008

เฮอร์ริเคนกุสตาฟ ขณะกำลังเคลื่อนตัวเข้าถล่มเมืองนิวออร์ลีนส์ ในรัฐหลุยเซียน่า เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2008

ซูเปอร์เซลล์ เคลื่อนตัวเข้าถล่มรัฐแคนซัส เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2004

ฟ้าผ่าใต้ซูเปอร์เซลล์ ที่รัฐแคนซัส

วินาทียื้อชีวิตของนายไมค์ ทีมงานช่างภาพ ที่พยายามยึดป้ายจราจรเอาไว้ ระหว่างพายุเฮอร์ริเคน “แคทรีนา” บุกเข้าถล่มมลรัฐมิสซิสซิปปี

พายุเฮอร์ริเคน “แคทรีนา” ถือเป็นพายุที่รุนแรงและสร้างความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา โดยมีระดับความรุนแรงอยู่ในประเภทที่ 5 (ตามมาตราของ Saffir-Simpson Hurricane Scale) ซึ่งถือว่ารุนแรงที่สุด พายุดังกล่าวทำให้คนประมาณห้าล้านคนไม่มีไฟฟ้าใช้ และก่อให้เกิดพื้นที่ความเสียหายทั้งสิ้นประมาณ 90,000 ตารางไมล์ (233,000 ตารางกิโลเมตร)

ผลงานการทำลายล้างของพายุทอร์นาโด ที่บุกเข้าถล่มรัฐแคนซัส เป็นเหตุให้หน่วยงานราชการ และบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายยับเยิน

เครดิต paow007. wordpress.com

 

13 ก.ย. 60 เวลา 03:26 2,626
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...